Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ เมื่อวิทยานิพนธ์ถูกบังคับให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ
คั ด ค้ า น

รศ. นพ. มันตรี จุลสมัย ฝ่ายคัดค้าน
รศ. กฤตยา อาชวนิจกุล
กรรมการหลักสูตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การเขียน วิทยานิพนธ์ เป็น ภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็น เครื่องวัดว่า การจัดการศึกษา ในมหาวิทยาลัย มีคุณภาพ หรือ มีความ เป็นสากล

  • ภาษาอังกฤษ ทำให้ คนส่วนใหญ่ ไม่สามารถ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ จาก องค์ความรู้ จากวิทยานิพนธ์ได้ ทำให้ไม่เกิด ความรู้ขึ้นในสังคม

  • การเผยแพร่ ความรู้ สู่นานาชาติ เป็นเพียง ผลพลอยได้ ถ้าต้องการ เผยแพร่ ควรพิจารณา แปล เฉพาะเรื่องไป

  • เป็นการปิดกั้น การเรียนรู้ ของนักศึกษา ทั้ง สายวิทยาศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ ซึ่งย่อมจะ เขียนงานวิชาการได้ดี และ ลุ่มลึกกว่า ถ้าได้ใช้ ภาษาที่ตนถนัดที่สุด

....."คุณภาพ หรือความเป็นสากล ของวิทยานิพนธ์ และบัณฑิตศึกษา ไม่ได้อยู่ที่ การทำวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ แต่อยู่ที่ เนื้อหา สาระ ระบบวิธีการค้นคว้า และความรู้ที่ได้ รวมทั้งการสร้าง องค์ความรู้ ที่สอดคล้อง และตอบสนอง กับความต้องการ ของสังคมอย่างแท้จริง การบังคับ ให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เป็นการเอาชุดความคิด ที่ยอมจำนน กับตะวันตก มาใช้ในการเรียนการสอน ทำให้สติปัญญา และ ความรู้ ของสังคมไทย ไม่งอกเงย
....."ความคิดที่ว่า ภาษาอังกฤษดี แสดงถึง ความเหนือกว่าคนอื่น และเป็น การยกระดับผลงานนั้น ฝังหัวเรามานานแล้ว เป็นวิธีคิดเดียวกับ การบ้าฝรั่งผิวขาว เห็นว่าตะวันตก เป็นคำตอบ ดีทุกอย่าง เรื่องนี้เป็นเพียง รูปธรรมหนึ่ง ของการเดินตามก้น ฝรั่งตะวันตก ซึ่งอันตราย ก่อให้เกิด ผลเสีย กับสังคม วิกฤตที่เกิดขึ้น ในบ้านเราส่วนมาก ก็เกิดมาจาก ความพยายามในการ ทำตัวให้เหมือนตะวันตก ตามกระแสอย่างเชื่อง ๆ ตั้งแต่ ระดับมหาวิทยาลัย ไปจนถึงรัฐบาล
....."นี่ไม่ใช่ประเด็นเรื่อง ชาตินิยม หรือรณรงค์ ให้รักภาษาไทย เรากำลังเรียกร้อง ให้การศึกษา เป็นไปเพื่อ ตอบสนอง ความต้องการ ของสังคมนั้นๆ วิทยานิพนธ์ เป็นขุมความรู้อันหนึ่ง ของสังคม ถ้าเขียนด้วย ภาษาที่ใช้กัน ในสังคมนั้น ๆ คนส่วนใหญ่ ก็จะสามารถเข้าถึง และนำข้อมูล ไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้เกิดสติปัญญา ความรู้ นักศึกษา ก็ได้เปล่งศักยภาพ ของตัวเอง อย่างเต็มที่ เพราะได้สื่อสาร สิ่งที่เขาเรียนรู้มา ด้วยภาษาที่ถนัดที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ สังคม มากที่สุด การบังคับให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ เท่ากับ ปิดกั้นความคิด ของนักศึกษา สังคมไทย ก็เสียโอกาส ในการเข้าถึง องค์ความรู้ต่าง ๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากวิทยานิพนธ์ดี ๆ ทั้ง ๆ ที่มหาวิทยาลัย ใช้เงินภาษีอากร ของประชาชน ในการผลิตบัณฑิตออกมา ระเบียบจะตั้งขึ้น มานานแค่ไหน ก็ไม่สำคัญ เมื่อเห็นว่า ไม่เป็นประโยชน์ ก็สมควรต้องเปลี่ยน
....."เราจำเป็น ต้องเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาไทย เพราะมหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิต และสร้างองค์ความรู้ จากการทำวิจัย ของนักศึกษา ระดับปริญญาโท และเอก เพื่อรับใช้สังคมไทย ไม่ใช่รับใช้ "สากล" ซึ่งผู้บริหาร มักจะหมายถึง ชาติตะวันตกเท่านั้น จะมาบอกว่า ชาวบ้าน ไม่อ่านวิทยานิพนธ์ หรือคนไทย ไม่รักการอ่านไม่ได้ เพราะหน้าที่ของ มหาวิทยาลัย คือ ทำอย่างไร ให้คนได้อ่านกันมากขึ้น ถ้าเขียนเป็นภาษาอื่น คนไทยจำนวนมาก ก็จะอ่านไม่รู้เรื่อง ทำให้สังคมของเรา ไม่มีฐานความรู้ ในภาษาของตัวเอง
....."ไม่เพียงแต่ วิทยานิพนธ์เท่านั้น ที่ต้องเขียน เป็นภาษาไทย งานวิจัยต่าง ๆ ของอาจารย์ หรือใครก็ตาม ที่ทำเกี่ยวกับ สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็น งานในสาขา วิทยาศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ ก็ควรเขียน เป็นภาษาไทย
