มาตรฐานสากล ISO 9002
เต็มใจให้ฝรั่งหลอก?

มาตรฐานสากล ISO 9002  เต็มใจให้ฝรั่งหลอก?
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ : รายงาน
ชัยชนะ จารุวรรณากร : ถ่ายภาพ
    ISO หรือ "มาตรฐานสากล" เป็นเหมือนศาสนาใหม่ของโลก ที่กำลังแผ่ขยายขอบเขตความเชื่อกว้างไกลออกไปทุกที...  จากแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมสู่วงการอื่น ๆ ไม่ว่าจะการศึกษา การสาธารณสุข การทหาร หรือสิ่งแวดล้อม ตัวเลขจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ แสดงให้เห็นว่าสถิติผู้ใช้มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 เพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งหน่วยงานราชการและภาคเอกชน กระทั่งว่ากันว่าในไม่ช้าวงการศาสนาของประเทศไทย ก็ต้องการเครื่องหมาย ISO
    เรื่องราวของมาตรฐาน/มาตรฐานสากล ถือเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ควบคู่กับสังคมมนุษย์กระนั้นหรือ ?
    เชื่อกันว่าแนวคิดเกี่ยวกับ "มาตรฐาน" ถือกำเนิดมาแต่ครั้งบรรพกาล เมื่อราว ๕,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ชาวอียิปต์ และเมโสโปเตเมียโบราณ เริ่มรู้จักการทำดินตากแห้ง ที่มีขนาดเท่ากันเป็นจำนวนมาก ด้วยการอัดดินลงในแบบไม้ เพื่อใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย และเป็นกำแพงป้องกันศัตรู เป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดปรัชญาทางด้านมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง specification หรือคุณสมบัติเฉพาะ นอกจากนี้ ชาวอียิปต์ ฟีนีเซีย และบาบิลอน ยังได้คิดค้นมาตรฐานการวัดขึ้นใช้ ในการค้าและการทำศึกสงคราม อันเป็นที่มาของการวัดระบบเมตริกซ์  ซึ่งเป็นที่รู้จักันดีในปัจจุบันในนามของระบบ SI (Systems International)
    ในโลกสมัยใหม่ แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างมาตรฐาน (standardization) รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพอย่างเป็นระบบ เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น นับจากช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๙ โดยเริ่มจากความต้องการผลิตยุทโธปกรณ์ทหาร ของกรมสรรพาวุธแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ต้องผลิตและประกอบชิ้นส่วน ตามขั้นตอนที่ซ้ำ ๆ กันจำนวนมาก ทั้งยังต้องลดปัญหายุ่งยากในการเก็บสต็อกอีกด้วย
    ผู้ผลิตหรือโรงงาน จำเป็นต้องออกแบบกระบวนการทำงาน ที่ต่อเนื่องครบวงจรตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลผลิตที่ได้มาตรฐานเดียวกัน  และเมื่อผลิตสินค้าใดใดขึ้นมา อะหลั่ยหรือชิ้นส่วนประกอบของสินค้านั้น ๆ จะสามารถทดแทนกันได้ อันเนื่องมาจากการที่แต่ละชิ้นส่วนมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาดำเนินการผลิต ไม่ว่าจะใครก็ตาม สามารถดำเนินการตามระบบที่วางไว้ได้ ซึ่งจะได้มาตรฐานของผลผลิตที่เท่าเทียมกัน และเป็นไปได้ว่าทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
    ในระบบของการผลิตด้านอุตสาหกรรมนั้น ระยะแรกได้มีการเผยแพร่การนำระบบควบคุมคุณภาพ (Quality Control/QC) ระบบบริหารงาน ๕ ส และระบบการจัดการคุณภาพทั้งองค์กร (Total Quality Management/TQM) มาใช้ในการปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพ ปัจจุบัน แนวคิดเรื่องการพัฒนามาตรฐานระบบคุณภาพ และการประกันคุณภาพ มีอิทธิพลสูงต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงได้มีการรวมตัวกัน ระหว่างองค์กรอุตสาหกรรมนานาประเทศขึ้น เรียกว่า องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือ ISO (The International Organization for Standardization) โดยหน่วยงานมาตรฐานระดับชาติของไทย ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ISO
    ISO ได้กำหนดมาตรฐานของระบบคุณภาพไว้หลายด้าน ได้แก่ ISO 9000 -มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ, ISO 14000- มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และ ISO 18000 เป็นมาตรฐานด้านชีวอนามัย (แต่ละ ISO ประกอบด้วยอนุกรมมาตรฐาน ISO ต่าง ๆ อาทิ ISO 9001,9002, 9003) มาตรฐานเหล่านี้เป็นมาตรฐานของ "ระบบ" เช่นระบบการบริหารจัดการ ดังนั้นองค์กรใดได้รับการรับรอง ISO ในเรื่องใด อนุกรมใด ย่อมหมายถึงระบบในเรื่องนั้น ได้รับการรับรอง มิใช่คุณภาพสินค้า อย่างไรก็ตาม บางคนกล่าวว่า ISO เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดคุณภาพ ของสินค้าและบริการ
    ทว่า ภายใต้ร่มเงาของสิ่งที่ฝรั่งตะวันตกเรียกว่า ต้นไม้แห่งคุณภาพ (guality tree) อันมี ISO เป็นกิ่งก้านหลักนั้น มีสิ่งแอบแฝงอยู่บ้างหรือไม่ บริษัทเอกชนมีความจำเป็นอันใด ถึงกับต้องขึ้นป้าย ISO 9002 ขนาดใหญ่ยักษ์กว่าป้ายชื่อบริษัทหลายเท่า บางหน่วยงานต้องเจียดงบประมาณโฆษณาประชาสัมพันธ์ "มาตรฐานสากล" ของตัวเอง หลังจากเสียเงินก้อนโตจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อให้ได้ ISO และค่าใช้จ่ายสำหรับใบรับรอง ISO ๒ แสนบาทต่อปี
    และ, ถ้ามาตรฐานสากลคือตัวตนของยุคสมัยใหม่ อันน่าติดตามอย่างใกล้ชิด เราจำเป็นหรือไม่ต้องอาศัยคำถาม มุมมองแบบหลังสมัยใหม่ (postmodern) จากไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร ช่วยให้เรามองเห็นแง่มุมของปรากฏการณ์ ISO หลากหลายและแจ่มชัดขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่รศ.ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ
ผู้ว่าการสถาบันวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่รศ.ดร. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ส นั บ ส นุ น

  คั ด ค้ า น  

  • ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9002 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ให้องค์กรที่อ่อนแอ บริหารงานโดยไม่มีระบบ หรือมีประสิทธิภาพต่ำ
  • ช่วยให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำลง การส่งออกได้รับการยอมรับ จากต่างประเทศ
  • ISO 9002 เป็นพื้นฐานที่จะสร้างฐาน ทางระเบียบวินัย จึงเหมาะกับคนไทย
  • ค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้ใบรับรองมาตรฐาน ISO น้อยกว่าผลประโยชน์ ที่จะได้รับ
  • ไม่ปฏิเสธว่ามนุษย์ต้องมีมาตรฐาน คำถามเชิงรัฐศาสตร์คือว่า ทำไมจึงเป็นมาตรฐานชุดนี้ชุดเดียว
  • ISO คือมายาคติในโลกที่ถูกจัดระเบียบ โดยภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นระบบของอำนาจ ซึ่งปิดบังซ่อนเร้น สิ่งที่ต่างจากมาตรฐานเอาไว้
  • ขบวนการจัดมาตรฐาน จะทอนทุกอย่างลงมาเป็นเชิงปริมาณ ทำให้สูญเสียความละเอียดอ่อน และความสลับซับซ้อนไป เนื่องจากมีช่องว่าง ระหว่างตัวที่ต้องการวัด กับสิ่งที่ใช้วัด
  • เครื่องหมายมาตรฐานสากลที่กำกับตัวสินค้า ไม่ได้ช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเงิน เพราะไม่ได้ลดการบริโภค แต่กลับสร้างอุปสงค์เทียม ให้เกิดการบริโภค
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

ต้องการข้อมูล
สา
- Friday, January 21, 2005 at 02:58:55 (EST)

เกณฑ์ทุกเกณฑ์ดีหมด แต่ต้องยืดหยุ่น คนตรวจสอบ ISO เก่งแค่ใหน เคยทำงานหรือมีความรู้ในเรื่องการทำงานในบริษัทประเภทที่ตัวไปตรวจรับรองหรือไม่ สรุปว่า คนตรวจรับรองน่าเขื่อถือหรือเปล่าก็ไม่รู้
คน ทำงาน
- Tuesday, March 23, 2004 at 20:53:13 (EST)

ดีมาก ๆ
อนุสา <wat 199999>
- Friday, January 30, 2004 at 01:01:49 (EST)

ไม่เห็นด้วย เพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง คนในองค์กรไม่พร้อม แค่ทำกิจกรรม 5ส. ก็เกินพอแล้ว
อัมพิกา อินทราทิพย์
- Saturday, December 06, 2003 at 04:27:37 (EST)

ไม่เห็นด้วย เพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง คนในองค์กรไม่พร้อม แค่ทำกิจกรรม 5ส. ก็เกินพอแล้ว
อัมพิกา อินทราทิพย์
- Saturday, December 06, 2003 at 04:27:12 (EST)

ไม่เห็นด้วย เพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง คนในองค์กรไม่พร้อม แค่ทำกิจกรรม 5ส. ก็เกินพอแล้ว
อัมพิกา อินทราทิพย์
- Saturday, December 06, 2003 at 04:26:56 (EST)

ไม่เห็นด้วย เพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง คนในองค์กรไม่พร้อม แค่ทำกิจกรรม 5ส. ก็เกินพอแล้ว
อัมพิกา อินทราทิพย์
- Saturday, December 06, 2003 at 04:26:55 (EST)

ผมไม่แสดงความคิดเห็นหลอก เพราะเลือกเป็นกลาง
best <b1230@lemononline.com>
- Wednesday, August 20, 2003 at 00:08:05 (EDT)

ผมไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีisoเลย ทำไมเราต้องไปเป็นทาสความคิดของฝรั่งเขา เพราะผมสังเกตดูในแต่ละหน่วยงานท่ได้มีการทำ ISO เป็นการจัดฉากทั้งสิ้น
วสันต์ เพชรวิวรรธน์
- Wednesday, July 16, 2003 at 09:30:42 (EDT)

ให้พิจารณาดูตามความเหมาะสม ถ้าคุณส่งออกยังไงต้องมี ไอ เอส โอ ไม่ต้องคิดเลย ค้าขายในประเทศก็ต้องดูคูแข่ง คูแข่งมีคุณไม่มี อันนี้ต้องเข้าใจและจำยอมรับได้แล้ว เหมือน โปรแกรมวินโดว์
สมศรี มีจริง <->
- Tuesday, July 01, 2003 at 23:19:10 (EDT)

มาตรฐานเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพ เราสามารถพัฒนามาตรฐานขึ้นเองได้ และปรับมาตรฐานให้สูงขึ้นไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาการและเทคโนโลยีของสังคมโลกได้เช่นกัน จนเทียบได้กับ ISO ที่ได้จากกระบวนการพัฒนามาตรฐานในรูปคณะกรรมการมาตรฐานสากล
สมศักด์ เจริญสุข <somsak@mail.ris.ac.th.>
- Sunday, June 01, 2003 at 05:14:19 (EDT)

ISO เพียงแต่บอกว่าคนในองค์การนั้นนั้น
Kessuwan <kessuwan@aol.com>
- Saturday, April 26, 2003 at 14:24:28 (EDT)

ทำไมเราต้องตาม มาตรฐานนี้ด้วย และทางรัฐบาลควรที่จะได้ทำมาตรฐานขึ้นมาเองบ้าง ซึ่งสามารถเทียบเท่ามาตรฐานของ ISO. และเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ยกตัวอย่าง มาตรฐานของ มอก. หรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลจัดตั้งขึ้น
kai <kai_nt@hotmail.com>
- Wednesday, January 22, 2003 at 21:14:34 (EST)

มาตรฐาน ISO เป็นตัวทำให้ต่างชาติควบคุมมาตรฐานของเราให้อยู่หมัด และสามารถควบคุมเราได้รู้ข้อมูลที่ต้องการได้ทุกเมื่อ...คนไทยบ้ากันไปเอง
ปวีณา แสงสุรีย์พรชัย <kaekai555@yahoo.com>
- Thursday, December 19, 2002 at 09:11:42 (EST)

เห็นด้วยเพราะกำลังศึกษาูอยู่
thanaphan theerchoti <theerachoti2521@hotmaii.com>
- Monday, December 09, 2002 at 05:01:54 (EST)

1.มาตรฐานISOไม่อนุญาตให้กำกับตัวสินค้า จึงไม่สร้างอุปสงค์เทียม 2.การวัดมาตรฐานISOใช้ได้ทั้งตัววัดแบบปริมาณและตัววัดแบบคุณภาพ 3.ISOไม่ใช่ระบบของอำนาจแต่เป็นระบบช่วยให้สินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตเป็นจำนวนมากมีคุณภาพใกล้เคียงกันในแต่ละชิ้น และไม่ได้บอกว่าสินค้านั้นจะดีหรือเลวอย่างไร
Vorasith_k <vorasith_k@hotmail.com>
- Sunday, November 17, 2002 at 10:59:36 (EST)

ไม่เห็นด้วยเพราะดูเหมือนเราโดนฝรั่งหลอกเพื่อเป็นกำแพงการค้าขายไหนจะต้องเสียเงินปีละ200000-300000ต่อปีอีกผมคิดว่า เราเอาแค่ระบบของมันมาใช้ก็พอนะไม่เอาใบประกาศหรอกเพราะเสียเงินไปฟรีๆงะครับ
kob <autocad@friends.co.th>
- Tuesday, November 12, 2002 at 02:33:13 (EST)

มาตรฐานไม่ควรจะถูกกำหนดโดยฝรั่งหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แล้วถูกนำมาใช้กับอีกกลุ่มหรืออีกประเภทดังที่นำมาใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น มาตรฐานจะต้องมีหลายมาตรฐานบนพื้นฐานของความแตกต่างกัน
ต้นเงิน ชาตรูปา <siddha09@hotmail.com>
- Tuesday, October 01, 2002 at 03:06:58 (EDT)

ดันมาตรฐานของไทยไปสู่สากลมั่ง เป็น มอก.1234
แดง
- Wednesday, September 25, 2002 at 13:43:51 (EDT)

I have deeply studied about ISO 9002 long time ago, it is just american system that create for developing countries trade interruption. I am studying and working in Germany where is the excellent organization managment without ISO system, the working idea is how to get the best result and the most convenience under nonstress conditions. For Thailand, some stupid people manage the educational institution with ISO 9002, of cause, too much money is using for ISO organising that just for 1 paper, with this system, the teachers are staying under the stress, too much report document instead of research work or learn more knowledge. I do not under stand, why we seriously with these thinds,
jine <jin125@hotmail.com>
- Monday, September 16, 2002 at 14:28:15 (EDT)

ความหลากหลายหายไปไหน ผมอาจจะไม่ชอบของที่สมบูรณ์แบบ ผมอาจจะชอบของที่มีวิญญาณแห่งภูมิปัญญาและความสามารถเฉพาะ ผมอาจจะชอบงานมาตราฐานของคุณสมชาย ชอบขนมมาตราฐานของคุณสมหญิง ผมอาจจะมีมาตราฐานของผมเอง มนุษย์นะ ทำงานให้เป็นมนุษย์หน่อย หากใจอยากทำงานให้ดีหน่ะ มาตราฐานมันจะไม่อยู่ที่ระดับหนึ่งหรอกแต่มันจะพัฒนาสูงขึ้นเรื่อยๆ
เอกชัย พันธ์อารีวัฒนา <pophotharam@yahoo.com>
- Monday, August 19, 2002 at 12:54:37 (EDT)

อยากทราบความหมายของ iso 9002 ว่าย่อมาจากคำว่าอะไร และ9002 หมายถึงอะไรบ้างคะช่วยให้คำตอบด่วนที่สุดนะคะ ขอบคุณค่ะ
yupa <windbuu@hotmail.com>
- Wednesday, July 24, 2002 at 23:07:25 (EDT)

เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่มีทางตามทัน. เมื่อได้มาตรฐานนี้ อีกไม่นานก็จะมีมาตรฐานอื่น มาบังคับใช้อีกไม่มีวันจบสิ้น.
Roongroj B. <tacomseco@hcm.vnn.vn>
- Sunday, June 23, 2002 at 13:42:06 (EDT)

ผมว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ล้วนมีดีมีเสีย, ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยเลยกับหน่วยงานที่เอามาตราฐานนี้มาประดับบารมีไม่ได้ทำตามหลักการที่เขากำหนด แล้วถามว่าจะทำไปหาพระแสงอะไรกัน เสียเงินเสียทองไปเพื่ออะไร ในเมื่อหน่วยงานไม่ได้ประโยชน์อะไรเพิ่ม ? ทุกอย่างมันก็เหมือนเดิม ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเราโง่...เง่า? ถ้าทำได้ตามเขาเราก็ได้ประโยชน์...ในโลกของการค้า! อย่างบริษัทของผม...ผมว่าแหกตาฝรั่ง...ฝรั่งไม่ได้หลอกเรา...เราต่างหากที่ยอมให้เขาหลอกเอง...แบบนี้ก็เรียกว่าโง่ได้
อานันท์ วุฒิสุวรรณ <anant.wu@chaiyo.com>
- Tuesday, June 18, 2002 at 07:38:15 (EDT)

จริง ๆ แล้วก็ดีสำหรับการมี ISO แต่ไม่ได้ติดกับ ISO จนเป็นบ้าเป็นหลังกันใหญ๋แล้วประเทศไทย
พรลดา สมอาษา <ิำbeing_badgirl@hotmail.com>
- Saturday, June 08, 2002 at 02:55:51 (EDT)

หน่วยงานที่ได้รับ ISO แล้วใช่ว่ามาตราฐานของหน่วยงานนั้นจะดีได้ทั้งระบบ ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบที่ว่าผักชีโรยหน้ากันทั้งนั้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช่ ISO เป็นตัววัดระดับมาตราฐาน
ซูไรดา จาเอาะ <amdar19@yahoo.com>
- Monday, June 03, 2002 at 09:18:36 (EDT)

ผมว่าถ้าไม่มีอะไรจะทำอยู่ไปวันๆดีกว่าไม่ต้องเสียเวลาไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์
คงรัฐ <kongrati@hotmail.com>
- Friday, May 24, 2002 at 10:33:08 (EDT)

ประเทศของฉันหน่วยงานของฉันได้เงินเพิ่มขึ้นมาไหมจากการได้iso
ทวีชัย นวลทา <taweechai_163@hotmail.com>
- Wednesday, May 08, 2002 at 04:59:20 (EDT)

ยอมถูกหลอกนะ เพราะเมื่อได้รับการรับรอง ISO และประกาศให้สาธารณะชนและลูกค้าทราบแล้ว ยอดขายพุ่งเลยครับ ในขณะที่การทำงานเราเน้นที่คุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลักจริงๆ
AIM <B>
- Monday, April 29, 2002 at 22:36:20 (EDT)

ISOเปรียบเหมือนเครื่องมือกีดกันทางการค้า ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจตรงที่รัฐบาลบอกให้สนับสนุนสินค้าไทยแต่พอมีงานประมูลของราชการ กลับให้ใช้มาตรฐานISOของต่างชาติ
จุฑามาศ ศรีกลับ
- Friday, April 26, 2002 at 02:08:07 (EDT)

คัดค้าน ..... เป็นอุปสงค์เกินไปรึเปล่า ประโยชน์ที่แท้จริงมันคืออะไร?รัฐน่าจะมีการประชาสัมพันธ์ในเรื่องมาตรฐานเหล่านี้ให้มาก เพื่อประชาชนส่วนใหญ่จะได้รู้ว่าความจริงแล้ว มันคืออะไร และจะได้ไม่ต้องไปหลงกับค่านิยมที่ผิดๆเหล่านั้น
อานัฐ แจ้งสว่าง <arnat.j@chaiyo.com>
- Sunday, April 21, 2002 at 09:56:17 (EDT)

