สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๐ เดือน ตุลาคม ๒๕๔๔ "๑๑ กันยายน ๒๐๐๑ วันถล่มอเมริกา"

เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด
กุ้งกู้ชาติ หรือกุ้งสิ้นชาติ ?

เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด กุ้งกู้ชาติ หรือกุ้งสิ้นชาติ ?
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน / ชัยชนะ จารุวรรณากร : ถ่ายภาพ
      คำกล่าวที่ว่า "อาชีพที่ทำแล้วรวยเร็วที่สุดในประเทศไทย มีอยู่สองอาชีพเท่านั้น หนึ่งคือค้ายาเสพย์ติด อีกหนึ่งคือเลี้ยงกุ้งกุลาดำ" 
      แม้จะเป็นเพียงคำเปรียบเปรยที่ชี้ให้เห็นว่า อาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการมากมายเพียงใด แต่ถ้าหวนมาพิจารณาถึงความพยายามของเจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ผลักดันให้มีการรื้อฟื้น และขยายการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดแปดจังหวัด (สุพรรณบุรี, นครนายก, นครปฐม, ราชบุรี, อยุธยา, ปราจีนบุรี, อ่างทอง, และนนทบุรี) กันอีกครั้ง คำกล่าวข้างต้นเห็นจะจริงเป็นแน่แท้ 
      ประเทศไทยมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มานานแล้ว โดยเลี้ยงในป่าชายเลนจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ แต่เลี้ยงได้ไม่นานก็เกิดปัญหาเรื่องโรค ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายย่อย ขาดทุนถึงขั้นล้มละลายกันไปหลายราย จึงเริ่มเคลื่อนย้ายมาเลี้ยงกันแถบชายทะเล เช่น นครศรีธรรมราช เป็นต้น โดยเปิดน้ำทะเลเข้ามาในนากุ้งโดยตรง แล้วขนน้ำจืดไปผสมเพื่อให้ได้ความเค็มในระดับ ๓๐ พีทีที (๓๐ ส่วนใน ๑,๐๐๐ ส่วน) ในช่วงนั้นพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลจึงแปรสภาพมาเป็นนากุ้งเกือบหมด แต่ไม่นานนัก ก็พบว่าเกิดปัญหาอีกเช่นกัน ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งจำนวนมาก จึงเลิกกิจการและทิ้งพื้นที่ไป
      ในขณะที่บางส่วนเริ่มรุกเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืด ในจังหวัดทางภาคกลางบางจังหวัด (บางส่วนรุกเข้าไปทำในพื้นที่น้ำจืดตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ แล้ว) มีการพัฒนารูปแบบการเลี้ยง โดยบรรทุกน้ำเกลือเข้มข้นจากนาเกลือ เข้าไปผสมกับน้ำจืด ในระดับความเค็ม ๓-๕ พีทีที ระบบการเลี้ยงด้วยความเค็มต่ำนี้ เริ่มแพร่หลายไปสู่จังหวัดต่าง ๆ แถบที่ราบลุ่มภาคกลาง และจังหวัดชายฝั่งทะเลทั่วไป
      การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดที่ขยายวงกว้างออกไปมาก ทำให้ผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งแผ่ขยายออกไปเป็นเงาตามตัว รัฐบาลในขณะนั้น จึงมีมติให้ศึกษาผลกระทบของการเลี้ยงกุ้งในนาน้ำจืดเป็นเวลา ๓ ปี
      ผลการศึกษาพบแนวโน้มการแพร่กระจายของเกลือ ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อผืนดินในอนาคต รัฐบาลจึงมีมติเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ประกาศใช้มาตรา ๙ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ระงับการเลี้ยง
      กุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่น้ำจืดทุกจังหวัด เป็นผลให้พื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดประมาณ ๗,๐๐๐ ไร่ถูกระงับไปในปี ๒๕๔๑
      อย่างไรก็ตาม ยังมีการลักลอบเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืด และมีข้อเรียกร้องจากกลุ่มผู้ประกอบการว่า น่าจะมีการพิจารณาอนุญาตให้เลี้ยงได้ เพราะผู้เลี้ยงกุ้งหันไปใช้วิธีการเลี้ยงแบบระบบปิด ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจึงมีมติออกมาใหม่ว่า ให้ติดตามดูผลกระทบอีกครั้ง 
      ระหว่างที่ยังไม่มีข้อสรุปผลใด ๆ ก็มีกระแสเรียกร้องให้สรุปผลการติดตามผลกระทบ และผลักดันให้มีการอนุญาตเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดได้ ซึ่งหมายความว่า ถ้าผลสรุปออกมาว่าอนุญาตให้เลี้ยงได้ ก็เท่ากับว่าเป็นการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ไปโดยปริยาย
      ประเด็นหลักที่ทำให้กรมประมง, ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดและกลุ่มผู้สนับสนุนอื่น ๆ ต้องการผลักดันในเรื่องนี้ เป็นเพราะกุ้งกุลาดำเป็นสินค้าที่มีราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ การที่ใช้เวลาเลี้ยงเพียง ๔-๖ เดือนก็สามารถนำออกขายได้ หมายความว่าสามารถเลี้ยงได้ปีละสองรุ่น ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถคืนต้นทุนและได้กำไรในระยะเวลาอันสั้น ที่สำคัญ พวกเขาหวังว่า มูลค่าการส่งออกรวมทั้งประเทศที่มีประมาณ ๒ แสนล้านบาทต่อปี จะเป็นทางรอดของประเทศในการปลดเปลื้องหนี้สินและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ภายในเวลา ๕ ปี
      รายได้หลักแสนล้านบาทต่อปี น่าจะทำให้โครงการนี้ไปได้สวย 
      ทว่าทันทีที่มีกระแสข่าวว่า กรมประมงเสนอโครงการกุ้งกู้ชาติ และจะผลักดันให้มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในพื้นที่น้ำจืดแพร่ออกไป กระแสคัดค้านก็สะท้อนกลับมาทันควันเช่นกัน
      ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๔ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรนักศึกษาและประชาชน ยื่นจดหมายเปิดผนึก ถึงประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คัดค้านนโยบายการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด ด้วยเหตุผลว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้สารเคมี และการตกค้างและสะสมของเกลือในผืนดิน, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถทำได้นอกจากนายทุน ทั้งนี้ยังมองเห็นความไม่โปร่งใสทางการเมืองว่า เป็นการสนองผลประโยชน์กลุ่มทุนเท่านั้น, ไม่มีหลักประกันว่าจะสามารถติดตามและตรวจสอบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ และสุดท้ายอาจส่งผลกระทบทางสังคมในที่สุด
      แม้ในขณะนี้ การผลักดันเรื่องการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด จะถูกยับยั้งแล้ว แต่การถกเถียง และการรับฟังความคิดที่แตกต่างในเรื่องนี้ ควรต้องดำเนินต่อไป เพราะในสภาพเศรษฐกิจโลกที่เป็นอยู่เวลานี้ ไม่แน่ว่าโครงการกู้ชาติรอบสอง อาจหวนกลับมาอีกครั้งก็ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่ธำมรงค์ ประกอบบุญ
อธิบดีกรมประมง
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่ดร. สุรพล สุดารา
ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ส นั บ ส นุ น

