เรื่อง: ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
ภาพประกอบ : ช้างเฮฮา

rammorn

แต่เดิมคนมอญมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศพม่า ทว่าต้องพลัดพรากจากถิ่นเกิดเข้ามาสู่แผ่นดินสยามในหลายยุคสมัย โดยทางราชการไทยจัดสรรให้คนมอญตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ไม่ห่างไกลจากเมืองหลวงนัก เพื่อหวังให้เป็นประโยชน์ด้านแรงงานและการเสียส่วยภาษีให้แก่รัฐ

ปัจจุบันกระแสสังคมภายนอกได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวมอญแบบดั้งเดิม เช่น เรื่องของการอ่านพูดเขียนภาษามอญ  แต่สำหรับเรื่องความเชื่อแล้ว คนมอญส่วนใหญ่ยังยึดมั่นเรื่องการบูชาผีบรรพบุรุษ หากทำสิ่งใด “ผิดผี” ไม่ว่าจะเป็นกรณีหญิงตั้งครรภ์มานอนหรือพิงเสาบ้าน คนที่นับถือผีอื่นซึ่งเป็นคนละสายตระกูลมานอนค้างที่บ้านแล้วทำผิดจารีต หรือเกิดเหตุการณ์ซึ่งไม่ทราบที่มาที่ไป เช่น มีคนป่วย ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ้าบ้านอยู่อาศัยไม่เป็นสุข มักเกิดแต่เรื่องร้าย

ในกรณีเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องประกอบพิธีกรรมขอขมาลาโทษ คือ “การรำผีมอญ”

 

รำผีที่เสาไห้-หนองแซง เหลือเพียงแค่บนบาน

ปัจจุบันการประกอบพิธีรำผีมอญจัดเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากมีขั้นตอนรายละเอียดมาก ทั้งเครื่องเซ่นไหว้เครื่องบูชาก็หลากหลายชนิดและมีค่าใช้จ่ายสูง  ป้าถวิล มอญดะ แห่งชุมชนมอญบางกระดี่ กรุงเทพฯ ให้ข้อคิดเห็นว่า “คงไม่มีใครต้องการจัดพิธีรำผีบ่อยๆ เพราะหมายถึงได้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นในบ้าน และสมัยนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นหลักหมื่นหรือหลักแสน สู้หมั่นดูแลบ้านช่องให้เป็นปรกติไว้เป็นดีที่สุด การบูชาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ เรากระทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว”

แต่ยังมีชาวมอญไม่น้อยที่พร้อมใจกันจัดพิธีรำผีมอญขึ้น หากการบนบานผีบรรพบุรุษจะนำมาซึ่งความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง

ที่บ้านหนองแซง บ้านเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เดิมถิ่นนี้เคยมีคนมอญอาศัย แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือทั้งการพูด การเขียน การแต่งกาย หรือแม้แต่ประเพณีการละเล่น เพราะถูกกลืนด้วยวัฒนธรรมลาวเวียง (จันทน์) ลาวยวน (เชียงแสน)  ทว่ากลับพบการสืบทอดพิธีรำผีมอญโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้บน เช่น เมื่อได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันตามที่บนบานไว้ หรือคนในบ้านเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วบนบานให้ผีช่วย

กรณีบนบานให้ผีช่วยจากความเจ็บไข้ จะต้องจัดพิธีเสี่ยงทายด้วยการตั้งมะพร้าวเสี่ยงทายก่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกมะพร้าวปอกเปลือกขูดผิวเกลี้ยง ที่ก้นลูกมะพร้าวมีเดือยหรือแกนเสี้ยมจนแหลม  เริ่มทำพิธีโดยจุดธูปเทียนพร้อมขันห้าและกรวยดอกไม้เชิญดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษ แล้วร้องขอให้ผียอมช่วย หากหายป่วยจะจัดพิธีรำและเซ่นเครื่องคาวหวานตามจำนวนที่บนไว้  จากนั้นตั้งมะพร้าวเสี่ยงทายบนพื้นกระดาน หากตั้งอยู่นาน แม้จะใช้มือเคาะกระดานเท่าใดก็ไม่ล้ม แสดงว่าผียอมช่วย  แต่หากตั้งมะพร้าวแล้วล้มก็จะตกลงหาวันทำพิธีเสี่ยงทายกันใหม่ บางรายต้องทำพิธีถึง ๓ ครั้ง แต่บางรายถอดใจว่าผีไม่ช่วยแน่แล้วก็จะเลิกทำพิธีใดๆ ต่อ  สำหรับผู้ที่เสี่ยงทายผลมะพร้าวตั้งตรง จะเก็บลูกมะพร้าวไว้ใช้ประกอบในพิธีรำผีต่อไป

