สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๒ เดือน ธันวาคม ๒๕๔๔ "๖๐ ปีเสรีไทย"
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๒ เดือน ธันวาคม ๒๕๔๔
นิตยสารสารคดี Feature Magazine
นิตยสารสำหรับครอบครัว
www.sarakadee.com
ISSN 0857-1538
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๒ เดือน ธันวาคม ๒๕๔๔
ส า ร บั ญ
โลกใบใหญ่
โลกใบเล็ก
โกศหมาของคนรักหมา
โกศหมาของคนรักหมา
ลุงหนวดกับสาวยูเครน
ลุงหนวดกับสาวยูเครน
อ่านเอาเรื่อง
เอาไหม ? หอศิลป์ร่วมสมัย ในศูนย์การค้า
เกร็ดข่าว
คลิกดูภาพใหญ่
ตุ๊กแก เรื่องของการค้า และระบบนิเวศ
เกร็ดข่าว
อาสาสมัครเพื่อชุมชน ถึงเวลาขาโจ๋
เกร็ดข่าว
เบี้ยกุดชุม ก้าวสะดุดของ ระบบเงินตราชุมชนไทย
๑๐ อันดับ
ธุรกิจ
คลิกดูภาพใหญ่
เสริมความงามวิธีโบราณ บนทางเท้าที่เยาวราช
ธุรกิจ
๗๐๐ ปีเส้นทางสังคโลก
ความหวังสินค้ากู้ชาติ
สะกิดตา-สะกิดใจ
สิ่งแวดล้อม
ตัวเลขร้อน ๆ ประชากรโลก ๖.๑ พันล้านคน
ต่างประเทศ
คลิกดูภาพใหญ่
หนึ่งร้อยปี ที่ไม่โดดเดี่ยวของ "โนเบล"
คนไทยค้นพบ
คลิกอ่านต่อ
ศรีเชียงดาว
อาหารและโภชนาการ
กินหมูได้ แต่ต้องรู้วิธีเลือก
ที่นี่มีอะไร
หนังสือบนแผง
คอลัมน์ประจำ - ปกิณกะ
เชิญดอกไม้
คลิกอ่านต่อ
ดอกเทียน
เรื่องจากปก
เรื่องเด่นในฉบับ
สารคดีพิเศษ
Special Attractions
จากบรรณาธิการ
โลกรายเดือน
บ้านพิพิธภัณฑ์
ใบปลิวยุคสงครามโลก พ.ศ. ๒๔๘๘ ของอาจารย์ปุ๋ย โรจนะบุรานนท์
ข้างครัว
อเมริกาลาติน
เขียนถึงสารคดี
Feature@ Sarakadee.com
สารคดีภาพ
อ่านต่อ
๑๕๐ ปีรอยเตอร์
บันทึกนักเดินทาง
(คลิกดูภาพใหญ่)
ค่างแว่นถิ่นเหนือ 
สยามร่วมสมัย

พระเขี้ยวแก้ว
เพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน
(คลิกดูภาพใหญ่)
สุโขทัยวันนี้ ยังมีท้องทุ่งและฝูงปลา
ห้องภาพปรินายก
เย็นศิระ เพราะพระบริบาล
สัมภาษณ์
หลายชีวิตเสรีไทย
เที่ยวทั่วไทยไปกับ "นายรอบรู้"
เที่ยวทั่วไทยไปกับ นายรอบรู้
เฮโลสาระพา
เอาไหม ? หอศิลป์ร่วมสมัยในศูนย์การค้า
เรื่องจากปก
๖๐ ปีเสรีไทย ๖๐ ปีเสรีไทย

       ฝูงเครื่องบิน บี-๒๔ ในภาพ เป็นเครื่องบินสี่เครื่องยนต์ สองแพนหาง ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้ปฏิบัติภารกิจในประเทศไทย ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยใช้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด ทำลายสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ ตลอดจนนำเสรีไทยจากนอกประเทศ กระโดดร่มเข้ามาปฏิบัติการลับในเมืองไทย
       ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นยกพลบุกประเทศไทย รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยินยอมให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร คืออังกฤษและสหรัฐอเมริกา แม้ชาวไทยจำนวนมาก จะไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาล
       ขบวนการเสรีไทยจึงเกิดขึ้นนับแต่วันแรกที่ญี่ปุ่นยึดประเทศไทย ชาวไทยผู้รักชาติทั้งในและนอกประเทศ ร่วมกันก่อตั้งองค์การใต้ดิน มีเป้าหมายเพื่อขับไล่กองทัพญี่ปุ่น และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับว่า การประกาศสงครามของรัฐบาลไทยต่ออังกฤษ และอเมริกา ไม่ได้เป็นความประสงค์ของคนไทยทั้งชาติ 
       หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ ประเทศไทยไม่ตกเป็นประเทศแพ้สงคราม เหมือนประเทศญี่ปุ่น ไม่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินมหาศาล และสามารถรักษาเอกราชได้จนถึงทุกวันนี้ ก็ด้วยความเสียสละเลือดเนื้อ และชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ที่เรียกตัวเองว่า เสรีไทย
สารคดีพิเศษ
(คลิกดูภาพใหญ่) ข้าวประดับดิน บุญกลางพรรษาและการบูชาเหนือน้ำคาน 

