จากนิตยสาร Read Me ฉบับที่ 22 มกราคม 2557
เรื่อง : ปริญญา ก้อนรัมย์
ภาพ : วิชญ์พล พลพิทักษ์ชัย
หากย้อนกลับไปในอดีต บนถนนของงานเขียนสายเรื่องจริง อาจกล่าวได้ว่า ‘สารคดี’ เป็นนิตยสารที่เดินทำงมาบนเส้นทำงสายนี้ยาวนานที่สุดในประเทศไทย แถมตลอดเวลายังรักษาจุดยืนในการเป็นพื้นที่ที่บันทึกและสะท้อนเรื่องราวของสังคมได้อย่างเข้มข้นตรงไปตรงมา นับกันเป็นตัวเลขกลมๆ ในปี พ.ศ. 2557 นี้ นิตยสารสารคดีกำลังก้าวเข้าสู่ขวบปีที่ 30 ถ้าเทียบเป็นคนๆ หนึ่งก็คงต้องเรียกว่าเป็นผู้ใหญ่เต็มวัย พรั่งพร้อมไปด้วยเรื่องราวและประสบการณ์ที่จะถ่ายทอดให้ผู้อ่านทุกคนได้รับฟัง
เส้นทำงที่ผ่านมากว่าสามสิบปีของสารคดีได้พบเจออะไรมาบ้าง สิ่งใดกันที่ทำให้พวกเขาเชื่อมั่นในงานเขียนเรื่องจริงที่เรียกว่าเป็นยาขมของผู้คนมาได้กว่าสามสิบปี วันนี้เราถือโอกาสมานั่งซักถามกันให้หายสงสัย และถามใครก็คงจะไม่รู้ดีไปกว่าหัวเรือใหญ่คนนี้ ‘สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ’ บรรณาธิการนิตยสารสารคดีคนปัจจุบัน
คุณก้าวเข้ามาในบ้านหลังที่ชื่อว่า ‘สารคดี’ ได้ยังไง
ตอนนั้นเราเบื่อกับงานประจำ (เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่การบินไทย) เราก็ไปซื้อกล้องแล้วเดินทำงท่องเที่ยวถ่ายรูปของเราไป ก็รู้สึกว่าสนุกดี ชีวิตแบบนี้ก็น่าสนใจ ในขณะเดียวกันเราก็ติดตามข่าวสารหลายๆ อย่างเช่นเรื่องของ Greenpeace เรื่องของเรือรบ Rainbow Warrior ซึ่งพอดีกับสารคดีเปิดรับฝ่ายวิชาการ เราก็ตัดสินใจถ้ายังทำงานที่เดิมมันก็เดินต่อไปได้แหละ เพราะบริษัทใหญ่ๆ มันก็จะมีช่องทำงให้คุณก้าวต่อไป แต่เราก็คิดว่าถ้าเราก้าวต่อไปเราจะเอาตัวออกจากจุดนี้ไม่ได้เพราะจะเริ่มถลำลึกมากขึ้น แต่แม้สิ่งใหม่ที่เราเลือกมันไม่ใช่สิ่งที่เราร่ำเรียนมา มันเป็นการกระโดดข้ามวงการเข้าไปหาสิ่งที่อยู่ในตัวเราตั้งแต่เด็ก นั้นคือความรักในหนังสือในยุคสมัยนั้นใครๆ ก็ต่างมองสารคดีเป็นยาขม เป็นเรื่องน่าเบื่อ อ่านยาก
ตอนนั้นคุณเองรู้สึกยังไง
สำหรับคนทำงานมันไม่สนใจหรอกว่าคนอ่านมีมากน้อยแค่ไหน คนทำงานในยุคเริ่มต้น มันคือการทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำ เราเชื่อว่าจุดก่อเกิดของคนทำหนังสือทุกคนส่วนใหญ่เริ่มต้นขึ้นจากตรงนี้ทั้งนั้น คือทำสิ่งที่เชื่อมั่นและอยากทำ แต่ในความรู้สึกของตัวเราเองหนังสือเชิงความรู้เชิงสารคดีในเมืองไทยมันมีน้อยมาก คนที่ทำเชิงสารคดีส่วนมากก็จะเป็นเรื่องสั้นๆ เข้าไปแทรกอยู่ในนิตยสารผู้หญิง ในยุคโน้นพอสารคดีออกมาได้พักหนึ่งก็มีคนทำหนังสือแนวสารคดีตามออกมาบ้างเหมือนกัน แต่ก็ล้มหายตายจากไป เช่น the Earth 2000, กรุงเทพฯ วันนี้ ฯลฯ ก็มีคนพยายามทำหนังสือแนวแบบนี้ออกมา แต่ก็มีแค่สารคดีนั่นแหละที่อยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้
ถามจริงๆ ว่าในยุคสมัยนั้นเรื่องจริงขายได้ไหม
ไม่ได้ (หัวเราะ) จริงๆ เรามารู้ที่หลังว่าสารคดีมันอยู่ไม่ได้ด้วยตัวมันเอง หมายถึงว่ายอดขาย และค่าใช้จ่ายในการทำงาน เรียกได้ว่าขาดทุน จนมาถึงอายุสิบกว่าแล้วนั่นแหละที่ถึงจุดที่เรียกว่ายอดขายเลี้ยงตัวเองได้แล้ว
ทนอยู่กับสภาวะติดลบอย่างนั้นมาเป็นสิบปี ทำไมถึงได้พยายามฝืนทำกันมาขนาดนั้น
ก็ต้องย้อนไปขอบคุณกับเจ้าของคือคุณสุวพร ทองธิว ซึ่งถ้าให้สัมภาษณ์เราก็จะพูดทุกครั้งว่าถ้าไม่มีแกที่เชื่อมั่นในทีมงานชุดนั้น ว่าเราเดินและทำงานในสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมมาโดยตลอด ถ้าไม่มีคนที่เชื่อมั่นอย่างนี้แล้วยอม (ทำท่าควักเงินและหยิบจ่ายให้เราดู) มาเรื่อยๆ มันก็คงเหมือนหนังสือเล่มอื่นๆ ที่ทำไปได้สี่ห้าปีก็คงล้มหายไป