  คั ด ค้ า น  

  • กุ้งเป็นสินค้าที่ช่วยเพิ่มผลผลิต และแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติได้
  • การเลี้ยงกุ้งทำรายได้เฉลี่ยไร่ละ ๒ แสนบาทต่อปี ทำรายได้เข้าประเทศปีละ ๒ แสนล้านบาท แต่ทำนาข้าวได้ไร่ละ ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาทเท่านั้น
  • ปัญหาเรื่องระบบการเลี้ยง ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกัน ด้วยระบบชลประทานน้ำเค็ม และเลี้ยงด้วยระบบปิด
  • ไม่มีเกลือและสารตกค้าง ในระดับที่เกิดความเสียหายดิน และสิ่งแวดล้อม และไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง ระหว่างชาวนาข้าว กับชาวนากุ้ง
  • จะเกิดการแพร่กระจายของเกลือ ทำให้เกิดปัญหาต่อผืนดิน และส่งผลกระทบต่อสังคมในระยะยาว
  • ตลาดการค้ากุ้ง เป็นตลาดที่ไม่มีความมั่นคง และยั่งยืน เพราะต่างประเทศเริ่มเลี้ยงกันมากขึ้น 
  • เป็นการสร้างความขัดแย้ง ระหว่างผู้เลี้ยงกุ้ง กับชาวนาชาวสวน 
  • คนที่ผลักดันในเรื่องนี้ คือคนที่มีผลประโยชน์ จากธุรกิจเลี้ยงกุ้ง แต่คนที่เดือดร้อนคือชาวนา และความเสียหายระยะยาว จะตกอยู่กับคนไทยทั้งหมด
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

