ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๗ ฉบับ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๔
Vol. 27 No. 2 April-June 2001

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
วารสาร เมืองโบราณ เดือน เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๔ ฉบับที่ ๒ ปีที่ ๒๗

ส า ร บั ญ
บทบรรณาธิการ :

วัดกุฎีดาวหลังการบูรณะในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ปัญหา จินตภาพ และความถูกต้อง ทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม... สมชาติ จึงสิริอารักษ์

Wat Kudi Dao: the "Restoration" of 2001...Somchart Jungsiri-arak

มุมมองทางโบราณคดี เกี่ยวกับกรณีถ้ำลิเจีย... รัศมี ชูทรงเดช

เจดีย์สิงห์ล้อมวัดแม่นางปลื้ม : เงื่อนไข กับแนวคิด ออกแบบบูรณะ... สันติ เล็กสุขุม

The Singha- decorated Chedi of Wat Maenangpleum : A Proposed Conservation... Santi Leksukhum

การจัดการด้านสงวนรักษา กลุ่มอาคารที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์เรือนชนบท : กรณีศึกษาจาก กาวาโคเอะ ซาวาระ และกาวาซากิ... ผศ.ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์

การจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรมที่ ชาโค แคเนียน นิวเม็กซิโก... สว่าง เลิศฤทธิ์

การเมืองของอดีตในโรม... ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์

โบราณสถาน ในเขตเมืองประวัติศาสตร์ เชียงใหม่... ไกรสิน อุ่นใจจินต์

Ancient Monuments in the Historic City of Chiang Mai... Kraisin Unchaichin

เส้นทางข้ามคาบสมุทรไทรบุรี- -ปัตตานี ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙... ปริเชต ศุขปราการ

อดีตพุทธ : จิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ และ๔ ในกระแส แห่งความเปลี่ยนแปลง... ศิรินทร์ ใจเที่ยง

Buddhas of the Past : Buddhist Art in Transition... Sirin Jaiteang
ปราสาทพนมกรอม... วิไลรัตน์ ยังรอด
พิพิธภัณฑ์ชุมชนลาว บ้านปะอาว เมืองอุบล... กฤษ เหลือลมัย

สัญลักษณ์ที่ปรากฏในพิธีกรรมเลี้ยงผี งานปีบ้านเขาทอง อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์... วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

The Ghost Banquet Ceremony of Ban Khao Thong... Walailak Songsiri
ช่างสับลายที่ร้อยเอ็ด : ผู้สร้างสรรค์ความงาม หลังความตาย... ลักขณา จินดาวงษ์

"Paper Craftmen" of Roi Et : the Creators of After Life Beauty...  Lakhana Jindawong

ตะกร้า... ลักขณา จินดาวงษ์
รายงาน
ข้อมูลใหม่
ก่อนหน้าสุดท้าย
คลิกดูภาพใหญ่
 
วัดกุฎีดาวหลังการบูรณะในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ปัญหา จินตภาพ และความถูกต้องทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
สมชาติ จึงสิริอารักษ์
 
คลิกดูภาพใหญ่
"...ถึงคลองสระประทุมานาวาราย น่าใจหายเห็นศรีอยุธยา
ทั้งวังหลวงวังหลังก็รั้งรก เห็นนกหคซ้อแซ้บนพฤกษา
ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน
     อนิจจาธานินสิ้นกระษัตริย์ เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสณฑ์
แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง
มโหรีปี่กลองจะก้องกึก จะโครมครึกเซ็งแซ่ด้วยแตรสังข์
ดูพาราน่าคิดอนิจจัง  ยังได้ฟังแต่เสียงสกุณา...."

คลิกดูภาพใหญ่     เสี้ยวหนึ่งของนิราศพระบาท ซึ่งสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๐ ที่ผู้เขียนยกขึ้นมาเป็นบทนำนี้ บรรยายให้เห็นถึงสภาพอันปรักหักพังน่าเวทนา ของอยุธยาได้ชัดเจน ขณะเดียวกัน ซากปรักหักพังนี้ มีอานุภาพพอที่จะบันดาลใจกวีสุนทรภู่ ให้หวนนึกถึงภาพในอดีตอันเจริญรุ่งเรือง วรรณกรรมของสุนทรภู่บทนี้ แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติประการสำคัญของโบราณสถานว่า แม้จะเป็นเพียงซากตั้งอยู่กลางป่ารกชัฏ แต่มันไม่ใช่เศษอิฐปูนที่ตายซาก หากเป็นอนุสรณ์อันมีอานุภาพที่จะบันดาลให้ผู้ดูเกิดจินตนาการ ความรู้สึกที่หวนระลึกไปในอดีต