 

รำผี-รำโรง

การรำผีหรือรำผีมอญเป็นการรำในโรงพิธีประกอบดนตรีปี่พาทย์มอญ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษอันเป็นมงคลต่อผู้ร่วมพิธี  แต่ในท้องที่สระบุรีเรียกพิธีกรรมนี้ว่า “รำโรงหรือรำละคร” ซึ่งอาจมาจากการร่ายรำประกอบดนตรีในโรงไม้เรือนใหญ่

การสร้างปะรำพิธีจะมีขึ้นก่อนวันงาน ๑ วัน ลักษณะเป็นโรงไม้หลังคามุงหญ้าคา แฝกหรือจาก ตามแต่มีในท้องถิ่น ขึ้นเสาหลัก ๖ ต้นและเสาประกอบอีกฝั่งละ ๒ ต้น  เพิงข้างซ้าย-ขวา ฝั่งหนึ่งเป็นจุดตั้งวงปี่พาทย์มอญ และอีกฝั่งสำหรับผู้เข้าร่วมพิธี  ด้านในโรงยกแท่นเพื่อวางเครื่องเซ่นไหว้  บนคานไม้ผูกผ้าผืนหนึ่งห้อยไว้สำหรับให้ผู้รำจับผ้าเพื่อให้ผีที่สิงสถิตออกจากร่างผู้รำ อันเป็นไปตามคติความเชื่อของบ้านมอญส่วนใหญ่ แต่ในท้องที่สระบุรีจะแตกต่างออกไป คือให้ผู้รำจับผ้าเมื่อต้องการให้ผีเข้าทรงร่าง

ปัจจุบันที่สระบุรีมีการให้เช่าโรงหรือปะรำพิธีสำเร็จรูป พร้อมติดตั้งและรื้อถอน รวมทั้งมีผู้ประกอบพิธีเรียกว่า “ต้นผี” หลายคนคอยกำกับดูแลตลอดพิธี  ขณะที่บ้านมอญถิ่นอื่นเรียกผู้ประกอบพิธีว่า “โต้ง”  ส่วนต้นผีคือบุตรชายผู้จะสืบทอดการรับผีบรรพบุรุษ มักเป็นลูกคนโตของตระกูลเจ้าภาพ  สำหรับราคาว่าจ้างทำพิธี ไม่รวมวงปี่พาทย์มอญ และค่าอาหารคาวหวานตกอยู่ราว ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท

ในส่วนเครื่องเซ่นไหว้ประกอบด้วยกล้วย อ้อย ขนมต้มแดงต้มขาว ปลาย่าง ไก่ต้ม เหล้าขาว ฯลฯ โดยท้องถิ่นสระบุรีจัดหัวหมูเพิ่มเข้ามา

การประกอบพิธีรำผีมอญทั่วไป เริ่มจากผู้ประกอบพิธีเชิญดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษมาร่วมพิธีและเชิญเข้าร่างเจ้าภาพหรือเจ้าของบ้านซึ่งแต่งตัวนุ่งผ้าลอยชายผ้าขาวม้าคาดเอว  จากนั้นมีการทำนายเรื่องดินฟ้าอากาศ การทำมาหากิน  กรณีผิดผี จะสอบถามถึงสาเหตุแล้วจึงขอขมาต่อดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษ  แต่ในท้องถิ่นสระบุรี ผีบรรพบุรุษจะเข้าร่างต้นผีแทน แล้วให้พรกับเจ้าภาพที่จัดพิธีรำแก้บน

ลำดับต่อมาลูกหลานในสายตระกูลที่มาร่วมพิธีจะแต่งตัวนุ่งผ้าลอยชาย ผ้าคาดเอว สไบคล้องคอ ทัดดอกไม้ ถือถาดเครื่องเซ่นไหว้ แล้วรำประกอบเพลงเป็นช่วงๆ  ในท้องถิ่นสระบุรี การรำแก้บนเริ่มตั้งแต่ผู้บนเป็นผู้รำก่อน แล้วตามด้วยญาติพี่น้อง ปิดท้ายด้วยต้นผีที่อาวุโสที่สุด  ขั้นตอนต่อไป คือการฟันต้นกล้วย และขั้นตอนปลีกย่อยอีกหลายอย่าง เช่น อาบน้ำต้นผี (ท้องถิ่นสระบุรีจะอาบน้ำเจ้าภาพแทน) รำรวมญาติ ทุ่มมะพร้าวเสี่ยงทาย พิธีส่งเรือหยวกกล้วยไปไว้นอกปะรำพิธี เป็นต้น  สุดท้ายจะเก็บกวาดและนำข้าวของที่ใช้ประกอบในพิธีไปทิ้งและรื้อโรงให้เสร็จภายในวันเดียว