คัดค้านครับผม หากต้องการมาตฐานจริงๆ ทำไม่ไม่วัดกันที่คุณภาพล่ะครับ ต้องวัดกันด้วยใบประกาศเหรอ? แล้วใบประกาศรับรองเหล่านี้ทำไมต้องเสียเงินจ่ายด้วยครับ? เงินที่จ่ายไปเพื่อให้ได้ไอ้ระบบบ้าๆ นี่ก็ไม่ใช่น้อยนะครับ บางรายเป็นแสนๆน่ะ จ่ายไปทำไม? องค์กรที่ตั้วระบบนี้ขึ้นมา หากดีจริงคงไม่คิดตังกันหรอกครับ หรือไม่ก็เก็บตังเท่าที่จำเป็นก็พอ ไม่ใช่เป็นแสนๆอย่างนี้หรอก โดนหลอกแล้วล่ะครับ อีกอย่างก็คือคนไทยเป็นพวกขี้เห่อครับอะไรที่ดูเก๋แปลกใหม่จะบ้าตามเห่อไปหมด ไม่สนว่าจะดีหรือไม่ ไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนนำไปใช้ ขอแค่ใด้ป้ายมาแปะก็พอ ผมว่ามีระบบท้องถิ่นของไทยหลายๆด้านที่เก๋กว่าและเหมาะสมกับบ้านเรามากกว่า แต่ถูปิดหูปิดตาเสียหมด น่าเสียดายครับ
KW
- Wednesday, April 03, 2002 at 03:32:47 (EST)

ไม่เห็นด้วย เพราะอยู่ในวงการอุตสาหกรรม เห็นมาเยอะมาก ไม่มีโรงงานใดที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง ๆ เพราะ บริษัทที่เป็นผู้ออกใบรับรอง ไม่เคยเน้นในการวัดผลอย่างจริงจัง เคยถามเขาว่าเคยทำสถิติไหมว่าบริษัทที่ได้ใบรับรองแล้ว สามารถทำยอดขายได้มากขึ้นจริง ปรากฏว่าไม่มีการทำเลย มันวัดผลไม่ได้ ขึ้นกับองค์กรเอง ดังนั้น เมื่ออะไร ๆ ก็ขึ้นกับองค์กรทำไมต้องใช้มาตรฐานนี้ด้วยเล่า คนที่มาตรวจเพื่อออกใบรับรอง น้อยมากที่มีประสบการณ์จริง แนะนำในทางที่ได้ประโยชน์แก่องค์กร เห็นได้เลยว่า ตามก้นฝรั่ง โดนหลอกมากไป องค์กรที่มีคุณภาพจริง เขาไม่สนใจที่จะขอใบรับรองมาโชว์ด้วยซ้ำไปนะ ทางที่ดีต้องพัฒนาตัวเรา สร้างมาตรฐานของตัวเอง แล้วไม่ว่ามาตรฐานไหนก็ไม่ได้มีความหมายอะไรมาก
varaporn chen <view747@yahoo.com>
- Monday, March 18, 2002 at 22:03:39 (EST)

การศึกษาของไทยมีหลายสถาบันได้ใช้ระบบ ISO โดยประยุกต์ข้อกำหนดต่างๆ ตามที่ทาง ISO กำหนดขึ้นมาเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพการศึกษา แต่จากประสบการณ์แล้ว เป็นเหมือนการแก้โจทย์ที่ทาง ISO ตั้งขึ้นให้เราแก้ เราต้องแก้ตามที่เขากำหนด พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวดหก ที่กำหนดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น นั้น สร้างความปั่นปวนให้กับผู้บริหาร ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษาทุกแห่ง บ้างก็ยึดเอาระบบ ISO มาใช้ บ้างก็เอากิจกรรม 5 ส ของญี่ปุ่นมาใช้ บ้างก็ใช้องค์ประกอบ/ปัจจัย/มาตรฐาน ที่หน่วยงานตนเห็นว่าดีมาใช้ แต่จนแล้วจนรอด บัดนี้ความเป็นเอกภาพของการศึกษาไทยยังไม่เด่นชัด ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา (อาจเป็นเพราะห่วงแต่ตัวโครงสร้างบริหารจนลืมนึกถึงการเรียนการสอนที่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษาของคนในชาติ) ที่ใดมีระบบ ISO ที่ได้รับการรับรองก็ดูเหมือนว่าจะมีความน่าเชื่อถือสำหรับผู้เรียน แต่ที่นั้นโดยมากจะแพงถึงแพงมาก แล้วความเสมอภาค และโอกาสที่จะเรียนของคนในชาติจะมากขึ้นตามอุดมการณ์ของ พ.ร.บ. กระนั้นหรือ ถึงแม้นว่าจะมีองค์การมหาชนเพื่อทำหน้าทีรับรองคุณภาพการศึกษาอย่าง สมศ. ก็ตามที ราคาชั่วโมงของผู้ที่ให้ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาจะถูกกว่า ISO หรือไม่ เป็นคำถามที่คงได้รับคำตอบอีกไม่นาน
สิ้นศึก มุงคุณ <ssmk40@hotmail.com>
- Sunday, March 17, 2002 at 01:20:57 (EST)

การพัฒนาองค์การเป็นสิ่งที่ดี และการพัฒนาตนเองนั้นเป็นการเริ่มพัฒนาที่ตัวบุคคลก่อน โดยคำนึงถึงการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป จึงจะส่งผลให้การพัฒนาขององค์การมีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากประเด็นของการพัฒนาคุณภาพด้วยการใช้ระบบประกันคุณภาพที่มี ISO เป็นเครื่องมือนั้น เป็นการดำเนินการที่ดี แต่มิใช่ดีกับทุกคนและทุกสถานที่ โดยขอตั้งข้อสังเกตไว้ 3 ข้อคือ 1. ทำไมจึงต้องเจาะจง ISO และทำไมต้องสร้างค่านิยมนี้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย 2. ทำไมต้องจ้างที่ปรึกษาชั่วโมงละหลายบาททั้งที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์ 3. ทำไมในเมื่อประเทศไทยมีระบบประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว จึงไม่เห็นความสำคัญของตัวเอง ระบบดังกล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นพื้นฐานของชาวไทยมาแต่เดิม
สิ้นศึก มุงคุณ <ssmk40@hotmail.com>
- Sunday, March 17, 2002 at 01:00:55 (EST)

ขอเป็นกลาง ในเรื่องของการทำให้ได้มาตรฐานนี้คนไทยยังต้องการอยู่ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าจะรักษาความเป็นระเบียบหรือมาตรฐานได้โดยไม่มีใครหรืออะไรมาบังคับ แต่ในการทำให้ได้มาตรฐานนี้ต้องมีขีดจำกัดคือควรจะพิจารณาตัวเองหรือหน่วยงานนั้นสมควรที่จะทำ ISO หรือไม่ ดังตัวอย่างเช่น เคยมีเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทย ผมก็ไปรับพอนั่งรถมาถึงหน้าโรงเรียนแห่งหนึ่ง เพื่อนผมก็ตกใจว่าทำไมเมืองไทยถึงเอาโรงงานเข้ามาอยู่ในตัวเมือง เขาชี้ให้ดูผมก็มองตามไปดูก็เลยงงๆ เพราะนั้นมันเป็นโรงเรียน ผมเลยบอกเขาไปว่านั้นไม่ใช่โรงงานแต่เป็นโรวเรียน เขาก็บอกว่าทำไมถึงทำ ISO ล่ะที่ประเทศเรายังไม่ทำเลย
Phisoot <www.pphisoot.hotmail.com>
- Thursday, January 24, 2002 at 05:46:55 (EST)

การมอง เห็นอะไรก็ตามต้องมองให้เห็นประโยชน์ และนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม การได้ใบรับรองไม่ใช่สิ่งสำคัญ เหมือนการเรียนหนังสือนั่นแหละ สิ่งที่สำคัญคือเรารู้แล้วคิด และทำอะไร จากสิ่งที่เราเห็น จากสิ่งที่เราได้ยิน ระบบISO มันก็เป็นเพียงแนวคิด ถ้าเราศึกษาแล้วลองทำดู จะเรียนรู้อะไรบางอย่างได้ จากการที่เคยทำระบบมาในโรงพยาบาล มา เราได้เรียนรู้ตัวเองมากขึ้นด้วย ซึ่งเกิดจาการทำงานไม่ใช่ใบรับรองที่ได้หรอก ความคิดว่าตามฝรั่งเราก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่เราควรจะสำรวจว่าความจริงเป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าสิ่งที่เขาคิด เขาทำ ก็มีดีดีเยอะและเราก็นำมาเป็นแบบแล้วด้วยซ้ำ สำคัญคือต้องใช้สติ ปัญญาให้มาก ต้องยอมรับว่าเราไม่ใช่มหาอำนาจที่จะกำหนดใครได้ หันมามองเราเอง มองเขา เปรียบเทียบ แล้วปรับปรุงเราดีกว่าเนอะ
cw
- Wednesday, January 23, 2002 at 21:16:18 (EST)

ทำไมต้องไปตามต่างชาติ ทั้งๆ ที่ 5 ส คนไทยยังทำไม่ค่อยจะได้เลย ทำไมไม่ทำ 5 ส ให้ได้กันก่อน แล้วค่อยขยับขยายไปเป็นมาตรฐานที่ดีกว่า 5 ส เป็นขั้นต่อไป อ้างแต่ว่าผ่าน ISO เห็นบางที่ยังทำ 5 ส กันไม่ได้ก็มี น่าจะลองทบทวนกันมั่งน่ะครับ
ณัฐ ปรุงเกียรติ <pnat@hotmail.com>
- Friday, January 18, 2002 at 12:42:40 (EST)

ทำไมต้องไปตามต่างชาติ ทั้งๆ ที่ 5 ส คนไทยยังทำไม่ค่อยจะได้เลย ทำไมไม่ทำ 5 ส ให้ได้กันก่อน แล้วค่อยขยับขยายไปเป็นมาตรฐานที่ดีกว่า 5 ส เป็นขั้นต่อไป อ้างแต่ว่าผ่าน ISO เห็นบางที่ยังทำ 5 ส กันไม่ได้ก็มี น่าจะลองทบทวนกันมั่งน่ะครับ
ณัฐ ปรุงเกียรติ <pnat@hotmail.com>
- Friday, January 18, 2002 at 12:41:55 (EST)