เข้าใจว่าธรรมชาติของนิตยสารย่อมต้องมีคนทำงานหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายกองบรรณาธิการ ฝ่ายขาย ฯลฯ แต่ไม่เคยได้ยินฝ่ายวิชาการ ตอนนั้นคุณทำหน้าที่อะไร
อย่างที่ว่างานสารคดีมันคือการพยายามทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย แล้วในขณะเดียวกันเราพยายามบุกเบิกความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจริงๆ มันมีอยู่แล้ว แต่ไม่มีคนเอามานำเสนอให้คนได้อ่านกัน เมื่อเราเข้าไปทำงานพบว่าหน่วยงานสมัยก่อน กรมป่าไม้ หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็ตาม มันก็จะมีนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ป่า ศึกษาเกี่ยวกับพันธ์ไม้ มีนักวิจัยที่ทำงานพวกนี้อยู่ เพียงแต่ว่าไม่มีคนเข้าไปติดตามพวกเขาและนำงานพวกนี้มานำเสนอ อย่างยุคแรกก็จะเห็นได้เลยว่าสารคดีไปตามเรื่องค้างคาวกิตติ ตามเรื่องของนกยูงในห้วยขาแข้ง ซึ่งฝ่ายวิชาการก็ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมกับคนเหล่านี้ ว่าตอนนี้มีเรื่องอะไรอยู่ เรื่องนี้น่าสนใจไหม เสร็จแล้วก็คาบข่าวกลับมาบอกทำงกองอีกที
ทำฝ่ายวิชาการอยู่นานไหม
นาน…นานมาก พอทำนิตยสารไปเรื่อยๆ สารคดีมันก็เกิดแนวคิดว่าเอาเรื่องที่ลงในสารคดีมารวมเล่ม ซึ่งเล่มแรกที่ทำชื่อว่า ‘ก่อนจะไม่เหลือความทรงจำ-สัตว์ป่าเมืองไทย’ มีขนาดแปดหน้ายกซึ่งเป็นการรวมเอาสารคดีที่เคยลงในนิตยสารที่เกี่ยวกับงานวิจัยสัตว์ป่าเช่น นกยูง, กระทิง ฯลฯ อันนี้ต้องถือเป็นหนังสือเล่มแรกของเมืองไทยเลยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ป่า แล้วก็มีทั้งเรื่องที่เขียนในเชิงงานวิจัยและเชิงสารคดี ใช้ภาษาสละสลวยอ่านง่าย และที่สำคัญคือรูปถ่ายที่ถือว่าหาดูที่ไหนไม่ได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่จุดประกายให้วงการสัตว์ป่าเลย แต่คนก็คงลืมไปแล้วเพราะมันนานมาก แต่เชื่อว่าถ้าใครเป็นนักวิจัยสัตว์ป่าในปัจจุบันจะต้องรู้จักแน่นอน
เรียกได้ว่าตรงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของพ็อกเก็ตบุ๊คภายใต้นามสำนักพิมพ์สารคดี
ใช่เป็นจุดเริ่มต้น พอตอนหลังจากฝ่ายวิชาการก็กลายมาเป็นสำนักพิมพ์สารคดี ช่วงเวลาที่เริ่มทำเล่มแรกเมื่อประมาณปี 34-35 ตอนนั้นเองยังไม่ได้ตั้งเป็นสำนักพิมพ์นะ ยังใช้ชื่อคล้ายๆ ว่า ‘สารคดีเล่มพิเศษ’ แล้วก็ทำมาเรื่อยๆ พอไอ้นั้นก็ทำ ไอ้นี่ก็ทำ ก็เริ่มรู้สึกว่าต้องแยกออกมาตั้งหัวเป็นสำนักพิมพ์สารคดี แต่จริงๆ เริ่มต้นมีพี่สุดารา สุจฉายา ที่เป็นหัวหน้างานฝ่ายวิชาการ เราเองทำงานภายใต้พี่แอนอีกทีแล้วคุณขึ้นมาเป็นบรรณาธิการสำ นักพิมพ์สารคดีได้ยังไง ตอนนั้นพี่แอน (สุดารา สุจฉายา) ทำไปถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกอิ่มตัว น่าจะประมาณปี 38 หลังจากนั้นเราก็ขึ้นมาทำ และทำต่อมาเรื่อยๆ
มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของทั้งนิตยสารสารคดีและชีวิตคุณ การรับไม้ผลัดต่อจากวันชัย ตัน ตอนนั้นคุณรู้สึกอย่างไร