....."ความคิดที่ว่า เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการ ของต่างประเทศนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะเป้าหมายของ การทำวิทยานิพนธ์ ไม่ได้อยู่ที่ การได้เผยแพร่ ในวารสารต่างประเทศ และการไม่ได้ตีพิมพ์ ในวารสารเหล่านั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า งานชิ้นนั้นไม่ดี แต่อาจจะเป็นเพราะ ประเด็นที่ศึกษา ไม่เหมาะกับ แนวทางของวารสาร หรือกลุ่มผู้อ่าน มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ไม่ได้ตีพิมพ์ ในวารสารต่างประเทศ เพราะหัวข้อ ไม่เป็นที่น่าสนใจ ในต่างประเทศ แต่มีความสำคัญ กับสังคมไทยมาก การที่วงวิชาการไทย พยายามเอาเรื่อง การตีพิมพ์ ในวารสารต่างประเทศ เป็นดัชนี ในการวัดผลสำเร็จนั้น ใช้ไม่ได้เสมอไป หรือถ้าเขาสนใจ งานชิ้นนั้นจริง เขาก็ยินดีที่จะ แปลมันออกมา
....."ขณะนี้สำนักงาน กองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) ให้ทุน แปลวิทยาพนธ์ ปริญญาเอก ของคนไทย ที่จบจากเมืองนอก เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมไทย ถ้าเราบังคับ ให้คนเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ เราคงต้องเสียเงินไป ในการแปลงาน ของคนไทย ให้คนไทยอ่าน ซึ่งเป็นตลกร้าย ของสังคมไทย
....."ถ้าผู้บริหาร มัวแต่คิดว่า ต้องเขียนเป็น ภาษาอังกฤษ เพราะมีศัพท์เทคนิคเยอะ เราก็คงต้องพึ่งพา ภาษาอังกฤษไปตลอด แต่ถ้าเราพยายาม สร้างศัพท์ขึ้นมาใหม่ ความจำเป็น ในการใช้ภาษาอื่น ก็จะมีน้อยลงไปเรื่อย ๆ ตอนแรกสังคม อาจจะไม่คุ้นเคย กับศัพท์ ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้ แต่เมื่อ เวลาผ่านไป ความรู้ ความเข้าใจในศัพท์นั้น ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
....."ส่วนการอยากให้เด็ก เก่งภาษาอังกฤษนั้น ก็เป็นคนละเรื่องกับ การบังคับ ให้เขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาอังกฤษ การทำวิทยานิพนธ์ เป็นกระบวนการเรียนรู้ ไม่ใช่ แบบฝึกหัดภาษาอังกฤษ วิธีการ ทำให้คนเก่งภาษา อังกฤษ มีหลายอย่าง และการเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นภาษาไทย ก็ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่า นักศึกษาคนนั้น ไม่เก่งภาษาอังกฤษ นักศึกษาเอง ก็ได้ประโยชน์จาก การฝึกฝน และพยายาม แปลความรู้ จากภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาไทย และเป็นคุณูปการอย่างหนึ่ง ที่นักศึกษา จะทำให้กับสังคมได้
....."การเขียนวิทยานิพนธ์ เป็นอังกฤษ ที่นักศึกษา ทำกันอยู่ในตอนนี้ มีปัญหามาก คือ นักศึกษา เขียนภาษาอังกฤษ ไม่รู้เรื่อง บางครั้งอาจารย์ ต้องช่วยเขียนให้เยอะ นักศึกษาจำนวนมาก ถึงกับต้อง ไปจ้างแปล ปัญหาอีกข้อหนึ่งก็คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ ใช้วิธี "ตัดแปะ" คือ ลอกจากตำรา ภาษาอังกฤษ มาใส่ใน วิทยานิพนธ์ตัวเอง ไม่ยอมอ้างอิง จากงานภาษาไทย ที่ดี ๆ เพราะขี้เกียจแปล การบังคับให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้นักศึกษา ไม่ยอมเขียนงานขึ้นจาก ความเข้าใจ ของตัวเอง
....."จุดยืนของเราก็คือ ให้นักศึกษา มีทางเลือกมากขึ้น ในการเลือกใช้ภาษา ไม่ควรจะบังคับกัน ถ้าอันไหนมีความจำเป็น ต้องเขียนภาษาต่างชาติ ก็ให้ขออนุมัติ เป็นเรื่อง ๆ ไป แทนที่จะบังคับ ให้เขียนเป็น ภาษาอังกฤษ แล้วขออนุญาต เขียนเป็นภาษาไทย อย่างที่เป็นอยู่
....."สิ่งที่มหาวิทยาลัย ควรทำมากกว่า มาบังคับในเรื่องนี้ คือ พัฒนาเนื้อหา หลักสูตร การเรียน การสอนให้มีคุณภาพ ลงทุนแปลตำรา เป็นภาษาไทย มีกระบวนการ ในการคัดสรร วิทยานิพนธ์ซึ่งดี มีคุณค่า แล้วนำมาพิมพ์ เป็นตำราของ มหาวิทยาลัย ถ้าต้องการเผยแพร่ ในต่างประเทศ ก็ค่อยนำมาแปล เป็นภาษาอังกฤษ ทีหลัง"
นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล
นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล
อดีตคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย และอดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
click hereอ่าน (ฝ่ายสนับสนุน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ
สนับสนุน หรือ คัดค้าน การแปลงพันธุกรรม GMOs
สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนหนังสือลูกเอง ที่บ้าน
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ตี๋ เฮงสกุล | ยาคุมฉุกเฉิน | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา | แกะรอยกระซู่
Sumatran Rhinoceros | Twin Boys Head Karen Crusaders


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)