ทำไมต้องไปตามต่างชาติ ทั้งๆ ที่ 5 ส คนไทยยังทำไม่ค่อยจะได้เลย ทำไมไม่ทำ 5 ส ให้ได้กันก่อน แล้วค่อยขยับขยายไปเป็นมาตรฐานที่ดีกว่า 5 ส เป็นขั้นต่อไป อ้างแต่ว่าผ่าน ISO เห็นบางที่ยังทำ 5 ส กันไม่ได้ก็มี น่าจะลองทบทวนกันมั่งน่ะครับ
ณัฐ ปรุงเกียรติ <pnat@hotmail.com>
- Friday, January 18, 2002 at 12:40:48 (EST)

ถูกฝรั่งหลอกตามเคย กระทั่งศาล โรงพยาบาลที่หากินกับคนไทยเป็นหลัก ก็อ้างว่าผ่านไอเอสโอ คนไทยนับถือมันเป็นเหมือนสิ่งสักดิ์สิทธิ์ ผมคิดว่า ถ้าคุณหากินกับฝรั่ง ลูกค้าอยากได้อะไร ก็คงต้องทูนหัวให้ แต่หน่วยงานอย่างศาลไทย โรงพยาบาลไทย โรงพักไทย ซึ่งบริการคนไทย ไม่รู้ว่าจะเดือดร้อนไปทำไม เห็นด้วยว่าหน่วยงานต้องมีการพัฒนา แต่ทำไมต้องจ้างให้เขามาออกใบรับรองให้ ไม่รู้ตัวหรือว่า ตัวเองแค่ไหน เพียงไร คนไทยชอบพูดกันว่าเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง แต่กระบวนความคิดของคนไทยเป็นยิ่งกว่าเมืองขึ้น รัชกาลที่ 5 ทรงรักษาเอกราชของชาติมาได้ แต่ 100 ปีให้หลังคนไทยกลับยกเมืองไทยให้ฝรั่ง โดยเขาไม่ต้องใช้กำลังบังคับ
สมชาย อินทรศิริพงษ์ <chaikorat@hotmail.com>
- Tuesday, January 08, 2002 at 09:39:23 (EST)

ผมเองก็อยู่ในระบบที่เกี่ยวข้องกับ ISO และอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นความแตกต่างก่อนการเข้าระบบก็คือ ทำระบบให้เป็นระบบ แต่มีจุดอ่อนคือ เป็นระบบด้านเดียว (ISO 9000 เป็นระบบด้านคุณภาพ แล้วด้านอื่น ๆ ล่ะ??) ผมไม่ทราบว่าหัวข้อที่ผมเห็นนี้ เขียนไว้นานหรือยัง เพราะตอนนี้มันมีทั้ง ISO14000 ,มอก 18000 และจะมีมากอีกเรื่อยๆ ซึ่งสุดท้ายเป็นการตั้งด่านกีดกันสินค้าที่พวกฝรั่งใช้มาอ้างในการจะบอกว่าเข้าประเทศไอได้ ทำไมไม่สร้างมาตราฐานที่มันรวมทุกอย่างไว้ในตัวเลย เช่น 9000+14000 (+18000 ซึ่งอาจไม่มีเพราะคนไทยตั้งเอง) = ISO 23000 or ISO 41000 เวลาเขียนบทบัญญัติก็ชี้ชัดลงไปเลยว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ไม่ใช่เขียนภาษากฏหมาย ซึ่งต้องมีตีความกันให้ยุ่งยาก เพราะการที่ทำอะไรให้กว้าง ๆ และชัด ๆ (ชัดเจน) น่าจะเหมาะสมในการทำงานมากกว่า เช่น ระบบคุณภาพต้องมีมาตราฐานอย่างไรบ้าง มีการปรับปรุงและพัฒนาต่อไปอย่างไร เช่น ใช้ Six Sigma ในการปรับปรุงกระบวนการ (Continual Improvement ที่ฝรั่งมันใช้กัน ) ผมว่า ดร. ทั้งสองคนต่างก็มีเหตุผลในตัวเองเพียงแต่ว่าบทสุดท้ายเราทั้งหมดต่างก็ต้องเป็นทาสพวกฝรั่งวันยังค่ำ ตราบใดก็ตามที่เราไม่พยามยามสร้างสรร สิ่งที่เป็นตัวตนของพวกเรา ขอบคุณที่อดทนอ่าน เพราะมันไม่มีสารอะไรครับ
ณัฐ ขาวขำ <nat_k1@yahoo.com>
- Wednesday, January 02, 2002 at 11:02:27 (EST)

มันเป็นการดีที่สินค้า และบริการต่างๆ จะมีมาตรฐานในการผลิตออกมา เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้มีทางเลือก หรือได้ของที่มีการควบคุมคุณภาพแต่ต้องไม่ใช่เอามาเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า
จักรพันธ์ นาน่วม <netaru_k@yahoo.com>
- Saturday, December 15, 2001 at 22:57:07 (EST)

ตามเมืองนอกมากไป ประเทศไทยต้องพึ่งตนเองบ้าง
สุรีย์พันธุ์ พันธุ์ธรรม <sureephan.pha@chaiyo.com>
- Friday, December 14, 2001 at 04:47:27 (EST)

I live in USA now. I've never seen something like ISO in the company or product over here. (They have but they don't show off on the front of their place) I am really think Thais that jump to the conclusion of ISO = good quality is an idiot.
surapol <sss@kmitnb.ac.th>
- Saturday, November 10, 2001 at 13:18:38 (EST)

น่าจะมี มาตรฐานอื่นบ้าง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย
อิทธิพล <aoueeng@hotmail.com>
- Wednesday, October 24, 2001 at 00:33:05 (EDT)

ผมซื้อเครื่องรับโทรศัพท์ยี่ห้อหนึ่งที่โฆษณาว่าได้ ISO9002 บนหูโทรศัพท์มาใช้ 2-3 เครื่อง ใช้ได้ไม่ถึงปีก็ทยอยกันพังแล้ว อะไรคือมาตราฐาน บ้าจี้ตามอเมริกา ผู้บริโภคต้องดูแลตัวเอง ตาดีได้ ตาร้ายเสีย...กระมัง
ISO บ้า ๆ
- Monday, October 01, 2001 at 12:50:59 (EDT)

เห็นด้วยกับการจัดการเพื่อให้ได้มาตรฐาน ในระดับที่เป็นที่ยอมรับ แต่ไม่เห็นด้วยกับการนำระบบ ISO เข้ามาใช้ในเมืองไทย ว่าไปแล้วไม่ต่างอะไรกับการเดินตามก้นตะวันตก... มีส่วนถูกต้องที่ว่าระบบ ISO ช่วยทำให้มาตรฐานบางด้านดีขึ้น เป้นที่ยอมรับในระดับสากล แต่การนำมาใช้ให้เหมาะสมกับอุปนิสัย และบุคลิกลักษระของคนไทย ยังเป็นที่สงสัยอยู่ การติดตั้งระบบ ISO ให้เกลื่อนกลาดไปหมด มันสะท้อนให้เห็นความไม่รู้จักคิดของคนไทย ... การอ้างว่าระบบนี้เหมาะกับคนไทย เพราะคนไทยไม่ค่อยจะทำอะไรได้เข้ามาตรฐานนัก ดูจะไม่เหมาะสม ...ในฐานะผู้หนึ่งที่จำเป็นต้องคลุกคลีกับระบบมาตรฐานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ทราบว่าคนไทยไม่เหมาะกับระบบนี้เลย เพราะถึงแม้ว่าจะสามารถบังคับใช้ระบบนี้ได้ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความระบบคุณภาพได้ซึมซับเข้าไปในอุปนิสัยของคนไทยอย่างแท้จริง แนวคิดของระบบ ISO ให้ความสำคัญกับระบบ และเอกสาร มากมายเกินไป จนไม่คำนึงถึงศักยภาพของ มนุษย์ ในการคิด และปฏิบัติ...ระบบ เห็น มนุษย์เป็นเพียงอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในการขับเคลื่อน ธุรกิจ หรือกิจกรรมต่างๆ.... ซึ่งแนวคิดนี้ไม่เหมาะกับคนไทย ... แต่จะทำอย่างไรได้....."นโยบาย" อันแสดงถึงความไร้อิสรในการคิดจากผู้บริหาร ไม่ว่าระดับสูงสุดของประเทศ หรือรองๆ ลงมา ก็สนับสนุนระบบนี้เข้าเต็มที่เสียแล้ว....แม้จะไม่เต็มใจปฏิบัติก็จำใจต้องปฏิบัติ....ลองคิดดูสิว่า....ระบบทำให้ผู้ปฏิบัติ ด้วยความจำใจเสียแล้ว...คุณคิดว่าคุณภาพจะมีมากน้อยเพียงใด
ดาหลา <ืnichra@hotmail.com>
- Saturday, September 15, 2001 at 02:28:04 (EDT)

คิดว่ามีข้อดีในแง่ทำให้ระบบการบริหารและการจัดการด้านข้อมูลของการผลิตและบริการของโรงงานหรือผู้ให้บริการด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพของบุคคลากรในอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการต่าง ๆ อีกด้วย
ชัชชัย ปิณฑวิรุจน์ <chatpin@hotmail.com>
- Wednesday, September 12, 2001 at 12:47:24 (EDT)

iso - สิทธิมนุษยชน - การค้าเสรี - สิ่งแวดล้อม - โลกาภิวัฒน์ ผู้กำหนดคือชาติตะวันตก เพื่อประโชน์ของตัว ขอให้รุ้อย่างเท่าทัน อย่าหลงเชื่ออย่างงมงาย (อย่างขาดสติ) ประเพณี วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ ต่างกันย่อมก่อให้เกิดมาตราฐานที่ต่างกัน นายทาสย่อมต้องกำหนดคุณสมบัติของทาสที่ตนต้องการ หากต้องการเป็นทาส ก็จงปฏิบัติตัวให้ตรงตามที่นายกำหนด หากต้องการเป็นไท ต้องกำหนดมาตราฐานของตนเอง
juris_30 <juris_30@lemononline.com>
- Friday, September 07, 2001 at 20:54:07 (EDT)