รู้สึกไม่ค่อยอยากรับ (หัวเราะ) คือเราทำพ็อกเก็ตบุ๊คมานาน แล้วก็ยังสนุกกับการทำมัน เราทำคู่มือนก, คู่มือธรรมชาติ, คู่มือแมลง, คู่มือผีเสื้อ จนไปถึงคู่มือเที่ยวอุทยานแห่งชาติต่างๆ เราก็สนุกและรู้ว่าตัวเราชอบตรงนั้น แต่พอต้องมาทำมันก็ต้องทำเพราะพอถึงวันพี่จอบตัดสินใจออกไป เราเองก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ในนี้แล้ว อีกทั้งจุดเริ่มต้นการทำงานของเราเองก็เริ่มที่นิตยสารสารคดี และเราก็รักนิตยสารสารคดีมาตลอด ในฝั่งสำนักพิมพ์เราก็คือหัวหน้าใหญ่สุด ฝั่งนิตยสารก็ คือพี่จอบ ถ้าพูดถึงศักดิ์ศรีก็คือเท่ากัน ซึ่งก็ต้องรับนั่นแหละ เพราะสารคดีมันเป็นองค์กรที่เติบโตมากจากคนข้างใน มันไม่ใช่องค์กรธุรกิจที่หัวไปปุ้ป แล้วเราจะไปเชิญคนข้างนอกเข้ามาเป็นแทนได้ วิธีคิดแบบนั้นมันไม่อยู่ในหัวพวกเราสักเท่าไหร่
กดดันไหมเพราะบ.ก.คนก่อนก็เรียกว่าสร้างมาตรฐานไว้สูงมาก
ที่ผ่านมาสารคดีมันจะมีสไตล์ความเป็นพี่จอบอยู่ อย่างที่เขาว่าหนังสือเล่มไหนมันก็จะสะท้อนรสนิยมของบ.ก. ซึ่งสารคดีมันก็มีความเป็นพี่จอบอยู่พอสมควร พอเราเข้ามาโดยธรรมชาติเราก็ต้องใช้ความเป็นตัวเราในระดับหนึ่ง และเราอยู่มาจนรู้ว่าแนวคิดและแนวทำงของสารคดีมันคืออะไร ปัญหาในช่วงเริ่มต้นที่กังวลอยู่ที่การเข้ามาทำงานร่วมกับน้องๆ ในกองบรรณาธิการมากกว่า
คุณจัดการกับความปัญหาที่ว่านั้นยังไง
คือต้องชมพี่จอบว่าสร้างทีมงานที่เข้มแข็งเอาไว้ อันนี้คือจุดที่ทำให้สารคดีมันยังเดินต่อมาได้ เราก็ให้น้องๆ ทำงานและแสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ พยายามฟัง ความคิดเห็นของทุกคน และสนับสนุนการทำงานของพวกเขา และทีมงานชุดนี้ ค่อนข้างเข้มแข็ง นักเขียนเข้าใจงานและก็มีจิตวิญญาณของ การเขียนสารคดี ส่วนช่างภาพจริงๆ ก็มีปัญหาเหมือนกัน เพราะตอนนี้ช่างภาพเราแก่กว่านักเขียน ความกระตือรือร้นของนักเขียนใหม่ๆ จะสูงกว่า อย่างตอนนี้ถ้าพูดเทียบน้องในกองอายุเฉลี่ยประมาณ 28-29 หลายคน แต่เราเอง 50 แล้ว ต่างกันอยู่ยี่สิบปี เช่นเดียวกับบรรณาธิการฝ่ายภาพที่ก็เริ่มมีอายุมากแล้ว พูดถึงจังหวะก้าวต่อไปอันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่องค์กรต้องปรับตัว คือไม่รู้ว่าหัวหน้างานจะแก่ไปไหม (หัวเราะ) คือสารคดีอยู่มานานเกินไป ตอนนี้จะขึ้นปีที่ 30 พอเรา
เข้ามารับตำาแหน่งบรรณาธิการก็ตั้งโจทย์เอาไว้สามอย่าง มีอะไรมั่ง
หนึ่งสารคดีต้อง Look young คือแก่ไม่ได้ แม้พี่จอบจะทำไว้ดี แต่ในช่วงสี่ห้าปีหลังมันแก่ ในแง่ความร่วมสมัยกับวงการหนังสือเล่มอื่นๆ อย่างเช่น ยังมีงานสารคดีที่เขียนระดับยาวมากๆ การนำเสนอภาพถ่ายระยะหลังๆ น้อยไป มันเป็น text เยอะ ซึ่งโลกปัจจุบันไม่รับกับ Look แบบนั้นแล้ว ถ้าเปรียบเทียบสมัยก่อนตอนเราเรียนมหาลัยเราอ่านสารคดี เพื่อนเราก็อ่าน ในตอนนั้นอายุประมาณ 21-22 เราก็อ่านสารคดีกันอย่างมีความรู้สึกที่ว่า เฮ้ย! ไอ้คนกลุ่มนี้มันทำอะไรกันวะ หนังสือมันเจ๋งวะ แต่ถามคนยุคนี้ในรุ่นอายุเดียวกันว่าเขาจับสารคดีเมื่อห้าหกปีที่แล้วไหม ก็อาจจะมี แต่คงน้อย เขาก็ไปอ่าน a day กันหมด
มันแก่เพราะอะไร ด้วยเนื้อหาที่หนักเกินไปหรือเปล่า
เนื้อหาก็อาจจะมีส่วน แต่ที่จริงสารคดีมันมีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนอยู่หลายครั้ง ตอนครบรอบยี่สิบปีตอนนั้นที่มีการปรับไปครั้งหนึ่ง เราเองเป็นคนในก็คิดว่าเปลี่ยนไปได้ดี น่าสนใจ อย่างเช่นมีคอลัมน์ Living together ที่เฉพาะเจาะจงว่าต้องไปคุยกับเด็ก เอาเรื่องราวของพวกเขามาเล่า หรือไปคุยกับมืออาชีพเรื่องโน้นเรื่องนี้ แต่ทำอยู่ได้ไม่กี่ปีก็กลับมาแกว่งๆ โครงสร้างของสารคดีในตอนนั้น มันไม่แข็งแรงในความเห็นของเรา คล้ายๆ ว่ามันขาดคาแร็คเตอร์อะไรบางอย่างในความร่วมสมัย
การทำหนังสือให้ร่วมสมัยนั้นเป็นปัญหาข้อแรกที่คุณเห็นแล้วโจทย์ข้อที่สองละ
สองเราต้องตอกย้ำเรื่อง Go green
ทำ ไมต้อง go green?
