สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๑ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๔ "เหรียญสองด้านของจีเอ็มโอ"
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๑ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๔
นิตยสารสารคดี Feature Magazine
นิตยสารสำหรับครอบครัว
www.sarakadee.com
ISSN 0857-1538
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๑ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๔
ส า ร บั ญ
โลกใบใหญ่
โลกใบเล็ก
โทรศัพท์มือถือปราบผี
โทรศัพท์มือถือปราบผี
คอเบียร์ฟังทางนี้
คอเบียร์ฟังทางนี้
อ่านเอาเรื่อง
สังคมเปลี่ยน : กฎหมายทำแท้ง ควรเปลี่ยนหรือไม่ ? 
เกร็ดข่าว
คลิกดูภาพใหญ่
อย่าเห็นสวนสัตว์ดุสิต เป็นสถานสงเคราะห์สัตว์
คนไทยค้นพบ
คลิกดูภาพใหญ่
กล้วยไม้ชนิดใหม่ของไทย
สิ่งแวดล้อม
สสารที่หายไป บนภูกระดึง
สะกิดตา-สะกิดใจ
พิพิธภัณฑ์
คลิกดูภาพใหญ่
อวดภาพ และของหายาก ยุครัชกาลที่ ๗
เกร็ดข่าว
คลิกดูภาพใหญ่
จากผืนดินสู่ห้องวิจัย ความเป็นไปของ ข้าวหอมมะลิไทย ในอเมริกา
หนังสือบนแผง
ที่นี่มีอะไร
โลกบันเทิง
คนกับหนังสือ
ชายบ้าและหญิงใบ้
โลกของคนไร้เสียง
โลกธรรมชาติและวิทยาการ
ส่องจักรวาล
ฝนดาวตกลีโอนิดส์
และเทคนิค การถ่ายภาพดาวตก
คลื่นวิทย์-เทคโนฯ
มหัศจรรย์แห่งชีวิต (๓๕)
โลกวิทยาการ
อ่านต่อ
ฟิสิกส์ของนิวตริโน
สื่อภาษาวิทยาศาสตร์
เมตาฟิสิกส์หรืออภิปรัชญา
คอลัมน์ประจำ - ปกิณกะ
เชิญดอกไม้
คลิกอ่านต่อ
พุดตาน
เรื่องจากปก
เรื่องเด่นในฉบับ
สารคดีพิเศษ
Special Attractions
จากบรรณาธิการ
โลกรายเดือน
บ้านพิพิธภัณฑ์
ลำตัดจากเชียงใหม่
ข้างครัว
อาหารเวียดนาม
เขียนถึงสารคดี
Feature@ Sarakadee.com
บันทึกนักเดินทาง
อ่านต่อ
หมาในกับลูกกวาง
เพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน
(คลิกดูภาพใหญ่)
ศุลกสถาน จากอดีตสู่ปัจจุบัน ความงดงามสู่ความร่วงโรย 
ข่าวธุรกิจ-ผลิตภัณฑ์
สัมภาษณ์
(คลิกดูภาพใหญ่)
จินตนา แก้วขาว 
ประธานกลุ่ม อนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ทำไมชาวบ้าน ไม่เอาโรงไฟฟ้า
สยามร่วมสมัย
นายร้อยหญิงรุ่นแรก
บทความพิเศษ
Girl, Interrupted
จากมุมมองทางด้าน จิตเวชศาสตร์
ห้องภาพปรินายก
ชุมนุมเทวดา
สารคดีบันทึก
(คลิกดูภาพใหญ่)
จาก ๒๘ ปี ๑๔ ตุลา ถึง ๒๕ ปี ๖ ตุลา ประวัติศาสตร์ ที่ยังรอการชำระ
บทความพิเศษ
(คลิกดูภาพใหญ่)
ท่วงทำนองอิสลาม ในอหิงสาของคานธี
ศิลปะ 
อ่านต่อ
อันโตนีโอ เกาดี : สถาปนิกแนวนวศิลป์ ผู้ยิ่งใหญ่ของสเปน
เที่ยวทั่วไทยไปกับ "นายรอบรู้"
เที่ยวทั่วไทยไปกับ นายรอบรู้
เฮโลสาระพา
สังคมเปลี่ยน : กฎหมายทำแท้งควรเปลี่ยนหรือไม่ ?
เรื่องจากปก
เหรียญสองด้านของจีเอ็มโอ
ภาพปก : ฝ่ายภาพสารคดี
เหรียญสองด้านของจีเอ็มโอ