ที่บอกว่าไม่มีเกลือและสารตกค้าง ในระดับที่เกิดความเสียหายดิน และสิ่งแวดล้อม และไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง ระหว่างชาวนาข้าว กับชาวนากุ้ง คิดได้งัยเนี่ย มันมีผลกระทบในระดับที่เกิดปัญหาอยู่แล้ว และคุณไม่สามารถจะควบคุมฟาร์มได้หมดทั้งประเทศ มันเป็นความจริงที่ใครๆเขาก็รู้โดยใช้ความรู้แค่ขั้นพื้นฐานก็สามารถบอกได้แล้ว
ณัฐนันท์ เที่ยงธรรม <nattanan.tga@chaiyo.com>
- Friday, October 08, 2004 at 13:06:45 (EDT)

ที่บอกว่าไม่มีเกลือและสารตกค้าง ในระดับที่เกิดความเสียหายดิน และสิ่งแวดล้อม และไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง ระหว่างชาวนาข้าว กับชาวนากุ้ง คิดได้งัยเนี่ย มันมีผลกระทบในระดับที่เกิดปัญหาอยู่แล้ว และคุณไม่สามารถจะควบคุมฟาร์มได้หมดทั้งประเทศ มันเป็นความจริงที่ใครๆเขาก็รู้โดยใช้ความรู้แค่ขั้นพื้นฐานก็สามารถบอกได้แล้ว
ณัฐนันท์ เที่ยงธรรม <nattanan.tga@chaiyo.com>
- Friday, October 08, 2004 at 13:06:21 (EDT)

"ฎพ
หำไพไพพ <ไพพ>
- Tuesday, December 03, 2002 at 22:51:45 (EST)

"ฎพ
หำไพไพพ <ไพพ>
- Tuesday, December 03, 2002 at 22:51:30 (EST)

ที่บ้านเลี้ยงอยู่ก็ไม่ทำให้ไครเดือดร้อน ถ้าเราไช้ระบบที่ดีโดยไช้บ่อปลาบำบัดน้ำบ่อกุ้ง(ปลานิล)น้ำบ่อปลาไส่บ่อกุ้งแล้วเราก็นำน้ำบ่อกุ้งไส่บ่อปลาอีกที เราทำเป็นระบบ หมุนเวียน เราจะได้ผลดีทั้งสองอย่าง ปลาก็โต กุ้งก็ได้น้ำดีเลยทำให้กุ้งตัวโต
panus boy
- Friday, November 15, 2002 at 11:40:58 (EST)

I would say that many politicians in Thailand have an attractive way to blow up the ears of Thai people by sweet, smooth, dreamy policy and mixed up it with some sort of informations that difficult to say if it is true. For example,the first paragraph, you cited Thailand is the biggest and finest of Black Tiger Farm in the world. I don't know what kind of criteria you set up to evaluate this sentence. Recently, if you just look at the supermarket in aboard , Japan for example, and look carfully at pack of freezed black tiger shrimp. You will see that they are imported from the other country like Indonesia or Madakaskar. And even the sentence about the perfect harmony between shrimp and rice farmers . It seem to me that it is a kind of joke that difficult to make listener laugh. If you considered your self doing your career as a professional, not only politician. Honest to yourself is the most important motto. If you honest to yourself you never betray the people.
siripong <tsiripong@hotmail.com>
- Monday, October 14, 2002 at 09:46:31 (EDT)

ไม่เห็นด้วย กับอธิบดีกรมประมงต้องมีใครเอาเงินให้มันแน่ โถ่เลี้ยงกุ้งแล้วรวยน่าเกลียด แล้วดินมันเสียจะทำยังไงอธิบดีลงพื้นที่บ้างรึเปล่า วันๆเอาแต่นั่งตากแอร์ อะดิ แหมคุณบอกได้ไงว่าที่ดินเสีย ก็เอาไปสร้างบ้านสร้างศูนย์การค้า โธ่เอ้ย
ชาลิต กาญจนมยูร <the_end055@hotmail.com>
- Thursday, July 18, 2002 at 14:58:23 (EDT)