ต้องบอกว่าสารคดีเป็นนิตยสารเล่มแรกๆ ที่พูดถึงเรื่องนี้ ตั้งแต่เราเข้ามาอยู่ในช่วงแรกๆ กระแสสิ่งแวดล้อม, มลพิษ, มลภาวะ, ป่าไม้, สัตว์ป่า ฯลฯ พี่จอบแกเป็นคนบุกเบิกทั้งนั้น แต่ในช่วงหนึ่งมันหายไป บางทีไปทำเรื่องประวัติศาสตร์นู้นนี่เยอะๆ เข้ามันเหมือนคนแก่ที่มาเล่าเรื่องเก่าๆ ให้คนอ่านฟังแต่ถึงตอนนี้การทำเรื่องทำงธรรมชาติเองมันก็เป็นปัญหานะ เพราะคนทำงานวิจัยเรื่องสัตว์ป่าน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เหมือนสมัยแรกๆ ที่เราเสนอเรื่องพวกนี้ออกมา มันจะมีงานวิจัยเรื่องค้างคาวมั่ง ช้างมั่ง วัวแดง, กวางผา ฯลฯ แต่ว่าหลังๆ หาคนทำงานวิจัยพวกนี้ได้น้อยมาก
ทำไมถึงมีคนทำ งานวิจัยพวกนี้น้อยลง
เพราะประเทศเราไม่ค่อยสนับสนุนงานวิจัยพวกนี้ คนทำงานวิจัยเองถ้าไม่เห็นอนาคตตัวเองว่าอยู่ตรงไหนแล้วใครจะมาทำ คืองานพวกเชิงวิทยาศาสตร์บริสุทธ์ งานที่มันเป็นเชิงศึกษาความหลากหลายทำงชีวภาพ มันได้รับการสนับสนุนน้อยมาก คุณไม่มีแผนรองรับให้ว่าถ้าคุณมาเป็นนักวิจัยสัตว์ป่า คุณเป็นนักวิจัยพันธุ์ไม้แล้วต่อไปชีวิตคุณโอเคนะ ใครมันจะมาทำ ฉะนั้นในขณะที่มันมีเรื่องที่ให้เราทำในป่าอีกเยอะ แต่เรารู้จักป่าของเราน้อยมาก
ย้อนมาเรื่อง Go green ตอนหลังนี้มีปัญหาใหญ่คือภาวะโลกร้อน สารคดีก็เป็นคนเสนอสกู๊ปเรื่องนี้เป็นคนแรกๆ จนมาถึงเรื่องการใช้จักรยานในเมืองก็เช่นกัน พวกนี้เป็นประเด็นที่สารคดีพยายามนำเสนอแนวคิดและพฤติกรรมใหม่ๆ เพื่ออยู่ร่วมกับโลกที่กำาลังเปลี่ยนแปลง อย่างเรื่องการปลูกผัก สถาปัตยกรรมสีเขียว ที่เรานำเสนอไปในช่วงปีที่ผ่านมา อยากบอกว่าปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อคนทั้งโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการรักษาป่าที่เหลืออยู่น้อยนิดจึงเป็นประเด็นที่ต้องรณรงค์กันอย่างเต็มที่ เราถึงทำสารคดีที่ต้านเขื่อนแม่วงก์มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ไม่เป็นกลางนะเรื่องนี้ (หัวเราะ)
อย่างสุดท้ายที่คุณอยากจะเปลี่ยนแปลงคืออะไร
อันสุดท้ายนี่ยังทำไม่ได้ คือการพยายามปรับให้สารคดีกลับมาออกทันต้นเดือน (หัวเราะ) คือ ธรรมชาติของแม็กกาซีนมันควรจะออกตอนต้นเดือน แต่ตอนนี้สารคดีมันยังออกปลายเดือน ผมตั้งใจไว้มา 3 ปีแล้วก็ยังทำไม่ได้ ซึ่งก็ต้องขออภัยผู้อ่านทุกคนมา ณ ที่นี้ด้วย (หัวเราะ) ปีหน้าคงต้องหาวิธีการใหม่อย่างน้อยคือต้องไม่เกินครึ่งเดือน หรือสองสัปดาห์แรกของเดือน อันนี้จะดูแฮปปี้กับทุกฝ่ายเพราะหนังสือมันจะได้ดูสดใหม่ อย่างฉบับเดือนตุลาแต่ได้มาอ่านพฤศจิกายนอย่างนี้มันก็ดูไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่
พูดถึงหน้าตาหรือเนื้อในของสารคดีบ้าง หลังจากวันชัย ตัน ออกไปคุณปรับเปลี่ยนอะไรไปบ้าง
ปีแรกที่เรามาทำก็คงสภาพเดิมไปก่อน แต่พอเข้าปีที่สองเราก็เริ่มปรับโลโก้ของนิตยสาร จากเดิมที่มันอ้วนๆ ป้อมๆ ซึ่งหลายคนบอกว่ามันเป็นหัวที่ดีที่สุดของนิตยสารสารคดี แต่ในมุมมองของเราในเชิงยุทธศาสตร์คือมันต้องเปลี่ยน เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้ว่าสารคดีเปลี่ยนบางอย่างไปแล้วนะ ก็ใช้ความเป็นดิจิทัลของเส้นและขีดเป็นกราฟฟิคที่มีความเป็นโลโก้ในตัวมันเอง ไม่ใช่ฟอนต์ตัวอ่าน ทำให้ดูร่วมสมัยขึ้น จริงๆ ถ้ากลับไปมองสารคดีหัวแรกก็คล้ายกันมาก มันก็ดีในแง่หนึ่งที่เราได้ย้อนกลับไปเอาสิ่งที่เคยเป็นตัวเรามาคลี่คลายเป็นของยุคปัจจุบัน อธิบายโม้ๆ นะ (หัวเราะ)
