377special1โรฮิงญา รอยน้ำตาที่ลุ่มน้ำกะลาดาน

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เรื่องผู้อพยพชาวโรฮิงญาเป็นข่าวใหญ่ในหน้าสื่อไทยหลายครั้ง โดยเฉพาะกลาง ค.ศ. ๒๐๑๕ ที่มีการพบหลุมศพชาวโรฮิงญาบนยอดเขารอยต่อพรมแดนไทย-มาเลเซีย ก่อนจะตามมาด้วยคลื่น “มนุษย์เรือ” (boat people) นับพันที่ลอยเคว้งคว้างกลางอ่าวเบงกอล

เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมถึงองค์กรระดับภูมิภาคอย่างอาเซียนที่อยู่ในภาวะ “เงียบสนิท” กระทั่งรัฐบาลพม่าชุดล่าสุดซึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือนก็เลี่ยงจะตอบเรื่องนี้มาจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้บ่งชี้ว่าสังคมไทยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับ “โรฮิงญา” น้อยอย่างยิ่ง พวกเขาคือใคร มาจากไหน ทำไมตัดสินใจออกมาเสี่ยงชีวิตกลางทะเล อะไรทำให้เผ่าพันธุ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มคนที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุดในโลก คำถามเหล่านี้ยังไม่ได้รับคำตอบ

สารคดี เดินทางไปสำรวจรัฐยะไข่ ดินแดนที่คนเหล่านี้จากมา เพื่อหา “ต้นตอของปัญหา” และ “คำตอบ” ที่ว่านั้น

 

377special2สานฝันไว้ที่ปลายคอร์ต บ้านทองหยอด จากโรงงานขนมไทยสู่โรงเรียนแชมป์โลกแบดมินตัน

ด้วยผลงานเขย่าโลกของ รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย ทำให้ชื่อของโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอดมีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง

กิจการโรงเรียนแบดมินตันย่านพุทธมณฑลสาย ๓ เริ่มต้นจาก กมลา ทองกร และครอบครัว สร้างสนามแบดมินตันเล็ก ๆ ไว้ที่บ้าน กระทั่งกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักแบดมินตันฝีมือเอกอุ ซึ่งก้าวสู่ตำแหน่งมือวางอันดับ ๑ ของโลกแล้วอย่าง “น้องเมย์”

หากย้อนไปไกลกว่านั้น จากการริเริ่มกิจการขนมไทย ถึงตอนนี้คงไม่เกินเลยไปหากบอกว่า โรงงานขนมไทยบ้านทองหยอดเป็นผู้จำหน่ายขนมไทยตระกูล “เครื่องทอง” ที่มีกำลังการผลิตสูงสุดของประเทศ

จากโรงเรียนสอนแบดมินตันถึงโรงงานขนมไทย ไม่ว่าหันมองมุมใดก็ไม่น่าเกี่ยวข้องกันได้

แต่จากการทำหน้าที่ของกลุ่มผู้มีความรักและความฝัน ได้ทำให้สองสิ่งที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน คือ “ขนมไทย” กับกีฬา “แบดมินตัน” กลายเป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งชาติไปแล้ว