       GMOs เป็นตัวย่อของ genetically modified organisms แปลว่า สิ่งมีชีวิตที่ได้จากการดัดแปลง หรือตกแต่งสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างชีวิตขึ้นมาใหม่ ด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม โดยการเปลี่ยนรูปแบบ ของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ ให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่
       ทุกวันนี้ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน และอาร์เจนตินา ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชจีเอ็มโอ อาทิ ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าวโพด ซึ่งสามารถต้านทานศัตรูพืช เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ขณะที่ประเทศในยุโรป กลุ่มประเทศมุสลิม และหลายประเทศในเอเชีย ยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ เพราะไม่แน่ใจว่าพืชจีเอ็มโอ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด
       เช่นเดียวกับอาหารหลายชนิดที่มีส่วนผสมของจีเอ็มโอ หลายประเทศห้ามนำเข้า เพราะไม่แน่ใจว่าอาหารจีเอ็มโอ จะมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือไม่ บางประเทศก็อนุญาตให้นำเข้าได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องติดฉลากอาหารจีเอ็มโอ ในขณะที่อีกหลายประเทศ ไม่ได้ปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอ เพราะเชื่อมั่นว่าอาหารจีเอ็มโอ ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ จึงมีอาหารจีเอ็มโอตั้งแต่อาหารเด็ก ไปจนถึงอาหารกระป๋อง วางจำหน่ายทั่วไป
       หลายปีที่ผ่านมา มีการถกเถียงเกี่ยวกับผลดีและผลเสีย ของจีเอ็มโออย่างกว้างขวาง แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีข้อยุติ เพราะจีเอ็มโอเพิ่งถือกำเนิดมาได้ไม่กี่สิบปี จัดว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ต้องรอเวลาพิสูจน์ว่า จะปลอดภัยสำหรับมนุษย์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่
       ณ ขณะนี้ จีเอ็มโอจึงเปรียบเหมือนเหรียญที่มีสองด้าน ให้ผู้บริโภคได้วินิจฉัยเอง

หมายเหตุ : ภาพถ่ายหน้าปกเป็นภาพที่ตกแต่งด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์
สารคดีพิเศษ
(คลิกดูภาพใหญ่) ตามหาพืชจีเอ็มโอแบบไทย ๆ 

       อาหารจีเอ็มโอปลอดภัยหรือไม่ ? จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่กินใช้อยู่เป็นจีเอ็มโอ ? จริงหรือที่สิทธิบัตรการตัดต่อยีนจะผูกขาด และเข้าควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร ของโลกในอนาคต ? พืช-สัตว์จีเอ็มโอ อาจก่อให้เกิดหายนะ แก่สิ่งแวดล้อม ฯลฯ 
       ท่ามกลางปัญหาและข้อกังขานานา ว่าด้วยจีเอ็มโอ เรากลับปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้ผลผลิตจากการตัดต่อพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอได้แพร่กระจายไปแล้ว ในทุกหย่อมย่านของโลก หลายอย่างเข้าถึงตัวเรา และอีกหลายอย่าง ก็กำลังกระจายตัวรายล้อมเรามากขึ้นทุกขณะ 
       จีเอ็มโอคืออะไร มีผลกระทบต่อชีวิตของเราแค่ไหน สำคัญและจะส่งอิทธิพลอย่างไร ต่ออนาคตของมนุษย์และโลก...  หาคำตอบได้ในสารคดีพิเศษเรื่องนี้ 

อ่านต่อคลิกที่นี้อ่านต่อคลิกที่นี้


(คลิกดูภาพใหญ่) ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันในเปชะวา ชายแดนปากีสถาน

       หนึ่งเดือนหลังการก่อวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เปชะวา--เมืองเล็ก ๆ ที่ชายแดนปากีสถานก็เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพราะทันทีที่สหรัฐฯ โจมตีอัฟกานิสถานด้วยขีปนาวุธ ติดตามด้วยการส่งหน่วยรบพิเศษ เข้าไปปฏิบัติการภาคพื้นดิน ชาวอัฟกันส่วนหนึ่ง ก็อพยพหนีภัยสงครามไปยังเปชะวา 
       แต่แท้จริงแล้ว เมืองเล็ก ๆ เมืองนี้เป็นที่พำนักให้แก่ผู้อพยพชาวอัฟกัน มานานถึง ๒๒ ปี ตั้งแต่ครั้งอัฟกานิสถานทำสงครามกับโซเวียต 
       ปิยะวิทย์ ทองสอาด ช่างภาพชาวไทย เดินทางเสี่ยงอันตรายไปยังชายแดนปากีสถาน เพื่อบันทึกภาพความเป็นอยู่ ของชาวอัฟกันในค่ายผู้ลี้ภัย ตลอดจนปฏิกิริยาของชาวเมืองที่มีต่อ "สงครามไร้รูปแบบ" ครั้งนี้

อ่านต่อคลิกที่นี้อ่านต่อคลิกที่นี้


Special Attractions
"Sarakadee" Vol. 17 No. 201 November 2001 Cover: Over the years, traditional crop and animal breeding had been the norm in the development of agriculture and livestock - the basic transfer of
genes from one organism to another, whether naturally or artificially, was
aimed at transferring those desirable traits to organisms of the same
species. Today, genetic engineering has taken this concept to another level; that is, GMO technology has enabled us to manipulate specific genes, moving them both within and between species. The results are as incredible as they are ominous... 
Vol. 17 No. 201 November 2001
(Bigger) Genetically Modified Organisms (GMOs): Way Towards the Future?

