สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๑ เดือน กันยายน ๒๕๔๕
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๑ เดือน กันยายน ๒๕๔๕ " ๑๐ ตัวพิมพ์กับ ๑๐ ยุคสังคมไทย "
นิตยสารสารคดี Feature Magazine ISSN 0857-1538
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๑ เดือน กันยายน ๒๕๔๕  

เ ฮ โ ล ส า ร ะ พ า


หมูอมตะ

คุณที่รัก

    เช้าของวันที่สื่อมวลชนลงข่าวว่า นักศึกษาหนุ่มคนหนึ่ง ถูกจับได้ว่าพกโพยเข้าห้องสอบ "หมูอมตะ" กำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่และนึกสงสัยว่า พระมหาจักรพรรดิกับพระมหาธรรมราชา ใครครองราชย์ก่อนกัน เมื่อตะโกนถามเพื่อน เพื่อนก็ตอบมาทันทีว่า พระมหาจักรพรรดิครองราชย์ก่อนชัวร์ เพราะตั้ว-ศรัณยู (รับบทพระเฑียรราชา ต่อมาคือพระมหาจักรพรรดิ) น่ะ เป็นพ่อตานก-ฉัตรชัย (รับบทขุนพิเรนทรเทพ ต่อมาคือพระมหาธรรมราชา) !
    "หมูฯ" ฟังคำตอบจากเพื่อนแล้วก็เขกหัวตัวเองหนึ่งที เราก็ดู สุริโยไท ภาพยนตร์อลังการงานสร้างกับเขาเหมือนกัน แถมยังจำได้ขึ้นใจด้วยว่า ฉัตรชัยน่ะเป็นแฟนเก่าของคุณต้น (รับบทพระสุริโยทัย) แล้วตอนหลังคุณต้นกับศรัณยูยกน้องกบ (รับบทพระสุริโยทัยตอนเด็ก และพระวิสุทธิกษัตรี) ให้เป็นเมียฉัตรชัย 
    ที่เล่าเรื่องนี้ก็เพื่อจะบอกว่า ประวัติศาสตร์ไทยน่ะ จำง่ายจะตายถ้าเอามาสร้างเป็นหนังเป็นละคร เพราะคนดูจะเทียบเคียงและจดจำบุคคลในประวัติศาสตร์ผ่านดารา 
    บางทีถ้าเราสร้างหนังประวัติศาสตร์กันมาก ๆ ทั้งเรื่องพระนเรศวร พระเจ้าตาก บางระจัน ฯลฯ ก็จะทำให้เราเรียนประวัติศาสตร์กันอย่างสนุก (ด้วยจินตนาการเพริศแพร้ว) และจดจำได้แม่นยำอย่างเพื่อนของ "หมูฯ"
    มาเฉลยปัญหาดีกว่า ว่าที่จริงแล้วปัญหาจับคู่ปี พ.ศ. กับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร พวกแฟนพันธุ์แท้ประวัติศาสตร์ไทยเห็นแล้วคงร้อง อีโธ่ ! ง่ายขนาดนี้อย่ามาถามให้เสียเวลา แต่ถึงง่ายขนาดนี้ก็มีคนตอบผิดหลายคน ส่วนหลายคนตอบถูกแต่ไม่ยอมเขียนชื่อที่อยู่ ราวกับขอร่วมสนุกอย่างเดียว ไม่เอี่ยวของรางวัล 

 

คำตอบที่ได้รับรางวัลจากปัญหาฉบับที่ ๒๐๙ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๕