คิดว่าท่านที่สนับสนุนที่บอกว่า ความเค็มของน้ำไม่น่าจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม หรือบอกว่าผู้ที่บอกว่าผู้ที่เลี้ยงอยู่แล้วให้เลี้ยงต่อไป ท่านคงไม่ค่อยได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับนากุ้งแถวสมุทรปราการ ที่มีอยู่ช่วงหนึ่งคนนิยมหันมาเลี้ยงกุ้ง ต่อมาเมื่อเลี้ยงกันมากๆ แต่ละคนก็พยายามเลี้ยงกุ้งของตนให้ได้จำนวนมาก ทั้งใช้ยา และสารเคมีอื่นๆ เพื่อให้นาของตนได้ผลผลิตเยอะ ปัจจุบันท่านลองแวะไปดูนากุ้งเดิมที่เลี้ยงๆ กันอยู่สิครับ นาที่เจ้าของเลิกกิจการไปแล้วจะเป็นที่รกร้างทำอะไรไม่ได้ ปลูกอะไรก็ไม่ได้เพราะดินเค็ม แล้วอย่างนี้ท่านยังจะสนับสนุนอยู่อีกหรือครับ
p-k
- Thursday, July 11, 2002 at 23:24:55 (EDT)

first of all we should study possibility of the project which every group that concern to see the out come both econonice and the effect to the environmental and the get the country to vote. before theat for get it.
sa-ard meesai <green27@aol.com>
- Thursday, March 28, 2002 at 05:26:45 (EST)

การเลียงกุ้งในพ้ืนที่น้ำจืดเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศน้ำจืด ความเค็มของเกลือยังส่งระยะยาวต่อดิน แม้จะบอกว่าเลี้ยงกุ้งในระบบปิด แต่จะบอกอย่างไรกับการแพร่กระจายของเกลือในแนวดิ่งและ อันตราต่อน้ำใต้ดิน
seksomboon jaidee
- Sunday, December 16, 2001 at 07:39:22 (EST)

ความเค็มที่มากับน้ำที่เลี้ยงกุ้งนั้น ไม่น่าจะมากขนาดทำลายสภาพแวดล้อมได้ กรุณาอย่ามองแค่เห็นว่าเป็นน้ำเค็มก็ห้ามเลี้ยง มันขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงมีการจัดการระบบได้ดีมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าจะสนับสนุนให้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในเขตน้ำจืดแทนนั้นก็เป็นอีกเร่องที่อยากจะเสนอ คือเมื่มีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างแพร่หลาย โรงเพาะฟักกุ้งก้ามกรามก็จะขึ้นมากมายเช่นเดียวกับกุ้งกุลาดำ ไม่ว่าจะเป็นในพื้ที่น้ำจืดหรือน้ำเค็ม ท่านทราบหรือไม่ว่า ชีววิทยาของมันเป็นอย่างไร กุ้งก้ามกรามวางไข่ในน้ำเค็ม ถ้าต่อไปภายหน้ามีปัญหาเกี่ยวกับโรงเพาะฟักกุ้งก้ามกรามในเขตพื้นที่น้ำจืด อยากทราบว่าท่านจะมีวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร โดยการออกมาคัดค้านอีกเหมือนกุ้งกุลาดำหรืออย่างไร ฝากให้ท่านไปลองตรองดู ไม่จำเป็นต้องส่งความคิดเห็นของท่านส่งกลับมา
นายประดิษฐ์
- Tuesday, December 04, 2001 at 06:39:40 (EST)

ก่อนอื่นต้องขอวิจารณ์ เหตุผลของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ฝ่ายสนับสนุนก่อน เพราะอ่านแล้วคิดว่า ท่านเป็นอธิบดีกระทรวงการครัง หรือกระทรวงพาณิชย์ เพราะเหตุผลที่อ้างถึงเกี่ยวกับเรื่องเงินเป็นหลัก ถ้าคนอ่านไม่รู้ว่าผู้พูดเป็นใครคงต้องบอกว่าเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้ง หรือไม่ก็เป็นผู้ออกทุนให้เล้ยงกุ้งแน่ๆ เลยผมคิดว่าประเด็นที่ว่า การเลี้ยงกุ้งในระบบปิด หรือระบบอื่นๆ อะไรก็ตามแต่ท่านจะอ้าง ผมก็ไม่สนับสนุนทั้งนั้นเพราะ ถ้ามันใช้ได้ ควบคุมได้ แล้วทำไมไม่เอาระบบดังกล่าวไปทำในพื้นที่น้ำกล่อยที่เดิมเป็นนากุ้ง แล้วปัจจุบันกลายเป็นที่รกร้าง คำตอบก็คือ เพราะนากุ้งที่ทำกันไม่ว่าจะระบบไหนก็ตามมีผลต่อสภาพดิน และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งการฟื้นฟูสภาพดังกล่าว ทำได้ยากและไม่คุมกับเงินที่ต้องลงทุนไป ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วหากปล่อยให้เลี้ยงกู้ในพื้นที่น้ำจืดจริง ผมว่าในอนาคต นอกจากพื้นที่ตรงนั้นจะปลูกข้าวไม่ได้แล้ว ตรงนั้นก็เลี้ยงกุ้งไม่ได้ และพื้นที่ตรงนั้นก็จะกลายสภาพเป็นเหมือนพื้นที่รกร้างที่เคยเป็นนากุ้งในปัจจุบัน
PP
- Tuesday, November 27, 2001 at 06:06:34 (EST)