ส่วน Look young กับ Go green ก็เป็นโจทย์ใหญ่ สองอย่างนี้นำไปสู่การปรับอะไรหลายๆ อย่างภายในเล่ม คือถ้าเปรียบเทียบพ็อกเก็ตบุ๊คมันจะเหมือนอาหารจานเดียว คือมันมีคอนเซปเฉพาะเล่ม เช่น มีการเขียนด้วยนักเขียนคนเดียว การดีไซน์ก็ใช้คอนเซปต์เดียวทั้งเล่ม แต่แม็กกาซีนเรามองว่ามันเป็นเหมือนอาหารชุดหรือการไปกินโต๊ะจีน ที่มันจะต้องมีออเดิร์ฟ มีจานที่หนึ่ง จานที่สอง ต่อด้วยอาหารหลัก ปิดด้วยของหวาน และที่ผ่านมาเรามองว่าการจัดการเล่มข้างในของสารคดีมันออกจะดูเละๆ ไม่เห็นความชัดเจนของอาหารแต่ละจานเท่าไหร่ เราก็มาจัดระบบตรงนี้ ถ้าสังเกตดีๆ ตอนนี้จะเห็นว่าเซคชั่นต่างๆ ของสารคดีจะค่อนข้างแข็งแรงและชัดเจนมาก
ส่วนเนื้อหาต้องยอมรับว่าเดี๋ยวนี้คนเราไม่อ่านอะไรยาวๆ กันแล้ว อย่างคอลัมน์นิสต์แต่ก่อนเขียนยาวมาก คนหนึ่งอาจจะ 4-5 หน้า ก็เปลี่ยนใหม่ให้เป็นคนละ 2 หน้า กำาลังดี เพราะฉะนั้นหน้าตาของสารคดีตอนนี้ค่อนข้างอ่านง่าย และตอบโจทย์คนยุคปัจจุบัน อ่านแล้วไม่เหนื่อย และก็มีจุดเด่นของความเป็นสารคดีที่ Main course ตรงกลาง ส่วน Go green เราก็มาตอกย้ำาด้วยเซคชั่นที่เรียกว่า Green planet อันนี้เดิมมีประมาณ 12-16 หน้า เราก็ขยายให้เป็นยี่สิบกว่าหน้า ให้มันเป็นปึกที่มันแข็งแรง
อีกอย่างคนสมัยนี้ต้องการดูภาพมากกว่าอ่าน พอเราเข้ามาแก้ก็มีคอลัมน์ที่เป็นการดูมากขึ้น มีอินโฟกราฟิค มีการ์ตูน ในเรื่องการจัดหน้าของสกู๊ปเราก็พยายามให้มีรูปใหญ่ค่อนข้างมากขึ้น เราเปิดเซคชั่นภาพพูดใหม่ เป็นการโชว์ภาพถ่ายเป็นบิ๊กพิคเจอร์ประมาณสามภาพ หรืออีกคอลัมน์ก็คือ Photo essay เล่าเรื่องอะไรสักเรื่องด้วยชุดภาพหลายๆ ภาพ เวลาไปเจอเพื่อนช่างภาพเราก็จะบอกเสมอว่ามีพื้นที่ตรงนี้นะ อันนี้ก็คิดว่ามันจะทำให้สดใหม่ขึ้น สารคดีจะไม่จมอยู่กับตัวเอง
ไม่จมอยู่กับตัวเองหมายความว่ายังไง
อันนี้ก็เป็นโจทย์ของปีที่สามสิบ คือสารคดีค่อนข้างจะเป็นองค์กรปิด เทียบกับนิตยสารอื่นๆ ก็ได้ เขาทำกิจกรรมเยอะแล้วก็มีการสื่อสาร โลกยุคใหม่มันต้องสื่อสารกับคนอ่าน มีกิจกรรมกับคนอ่าน แต่ที่ผ่านมาสารคดีทำตัวเหมือนฉันทำหนังสือฉันก็ทำแต่หนังสือ ฉันตั้งใจทำสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว คนอ่านก็มาหยิบไปอ่าน ซึ่งธรรมชาติของยุคใหม่มันไม่ได้แล้ว คนอ่านยุคใหม่ก็อาจอยากรู้จักนักเขียน อยากรู้ว่าเราทำอะไรยังไง แล้วโลกมันก็กว้างขึ้น ไอ้การที่เราไปทำอะไรอยู่คนเดียวมันจะคับแคบเกินไปหรือเปล่า การเปิดพื้นที่สื่อสารหลายๆ เวทีเราเชื่อว่ามันจะเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้สารคดีได้ Refresh ตัวเอง
พื้นที่ที่สารคดีพยายามเปิด มันจำกัดอยู่แค่เพียงบนหน้ากระดาษอย่างเดียวหรือเปล่า หรือมีกิจกรรมอื่นด้วย