    คำเฉลยมีดังนี้
    พ.ศ. ๒๓๓๘ เชิญพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่มาไว้ที่วังหน้า หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    พ.ศ. ๒๓๗๘ มิชชันนารีชื่อ ดาเนียลบีช บรัดเลย์ นำแท่นพิมพ์หนังสือและตัวพิมพ์เข้ามา
    พ.ศ. ๒๔๓๖ เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
    พ.ศ. ๒๔๔๔ เกิดกบฏ "ผีบุญ" ขึ้นในมณฑลภาคอีสาน 
    พ.ศ. ๒๔๘๙ ร. ๘ เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน 
    ผู้ที่ตอบปัญหานี้ถูก ได้รับหนังสือ ใคร ๆ ก็อยากมีร้านเบเกอรี่ โดย ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง เป็นของรางวัล ได้แก่ 

๑. คุณประสิทธิ์ จงธรรมวัฒน์  กรุงเทพฯ
๒. คุณมณีรัตน์ อุ่นจิตต์วรรธนะ  กรุงเทพฯ
๓. คุณเลอสัน การิยา  จ. ตาก
๔. คุณรวย แสงสวัสดิ์  จ. ราชบุรี
๕. คุณเอกวิทย์ จิโนวัฒน์  จ. นครนายก
๖. คุณศรัณย์ ทันตานนท์  จ. อุบลราชธานี
๗. คุณสมทรง รอดสุวรรณ์  กรุงเทพฯ
๘. คุณวันทนา เสาวดี  กรุงเทพฯ
๙. คุณเรไร เอี่ยมศิริทิพย์  กรุงเทพฯ
๑๐. คุณมณี หิญชีระนันทน์  กรุงเทพฯ
 
 

ปัญหาฉบับที่ ๒๑๑ เดือนกันยายน ๒๕๔๕

 
 

    ของกินโบราณ

    เดี๋ยวนี้เวลาไปเดินตลาดมักจะเห็นป้าย "ของกินโบราณ" อยู่เนือง ๆ นัยว่าส่อแสดงถึงความอร่อยและรสชาติที่แท้ เช่น กาแฟโบราณ ลอดช่องโบราณ ฯลฯ วันหนึ่ง "หมูฯ" เดินไปปะเข้ากับร้านที่แขวนป้ายไว้ว่า "หอยทอดโบราณ" แล้วพานกินไม่ลงเพราะกลัวฟันหัก เดินต่อไปอีกนิดหนึ่งเจอรถเข็นขายของกินโบราณอีกชนิดที่ไม่ได้กินมานานแล้ว ทำให้นึกถึงสมัยเป็นเด็ก เลยนำมาตั้งคำถามเสียเลยว่า ของกินโบราณที่ "หมูฯ" เห็นบนรถเข็นนั้นคืออะไร ขอใบ้ว่า...
๑. มันเป็นขนมไทย
๒. ทำจากแป้งข้าวเจ้า
๓. ทำให้สุกด้วยวิธีนึ่ง
๔. มีมะพร้าวเป็นส่วนผสม
๕. สียอดนิยมที่เติมลงไปในขนมชนิดนี้คือสีเขียวและสีชมพู
๖. บางคนชอบ "บีบ" ขนมชนิดนี้ก่อนกิน
ใบ้กันขนาดนี้แล้ว เชื่อว่าถึงคุณจะไม่ใช่คนยุคโบราณ ก็น่าจะตอบได้ คุณมีเวลาส่งคำตอบถึงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ศกนี้


 
รักคุณ
"หมะอมตะ"
MortalPig@ Sarakadee .com
   
 
 

ของแถมท้ายเล่ม

 

    Before and After 

(คลิกดูภาพใหญ่)  (คลิกดูภาพใหญ่)     สมัยก่อน คำพูดที่ว่า "สวยด้วยแพทย์" อาจแฝงนัยหมิ่นหยามกันอยู่ในที แต่ พ.ศ. นี้ "สวยด้วยแพทย์" อาจเป็นดั่งประตูสู่ชีวิตที่ดีกว่า ถึงจะทำให้จนให้เจ็บแค่ไหนก็ไม่ยั่นร้อก !
    (ภาพจากนิตยสาร TIME ๕ สิงหาคม ๒๕๔๕)