คลิกดูภาพใหญ่     สิ่งนี้ทำให้มนุษย์ผู้ตระหนักเรียกโบราณสถานว่า "อนุสรณ์สถาน" (monument) เพราะมันเป็นสิ่งเตือนใจให้ระลึกถึงอดีต ทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์อื่นๆ ตามมาเป็นระลอกๆ แล้วแต่ศักยภาพของผู้ชม
     กวี ศิลปิน อาจสร้างสรรค์งานศิลปะได้จากแรงบันดาลใจนี้
     นักเขียน นักวิชาการ อาจสืบค้นประวัติศาสตร์อันลี้ลับ ที่ซ่อนอยู่ในซากปรักหักพังนี้เช่นกัน
     คุณสมบัติของวัดกุฎีดาว ในฐานะโบราณสถานอันทรงอานุภาพ ได้คงอยู่มานาน ทว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๔ ซึ่งการบูรณะใหญ่ที่วัดกุฎีดาวเสร็จสิ้นลง ผู้เขียนไม่แน่ใจอีกต่อไปว่า สถานที่แห่งนี้จะยังคงเหลืออานุภาพให้ผู้ชมเกิดจินตนาการเกี่ยวกับอดีตได้เพียงไร
คลิกดูภาพใหญ่     สภาพโดยทั่วไปของโบราณสถาน หลังจากการบูรณะ ได้แก่ความแข็งกระด้างและความแห้งแล้ง มันเป็นผลจากการที่นักบูรณะ ได้ถากถางต้นไม้ในบริเวณออกไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งหน้าดินเดิม และหญ้าที่เคยขึ้นปกคลุมอยู่ ก็ถูกกำจัดออกไปหมด ปรับพื้นดินจนเรียบเสมอกัน แล้วปูอิฐเป็นลานกว้างใหญ่คลุมไปทั่วบริเวณวัด ตัวโบราณสถานถูกขัดล้างผิว มีการยาแนวปูนก่อใหม่ ชนิดที่เรียกได้ว่า ไม่มีเว้นแม้แต่ตารางนิ้วเดียว จนผิวอิฐสีส้มเดิมดูขาวโพลนไปหมด
     ผลงานชนิดที่เสมือนการเอาน้ำร้อนมาลวกโบราณสถาน จึงทำให้ ภาพโบราณสถานในป่ารกชัฏ หายวับไป พร้อมกับเกิดสถานที่อีกชนิดหนึ่งที่ดูคล้าย สถานที่โบราณที่สร้างไม่เสร็จ เกิดมาแทนที่
     สำหรับนักบูรณะแล้ว ถ้าเป้าหมายในการบูรณะโบราณสถาน คือการทำให้สถานที่เหล่านี้เป็นที่โล่งเตียน ราบเรียบ ขัดล้างผนังให้สะอาด ฉาบปูนให้ขาวโพลน ท่านจะอธิบายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้อย่างไรว่า การบูรณะโบราณสถานนั้นต่างจากการล้างตลาดสด หรือทำความสะอาดตึกแถวร้างตรงไหน ?
     การจัดแสดงโบราณสถานเป็นศาสตร์ ที่ต้องใช้ศิลปะและความรู้สึกมากพอๆ กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และงานช่าง ผลงานบูรณะจึงจะเต็มเปี่ยมด้วยความรู้สึก ความรู้ และความมั่นคง
คลิกดูภาพใหญ่     ในทางปฏิบัติ ผู้บูรณะต้องมีวิจารณญาณลึกซึ้งพอที่จะกำหนดได้ว่า ส่วนไหนของโบราณสถานต้อง "จัดการ" และส่วนไหนต้อง "ปล่อยตามเดิม" เพื่อให้เกิดความสมดุล ระหว่างความรู้สึกและความมั่นคงแข็งแรง 
     ผู้บูรณะต้องตระหนักว่า โบราณสถานที่ผู้ชมดูแล้วไม่แน่ใจว่ามันเก่าแก่จริง หรือดูแล้วไม่เกิดความฝัน ไม่มีจินตนาการ ย่อมเป็นสิ่งก่อสร้างที่ตายแล้วโดยดุษฎี
คลิกดูภาพใหญ่     ทางออกที่ดีที่สุดในกรณีอย่างนี้ก็คือ ไม่ต้องแตะต้องอะไรทั้งสิ้น ให้โบราณสถานแสดงข้อมูลที่สามารถแปลความได้หลายๆ อย่าง ถ้าคนรุ่นนี้แปลไม่ออก ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนรุ่นหลัง ไม่มีอะไรต้องรีบร้อนสรุป ดีกว่าที่ผู้ใดผู้หนึ่งถือพลการ ไปเปลี่ยนหลักฐานเดิมให้เป็นแบบอย่างที่ตนคิด ข้อมูลที่เคยเป็นมาอย่างหนึ่งนานกว่า ๒๐๐ ปี ก็กลายเป็นข้อมูลอีกแบบหนึ่งไป
     ผู้ใดเล่าจะยืนยันว่าข้อมูลใหม่นี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง
Wat Kudi Dao: the "Restoration" of 2001
Somchart Jungsiri-arak
Bigger       After the City of Ayutthaya was designated a UNESCO World Heritage in 1991, the amount of restoration of ancient sites in the Old City by the Fine Arts Department was doubled. 
      
Without caution in research this conservation project has frequently produced very damaging results.
Bigger       Wat Kudi Dao is an important site especially for late Ayutthaya architecture. Restoration should be done with caution so that errors are not made that damage the beauty and architectural history of the site. However at the beginning of 2001, the condition of a large group of ancient monuments that date back to the 17th century was ruined. Now the site is harsh, coarse and dry due to the clearing of almost all of the vegetation. Newly laid bricks cover the entire courtyard, the new stucco coating makes the site look unfinished.
Bigger        It is known that the important thing about ancient sites is that they are monuments of power, which will cause the observers to imagine, recall and inspire. Conservation of ancient sites must be a mixture of art and memorial, science and craft. The restorer must have deep discretion and judgement to do the job and to know what to do and what not to do.