ก็มี ปีที่แล้วก็เริ่มทำกิจกรรม มันก็เป็นไฟของน้องๆ รุ่นใหม่ด้วย ที่ถามขึ้นมาว่าทำไมสารคดีไม่จัดเสวนา เราก็เอาเลยจัดเป็น Sarakadee Talk no.1 แล้วก็มีจัดกิจกรรม Sarakadee FC อันนี้ก็เป็น activity นิดหน่อยที่ไม่ใช่แค่มานั่งฟังเฉยๆ เราจัดให้ไปดูผีเสื้อที่ปางสีดา ให้ได้ไปสัมผัสกับธรรมชาติจริงๆ หรือกิจกรรมล่าสุด ก็เป็นจัดประกวดภาพถ่าย ‘มวลเมฆขยับกาย’
จะบอกว่าคนทำหนังสือทำแค่หนังสืออย่างเดียวไม่เพียงพอแล้ว
ไม่พอ ก้าวต่อไปของคนทำหนังสือคุณจะอยู่แค่กับตัวหนังสือไม่พอ คุณจะต้องสร้างกลุ่มคนอ่านและคนที่ชอบพอในสิ่งเดียวกันมาทำกิจกรรมร่วมกันมาพูดคุยกัน เพราะบางทีการเรียนรู้จากวิธีการฟังมันรวดเร็วกว่าการอ่าน เพราะการอ่านมันต้องมีความละเลียด อย่างถ้าคุณได้ไปดูผีเสื้อจริงๆ มันก็คงจะดีกว่าดูแค่สกู๊ปในหนังสือเฉยๆ ประสบการณ์ตรงมันอาจจะเปิดพื้นที่ทำงความคิดและจุดประกายความรักธรรมชาติขึ้นมาทันที
การพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองไปตามโลก ไม่ว่าจะเป็นขนาดหน้าที่สั้นลง ภาพที่เยอะขึ้น แล้วอย่างนี้ตัวแก่นสารคดีที่เคยเข้มข้นจะลดน้อยลงไปหรือไม่
ไม่ ที่พูดนั่นไปเป็นส่วนของออเดิร์ฟ เหมือนกับอาหารจานเล็กๆ Main course หลักเรายังคงความเข้มข้นรักษาความเป็นสารคดีไว้เหมือนเดิมในขณะเดียวกันการออกแบบหน้าตาของมัน ในยุคหนึ่งรูปถ่ายทำงานน้อยไป ทีนี้เราก็อัดให้เต็ม ถ้าโชว์ก็โชว์ให้เต็มที่ 12 หน้าไม่ต่ำกว่านั้น คัดภาพที่ดีจริงๆ มานำเสนอ บางครั้งมีถึงยี่สิบหน้าด้วยซ้ำ ซึ่งวิธีการเล่าเรื่องของสารคดี การเขียนการคัดภาพชุดหนึ่งในแต่ละเล่มมีวิธีคิดไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเล่มอาจารย์ศศินเราต้องการจะสื่อให้เห็นความเป็นมนุษย์ของเขา เขาก็เหนื่อยล้า เมื่อยขา เวลาหิวเขาก็กิน คือเขาเป็นคนๆ หนึ่งที่กล้าทำเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นซุปเปอร์แมน เขามีชีวิตที่เป็นคนธรรมดาที่คุณจะเห็นได้เลย อันนี้คือคอนเซปที่เราเลือก คือต้องคิดว่าเราจะสื่ออะไรในเรื่องนั้น ภาพมันจะสะท้อนอะไร ตัวหนังสือมันจะบอกอะไรคนอ่าน แต่ละเดือนๆ เราต้องคิด และเราพยายามยืนอยู่บนความเป็นจริง เป็นธรรมชาติจริงๆ ของทุกสิ่งที่เราเข้าไปจับ
ภายใต้ความพยายามเปลี่ยนแปลงที่กำลังทำ อยู่ตอนนี้คุณพอใจมันหรือยัง
สภาวะนี้อยู่ได้อีกประมาณหนึ่งปีในหน้าตารูปเล่มลักษณะนี้ แล้วเข้าปีที่ 31 จะต้องปรับ อันนี้เป็นเชิงยุทธศาสตร์ แต่ตอนนี้ยังไม่รู้นะว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไร ตอนนี้ก็เก็บข้อมูลและคิดไปเรื่อยๆ
จากในอดีตถึงปัจจุบันความนิยมของสารคดีเพิ่มขึ้นหรือเปล่า
ถ้าพูดถึงยอดขาย พูดได้ว่าไม่ได้เพิ่มขึ้น อันนี้ก็เป็นโจทย์ของธุรกิจการจัดจำหน่ายหนังสือ ต้องยอมรับว่าโจทย์ของแม็กกาซีนทั่วๆ ไป ในเมืองไทยมันอยู่ได้ด้วยโฆษณา ยอดขายบางทีเขาอาจจะไม่พิมพ์มากแต่พิมพ์ในปริมาณที่พอไปได้กับค่าโฆษณา และเราพบว่ามันเป็นเรื่องยาก ที่เราจะเพิ่มยอดการพิมพ์เพื่อให้หนังสือไปถึงมือผู้อ่านตามแผงหนังสือ คือกลุ่มคนอ่านสารคดีมันก็จะมีตั้งแต่สมาชิก, คนที่ซื้ออ่านประจำตามแผงหนังสือ, หรือบางคนที่เลือกซื้อตามปก แล้วก็กลุ่มคนที่ไม่รู้จักสารคดีเลย (หัวเราะ) แต่อย่างไรสารคดีมันก็ยืนได้ด้วยตั้ง 2-3 ขา ตั้งแต่รายได้จากสมาชิกประจำ,โฆษณา, และยอดขายในตลาด แต่ว่ายอดขายในตลาดมันเป็นเรื่องที่จัดการยากมาก การจะเพิ่มยอดพิมพ์ก็เลยเป็นเรื่องยากไปตามกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพอทำได้คือพยายามเพิ่มยอดสมาชิก นี่คือเป้าหมายในระยะต่อไปของสารคดีที่จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 30
