
นิตยสารสารคดี
ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๓๗๔ เมษายน ๒๕๕๙
บทความที่ลงในเว็บไซต์
เรื่องเด่นในฉบับ
- สติสู่สมัย พระไพศาล วิสาโล
- สัมภาษณ์ – เดชรัต สุขกำเนิด – รัฐไทยใต้เงาทุน “ธนรัฐ”
- Spotlight – “รื้อได้คือการยืนยัน ‘สองมาตรฐาน’ ทางกฎหมาย” – รศ. ชาตรี ประกิตนนทการ
- Foto Essay – คนอีสานหลังม่านงิ้ว
- แถมพร้อม VAMOOSE นิตยสารท่องเที่ยว โดยทีมงานนายรอบรู้ !
คอลัมน์
- บุปผามาลัย – ใจดลใจ
- เธอคือเอวา – ลำพูทะเล
- วาดเมือง – ป้อมมหากาฬ
- เรื่องจากปก
- แนะนำนักเขียน
- สารคดีพิเศษ
- จากบรรณาธิการ – ทางก้าว
- มิตรจากเมล
Foto Essay
living green
- Vegetable – ต้นอ่อนทานตะวัน
- It’s So Easy – หลอด ออฟ เดอะเรือง
- News – ทูน่า : วงจรชีวิตปลา สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน
- Campaign
- Words of Life
- Person – ผล มีศรี เกษตรอินทรีย์ไม่มีลิขสิทธิ์
- Health – เดินเท้าเปล่าดีอย่างไรนะ
- Design – สถาปัตยกรรมและชีวิตที่ ๒ ของวัสดุเหลือใช้
- Let’s Bike! -สิบข้อที่อยากให้รู้ เมื่ออยู่ร่วมกับจักรยานบนถนน
- Gag
Time Travel
- เกิดเดือนนี้
- เวลา-ดีไซน์-สิ่งประดิษฐ์ – กระจกเงา
- พิพิธภาพ – รูปกรูปบรรดาข้าราชการที่เกิดปีฉลู ศก ๗๒ ถ่ายที่สวนดุสิต
- สาระภัณฑ์ – หีบเพลง (เครื่องเล่นแผ่นเสียง) ยุค ๒๔๘๐
- ASEAN Historic Man – จีนเป็ง
Discovery
- Him – Stegosaurus
- ศัพท์ซอยวิทย์ – 4G
- ไม่รัก Math แล้วจะรักใคร? – Guesstimation …เดาค่าอย่างมีหลักการ
- SCI-Innovation – ตุ๊กแก มด และซูเปอร์หุ่นยนต์จิ๋ว
- ซองคำถาม – บาตรพระ, อาหารที่ให้ความเย็นแบบโบราณ, รถยนต์สัญชาติไทย
- โลกเสมือน – Airbnb ที่ไหนก็พักได้
- Infographic – ปลาหมดทะเลไทย ภัยจากปลาป่น
Focus
- Spotlight – “รื้อได้คือการยืนยัน ‘สองมาตรฐาน’ ทางกฎหมาย” – รศ. ชาตรี ประกิตนนทการ
- ASEAN Community – “ที่น่ากังวลคือ คนสิงคโปร์มีทัศนคติต่อแรงงานต่างชาติไม่ดีนัก” สถานการณ์แรงงานข้ามชาติในสิงคโปร์จากมุมมอง Celine Dermine
- จอม Youth – สองปีกของความฝัน
- การค้นพบครั้งแรกในไทย – แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียนในถ้ำเมืองกาญจน์
- หนังสือบนแผง – สิทธิสีฝุ่น, ทุนรุกรานอุษาคเนย์ – สองเล่มเพื่อเข้าใจคนชายขอบ
- ที่นี่มีอะไร
Art & Culture
- ASEAN Culture – อินโดหมี่ (Indomie) : อาหารการเมือง ความหิวโหยซ่อนรูปในอินโดนีเซีย
- โลกใบใหม่ – การบริหารจัดการน้ำเพื่อชีวิต
- กีฬา_ทางเลือก – เลสเตอร์ฯ-เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง
- One Ton – The Look of Silence ความสำเร็จของการสร้างความเกลียดชังในสังคม
- no full stop – ไม่มีใครนำหน้าบนม้าหมุน ภาพลวงตาของการเปรียบเทียบ
- ภาพยนตร์ – ชาติ ความทรงจำ และเรื่องเล่าในหนังฟิลิปปินส์ ๘ ชั่วโมงของ ลัฟ ดีอัซ
สัมภาษณ์
เดชรัต สุขกำเนิด – รัฐไทยใต้เงาทุน “ธนรัฐ”
- เฮโลสาระพา
- สมาชิกอุปถัมภ์
- สมัครสมาชิก
- ข่าวธุรกิจ-ผลิตภัณฑ์
- คิด-Cool – ไวน์-กามะพร้าว
- เครื่องมือชีวิต – นักจัดดอกไม้
- ท้ายครัว – ปลาทูย่าง – น้ำปลามะขามเปียก

ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล : สัมภาษณ์ บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ถ่ายภาพ หลายปีที่ผ่านมา ชื่อ ดร. เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่รู้จักในหมู่นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม ว่ามีความรู้เรื่องการปฏิรูปพลังงานทางเลือกรวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย นอกจากงานสอนในมหาวิทยาลัยซึ่งเขานิยามความหมายว่าเป็น “ศาสตร์การรักษาและเพิ่มพูนคุณค่าและมูลค่าของภาคเกษตรกรและแผ่นดินไทย” นักวิชาการผู้นี้ยังสนใจด้านการพัฒนาเครือข่ายชุมชน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กระบวนการประชาธิปไตย โดยเป็นที่ปรึกษาให้กลุ่มเกษตรกรในชนบทที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐ ภายหลังการทำรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี ๒๕๕๗ ดร. เดชรัตเคยได้รับการเสนอเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่ติดโผ ๒๕๐ คนสุดท้ายผู้จะมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางประเทศ อย่างไรก็ตามเขายังมีชื่ออยู่ในคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ หลายเดือนที่ผ่านมาเมื่อทิศทางการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. โดยเฉพาะด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ทำท่าว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรุนแรง มีการประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ๑๐ จังหวัด อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๕๗ ออกประกาศฉบับที่ ๓ ฉบับที่ ๔ และฉบับที่ ๙ ให้มีการยกเว้นผังเมืองในบางพื้นที่ ยกเว้นให้โครงการของรัฐบางประเภทสามารถหาเอกชนมาดำเนินการได้ก่อนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอจะเสร็จสิ้น รวมถึงเปิดช่อง ให้เอกชนเช่าที่ดินเพื่อลงทุนนานถึง ๙๙ ปี ชายผู้นี้ได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายอย่างตรงไปตรงมาผ่านเวทีเสวนาและสื่อออนไลน์ เมื่อภาครัฐโหมประชาสัมพันธ์นโยบาย “ประชารัฐ” ที่ต้องการสื่อว่าให้ภาคประชาชนกับภาครัฐร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศ ดร. เดชรัตเป็นคนแรก ๆ ที่ให้ความเห็นว่า นี่น่าจะเป็นแนวทาง “ธนรัฐ” มากกว่า อันหมายถึงกลุ่มทุนกับภาครัฐจับมือกัน โดยไม่สนใจผลกระทบของผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อน ครั้งหนึ่งเมื่อถูกถามว่า “จิ๊กซอว์” ตัวใดของฝ่ายธนรัฐที่สังคมไทยน่าปฏิเสธที่สุดและเร็วที่สุด อาจารย์เดชรัตให้คำตอบว่า “เราควรปฏิเสธคนวางจิ๊กซอว์ทั้งหมดนี้ได้แล้ว”
งานเขียนจากคอร์สเขียนสารคดีกับมืออาชีพ ปิยวิทย์ ปทุมานนท์ “ดีจังเลยเนอะได้ไปทำงานบนเรือท่องเที่ยว เงินก็ดี ได้เที่ยวฟรี แถมยังได้ฝึกภาษาอีกด้วย” นี่คือคำพูดของหลายๆ คนที่บอกกับผมเมื่อรู้ว่าผมเคยไปทำงานเป็นลูกเรือบนเรือสำราญที่ล่องอยู่แถบอะแลสกา (Alaska) คำพูดนี้สะท้อนให้เห็นว่าภาพที่คนส่วนใหญ่นึกถึงเมื่อเห็นคนไปทำงานบนเรือสำราญในต่างประเทศนั้นสวยหรูดูดีไปหมด ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะคำโฆษณาของบริษัทตัวแทนจัดหางานที่ต้องการดึงดูดคนให้ไปทำงานด้วย หรืออาจมาจากคำบอกเล่าของคนที่ไปทำงานบนเรือที่กลับมาพูดถึงแต่ด้านที่ดีๆ ของที่นั้น แต่
พรไพลิน จิระอดุลย์วงค์ งานเขียนจากคอร์สเขียนสารคดีกับมืออาชีพ “สมัยก่อนก็ส่งของอยู่สำเพ็ง อยู่จักรวรรดิ ส่งเสื้อผ้า ถ้วยชาม เครื่องเคลือบ กระทะ กะละมัง ส่งไปทุกจังหวัด ก็เราเป็นลูกจ้างเขา...” น้ำเสียงเล่าเรื่องราวอย่างง่ายๆ ถึงอาชีพในสมัยเด็กถูกบอกเล่าผ่านชายชราที่บัดนี้มีผมขาวแกมดำแตกต่างจากเมื่อ 20
Share On