ถ้าปล่อยให้เลี้ยงกันเลอะ สิ้นชาติแน่นอน
ยศ
- Monday, November 26, 2001 at 08:48:21 (EST)

ขอคัดค้าน
สมรักษ์ รอดเจริญ <somrak25@hotmail.com>
- Saturday, November 24, 2001 at 01:33:58 (EST)

objection
Piyarat <lekpsu@yahoo.com>
- Friday, November 23, 2001 at 02:49:23 (EST)

ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่นัก เพราะถึงจะบอกว่าเลี้ยงระบบปิดได้ และไม่เกิดความเสียหายกับดิน แต่ในความเป็นจริงแล้วคิดว่าถ้าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก็อาจจะควบคุมเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาได้ แต่ถ้าเป็นเกษตรกรรายย่อยคงเป็นไปได้ยากที่จะควบคุมเรื่องเหล่านี้ได้ เพราะต้องใช้เงินทุนที่สูงมาก และต้องมีความรู้ค่อนข้างจะมาก คนที่เห็นด้วยคิดว่าน่าจะมีผลประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย รึเปล่า?
kook-kai <kook82@hotmail.com>
- Wednesday, November 14, 2001 at 05:32:05 (EST)

คัดค้านครับอยากให้มองถึงผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยด้วยครับ คนเราทำลายสิ่งแวดล้อมมามากเกินพอแล้ว
Apocalyptica
- Wednesday, November 14, 2001 at 03:59:35 (EST)

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งทุกวันประเทศไทยก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมายที่แก้ไม่ตกอยู่แล้วแล้วยังจะมาสร้างมาทำสภาพในแย่ลงไปอืกผมไม่เชื่อหลอกว่าจะสามารถป้องกันการทิ้งของเสียออกสู่สาธารณะได้ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเรามีนิสัยอย่างไรก็คงไม่ต้องบอกมากความผมว่าน่าจะม่อย่างอื่นที่หำได้มากกว่าการต้องมาเบียดเบียนธรรมชาติถึงแม้ว่าอาจทำกำไรนอ้ยกว่าก็ตาม
อีกา <ika_life2001@yahoo.com>
- Tuesday, November 13, 2001 at 01:46:29 (EST)

ที่แท้ก็กลัวเสียผลประโยชน์กันนี่เอง
เอ
- Monday, November 12, 2001 at 01:41:58 (EST)

สนับสนุน เพราะคนที่เปลี่ยนจากทำนามาเลี้ยงกุ้ง คนเหล่านั้นเลี้ยงกุ้งเป็นอาชีพแล้ว จะให้เปลี่ยนพื้นที่บ่อกุ้งให้กลับไปทำนาเหมือนเดิมคงไม่ได้ พื้นที่ที่ทำอยู่เดิมก็น่าจะทำต่อไปได้ แต่พื้นที่ใหม่ก็ไม่ต้องขยายเพิ่มเติม
มัชมา สุนทร <pothises@ksc.th.com>
- Sunday, November 11, 2001 at 01:06:36 (EST)

ไม่เห็นด้วยที่จะเลี้ยงในพื้นที่นำ้จืด เพราะที่ผ่านมาก็สร้างปัญากับป่าชายเลนมากมาย จึงน่าจะบอกได้ว่าผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอ...
Narong <narong_ta39@hotmail.com>
- Wednesday, November 07, 2001 at 10:14:26 (EST)

คัดค้าน เพราะไม่ต้องการเห็นประเทศไทยต้องสูญเสียสิ่งแวดล้อมไปมากกว่านี้อีกแล้ว
สุพรรณี มีลาภกิจ <pratoomallie@hotmail.com>
- Monday, November 05, 2001 at 22:47:59 (EST)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของการคาดเดาไม่มีใครมีข้อมูลที่แท้จริงว่าจะเกิดอะไรขึ้นส่วนใหญ่ จะเป็นการทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์กับพวกพ้องมากกว่า หลายอย่างที่รัฐบาลได้คาดการผิด แล้วเกิดความเสียหาย แต่ว่า ถ้าการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ สามารถควบคุมได้ และสามารถทำรายได้สูงอย่างที่บอก ก็น่าจะทำ เพราะว่าจะได้เป็นการกู้ชาติ
นายตัวดำ <blackdonut555@hotmail.com>
- Friday, November 02, 2001 at 02:47:09 (EST)