I think it is normal to find any company in Europe and USA that shows the sign of ISO. But I doubt, how many schools or universities in Europe and USA that really work hard to get ISO. If any one knows any schools or universities in Europe or USA got ISO, please tell me. I even doubt, if any famous university in abroad are serious to get ISO?!?!?!
a Thai student in abroad
- Tuesday, August 21, 2001 at 12:50:01 (EDT)

ผมเองก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมโรงเรียนอนุบาลหรือโรงเรียนต่างๆ เอาไปทำไม รวมไปทั้งรถเมล์ ขสมก. เป็นการสิ้นเปลืองมากในการดำเนินการกว่าจะได้ คงจะเป็นแฟชั่น
ผู้เคยได้ ISO9002, QS-9000
- Sunday, August 12, 2001 at 12:37:59 (EDT)

การสร้างมาตราฐานมิใช่ให้ผู้ซึ่งไม่ได้ใช้วิถีชีวิตเชกเช่นเรามาเป็นผู้กำหนดและกำกับพฤติกรรม การดำรงชีวิตรวมทั้งมาตราฐานของเรา การจะรักษา ดูแล และจัดการให้ดีนั้น ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและสำนึกของบุคคล ต่อให้สารพัด ISO แต่ไม่ร่วมกันรับผิดชอบวงจรเก่าๆ ก็จะยังคงหวนกลับคืนมาอีก
นางสุรีย์พันธุ์ จิรพรรณทวี <sureepunj@hotmail.com>
- Thursday, July 26, 2001 at 01:03:51 (EDT)

ISOมีให้เห็นเยอะมากแน่ใจแล้วหรือว่าที่ติดป้ายไว้นั้นได้มาตรฐานจริงไม่ใช่แฟชั่น
พิมพ์มาดา
- Tuesday, July 17, 2001 at 00:53:26 (EDT)

ฝรั่งเค้าเตรียมการไว้หมดแล้วหละครับ ถ้าเราต้องการขายสินค้าให้กับฝรั่ง เรา ก็ต้องทำตามที่ฝรั่งเค้าสร้างขึ้นเรียกร้องอะไรเรา เราก็ต้องทำ ถ้าเราต้องการขายสินค้า แก่ต่างชาติ แต่ถ้าเราไม่ต้องการขายแก่ต่างชาติก็ไม่ต้องสนใจ ISO บ้าบอคอแตก
โดม
- Friday, July 13, 2001 at 00:04:15 (EDT)

เอามุมของผู้บริโภคบ้างนะครับ...ไม่มีใครหลอกเราหรอกครับ... เราหลอกตัวเองกันอยู่...เราหลอกตัวเองว่าเราจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี ISO พอมี demand ก็ต้องมี supply ธรรมดา.... ครั้งหนึ่งเคยไปซื้อของที่ห้าง.. เป็นชั้นวางของราคาประมาณ 80-100 บาท แต่อีกวันหนึ่งไปซื้อที่ตลาดนัด.. ชั้นขนาดเท่ากันพลาสติดคล้าย ๆ กัน ราคาลดสุด ๆ 19 บาท... สุดท้ายก็เอามาวางคู่กัน..... ไม่ต่างกัน..วางของน้ำหนักเท่า ๆ กันได้..
(-_-) <None>
- Wednesday, July 11, 2001 at 22:59:35 (EDT)

ผมว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ผมจะกล่าวถึงข้อเสีย คือ มันเปลืองงบประมาณ ข้อนี้อาจจะบอกได้บางคนว่ามันคุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ แต่ท่านทราบไหมว่า โรงเรียนของผมนั้น ผ่านมาตรฐาน ISO มาได้ แต่เด็กทั้งโรงเรียนไม่มีใครรู้จุดประสงค์ของไอ้คำว่า ISO เลยแม้แต่คนเดียว (คณะกรรมการพวกนี้มันมาทำอะไรในโรงเรียนกูวะเนี่ย) ก่อนมันจะมาโรงเรียน ผมต้องทำงาน Portfolio แทบตาย เวลากิน ไม่ได้กิน เวลานอนไม่ได้นอน เพื่อนนักเรียนคนอื่นทุกคนได้นอนอย่างเร็วก็ ไม่เที่ยงคืน ก็ตีหนึ่ง แล้วมาเอาคะแนนหยุมหยิม เหมือนเศษคะแนนที่ครูจะให้ได้ พอไอ้พวกกรรมการ ISO ไป ก็ไม่มีงานให้ทำอีกเลย แล้วอย่างนี้เอามา ไอ้พวกนี้มาทำอะไร เอามาประดับโรงเรียนให้โก้หรูว่า เฮ้ยไอ้พวกโรงเรียนกระจอกทั้งหลาย โรงเรียนของกูมี ISO แล้วนะพวกมึง โรงเรียนกูมีระดับกว่าพวกมึงที่ไม่ได้ ISO และเคยบอกไว้ว่าโรงเรียนของเรานั้นเด็กต้องมีคุณภาพถึงจะสอบเข้าโรงเรียนนี้ได้ แต่ทำไม ต้องระริกระรี้อยากได้ ISO เอาไว้อวดโรงเรียนอื่น จะได้ให้เด็กอื่นมันมาสอบเข้าโรงเรียนนี้เยอะๆทำไม
มานพ ม.5/4 <boym_36@thaimail.com>
- Wednesday, July 11, 2001 at 08:03:31 (EDT)

ความเห็นเหมือนกับคุณสุรีพันธุ์ นั่นคือการออกใบรับรองมาตรฐานให้กับธุรกิจหรือองค์กรในประเทศไทยเป็นแค่ธุรกิจหาเงินเข้ากระเป๋าของคนกลุ่มหนึ่งอีกแบบหนึ่งเท่านั้น
คนไทย แท้ๆ
- Friday, July 06, 2001 at 23:43:56 (EDT)

ความเห็นเหมือนกับคุณสุรีพันธุ์ นั่นคือการออกใบรับรองมาตรฐานให้กับธุรกิจหรือองค์กรในประเทศไทยเป็นแค่ธุรกิจหาเงินเข้ากระเป๋าของคนกลุ่มหนึ่งอีกแบบหนึ่งเท่านั้น
คนไทย แท้ๆ
- Friday, July 06, 2001 at 23:40:30 (EDT)

จากการที่ได้ศึกษาระบบนี้มาบ้าง เห็นว่ามันเป็นระบบที่ดีสำหรับการผลิตแบบอุตสาหกรรม แต่ไม่ใช่จะสามารถนำมาใช้ได้กับงานอื่นได้ เพราะสำหรับงานที่มีเนื้อหาที่ต้องการการสร้างสรรค์ มีความละเอียดอ่อน เช่น การทำหนังสือ งานวิชาการ หรือแม้แต่งานในโรงพยาบาล มาตรฐานนี้ไม่สามารถประกันคุณภาพได้เลย ฉะนั้นเราจะได้ถามคำถามว่า เอ๊ะ ได้ ISO มาได้ยังไงบ่อยมาก และที่น่าเป็นห่วงคือ การให้ ISO บ้านเรายังเป็นแบบไทยๆ คืออะลุ้มอะล่วย จนระดับของมาตรฐานลดต่ำลงไปโดยธรรมชาติ จนคิดว่าในที่สุดมันคงเป็นแค่กระดาษใบเดียวเหมือนปริญญาบัตร ที่ไม่ได้รับรองความรู้ ความคิด จิตสำนึก อะไรได้เลย
สุรีพัะันธุ์ เสนานุช <Sureephan@ftpi.or.th>
- Thursday, June 28, 2001 at 21:41:26 (EDT)

การจะรับเอา มาตราฐานเหล่านี้เข้ามา ต้องดูว่า มันจำเป็นกับเราหรือเปล่า ถ้าทำแล้วขายดี ผู้บริโภคต้องการ ก็ทำ ไม่ง้นขายไม่ได้ การทำ Iso บางครั้งใช่ว่าจะเป็นการรับประกันว่าของที่ออกมาดี เพราะในองค์กรที่ได้รับ บางครั้งก็โกง ไม่ได้ทำกันจริงๆ ทำๆกันสักแต่ว่าได้ เสร้จก็ปล่อย ครบ6เดือนก็make ข้อมูลรอตรวจนอกจากนั้นยังมีผู้ตรวจ(ผู้ให้การรับรอง)มีมากมายถ้าไม่คำนึงถึงชื่อสถาบันก็ไปเลือก สถาบันไม่มีชื่อก็ไม่รู้ว่ามีมาตราฐานตรงไหน เพราะการจะผ่านการรับรองหรือไม่ก็ขึ้นกับคนตรวจ ยังเคยเห็นเลยว่า คนตรวจอยู่บ้านเดียว กับผู้พาตรวจ(ขอรับรอง) สุดท้ายก็ผ่าน เพราะพูดภาษาเดียวกัน
A santi <san238@yahoo.com>
- Tuesday, June 26, 2001 at 00:50:58 (EDT)

ในเมื่อทุกอย่างเป็นมาตรฐานแล้ว ค่าเงินควรเท่ากันด้วย เพราะเราก็เท่าเทียมฝรั่งทั่วโลกแล้ว ตามมาตรฐานนี้
tanathip <tanathip@loxinfo.co.th>
- Thursday, June 21, 2001 at 17:03:54 (EDT)