การประกอบพิธีรำผี แม้ว่าคนมอญมักไม่ยินดีจัดนัก เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว ยังถูกมองว่าทำผิดผี ผิดจารีตประเพณี  แต่เมื่อจำต้องจัดพิธีขึ้น สิ่งที่ได้รับคือการพบปะญาติพี่น้องเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมและปฏิบัติตามความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ซึ่งจะคอยดูแลปกป้องลูกหลานให้อยู่ดีมีสุข เพียงแค่ยึดมั่นในกฎเกณฑ์สังคมและจารีตอันดีงามไว้เท่านั้น

ขอขอบคุณ
คุณถวิล มอญดะ และคุณวรรษิดา พิทักษ์พิเศษ
(สรณบุคคล) อาจารย์พิเนตร น้อยพุทธา

เอกสารอ้างอิง
พิเนตร น้อยพุทธา. “บางประเพณีของชนชาติ.” ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโกศลวิหารกิจ วัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ : รำไทย เพรส, ๒๕๔๔.
ศรัทธา ลาภวัฒนา. คนมอญบนลุ่มน้ำภาคกลาง. กรุงเทพฯ : วันชนะ, ๒๕๔๖.
ศูนย์มอญศึกษา. หนังสือนำชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๗.
สุภาพร มากแจ้ง. การศึกษาวิถีชีวิตของมอญบางขุนเทียน “มอญบางกระดี่”. (รายงานการวิจัย), ๒๕๔๐.
องค์ บรรจุน. “รำผีมอญ จังหวัดสมุทรสาคร.” http://www.monstudies.com

เรื่อง: ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
ภาพประกอบ : ช้างเฮฮาแต่เดิมคนมอญมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศพม่า ทว่าต้องพลัดพรากจากถิ่นเกิดเข้ามาสู่แผ่นดินสยามในหลายยุคสมัย โดยทางราชการไทยจัดสรรให้คนมอญตั้งรกรากอยู่
ในพื้นที่ไม่ห่างไกลจากเมืองหลวงนัก เพื่อหวังให้เป็นประโยชน์ด้านแรงงานและการเสียส่วยภาษีให้แก่รัฐ

ปัจจุบันกระแสสังคมภายนอกได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวมอญแบบดั้งเดิม เช่น เรื่องของการอ่านพูดเขียนภาษามอญ  แต่สำหรับเรื่องความเชื่อแล้ว คนมอญส่วนใหญ่ยังยึดมั่นเรื่องการบูชาผีบรรพบุรุษ หากทำสิ่งใด “ผิดผี” ไม่ว่าจะเป็นกรณีหญิงตั้งครรภ์
มานอนหรือพิงเสาบ้าน คนที่นับถือผีอื่นซึ่งเป็นคนละสายตระกูล
มานอนค้างที่บ้านแล้วทำผิดจารีต หรือเกิดเหตุการณ์ซึ่งไม่ทราบที่มาที่ไป เช่น มีคนป่วย ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ้าบ้านอยู่อาศัยไม่เป็นสุข มักเกิดแต่เรื่องร้าย

ในกรณีเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องประกอบพิธีกรรมขอขมาลาโทษ คือ “การรำผีมอญ”

รำผีที่เสาไห้-หนองแซง เหลือเพียงแค่บนบาน

ปัจจุบันการประกอบพิธีรำผีมอญจัดเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากมีขั้นตอนรายละเอียดมาก ทั้งเครื่องเซ่นไหว้เครื่องบูชาก็หลากหลายชนิดและมีค่าใช้จ่ายสูง  ป้าถวิล มอญดะ แห่งชุมชนมอญบางกระดี่ กรุงเทพฯ ให้ข้อคิดเห็นว่า “คงไม่มีใครต้องการจัดพิธีรำผีบ่อยๆ เพราะหมายถึงได้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นในบ้าน และสมัยนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นหลักหมื่นหรือหลักแสน สู้หมั่นดูแลบ้านช่องให้เป็นปรกติไว้เป็นดีที่สุด การบูชาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ เรากระทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว”

