โลกใบใหญ่ สิ่งแวดล้อม
ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล : รายงาน
10 Top Invasive Species

invasionspecies01๑๐. งูหลาม (Burmese python)
สัตว์ประจำถิ่นเอเชีย นำเข้าสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง ราว ค.ศ. ๑๙๙๐  เมื่อโตจนมีขนาด ๖ เมตร ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่เลี้ยงต่อไม่ได้ จึงปล่อยสู่ธรรมชาติ สร้างปัญหาการจับสัตว์พื้นถิ่นกินเป็นอาหารและมีรายงานทำร้ายคน
invasionspecies02๙. หอยม้าลาย (Zebra mussels)
สัตว์ประจำถิ่นในทะเลสาบแคสเปียน แพร่กระจายสู่สหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศต่าง ๆ โดยเกาะติดมากับเรือขนส่งสินค้า  มันแย่งกินแพลงก์ตอนจนทำให้ระบบนิเวศในท้องถิ่นต่าง ๆ เสียสมดุล และชอบเกาะผิววัสดุสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้น้ำ
invasionspecies03๘. ปลาช่อนพันธุ์เหนือ (Northern snakehead)
สัตว์ประจำถิ่นเอเชียซึ่งคนเอเชียนิยมกินเป็นอาหาร มีข่าวการพบปลาช่อนนี้ครั้งแรกในบึงธรรมชาติของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ๒๐๐๒  หลังจากนั้นก็แพร่กระจายไปทั่ว  เป็นสัตว์กินเนื้อ นิสัยดุร้ายทำลายสัตว์พื้นเมืองอื่น ๆ ในแหล่งน้ำ ทนแล้งเก่งและเคลื่อนที่บนบกได้
invasionspecies04๗. นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป (European starling)
สัตว์ประจำถิ่นยุโรป  ค.ศ. ๑๘๙๐ ถูกนำเข้ามาที่สวนสาธารณะของสหรัฐอเมริกา ๖๐ ตัว ปัจจุบันเพิ่มจำนวนเกินล้าน แพร่กระจายทั่วสหรัฐอเมริกาและตอนใต้ของแคนาดา  เป็นสาเหตุทำให้เครื่องบินตก มีผู้เสียชีวิต ๖๒ คน ในปี ๑๙๖๐  มูลของมันยังเป็นพาหะของโรคติดเชื้อ
invasionspecies05

๖. ผึ้งเพชฌฆาต (Killer bees)
ค.ศ. ๑๙๕๗ เกษตรกรชาวบราซิลนำผึ้งพันธุ์แทนซาเนียมาเลี้ยงแล้วหลุดไปผสมพันธุ์กับพันธุ์ยุโรป เกิดเป็นผึ้งเพชฌฆาตที่มีนิสัยปกป้องรังก้าวร้าวมาก  พิษของมันไม่ได้รุนแรงกว่าผึ้งพันธุ์ยุโรป แต่ร้ายกาจที่การรุมต่อยศัตรูนับพันครั้ง  แพร่กระจายสู่ทวีปอเมริกาเหนือ แย่งชิงรังและอาหารของผึ้งพันธุ์เดิม รวมทั้งทำร้ายคนจนเสียชีวิตไปหลายราย

invasionspecies06

๕. กระรอกเทา (Gray squirrel)
มีถิ่นกำเนิดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา  นำเข้ามาในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ อิตาลี ออสเตรเลีย หาอาหารและสะสมอาหารเก่งกว่ากระรอกพันธุ์พื้นเมืองเป็นพาหะของโรค squirrel pox จนทำให้กระรอกพันธุ์พื้นเมืองลดจำนวนอย่างรวดเร็ว

invasionspecies07

๔. ถั่วคุดสุ (Kudzu)
พืชไม้เลื้อยตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดในจีนและญี่ปุ่น นำเข้าสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้เป็นไม้ประดับตกแต่งสวนในปี ๑๘๗๖  เจริญเติบโตรวดเร็วเพียง ๑ วันก็งอกยาวถึง ๑ ฟุต เมื่อขาดการควบคุมจึงแพร่ไปขึ้นคลุมสิ่งต่าง ๆ จนก่อความเสียหาย ทั้งต้นไม้โค่น บ้านพัง เสาไฟฟ้าล้ม

invasionspecies08

๓. คางคกไร่อ้อย (Cane toads)
มีถิ่นกำเนิดอยู่อเมริกากลางและอเมริกาใต้  นำเข้าหลายประเทศเพื่อใช้กำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะในไร่อ้อย  ผิวหนังมีต่อมพิษร้ายแรง สัตว์ผู้ล่าในพื้นถิ่นไม่รู้จักเมื่อกินเข้าไปจึงตายในไม่กี่นาที เป็นต้นเหตุให้สัตว์กินเนื้อขนาดเล็กชื่อ quoll ซึ่งเคยมีอยู่มากในออสเตรเลียลดจำนวนลง

invasionspecies09

๒. กระต่ายพันธุ์ยุโรป (European rabbit)
สัตว์ประจำถิ่นทางตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป  หลายประเทศนำเข้าไปเป็นสัตว์เลี้ยง  ที่ออสเตรเลียนำเข้าครั้งแรก ๒๔ ตัวในปี ๑๘๕๙  ปัจจุบันมีจำนวนถึงกว่า ๖๐๐ ล้านตัว เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย โตไว ขยายพันธุ์เร็ว กินอาหารได้หลากหลาย สร้างปัญหาให้สัตว์พื้นถิ่นจนลดจำนวนลง

invasionspecies10

๑. ปลาไน (Asian carp)
ค.ศ. ๑๙๗๐ ฟาร์มเลี้ยงปลาในสหรัฐอเมริกานำปลาไนจากเอเชียมาช่วยกำจัดสาหร่าย ต่อมาเกิดน้ำท่วมฟาร์มจนปลาไนหลุดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  ชาวอเมริกันไม่นิยมกินเนื้อปลานี้ มันจึงแพร่กระจายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว แย่งที่อยู่อาศัยและอาหารของสัตว์น้ำประจำถิ่น รวมทั้งมีนิสัยชอบกระโดดขึ้นเหนือน้ำ เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ

* จัดอันดับโดย นิตยสาร TIME ร่วมกับ CNN