       Genetically Modified Organisms (GMOs) are organisms whose genetic composition has been modified in such a precise and sophisticated way not found in nature under natural conditions of crossbreeding or recombination. Specifically known as GMO technology, such genetic engineering promises to be faster and more effectual than traditional crop and animal breeding. Recently, however, pressing issues have emerged, and definitive answers have yet to be discovered. People are wondering more and more whether GMOs should be considered a technological breakthrough or simply more problems than we bargained for.

Click Here to Continue Continue: click here


(Bigger) Peshawar, Pakistan: a Window into Afghanistan

       Having sheltered the first batch of Afghan refugees following the Soviet invasion of Afghanistan in 1979, the border city of Peshawar was also used as a base during the holy war waged by the mudjahadeens, or the Afghan fighters. Later on, the city continued to receive Afghan refugees fleeing the confusion of the civil war - at that time, the American CIA and Pakistani intelligence services were covertly operating within Afghanistan. Although a substantial number of refugees also fled from the Taliban following their ascension to power, a period of relative calm and stability was undeniably established under their administration ...

Click Here to Continue Continue: click here


(Bigger) Settling an Historical Debt

       "Prime Minister Thaksin, my daughter disappeared on October 6th 1976, and has since been lost. I know that she's dead, but I haven't been able to find her bones. Can you please help me find her bones so that I can move forward with the ceremonial merit making? Dinosaur bones are lost for millions of years yet still recovered. My daughter died only 25 years ago, why haven't her bones been found?" This father's impassioned plea poignantly bespeaks not only of a father's grievance over his daughter's passing, but of a desperate need to regain a sense of understanding, justice and honor, after almost three decades following the brutal suppression of the students protests.


(Bigger) Antonio Gaudi and Art Nouveau 

       Considered one of the founders of Modernista Art, otherwise known as Art Nouveau in Spain, Antonio Gaudi's far-reaching imagination and unusual and magnificent sense of beauty often prompted mixed responses in his day. Interpretations of Gaudi by the artistic community of the early 1900s frequently vacillated between "genius" and "insane". By his demise, however, Gaudi had gained widespread respect as an artistically gifted individual. The Barcelona native was an architect by profession with the vision of an artist - construction and design not only was a reflection of function but also a moving and dramatic artistic creation. 


เ ฮ โ ล ส า ร ะ พ า
หมูอมตะ เรียงเบอร์ครับ...เรียงเบอร์

"หมูอมตะ"

ส ะ กิ ด ต า ส ะ กิ ด ใ จ
ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานคนหนึ่งวัย ๑๒ ขวบ (คลิกดูภาพใหญ่)        สะกิดตา

       ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานคนหนึ่งวัย ๑๒ ขวบ ในค่ายผู้อพยพประเทศปากีสถาน ที่หนีภัยสงครามเมื่อครั้งโซเวียต ส่งกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี ๒๕๒๗ และเวลานั้นสหรัฐอเมริกา ให้การสนับสนุนกองกำลังของอัฟกานิสถาน สู้รบกับทหารโซเวียต

(ภาพโดย สตีฟ แม็คเคอร์รี)
       สะกิดใจ

       "นักวิชาการที่พากันไปหาสตางค์ เป็นหลาย ๆ ล้านบาท จากการรับจ้างทำรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่โครงการต่าง ๆ มักอ้างเสมอว่า ทำงานอย่างเป็นกลาง แต่ประหลาดไหม ที่รายงานผลกระทบแต่ละโครงการ จะประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ ไว้ในลักษณะที่เอื้อให้ทำโครงการ ได้เสมอ ผมไม่ได้ยินใครรับเงินนายทุน ไปหลายสิบล้านบาท แล้วกลับมาบอกนายจ้างว่า อย่าทำเลย มันจะเกิดความเสียหายใหญ่
       "การทำงานทางวิชาการ ด้วยคำถามของนายจ้าง โดยมีธงคำตอบของนายจ้างปักข้าง ๆ แล้วยังเรียกงานเหล่านี้ว่างาน "วิชาการ" อยู่ได้หน้าตาเฉย เพื่อขอบารมี "เสรีภาพทางวิชาการ "มาคุ้มครอง"

ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ 
จากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๔