แต่ยังมีชาวมอญไม่น้อยที่พร้อมใจกันจัดพิธีรำผีมอญขึ้น หากการบนบานผีบรรพบุรุษจะนำมาซึ่งความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง

ที่บ้านหนองแซง บ้านเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เดิมถิ่นนี้เคยมี
คนมอญอาศัย แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือทั้งการพูด การเขียน การ
แต่งกาย หรือแม้แต่ประเพณีการละเล่น เพราะถูกกลืนด้วยวัฒนธรรมลาวเวียง (จันทน์) ลาวยวน (เชียงแสน)  ทว่ากลับพบ
การสืบทอดพิธีรำผีมอญโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้บน เช่น เมื่อได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันตามที่บนบานไว้ หรือคนในบ้านเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วบนบานให้ผีช่วย

กรณีบนบานให้ผีช่วยจากความเจ็บไข้ จะต้องจัดพิธีเสี่ยงทายด้วยการตั้งมะพร้าวเสี่ยงทายก่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกมะพร้าว
ปอกเปลือกขูดผิวเกลี้ยง ที่ก้นลูกมะพร้าวมีเดือยหรือแกนเสี้ยมจนแหลม  เริ่มทำพิธีโดยจุดธูปเทียนพร้อมขันห้าและกรวยดอกไม้เชิญดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษ แล้วร้องขอให้ผียอมช่วย หากหายป่วยจะจัดพิธีรำและเซ่นเครื่องคาวหวานตามจำนวนที่บนไว้  จากนั้นตั้งมะพร้าวเสี่ยงทายบนพื้นกระดาน หากตั้งอยู่นาน แม้จะใช้มือเคาะกระดานเท่าใดก็ไม่ล้ม แสดงว่าผียอมช่วย  แต่หากตั้งมะพร้าวแล้วล้มก็จะตกลงหาวันทำพิธีเสี่ยงทายกันใหม่ บางรายต้องทำพิธีถึง
๓ ครั้ง แต่บางรายถอดใจว่าผีไม่ช่วยแน่แล้วก็จะเลิกทำพิธีใดๆ ต่อ
สำหรับผู้ที่เสี่ยงทายผลมะพร้าวตั้งตรง จะเก็บลูกมะพร้าวไว้ใช้ประกอบในพิธีรำผีต่อไป

รำผี-รำโรง

การรำผีหรือรำผีมอญเป็นการรำในโรงพิธีประกอบดนตรี
ปี่พาทย์มอญ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษอันเป็นมงคลต่อผู้ร่วมพิธี  แต่ในท้องที่สระบุรีเรียกพิธีกรรมนี้ว่า “รำโรงหรือรำละคร” ซึ่งอาจมาจากการร่ายรำประกอบดนตรีในโรงไม้เรือนใหญ่

การสร้างปะรำพิธีจะมีขึ้นก่อนวันงาน ๑ วัน ลักษณะเป็น
โรงไม้หลังคามุงหญ้าคา แฝกหรือจาก ตามแต่มีในท้องถิ่น ขึ้น
เสาหลัก ๖ ต้นและเสาประกอบอีกฝั่งละ ๒ ต้น  เพิงข้างซ้าย-ขวา
ฝั่งหนึ่งเป็นจุดตั้งวงปี่พาทย์มอญ และอีกฝั่งสำหรับผู้เข้าร่วมพิธี
ด้านในโรงยกแท่นเพื่อวางเครื่องเซ่นไหว้  บนคานไม้ผูกผ้าผืนหนึ่งห้อยไว้สำหรับให้ผู้รำจับผ้าเพื่อให้ผีที่สิงสถิตออกจากร่างผู้รำ อันเป็นไปตามคติความเชื่อของบ้านมอญส่วนใหญ่ แต่ในท้องที่สระบุรีจะแตกต่างออกไป คือให้ผู้รำจับผ้าเมื่อต้องการให้ผีเข้าทรงร่าง

