เรื่อง : วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
ภาพ : ชัยชนะ จารุวรรณากร

plant1

บนเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติ กิ่วแม่ปาน ดอยอินทนนท์ นักพฤกษศาสตร์ กำลัง ถ่ายภาพ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง เพื่อนำไปศึกษา

 

“หากไม่รู้จัก ต้นไม้ชนิดต่างๆ แล้ว จะไปอนุรักษ์ ได้อย่างไร”

….. “หากไม่รู้จัก ต้นไม้ชนิดต่างๆ แล้ว จะรู้คุณค่า ได้อย่างไร”

 

plant2….. ในโลกนี้ มีอาชีพของ นักพฤกษศาสตร์ สาขาหนึ่ง มีชื่อเป็นทางการว่า

นักพฤกษอนุกรมวิธาน ฝรั่งตั้งฉายา ให้คนเหล่านี้ว่า “Plant Hunter” นักล่าพรรณไม้ หรือนักสำรวจพรรณไม้ ที่มีหน้าที่ ทำความรู้จัก พืช ชนิดต่างๆ โดยการ เก็บรวบรวมตัวอย่าง พรรณไม้ในป่า มาจำแนกชนิด ศึกษา รูปร่าง หน้าตาของมัน อย่างละเอียด ตั้งแต่ระบบราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เพื่อให้ทราบจำนวน ชนิด ถิ่นกำเนิด เขตการกระจายพันธุ์ ไปจนถึง การตั้งชื่อให้มัน อย่างเป็นทางการ กล่าวง่ายๆ ก็คือ ทำความรู้จัก กับพืช แต่ละชนิด อย่างละเอียดว่า คือต้นอะไร ภูมิลำเนา อยู่ที่ไหน หน้าตาเป็นอย่างไร เพื่อเป็น ข้อมูลพื้นฐาน นำไปใช้ประโยชน์ ต่อไป ทั้งในวงการยา เครื่องสำอาง เกษตรกรรม การปลูกป่า ไปจนถึง การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบัน ยาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ ทุกวันนี้ ร้อยละ ๘๐ ได้มาจากพืช อย่างต้นพังพวยนั้น ใช้รักษา โรคลูคีเมีย (มะเร็ง ในโลหิต) ยากล่อมประสาท ที่ผลิตจาก รากของต้นระย่อม เปล้าน้อย ช่วยบำบัด โรคกระเพาะอาหาร หรือแอสไพริน ซึ่งพัฒนาต้นแบบมาจาก สารเคมี สกัดจาก เปลือกต้นหลิว ทว่า นักพฤกษศาสตร์ ทั่วโลก ก็ยังรู้จัก พืชในโลกใบนี้ น้อยนัก ในขณะที่ การทำลายธรรมชาติ มีแต่จะ รุนแรงขึ้น ทุกที จนมีการทำนายว่า ในเวลาอีก ๒๕ ปีข้างหน้า หนึ่งในสี่ ของ พืชชั้นสูง ที่มีอยู่ทั่วโลก ๒๕๐,๐๐๐ ชนิด จะสูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้

ทว่า นักพฤกษศาสตร์ ทั่วโลก ก็ยังรู้จัก พืชในโลกใบนี้ น้อยนัก ในขณะที่ การทำลายธรรมชาติ มีแต่จะ รุนแรงขึ้น ทุกที จนมีการทำนายว่า ในเวลาอีก ๒๕ ปีข้างหน้า หนึ่งในสี่ ของ พืชชั้นสูง ที่มีอยู่ทั่วโลก ๒๕๐,๐๐๐ ชนิด จะสูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้

…………………..

plant3

ต้นไม้ที่ตั้งชื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ คือ ต้นหญ้านายเต็ม Isachne smitinandiana A. Camus พบที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เมื่อวันที่ ๘ พฤกษภาคม ๒๔๙๔ และเป็น type specimen คือเป็น พันธุ์ไม้ต้นแบบ และเป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ ของโลก

plant4

Vitex negundo Linn. พระยาวินิจวนันดร เป็นผู้พบ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๙๕

plant6

ตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง ที่หมอคาร์ สะสม คือ รักเขา Gluta laccifera (Pierre) Ding Hou พบที่อำเภอ หลังสวน จังหวัดชุมพร เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐

dr kerr

นายแพทย์ เอ.เอฟ.จี. คาร์ (A.F.G. Kerr) สำรวจ และเก็บพรรณไม้ ทั่วประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๕ – ๒๔๗๕ สามารถ รวบรวมพรรณไม้ ได้ถึง ๒๕,๐๐๐ เลขหมาย