       เมืองหลวงพระบางตั้งอยู่ ณ บริเวณแม่น้ำคานไหลมาสบน้ำโขง น้ำคานจึงผูกพันกับคนที่นี่ ทั้งในตำนานว่าด้วยการสร้างเมือง และวิถีชีวิตจริง ๆ ดังนั้นพอถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งเป็นช่วงเวลาข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ที่สุด น้ำในแม่น้ำก็มาก ชาวเมืองจึงร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ และวิญญาณไร้ญาติ พร้อมทั้งแข่งเรือยาว "ส่วงเฮือ" กันกลางแม่น้ำคานอย่างสนุกสนาน
       ปัจจุบันพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับ "ข้าวประดับดิน" ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่พิธีรีตองเกี่ยวกับการแข่งเรือกลับทวีความสำคัญขึ้นทุกที "ชัยชนะ" ในการแข่งขันถูกให้คุณค่าเพิ่มขึ้น
       วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ นักเขียนประจำนิตยสาร สารคดี จะพาผู้อ่านเข้าร่วมงานบุญข้าวประดับดิน ชมประเพณีแข่งเรือ -- งานบุญใหญ่ประจำปีของลาว ที่เป็นรองก็แต่งานบุญสงกรานต์เท่านั้น

อ่านต่อคลิกที่นี้อ่านต่อคลิกที่นี้


(คลิกดูภาพใหญ่) ๖๐ ปีเสรีไทย วีรกรรมของผู้รับใช้ชาติ

       เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อ ๖๐ ปีก่อน ส่งผลกระทบต่อชาติและประชาชนชาวไทยอย่างใหญ่หลวง เป็นความทรงจำหนึ่งที่ผู้อยู่ร่วมเหตุการณ์ไม่เคยลืมเลือน ค่าที่ต้องฟันฝ่ามาด้วยความยากลำบาก บางคราวต้องเสี่ยงภัย เสี่ยงชีวิต โดยเฉพาะบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า "เสรีไทย" 
       ทันทีที่รัฐบาลไทยยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศ และประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวไทยผู้รักชาติทั้งในและนอกประเทศ ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ก็รวมกลุ่มกันเป็น "ขบวนการเสรีไทย" ต่อต้านญี่ปุ่นและให้ความร่วมมือกับสัมพันธมิตร 
       การเสียสละของคนไทยกลุ่มนี้ ซึ่งมีคนทุกชั้นวรรณะ ตั้งแต่เจ้า ชาวนา กรรมกร ไปจนถึงคอมมิวนิสต์ ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงครามมาได้
       ธันวาคม ๒๕๔๔ ในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปีการก่อตั้งขบวนการเสรีไทย สารคดี ขอย้อนอดีตกลับไปรำลึงถึงวีรกรรมดังกล่าว จากปากคำของเหล่าพลพรรคเสรีไทย

อ่านต่อคลิกที่นี้อ่านต่อคลิกที่นี้


Special Attractions
"Sarakadee" Vol. 17 No. 202 December 2001 Cover: American B25 bomber airplanes played a vital role in covertly transporting members of the Free Thai Movement who had been living and training abroad to Thai soil during World War II.
Vol. 17 No. 202 December 2001
(Bigger) The Khao Pradap Din Festival in Luang Prabang

       Ten to twelve days prior to the official start of the boat races, the participating boats are able to begin practicing in the river. It is necessary at these practices to try to perfect timing and properly organize everyone's positions in the actual boat according to weight, not to mention familiarize oneself with the flow and general feel of the river. Preparations are exhaustive, yet the atmosphere surrounding preparations for the boat races clearly express the willingness, determination and sheer joy with which the locals of Luang Prabang approach the festivities.

Click Here to Continue Continue: click here


(Bigger) Celebrating the 60 Year Anniversary of the Birth of the Free Thai Movement

       On December 8th 1941, the Thai government announced its favorable consideration of the Japanese government's request for right of passage through Thailand. The announcement was quick to mention the written reassurance provided by the Japanese government to the Thai government concerning the preservation of Thai sovereignty, and ended with a declaration to officially end the fighting between Thailand and Japan. In actuality, the announcement had marked the beginning of Thai resistance - albeit underground - against the Japanese...

Click Here to Continue Continue: click here


เ ฮ โ ล ส า ร ะ พ า
หมูอมตะ ใครจะเป็นรายต่อไป

"หมูอมตะ"

ส ะ กิ ด ต า ส ะ กิ ด ใ จ
(คลิกดูภาพใหญ่)        สะกิดตา

       อดีตทหารญี่ปุ่นที่เคยยกพลขึ้นบก ปะทะกับทหารไทยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ในสงครามโลกครั้งที่สอง เดินทางมาที่เกิดเหตุ ร่วมพิธีไว้อาลัยให้กับทหารทั้งสองฝ่าย ที่เสียชีวิต เมื่อสิบปีก่อน
       สะกิดใจ

       "ผมไม่รู้ว่าเรื่องน้ำพุจะทำให้น้ำเน่าได้อย่างไร เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว สังคม จะทำให้น้ำพุไปตบตีแย่งผู้หญิง หรือด่าทอ ก็ทำไม่ได้ แต่ผมไม่ได้รู้สึกโกรธสถานี ผมเคารพสถานี เคารพความเป็นนายทุน เจ้าของเงิน เขาต้องรู้ว่าเงินที่ลงทุนไป จะทำประโยชน์ตรงไหนมากที่สุด"

ศรันยู วงษ์กระจ่าง
ผู้กำกับการแสดงละครเรื่อง น้ำพุ
ให้สัมภาษณ์ภายหลังสถานีโทรทัศน์ช่อง ๗ เลื่อนการออกอากาศละครเรื่องนี้ จากช่วงหลังข่าวไปไว้ตอนเย็น ด้วยเหตุผลว่าเป็นละครสร้างสรรค์เกินไป น้ำเน่าไม่พอ

จากหนังสือพิมพ์มติชน ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