ต้องยอมรับเลยว่าอินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อโลกสมัยนี้ สารคดีเคยคิดไปถึงการขยายตัวเป็น E-Magazine บ้างหรือเปล่า
ก็เป็นทิศทำงที่จับตาดูอยู่และเป็นไปได้ที่จะทำ แต่ก็ยังเชื่อว่าแรงของกระดาษยังมีอยู่ คือมันมีข้อจำกัดหลายอย่างสำหรับการเป็นอีแม็กกาซีน
มันขัดแย้งกันยังไง
คือมันมีหลายสัดหลายส่วนที่ขัดแย้งกัน อย่าง Main course ของเรานี่คือความเป็นสารคดี คุณต้องอ่านไม่อ่านไม่ได้ แต่ใครจะมานั่งอ่านเนื้อหาที่จัดเต็มตั้งแต่ 12-16 หน้าเอสี่ แล้วอยู่บนอุปกรณ์แบบไอโฟนหรือไอแพด หรือจะให้เหลือแต่รูป ถ้าเหลือแต่รูปมันก็ไม่ใช่สารคดีอีกนั่นแหละ เพราะสารคดีมันควรมีงานเขียนประกอบด้วย แต่ถ้าเป็นคอลัมน์ที่เราปรับมาแล้วเป็น 1-2 หน้า มันก็พอไปได้แต่พวกนั้นมันเหมือนเป็นตัวประกอบที่ทำให้สารคดีมันดู Look young มีความหวือหวา แต่ไม่ใช่หัวใจของสารคดีจริงๆ แต่ก็เถียงไปไม่ได้ว่าเด็กยุคต่อไปที่เขาจะมีเวลาอยู่บนหน้าจอมากกว่าบนหน้ากระดาษ ถ้าวันนั้นมาถึงจริงๆ สารคดีจะเป็นยังไงต่อไป
กลัวว่าสารคดีจะตายไปหรือเปล่า
ไม่กลัว คือว่าถ้าถึงตอนนั้นมันต้องไปถึงขนาดนั้นจริงๆ ทุกคนก็คงต้องไปนั่นแหละ แต่ว่าการดีไซน์บนกระดาษมันก็มีรูปแบบของมัน มีชีวิตอยู่บนกระดาษในแบบของมัน เมื่อใดวันหนึ่งที่มันไปอยู่บนอุปกรณ์อีกแบบ มันก็จะมีทิศทำงให้คนที่ต้องออกแบบหรือทำงานกับมันต้องปรับตัวเข้ากับวิธีการต่างๆ ของมันอยู่ดี เพราะฉะนั้นมันก็จะเริ่มมีชีวิตของมันเอง และเราเองก็บอกไม่ได้ว่ามันจะเป็นยังไง ซึ่งเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ มันมาเร็วมาก ความน่ากลัวของมันเห็นได้อย่างตอนเริ่มต้นสารคดีเราถ่ายรูปโดยใช้ฟิล์มสไลด์ เรื่องหนึ่งถ่ายกันหกสิบม้วน คัดเหลือสิบรูป แต่เดี๋ยวนี้มีกล้องดิจิทัล กดไปสิ ยิงไปเหอะ แถมบริษัทฟิล์มเดี๋ยวนี้ก็ตายไปแล้ว กระบวนการแยกสีฟิล์มสไลด์ในโรงพิมพ์ คนที่เคยทำงานอยู่ในนั้นก็หมดอาชีพ ต้องเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นกันหมด ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของอาชีพที่เคยอยู่ในวงการหนังสือ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว ถ้าจะบอกว่าถึงจุดหนึ่งเทคโนโลยีทำให้อะไรๆ เปลี่ยนไปก็ต้องยอมรับ
สำหรับคุณคิดว่าเรื่องจริงมันมีความสำคัญอย่างไร
จะพูดยังไงดีล่ะ สังคมมันอยู่ไม่ได้นะถ้าไม่เราไม่เรียนรู้เรื่องจริงสังคมรอบด้านนับวันมันยิ่งซับซ้อนขึ้น คือเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้ ถ้าเราไม่เอาความจริงมาพูดกันแล้วเราจะอยู่ร่วมกันได้ยังไง ฉะนั้นเรายังเชื่อว่าไม่ว่าสังคมจะหันหน้าไปทิศทางไหน ความจริงยังเป็น เรื่องสำคัญที่สุด และการทำหน้าที่ถ่ายทอดความจริงนั้นต้องยอมรับว่าข้อจำกัดของคนทำสารคดีมันมี ไม่ใช่ว่าเราประกันว่าสิ่งที่เราพูดนั้นถูกต้องที่สุด แต่เรายังมีข้อจำกัดของความเป็นมนุษย์ มีความเห็นส่วนตัว บางทีข้อมูลที่มีอาจจะน้อยเกินไป แต่สิ่งที่เราถ่ายทอดออกไปแน่นอนว่าเราได้มาจากการไปลงพื้นที่จริง ได้เข้าไปคุยรับรู้จริงๆ ว่าคนที่เราไปทำเรื่องของเขา เขาคิดเขารู้สึกอะไร เราพยายามจะถ่ายทอดตรงนี้ให้มันร้อยเปอร์เซ็นต์ที่สุด แต่มันไม่มีหรอกร้อยเปอร์เซ็นต์เราต้องยอมรับ
