Click here to visit the Website

สารคดีพิเศษ
กล้วยไม้ ในงานภาพวาด ทางวิทยาศาสตร์ ความงาม ของความจริง
.....การนำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทำได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูป การบรรยาย ตาราง สถิติ ตัวเลข ฯลฯ การนำเสนอด้วยภาพวาด ก็เป็นวิธี ที่จะสามารถ อธิบาย รายละเอียด ของข้อมูล ได้อย่างชัดเจน อีกทางหนึ่ง
.....การวาด ภาพทางวิทยาศาสตร์ หรือ Scientific Illustration เกิดขึ้น เมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยเริ่มต้นจาก การวาดภาพ พืช สมุนไพร ที่ใช้รักษาโรคกันอยู่ในยุคนั้น ทั้งเพื่อยืนยันให้คนอื่นรู้ เพื่อบอกต่อ และเพื่อเก็บไว้ใช้ในการศึกษา อ้างอิงต่อไป
.....ภาพวาดในยุคแรก ๆ เป็นภาพสีน้ำวาดลงบนหนังลูกวัว (vellum) เนื้อละเอียด อาจมีภาพสีด้วยแต่สีอาจซีดจางไป ในยุคต่อมา เมื่อมีคน ต้องการ copy ผลงาน จึงมีการแกะพิมพ์ ทั้งพิมพ์ไม้ และพิมพ์ชนิดอื่น ๆ เช่น metal-engraving , aquatint, mezzotint หลังจากนั้น จึงเป็น ภาพพิมพ์หิน (lithograph) งานภาพพิมพ์ส่วนใหญ่ มักเป็น สีขาว-ดำ เพราะนอกจากว่า ในยุคนั้น จะไม่มี สี ให้เลือกมากมาย ตามต้องการ และเหมือนจริงแล้ว ภาพพิมพ์ขาว-ดำ ยังทำได้ง่าย และมีราคา ถูกกว่า ด้วย
.....ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีอยู่แต่เฉพาะ แวดวงของ พฤกษศาสตร์ เท่านั้น แต่แทบทุกวงการของวิทยาศาสตร์ ต้องใช้ ภาพวาด เกือบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ทางการแพทย์ ทางสัตววิทยา แม้แต่ งานทางโบราณคดี แผนที่ต่างๆ เหล่านี้ จัดเป็น ภาพวาด ทาง วิทยาศาสตร์ ทั้งนั้น
.....หัวใจของภาพวาดประกอบทางวิทยาศาสตร์คือ "ความจริง" ภาพ จะต้อง แสดงให้เห็น ตำแหน่ง สี รายละเอียด ที่เหมือนจริงทุกอย่าง โดยไม่มีการ แต่งเติม เสริมอย่างอื่นเข้าไป เพราะถือว่า ภาพประกอบ ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการนำเสนอ ข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์ ในอีก รูปแบบหนึ่ง
.....ภาพวาดกล้วยไม้ในโครงการวิจัย "กล้วยไม้ไทย : ภาพวาดสีน้ำ และข้อมูล ประจำชนิด" ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว. นี้ก็เช่นกัน สองผู้ร่วมงานคนสำคัญคือ เอกชัย อ๊อดอำไพ กับ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง ปรารถนาจะ สร้างงานภาพวาด วิทยาศาสตร์ของ กล้วยไม้ไทย จำนวน ๓๐๐ ชนิด ให้เกิดขึ้นให้ได้
.....เอกชัย อ๊อดอำไพ เป็นคนไทยคนแรก ที่ได้เกียรติเป็นสมาชิกของ The Botanical Artists Society ของอังกฤษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผลงานภาพวาดกล้วยไม้ ของเขา ได้รับรางวัลมากมาย ทั้งเหรียญทอง จากอังกฤษ และอเมริกา Best of The Show จากฟลอริดา นอกจากนั้น ผลงานของเขา ยังได้รับการตีพิมพ์ใน American Orchid Society ซึ่งเป็น หนังสือ ที่มีอิทธิพลมาก ในวงการกล้วยไม้โลก
.....ส่วน รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง นั้นเคยเป็น อาจารย์ประจำภาควิชา พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปัจจุบัน ซึ่งเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านก็ยังคง มาช่วยงานที่ พิพิธภัณฑ์พืช ของคณะ วิทยาศาสตร์ อยู่ พร้อมกับ รับเป็น ผู้วิจัยร่วม ในโครงการ "กล้วยไม้ไทย : ภาพวาดสีน้ำ และข้อมูล ประจำชนิด" ซึ่งมี เอกชัย เป็นหัวหน้าโครงการนี้ด้วย
.....ภายในระยะเวลา ๓ ปี นับจากเดือน กรกฎาคม ๒๕๔๑ - กรกฏาคม ๒๕๔๓ เอกชัย จะต้องเดินทางเข้าไปในป่า พร้อมกับอุปกรณ์วาดภาพ และอุปกรณ์ยังชีพ เพื่อสำรวจและวาดภาพกล้วยไม้ โดยอาจารย์อบฉันท์ จะเป็นคนคอยให้ รายละเอียด ไปก่อนว่า เขาจะต้องสังเกต และให้ความ ใส่ใจ ในรายละเอียดใดบ้าง ในกล้วยไม้ แต่ละชนิด
.....(อ่านต่อ คลิกที่นี่)

เรื่อง: ขวัญใจ เอมใจ
ภาพ: บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช

เอกชัย อ๊อดอำไพ

ภาพวาดกล้วยไม้ไทย
ภาพวาดกล้วยไม้ไทย (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)

แยกชิ้นส่วน ภายใน ของกล้วยไม้ ชนิดนั้น ๆ มาวาด (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)

 

สารบัญ | งานภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ | กล้วยไม้ไทย | ของเล่นพื้นบ้าน | ดื่มนม


Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)