ปัจจุบันที่สระบุรีมีการให้เช่าโรงหรือปะรำพิธีสำเร็จรูป พร้อมติดตั้งและรื้อถอน รวมทั้งมีผู้ประกอบพิธีเรียกว่า “ต้นผี” หลายคนคอยกำกับดูแลตลอดพิธี  ขณะที่บ้านมอญถิ่นอื่นเรียกผู้ประกอบพิธีว่า “โต้ง”  ส่วนต้นผีคือบุตรชายผู้จะสืบทอดการรับผีบรรพบุรุษ มักเป็นลูกคนโตของตระกูลเจ้าภาพ  สำหรับราคาว่าจ้างทำพิธี ไม่รวมวง
ปี่พาทย์มอญ และค่าอาหารคาวหวานตกอยู่ราว ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท

ในส่วนเครื่องเซ่นไหว้ประกอบด้วยกล้วย อ้อย ขนมต้มแดง
ต้มขาว ปลาย่าง ไก่ต้ม เหล้าขาว ฯลฯ โดยท้องถิ่นสระบุรีจัดหัวหมูเพิ่มเข้ามา

การประกอบพิธีรำผีมอญทั่วไป เริ่มจากผู้ประกอบพิธีเชิญ
ดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษมาร่วมพิธีและเชิญเข้าร่างเจ้าภาพหรือเจ้าของบ้านซึ่งแต่งตัวนุ่งผ้าลอยชายผ้าขาวม้าคาดเอว  จากนั้นมีการทำนายเรื่องดินฟ้าอากาศ การทำมาหากิน  กรณีผิดผี จะสอบถามถึงสาเหตุแล้วจึงขอขมาต่อดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษ  แต่ในท้องถิ่นสระบุรี ผีบรรพบุรุษจะเข้าร่างต้นผีแทน แล้วให้พรกับเจ้าภาพที่จัดพิธีรำแก้บน

ลำดับต่อมาลูกหลานในสายตระกูลที่มาร่วมพิธีจะแต่งตัวนุ่งผ้าลอยชาย ผ้าคาดเอว สไบคล้องคอ ทัดดอกไม้ ถือถาดเครื่องเซ่นไหว้ แล้วรำประกอบเพลงเป็นช่วงๆ  ในท้องถิ่นสระบุรี การรำแก้บนเริ่มตั้งแต่ผู้บนเป็นผู้รำก่อน แล้วตามด้วยญาติพี่น้อง ปิดท้ายด้วยต้นผีที่อาวุโสที่สุด  ขั้นตอนต่อไป คือการฟันต้นกล้วย และขั้นตอน
ปลีกย่อยอีกหลายอย่าง เช่น อาบน้ำต้นผี (ท้องถิ่นสระบุรีจะอาบ
น้ำเจ้าภาพแทน) รำรวมญาติ ทุ่มมะพร้าวเสี่ยงทาย พิธีส่งเรือ
หยวกกล้วยไปไว้นอกปะรำพิธี เป็นต้น  สุดท้ายจะเก็บกวาดและนำข้าวของที่ใช้ประกอบในพิธีไปทิ้งและรื้อโรงให้เสร็จภายในวันเดียว

การประกอบพิธีรำผี แม้ว่าคนมอญมักไม่ยินดีจัดนัก เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว ยังถูกมองว่าทำผิดผี ผิดจารีตประเพณี  แต่เมื่อจำต้องจัดพิธีขึ้น สิ่งที่ได้รับคือการพบปะญาติ
พี่น้องเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมและปฏิบัติตามความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ซึ่งจะคอยดูแลปกป้องลูกหลานให้อยู่ดีมีสุข เพียงแค่
ยึดมั่นในกฎเกณฑ์สังคมและจารีตอันดีงามไว้เท่านั้น

ขอขอบคุณ
คุณถวิล มอญดะ และคุณวรรษิดา พิทักษ์พิเศษ
(สรณบุคคล) อาจารย์พิเนตร น้อยพุทธา

เอกสารอ้างอิง
พิเนตร น้อยพุทธา. “บางประเพณีของชนชาติ.” ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโกศลวิหารกิจ วัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ : รำไทย เพรส, ๒๕๔๔.
ศรัทธา ลาภวัฒนา. คนมอญบนลุ่มน้ำภาคกลาง. กรุงเทพฯ : วันชนะ, ๒๕๔๖.
ศูนย์มอญศึกษา. หนังสือนำชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๗.
สุภาพร มากแจ้ง. การศึกษาวิถีชีวิตของมอญบางขุนเทียน “มอญบางกระดี่”. (รายงานการวิจัย), ๒๕๔๐.
องค์ บรรจุน. “รำผีมอญ จังหวัดสมุทรสาคร.” http://www.monstudies.com