เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช, ประเวช ตันตราภิรมย์
 
ในเมืองไทยการพัฒนาอวัยวะเทียมไม่ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก ที่พอสืบได้คือเริ่มมีการสอนเรื่องนี้จริงจังโดยรับเทคโนโลยีจากตะวันตกช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ที่น่าสนใจคือระหว่างที่มีความพยายามสร้างองค์ความรู้ในเมือง ในพื้นที่ชายแดนที่เต็มไปด้วยการสู้รบและในพื้นที่ชนบทห่างไกล มีการสร้างอวัยวะเทียมจากวัสดุท้องถิ่นโดยฝีมือประชาชนในพื้นที่ ขาเทียมและอุปกรณ์เสริมที่ปรากฎในหน้านี้คือส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการดังกล่าว

leg01
ขาเทียมรุ่นเก่าสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาในระดับเหนือเข่า
เทคนิคสร้างขาเทียมแบบนี้นิยมมากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตัวขาเทียมประดิษฐ์จากวัสดุง่ายๆ เบ้าทำจากหนังสัตว์
แกนหน้าแข้งทำจากไม้ ข้อเสียคือสวมใส่ไม่สบายและมีน้ำหนักมาก

leg02
ขาเทียมรุ่นใหม่สำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาในระดับเหนือเข่า เบ้าสำหรับสวมกับตอขาเป็นพลาสติกน้ำหนักเบา
มีข้อเข่าที่ทำงานได้ใกล้เคียงกับหัวเข่าจริง แกนหน้าแข้งทำจากอะลูมิเนียม
เท้าทำจากพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นน้ำหนักเบาและใช้งานได้ง่าย
ขาเทียมลักษณะนี้นิยมใช้มาตั้งแต่หลังปี ๒๕๐๐

leg03
ขาเทียมสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาระดับเหนือเข่า
หลังจากตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายขาจริงแล้ว

leg04
ขาเทียมสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่า
เทคนิคยุคปัจจุบัน เบ้าทำจากพลาสติก น้ำหนักเบา
แกนหน้าแข้งทำจากอะลูมิเนียม และเท้าทำจากพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น

leg05
ขาเทียมสำหรับผู้พิการที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่า
หลังจากตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายกับขาจริง
เพื่อให้ผู้พิการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างกลมกลืนกับคนปรกติในสังคม

leg06
เหล็กพยุงขา (Brace) ช่วยในการเดินของผู้ป่วยที่มีขาลีบเล็กทั้งขา
อันมีสาเหตุมาจากโรคโปลิโอ ทำจากโครงโลหะ และพลาสติกน้ำหนักเบา

leg07
เหล็กพยุงขา (Brace) ช่วยในการเดินของผู้ป่วยที่มีขาลีบเล็กเฉพาะส่วนใต้เข่าลงมา
อันมีสาเหตุมาจากโรคโปลิโอ ทำจากโครงโลหะ
และได้รับการออกแบบให้ใส่รองเท้าผ้าใบได้เหมือนคนปรกติ