แล้วจริงๆ เรื่องราวพวกนี้มันสนุกนะ ย้อนกลับไป เราเคยไปทำเรื่องปลวกในห้วยขาแข้ง จบวิศวกรมาแต่ต้องไปจับจอบทุบจอมปลวกฤๅษี ที่มันสูงสองเมตร ซึ่งมันแข็งมากก็ทุบๆ จนมันแตกออกมา เราก็ได้รู้ว่าข้างในมันมียานเอ็นเตอร์ไพรซ์ แบบ star trek ซึ่งเป็นที่พักของนางพญาปลวก มันมหัศจรรย์โคตรๆ เรื่องราวแบบนี้ยังมีอีกเยอะ แถมเรายังได้เรียนรู้ว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่คนเดียวบนโลกใบนี้หรอก มันมีสติปัญญาและก็สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เขามีสติปัญญาในแบบของเขา ถ้าเราเข้าใจถึงจุดนั้นได้เราก็คงอยู่บนโลกนี้ได้โดยไม่ทำลายมันจนเกินไป ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห้เหยียน นักวิทยาศาสตร์ก็ฟันธงแล้วว่ามันคือปัญหาโลกร้อน ความพินาศตรงนั้นก็ต้องยอมรับว่าทุกคนที่ปล่อยสาร C02 ขึ้นไปก็มีส่วนร่วมกันหมด และต่อไปจะเกิดแค่ตรงนั้นหรือเปล่า คุณก็ต้องยอมรับความจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นบนโลกใบนี้ ไม่ใช่เอาแต่หนี
ปีหน้าสารคดีเข้าปีที่ 30 จะมีอะไรใหม่ หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
ปีหน้าคิดว่าอาจจะยังไม่เปลี่ยนอะไรมาก คิดเอาไว้ว่าอาจจะไปเปลี่ยนในปีที่ 31 ส่วนโจทย์หลายอย่างเช่น ออกหนังสือให้ทันในสองสัปดาห์แรกก็พยายามจะแก้ให้ได้ แล้ว Look young คิดว่าแก้แล้ว Go green ก็ทำอยู่ สิ่งที่เพิ่มเติมก็อาจจะมีส่วนของกิจกรรม Sarakadee Talk, Sarakadee FC อะไร ต่างๆ แต่ที่สำคัญ คือสิ่งที่เราเตรียมไว้สำหรับปีหน้าที่เราจะตอบแทนสมาชิกนิตยสารสารคดีที่ช่วยเหลือเรามายาวนาน คือตัว ‘สารคดีออนไลน์ย้อนหลัง’ ทั้งหมด สำหรับแฟนประจำสารคดีก็ต้องบอกว่าตรงนี้เป็นไฮไลต์
คำถามสุดท้ายอะไรที่คุณคิดว่าทำ ให้สารคดียืนอยู่มาได้จนเข้าปีที่ 30
คุณภาพของมันครับ หรือถ้าตอบอย่างคำเชยๆ อีกอย่างคือมันมีคุณค่าของมัน สองอย่างนี้เป็นสิ่งที่สมดุลมันอยู่ สารคดีได้ทำสิ่งที่เป็นมาตรฐานของคนทำหนังสือ ด้านการออกแบบรูปเล่ม การเขียน การถ่ายทอดด้วยภาพถ่าย การเลือกเรื่องมานำเสนอทั้งหมดนั้นได้ผ่านการกลั่นกรองการคิดของคนทำงานมาตลอด การเขียนเรื่องแต่ละเรื่อง ถ่ายภาพแต่ละภาพก็ลงพื้นที่จริงใช้เวลากับมันจริงๆ ตรงนี้ก็เป็นจุดแข็งที่ทำให้คนยอมรับ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องบันเทิงที่อ่านแล้วก็สามารถทิ้งได้ รู้ไปวันนี้พรุ่งนี้ทิ้งไปก็ไม่เป็นไร เรื่องที่เรานำเสนอมันเป็นเรื่องที่จะติดอยู่ในใจคุณ และทำให้คุณรู้สึกว่าคุณเองก็ทำอย่างนั้นได้ ส่วนจุดอื่นที่อยู่ได้ก็อย่างที่บอกไปว่าคือสมาชิก และก็นายทุนผู้เป็นเจ้าของ คุณสุวพร ทองธิว ที่ช่วยให้เราผ่านพ้นช่วงตั้งไข่ถ้าเป็นที่อื่นก็คงเลิกไปแล้ว (หัวเราะ)”