ผมว่าคนไทยยังเข้าใจผิดในหลักการของ ISO ที่ฝรั่งตั้งขึ้นมา คำว่า Standard ในที่นี้ควรใช้คำว่า " เกณฑ์" มากกว่าคำว่า "มาตรฐาน" ซึ่งเราจะมีอคติ ไปในด้านดีเมื่อได้ยินคำนี้ ( ไ ด้ยิน ใครบางคน เอา อย. มารวมกับ ISO) แต่หลักการของ ISO คือ จะต้องมี "เกณฑ์" ที่เหมือนกัน ทุกครั้ง ไม่ว่าใครจะมาทำ แต่ระดับของเกณฑ์ ณ.ต่างที่ อาจจะต่างกัน เช่น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ กาละมัง ในร้านขายของชำนั้นอาจจะสามารถต่างกันได้ในพิกัด +/- 3.0 นิ้ว ขณะที่ ชิ้นส่วนของ Space shuttle ต่างกันได้ในพิกัด +/- 0.03 นิ้ว. ขณะนี้ คนไทย หลอกคนไทยด้วยกันเอง ในการนำ คำ ISO ออกมาโชว์ เพื่อสร้าง Image ซึ่งคนข้างนอกไม่รุ้ หรอกว่า ISO ของเขาเป็นเกณฑ์ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ( +/- 3.0 นิ้วหรือ +/- 0.03 นิ้ว..??? ) แต่มีเพียงสิ่งเดียวที่รู้แน่คือ จะได้เกฌฑ์เดียวกัน ( +/- 3.0 นิ้ว หรือ +/- 0.03 นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง ) ทุกครั้งที่ ใช้ของ หรือ บริการนั้นๆ ดังนั้น การที่เขาบริการช้าครึ่ง ชม. ,จอดรถเมล์เยื้องป้ายไป 15 เมตร ก็อาจจะเป็นเกฌฑ์ที่เขาตั้งไว้ก็ได้. อย่างไรก็ดีเราจะปฎิเสธ ISO ไปเลยก็ไม่ได้ เพราะเราต้องอาศัยการทำมาหากินกับฝรั่ง (Global ก็เป็นแบบนี้แหละ) เราจำต้องยอมรับการรุกเข้ามาของเขา แต่ต้องทำความเข้าใจก่อน อย่าง ISO นี้คือสิ่งที่ฝรั่งต้องการขาย ขายอะไร ขายมันสมองนะซิ ก็ค่าแรงของเขาแพงมาก เมื่อมีการโยกย้ายโรงงานมา แถวเอเชีย แล้วจะให้คนเขาทำอะไรกินกันละ มันก็เลยมีการขายความคิด ขายสมอง ให้พวกเราต้องซื้อ ( ถ้าไม่ซื้อสมองของเขา เขาก็ไม่ซื้อของที่คุณผลิตนะซิ) คนไทยแต่ละคน แต่ละองค์กรณ์ ควรจะมาพิจารณาความเหมาะสม ว่าควรจะนำอะไรมาใช้กับเพื่อปรับปรุงตัวเอง เช่น 5ส , QC , TQM เป็นต้น ISO ไม่ใช่พระเจ้าที่ใช้ได้กับทุกสิ่งนะครับ อีกอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้มี QSR , Six sigma ที่ฝรั่งกำลังเริ่มขายแล้ว ใครอยากเป็นคน Most update ให้รีบไปหามาใช้กันได้แล้ว เดี๋ยวคนอื่นแซงไป จะเสียหน้านะจะบอกให้ !!!!!
Narongchai
- Wednesday, June 13, 2001 at 10:43:34 (EDT)

การกำหนดมาตรฐานทำให้คนมีความกระตือรือล้นในการทำงานมากขึ้นเพราะต้องพยายามทำงานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ (ซึ่งก็คือเป้าหมายในการทำงานนั่นเอง)
Ii'8N <jiw.arun@chaiyo.com>
- Tuesday, June 12, 2001 at 11:15:11 (EDT)

สนับสนุน อาจจะเหมาะ กับบ้านเราที่องค์กรต่างๆ มักทำงานไปในแนวทางที่ไม่มีระบบ ใน concept รของ ISO 9000 เป้นเรื่องที่มุ่งเน้นเรื่องการบริหารงานอย่างไรให้มีคุณภาพ แต่ผู้ที่นำมาปฎิบัติ โดยเฉพาะชาติที่ กำลังพัฒนาอย่างเราๆ มักจะตีความเรื่องที่เขาทำไว้เป็นคนละเรื่อง และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดการโดยใช่เหตุ มองให้ดีถ้าตีความให้แตก ต้องขอถามว่าฝ่ายคัดค้านมีแนวทางที่หาระบบอื่นดีกว่านี้หรือไม่ ไม่ควรมาตั้งแง่กับเรื่องเข่นนี้ทำไปก็เสียเวลา ควรเอาพลังความคิดที่เรียนรู้ หรือจุดบอดของปัญหาการจัดกา ร มาจัดทำระบบที่เหมาะกับบ้านเราจะดีกว่า หรือถ้าจะให้สร้างสรรคในการโต้เถียงกันควรตั้งเรื่อง ทางออกที่ดีกว่าระบบ ISO 9000 จะทำอย่างไร
กวิน พงษ์พูล <kawin_pongpoon@hotmail.com>
- Sunday, June 03, 2001 at 10:35:50 (EDT)

บ้างครั้งคนเราจะต้องทำเป็นโง่ให้เขาหลอกเพื่อความอยู่รอด ถ้าถามว่าอยากทำระบบหรือเปล่า ตอบได้เต็มปากเลยว่า ขี้เกียจสุดๆ แต่เมื่อมันเป็นนโยบายเราซึ่งต้องรองรับนโยบายที่เขากำหนดมาถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วจะเอาอะไรกิน อีกอย่างมันเป็นสิ่งที่ลูกค้าบังคับให้ต้องทำ ถ้าไม่ทำก็ไม่ซื้อสินค้า คนอีกหลายที่ตกงานถ้าบริษัทไม่มีระบบเหล่านี้ มองอีกมุมนึงมันก็เป็นการดีที่ทำให้คนหลายคนซึ่งจบมาในสาขาไม่เป็นที่ต้องการของตลาดในตอนนี้ถ้ามีโอกาสได้เรียนรู้หรือมีความรู้ด้านนี้เพิ่มเข้ามา เขาก็สามารถที่จะยึดเป็นอาชีพหรือสามารถมีงานทำให้ตังเองอยู่ในสังคมได้
เหน่ง <gotji@thaimail.com>
- Monday, May 21, 2001 at 05:25:01 (EDT)

รถเมล์ EURU ก็เป็นอีกหนึ่งที่เข้าสู่มาตรฐาน ISOซึ่งทุกคนที่ขึ้นย่อมคาดหวังว่าจะไม่เหมือนรถเมล์อื่น แต่แล้วก็ยังคงเปิดประตูนอกป้าย ทั้งที่เขียนบนรถชัดเจนเพราะฉะนั้นสรุปแล้วเรามาสนใจตัวที่ต้องการวัดดีกว่าสนใจตัวที่ใช้วัด
คนกรุง
- Wednesday, May 16, 2001 at 10:12:50 (EDT)

ในความวุ่นวายในโลกปัจจุบันส่วนหนึ่งเกิดจากการเอาไม้บรรทัดที่บิดเบี้ยววัดมันทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ isoก็เช่นเดียวกันถ้าจะใช้มันจริงก็ต้องช่วยกันหล่อหลอมให้เป็นไม้บรรทัดที่เที่ยงตรง
ยุวดี <sasintm@click ta.com>
- Wednesday, May 16, 2001 at 10:01:00 (EDT)

สถานศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้า อย่าตีราคาที่ ISO
kris sripanich <krid_o@hotmail.com>
- Thursday, May 10, 2001 at 12:56:15 (EDT)

การจะมี isoหรือไม่ หาใช่ประเด็นสำคัญ มากนักเพราะถึงไม่มีเราก็อยู่ได้ ทำงานได้ แต่การพัฒนาให้ระบบการทำงานมีคุณภาพเพิ่มขึ้น เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่ขยายออกไปในระดับโลก เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ การพัฒนาจะใช้วิธีการใดสุดแล้วแต่ เพียงแต่ให้สามารถวัดได้ว่า มีประสิทธิภาพจริง คุ้มค่าจริง หาก ISO เป็นระบบที่ทำให้มีการพัฒนาประสิทธืภาพจริงก็ไม่น่าจะรังเกียจ ในเมื่อเราคิดเองไม่ได้ ก็ควรเลียนแบบหรือทำตามสิ่งที่เขามี เพียงแต่การทำตามนั้นต้องนำหลักพุทธศาสน์ มาใช้ อย่าเชื่อเพราะเขาว่า อย่าเชื่อเพราะ....... ขอให้การทำตามนั้นเกิดประโยชน์ต่อเราเกิดประโยชน์ต่อโลก ต่อทุกๆส่วน แต่หากทำตามโดยขาดการพิจารณา ไม่ทำตามเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริหารแล้ว คงมีโทษมากกว่าประโยชน์ เช่นคิดว่าได้การรับรองแล้วคงเพิ่มยอดขาย หรือคงได้การยอมรับ หรือเพื่อเพื่อนๆจะได้ว่าเรามีมาตรฐาน เหล่านี้เป็นสิ่งอันตรายทั้งนั้น การที่จะถูกหลอกหรือไม่อยู่ที่เราเอง ทำไมเราไม่นำระบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเราโดยไม่มีการสูญเสียล่ะ มีแต่ประโยชน์ ด้านเดียว การทีจะมีคุณภาพหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ใครรับรองอยู่ที่กิจการที่เราทำอยู่มีคุณภาพหรือไม่ ขอให้ถามตัวเองและเลือกเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ฟรีๆ เถอะ เราก็ไม่ได้หลอกใคร ใครก็ไม่ได้หลอกเรา เพียงแต่เราฉลาดเลือกเท่านั้นเอง ทุกอย่างในโลกนี้มีสองด้านเสมอ เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองเถอะ ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหรือน่าปฏิเสธ การที่ไม่เข้ามาเลือกเลยเป็นสิ่งน่ากลัวยิ่งกว่า โดยความนับถือ
สมหมาย ดำสุวรรณ <SOMMAI@CHAIYO.COM>
- Thursday, May 10, 2001 at 01:35:24 (EDT)

เห็นด้วยกับการมีมาตราฐานในการปฏิบัติงานทุกอย่าง แต่มาตรฐานแต่ละชื่อ (เช่น ISO , TQM ฯลฯ) ล้วนมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน ผมว่าISO ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากเกินไปในด้านการปรึกษาบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการให้ได้คุณภาพ ตามเอกสารที่ท่าน ๆ ทั้งหลายว่าไว้แล้วต้องตรวจสอบกับ เป็นประจำ เช่น 3 ปีครั้ง เพื่อรักษาคุณภาพให้ได้ ISO แล้วบางหน่วยงานเช่น รพ. สถานศึกษา ที่ไม่ได้ส่งผลิตผลในการบริการไปต่างประเทศ ก็ไม่น่าจะเหมาะสมกับ TQM มากกว่า เพราะว่าอาศัยพื้นฐานของความเป็นระเบียบ คือ 5 ส. ปรับปรุงระบบงานอยู่เรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องไป ไม่หยุด น่จะทำให้สามารถพัฒนาได้ยั่งยืนมากกว่า ISO ซึ่งได้เป็นครั้ง ๆ ไป ไม่ต่อเนื่องตลอด แต่หากยังคงสามารถรักษามาตรฐานระบบงานให้ดีดังเดิมก็ได้ดังเดิม หากมีเงินจ่ายค่าที่ปรึกษา เห็นว่าระบบควบคุมคุณภาพดี แต่ต้องเลือกใช้ให้ถูกครับ
นาโร
- Tuesday, May 08, 2001 at 07:26:23 (EDT)

คือตัวผมเองไม่ได้อยู่ในองค์กรที่เข้า iso แต่ทำธุรกิจคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้เข้าไปดูแลลูกค้าที่ เข้า iso และกำลังพยายามเข้า iso ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในแต่ละบริษัท ตั้งแต่ยังไม่เข้า จนได้รับ iso ผมว่าส่วนที่ดีมันก็มีเยอะนะครับ ถ้าเราตัดอคติว่าจะต้องไปตามฝรั่งเขา แล้วมองดูว่าคุณได้อะไรกลับมา ผมมองในแง่การบริหาร ผมว่ามันช่วยเจ้าของและผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นๆ ให้ดูแลและโปร่งใสได้ง่าย เพียงแต่ไม่ชอบ บริษัทที่อาศัยว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้จริง เอา iso มาอ้างโฆษณาขายของ ซึ่ง iso ที่ได้ไม่เกี่ยวกับคุณภาพสินค้าเลย
ตั้ม <tepparit@yahoo.com>
- Friday, May 04, 2001 at 09:36:22 (EDT)

ผมว่าบางทีเราอาจยึดติดกับตัวอักษรบนป้ายผืนใหญ่ว่า ISO กันมากไปหน่อย จนบางครั้งลืมว่าตัวเองยืนอยู่ที่จุดใด ทำไปเพื่ออะไรบ้าง เพื่อการยอมรับ เหมือนเครื่องประดับชิ้นหนึ่งเช่นแหวนเพชร อย่างนั้นหรือ แต่การพิจารณาในรายละเอียดว่า ISO นั้นมีเกณฑ์อย่างไร แต่ละเกณฑ์มีคุณค่าหรือเหตุผล หรือข้อดีอย่างไร เช่นกิจกรรม 5ส เราไม่ต้องให้อาคารทุกหลังทุกองค์กรนั้นติดป้าย 5ส ก็ได้ แต่เรานำหลักการของ 5ส มาปฏิบัติดู หากเราพิจารณาแล้วเห็นว่า มันเอื้อประโยชน์กับการดำเนินงานขององค์กร เช่น สะดวกขึ้น สะอาดขึ้น เราก็ควรทำต่อไป ไม่จำเป็นต้องร้องตะโกนว่า "ที่นี่ เราทำ 5ส แล้ว" ให้เขามาพิสูจน์และซึมซับคุณค่าเหล่านั้นด้วยตนเองเถิด
กต
- Friday, May 04, 2001 at 08:31:08 (EDT)

ดิฉันคงไม่อยากแสดงความคิดเห็นว่าสนับสนุนหรือคัดค้านมาตรฐาน ISO9000 (ควรใช้ ISO9000 แทนISO9002 นะคะ เพราะเป็น common name มากกว่า) เพียงแต่อยากจะให้ข้อคิดกับผู้ที่จะแสดงความคิดเห็นที่จะสนับสนุนหรือคัดค้านสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าต้องศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งในเรื่องที่จะวิพากษ์วิจารณ์ก่อน มิฉะนั้น ตัวอย่าง ที่ท่านให้ประกอบความคิดเห็นนั้นอาจจะถูกหัวเราะเยาะจากคนที่เขารู้จริงก็ได้ว่า มันเป็นคนละเรื่องเลย ส่วนคนที่ไม่เข้าใจ(แบบท่าน..แต่ศรัทธาในชื่อเสียงของท่าน)อาจจะพลอยได้รับข้อมูลเพี้ยนๆไป ดิฉันคงขอเรียนได้เพียงว่า มาตรฐานทุกตัวมีทั้งข้อดีและข้อด้อย อยู่ที่ว่าผู้นำไปใช้มีความประสงค์อย่างไรและรู้จักวิธีนำไปใช้ดีแล้วหรือยัง และเมื่อไม่ประสบความสำเร็จในการนำไปใช้จะโทษว่าเป็นความผิดของมาตรฐานเพียงประการเดียวนั้นหรือ!! ....พรทิพย์ สุวานิโช (วิทยากรปรึกษาแนะนำISO9000)
porntip suwanisho <porntip@ftpi.or.th>
- Tuesday, May 01, 2001 at 22:49:55 (EDT)

ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ตั้งแต่ รร.อนุบาล จนไปถึง รง. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ต้องมี ISO ไปทำไมกัน เป็นแฟชั่น? เพิ่มต้นทุนเสียเปล่า หากต้องการมาตรฐานจริง ไม่ต้องมี ISO ก็ทำได้ ทำมาตรฐานไทยก็ได้ มาตรฐานฝรั่งมันจะไปเข้ากับระบบงานคนไทยได้ดีสักเท่าไรกันถ้า ISO เป็นมาตรฐานกันทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องตามกันไปหมด เพื่อสินค้าจะได้นำไปขายได้ ถือว่าเป็นการกีดกันการค้าอีกทางหนึ่งใช่มั้ย แล้วแบบนี้ประเทศที่ยังไม่พัฒนามันก็ไม่ต้องผุดต้องเกิดกันเลยในสังคมโลก
close2heaven
- Tuesday, May 01, 2001 at 14:43:03 (EDT)

ดูให้ดีครับ ส่วนใหญ่มักจะเขียนว่า Wมุ่งมั่นพัฒนา เพื่อเข้าสู่ ISO 9002" เหมือนจะได้ แต่จริงๆ ยังไม่ถึงไหน ตัวมาตรฐานผมเห็นว่า เหมาะสำหรับโรงงาน แต่ไม่เหมาะกับโรงพยาบาลครับ มาตรฐานอันไหนก็ดีครับ แต่ต้องสร้างความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่เสียก่อน มันขึ้นกับคนครับ
อุดม <greendoor96@hotmail.com>
- Sunday, April 29, 2001 at 22:57:04 (EDT)

ฝรั่งเค้าเอา ISO มาเพื่อว่าจะเป็นทางกีดกันทางการค้า โดยองค์กรที่ต้องทำควรเป็นองค์กรที่ทำธุระกิจข้ามชาติไป Europe คนไทยก็โง่ไปทำตามมันหมดไม่ว่าจะเป็นองค์กรในหรือนอก(บ้านนอก) แต่จริงๆแล้วข้อดีของ ISO ก็คือ ทำให้องค์กรมีระเบียบแบบแผน เพราะบางองค์กรมันจะมีการทำงานที่มักง่ายมั่วนิ่ม หรือที่งานไปวันๆ ไม่เคยมีการตรวจสอบ ไม่เคยมีการพัฒนา ถ้าประเทศไทยจะมีมาตราฐานอย่าง มอก ก็น่าจะสนับสนุนกัน จะทำมาตราฐาน มอก เป็นระดับ เหมือน ISO ก็ได้โดยทำให้เหมาะกับ ธุระกิจไทย สามารถควบคุมมาตราฐานการทำงาน สินค้า และบริการได้ เราจะได้ไม่ต้องเสียเงินให้ต่างชาติ
มือใหม่
- Friday, April 27, 2001 at 21:51:11 (EDT)

ก็หมือนกับเราให้หมามัน ทำตามที่เราสั่งยกขาบ้าง นอนกลิ้งบ้าง หรืออะไรต่ออะไร เราดูหมามันน่ารัก ชื่นชมว่ามันฉลาด แต่ยอมรับเถิดว่าให้เราทำตามได้พวกคอเคซอยเหล่านี้ไปเท่าไหร่เราไม่มีโอกาศจะยกมาตราฐานทัดเทียมพวกมันได้หรอกประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นมาตั้งกี่ครั้งแล้วว่า มนุษย์ไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนไม่มีทางยอมรับชาติพันธุ์อื่นเสมอพวกพ้องของตนได้ ป่วยการเปล่าๆ
ขาประจำสารคดี <NON>
- Friday, April 27, 2001 at 08:09:37 (EDT)

ผมอยากแสดงความคิดเห็นในแวดวงของการศึกษาที่พยายามนำเอา ISO เข้ามาใช้ แล้วต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้การประกาศนียบัตรรับรอง เป็นสิ่งที่ประเทศยากจนอย่างเรายังไม่ควรเสียเงินจำนวนมากด้วยเรื่องแบบนี้ เรายังจำเป็นต้องมีมาตรฐาน เรายังจำเป็นต้องมีคุณภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องจำกัดทางเลือกความเป็นมาตรฐานด้วย ISO หรือในหลายๆกรณีที่ได้รับฟังมากลายเป็นการสร้างหลักฐานด้วยเอกสารจำนวนมากต้องเสียทรัพยากรบุคคล วัสดุ เพื่อให้ได้มาเพียงใบรับรอง
ไพศาล กุศลวัฒนะ <paisanuthai@hotmail.com>
- Thursday, April 26, 2001 at 02:11:03 (EDT)

ผมอยากแสดงความคิดเห็นในแวดวงของการศึกษาที่พยายามนำเอา ISO เข้ามาใช้ แล้วต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้การประกาศนียบัตรรับรอง เป็นสิ่งที่ประเทศยากจนอย่างเรายังไม่ควรเสียเงินจำนวนมากด้วยเรื่องแบบนี้ เรายังจำเป็นต้องมีมาตรฐาน เรายังจำเป็นต้องมีคุณภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องจำกัดทางเลือกความเป็นมาตรฐานด้วย ISO หรือในหลายๆกรณีที่ได้รับฟังมากลายเป็นการสร้างหลักฐานด้วยเอกสารจำนวนมากต้องเสียทรัพยากรบุคคล วัสดุ เพื่อให้ได้มาเพียงใบรับรอง
ไพศาล กุศลวัฒนะ <paisanuthai@hotmail.com>
- Thursday, April 26, 2001 at 02:10:22 (EDT)

สรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เป็นเช่นนี้แล้วจะมีสิ่งใดๆรือจะเหนือกว่านี้ ไอ้หัวแดงเพียงบอกว่าถ้าไม่มีมาตราฐานตามที่มันรับได้จะไม่ค้าขายด้วย ดูก่อนนรชาติ อันปัจจัยสี่จะมีผู้ใดดูหมิ่นได้เป็นไม่มี หากเราทำให้กินได้ นุ่งห่มได้ อยู่อาศัยได้ แลรักษาโรคได้ มิเห็นจะมีผู้ใดปฎิเสธได้ เป็นเยี่ยงนี้แล้วจะไปเกรงมันทำไมไม่ว่าหัวดำหัวแดง รือผิวะชนชาติใดๆ
มหาป๋อง
- Monday, April 23, 2001 at 21:04:17 (EDT)

ไม่เห็นควรต้องไปกำหนดอะไรกับเขาเราก็เป็นของเราอย่างนี้ ทำของเราให้ได้ในสิ่งที่ดีที่สุดแล้วมนุษย์คนใดจะกล้าปฏิเสธไม่ปฏิสัมพันธ์ด้วยก็ช่วยไม่ได้ถือว่าพวกเขาไม่ปกติแล้วไม่คบก็ไม่เห็นแปลก อีกอย่างแมวเห็นว่าไม่มีมาตราฐานใดจะดีเกินมาตราฐานของวิญญูชนคนปกติค่ะ
แมว <cats@catcha.com>
- Saturday, April 21, 2001 at 21:37:38 (EDT)

มัวไปตามก้นมัน ฝรั่งไม่ควรเอามาตราฐานของมันมากำหนดคนต่างวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อ ถึงที่สุดแล้วพิสูจน์แล้วว่ามิไม่ใช่ว่าของฝรั่งจะดีเลิศเสมอไปบางอย่างก็ผิดไม่เหมาะสม เห็นควรประกาศสงครามทางวัฒนธรรมกับผู้อ้างว่าเป็นผู้นำทางมาตราฐานที่แฝงไปด้วยเจตนาไม่หวังดีต้องการเอกราชของประเทศที่เขลาแต่รักสงบเยี่ยงเรา
จิรพันธ์(ช้าง) <ไม่มี>
- Saturday, April 21, 2001 at 21:31:55 (EDT)

หน่วยงาน ที่ ตรวจสอบ มาตรฐาน ใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน แบบเดียวกับ วงจรอุบาทว์ของข้าราชการไทย ในกระทรวง อุตสาหกรรม ขณะที่ พ่อค้าใช้เป็นตัวหลอกลวง ประชาชน มาตรฐาน นี้ เพียงรับรอง ขบวนการ การผลิต ไม่รับรองผลิตภัณฑ์ สิ่งที่จะแสดง มาตรฐาน ที่จะ รับรอง แก่ผู้บริโภค ได้ ก็คือ คุณได้รับ มาตรฐาน นี้ มานานเท่าใดแล้ว และ ปัจจุบัน ยังสอบผ่าน อยู่หรือไม่ ส่วน สิ่งดีของมัน มีอยู่อย่างเดียวคือ ปรับ มาตรฐาน ขบวนการ ให้มีการ ใช้ประสิทธิภาพ ที่มากกว่า เดิม แต่สิ่งที่แอบแฝง ก็คือ ความลับ หรือ เทคโนโลยี ของ เจ้าของกิจการ จะ ถูกดูดไปโดยไม่รู้ ตัว มาตรฐานนี้เหมาะสำหรับประเทศ ด้อยพัฒนา แบบเดียวกับเรา โดยเฉพาะ มองจากมุมของฝรั่ง
ประกายเดือน <ิbaaapraak@yahoo.com>
- Saturday, April 21, 2001 at 07:55:09 (EDT)

อยากให้มองว่า ISO9000 เป็นเพียงแค่เครื่องมืออย่างนึงเท่านั้น ที่จะช่วยให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เสมือนยารักษาโรค ฉะนั้นจะรักษาโรคให้หายได้จะต้อง ใช้ยาให้ถูกโรค ISO9000 ไม่ใช่ ยาวิเศษรักษาได้ทุกโรค แต่จุดสำคัญก็คือต้องการให้การบริหารเป้นไปอย่างมีระบบ ตรวจสอบได้ ส่วนการได้รับการรับรองมาตรฐานนั้นคงไม่ต่างอะไรกับ การรับกระดาษติดฝาบ้านหนึ่งใบ ถ้าผู้ใช้ไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง และเข้าใจถึงเนื้อในของตัวมาตรฐานนั้น มีมาตรฐานอีกหลายๆ มาตรฐานที่คล้ายคลึงกับ ISO9000 แต่คงไม่มีประโยชน์อะไรถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่เข้าใจถึงหลักการของการบริหารคุณภาพ
อนุรักษ์ <oyoyo@gmx.net>
- Thursday, April 19, 2001 at 06:27:49 (EDT)

ไม่เห็นด้วยที่จะต้องกระเสือกกระสนเพื่อให้ได้ ISO 9002 หากแต่ลูกค้าต้องการก็จำยอม
จักราวุธ คลังเพ็ชร์
- Wednesday, April 18, 2001 at 09:22:15 (EDT)

ดูอย่างรถเมล์ซิครับ บอกว่าจะเข้าสู่ ISO ไม่เปิดรับนอกป้าย ไปยืนรอที่ป้ายกลับไม่จอดเพราะกลัวรถติด ไม่รู้จะรีบไปไหนแต่พอรถติดกลับเปิดให้คนขึ้นลง ลักลั่นจริง ๆ และไม่ใช่เพราะคนเอเชียถูกหลอกหรอกครับ เราหลอกกันเองเพื่อเอาผลประโยชน์ใส่ตัวไม่เหมือนฝรั่ง ถ้าจะทำเพื่อคุณภาพแก่ส่วนรวมจริง ๆ ก็จะเคร่งครัดเป็นระเบียบ ( แต่ก็อาจมีข้อยกเว้นซึ่ง เป็นธรรมดา ) ดูอย่างการจัดสรรคลื่น ซิครับ เป็นอนุภาคไฟฟ้าที่มีอยู่ในอากาศแท้ ๆ แต่มาเก็บค่า บริการ กันมั่วไปหมด เมืองนอกเขาเสียกันแค่ค่าซื้อเครื่องโทรศัพท์ ให้สัมปทาน ( ผูกขาด ) กันมั่ว ๆ ไม่รู้จะเร่งกันทำ ISO ไปทำไม บางแห่งไม่มีความจำเป็น คุณภาพการบริการแตกต่างกันแต่ก็ได้การรับรองแบบนี้มันก็มั่ว ๆ แบบไทย ๆ เหมือนเดิมนั่นแหละ
KNOT
- Wednesday, April 18, 2001 at 01:34:44 (EDT)

คนเอเชียถูกหลอกมาตลอดครับผม อย่าว่าแต่มาตรฐาน ISO9000 เลยครับ ผลงานการวิจัยต่างๆ ที่เอามาสนับสนุนผลิตภัณฑ์ก็ทั้งนั้นแหละครับ ใครเล่น net ไม่เสียตังค์มีบ้างเปล่า net ไม่มีเจ้าของหรอกครับ แต่ใครเป้นคนดูแล คิดค่าบริการอยู่ปลายสุดของห่วงโซ่ครับ ISO จาก OSI ที่ย่อมาจาก Open Standard Institue นั้นไม่เปิดรับมาตรฐานอื่นหรอกครับ อย่ามัวโง่อยู่เลยครับ ปัจจุบันองค์กรในไทยมั่วไปหมด โรงเรียนยังเอากับเขาเลย
กบนอกกะลา <thai@thai.com>
- Tuesday, April 17, 2001 at 01:47:23 (EDT)

ไปติดต่อหน่วยงานที่ได้รับ ISO ก็ไม่เห็นบริการอะไรจะดีขึ้นเลย นอกจากว่าถ้าไม่เป็นไปตามที่เค้ากำหนดเช่นจะส่งมอบงานภายใน 2 สัปดาห์ แล้วปรากฎว่าเค้าไม่ส่ง เจ้าหน้าที่เค้าก็จะหาสาเหตุแก้ตัวต่างๆนาๆ แถมโทษว่าเป็นความผิดเราอีก แล้วก็หน่วยงานบริการโดยเฉพาะของรัฐที่ได้ ISO ก็เตรียมได้เลยว่ามีการเสียเงินหยุมหยิมทุกขั้นตอน แต่คุณภาพในการบริการไม่รับประกัน
ฉัตต์ธิดา บุญโต
- Sunday, April 15, 2001 at 13:10:27 (EDT)

ราคาตรวจสอบ iso ทั้งหลายแพงเกินไปควรใช้มาตรฐานของไทยๆ ที่สามารถสร้างค่าในสายตาของต่างประเทศได้
athipat punyanugraha <p_athipat>
- Sunday, April 15, 2001 at 10:19:39 (EDT)

ถา้คิดว่าตามชาติตะวันตกแล้วมีผลดีมากกว่าผลเสียก็เห็นด้วย
กิตติวุฒิ เจริญสลุง <kittiwut_c@hotmail.com>
- Sunday, April 15, 2001 at 00:18:47 (EDT)

to K.Krid , It's up to the subject of ISO9002, that hospital got. :-))
answer to K.Krid
- Saturday, April 14, 2001 at 14:16:13 (EDT)

ผมมีเพื่อนเป็นคนสิงห์บุรีญาติของเพื่อนผม คนหนึ่งประสบอุบัติเหตุ บนทางหลวงแถวถนนสิงห์บุรี ถูกนำส่งรพ. ประจำจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO9002 แต่ไม่มีใครดูแล ทั้งหมอ พยาบาล หกรือจนท. ใดๆทั้งสิ้น ต้องรอจกระทั่ง บ.ประกันมารับไป ที่ รพ.สระบุรี (ซึ่งไม่มี ISO9002 รับรอง) จะให้หมายความว่าไง !!!!!!!!!!!!!!
krid sripanich <krid_o@hotmail.com>
- Saturday, April 14, 2001 at 09:47:07 (EDT)