….. สำหรับประเทศไทย นักพฤกษศาสตร์ ประเมินว่า มีพืชชั้นสูง ประมาณ ๓๐๐ วงศ์ หรือประมาณ ๑๐,๐๐๐ ชนิด แต่ปัจจุบัน เรารู้จัก และสามารถ จำแนกชนิดของต้นไม้ ได้เพียงร้อยละ ๓๕ เท่านั้น แม้ว่า จะมีการสำรวจ พรรณไม้ ในเมืองไทย เป็นเวลา หลายร้อยปีมาแล้ว

….. ย้อนกลับไป เมื่อประมาณ ๓๐๐ กว่าปีก่อน เคยมีบันทึกว่า ในปี พ.ศ. ๒๒๓๓ สมัยพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา นายอี. แคมป์เฟอร์ (E.Kaempfer) แพทย์ชาวเดนมาร์ก ประจำเรือ ของคณะทูต ผู้ดูแล อาณานิคม ด้านอินเดียตะวันออก ของฮอลันดา ได้แวะผ่าน ปากน้ำ เจ้าพระยา เพื่อลงสำรวจ พรรณไม้ ที่บริเวณปากน้ำ นับเป็น ชาวต่างประเทศ คนแรก ที่เข้ามาสำรวจ พรรณไม้ ในประเทศไทย

….. ซึ่งก่อนหน้านี้ คนไทย ไม่ค่อยมีบันทึก เรื่องพรรณไม้ว่า หน้าตา เป็นอย่างไร จะมีรู้จัก ก็ในแง่ การใช้ประโยชน์ อาทิ ทางยาสมุนไพร ดังนั้น การค้นคว้า ทางพฤกษศาสตร์ ในไทย จึงเริ่มมีขึ้น โดยฝรั่ง ตั้งแต่สมัยนั้น เป็นต้นมา

….. ในปี พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๓๒๒ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นาย โยฮานน์ โคนิก (J.G. Koenig) แพทย์ชาวเยอรมัน ได้เข้ามาสำรวจ พรรณไม้ แถบจังหวัดอยุธยา ปราจีนบุรี และภาคใต้ ได้ตัวอย่าง เมล็ดพรรณไม้ ๓๑๐ ชนิด ตัวอย่าง เฟิน ผักกูด เห็ดรา อีกกว่า ๒๕๐ ชนิด และได้เขียน บันทึกการเดินทาง ชื่อ Chloris Siamensis หนังสือเล่มนี้ เป็นเอกสาร พรรณไม้ ของไทย เล่มแรก ที่ทำให้ชาวโลก ได้รู้จักพรรณไม้ของไทย ส่วนตัวอย่างพรรณไม้ ที่ได้จากการสำรวจในครั้งนั้น บางส่วน ถูกเก็บ รักษาไว้ ในบริติช มิวเซียม ประเทศอังกฤษ

….. หลังจากนั้นเป็นต้นมา เริ่มมีฝรั่งนักล่าพรรณไม้ เดินทางเข้ามาสำรวจ เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ไทย เพื่อนำไปขาย ให้แก่ สวนพฤกษศาสตร์ ในยุโรป อาทิ อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก ฯลฯ ประเทศ นักล่า อาณานิคม ในขณะนั้น ซึ่งนอกจากจะ เข้ายึดครอง ประเทศอาณานิคม แถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกาใต้ ขนเอา ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญ กลับประเทศแม่แล้ว บรรดานักล่าอาณานิคม ยังทำการสำรวจ เพื่อเก็บ รวบรวม พรรณไม้ต่างๆ ส่งกลับมาสะสม ในพิพิธภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อนำมาศึกษาว่า มีพรรณไม้ชนิดใด ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะ ผลิตเป็นอาหาร ยารักษาโรค ที่สำคัญคือ การนำพรรณไม้ดอก จาก ประเทศอาณานิคมเหล่านี้ มาขยายพันธุ์ เพื่อจำหน่ายเป็น ไม้ดอก ไม้ประดับ ตามสวนในยุโรป ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น

….. แต่การสำรวจพรรณไม้ ในเมืองไทย ได้เริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ในสมัยของ นายแพทย์ เอ.เอฟ.จี. คาร์ (A.F.G. Kerr) (พ.ศ. ๒๔๒๐ – ๒๔๘๕) หรือที่คนไทย รู้จักกันดีว่า หมอคาร์ ซึ่งมาอยู่เมืองไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๕ ตลอดเวลา ๒๕ ปีที่อยู่เมืองไทย หมอคาร์ ได้เดินทางไป ทั่วประเทศ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ ได้ถึง ๒๕,๐๐๐ เลขหมาย อย่างที่ ไม่เคยมีใคร สำรวจมาก่อน ซึ่งนำไปสู่ การจัดสร้าง หอพรรณไม้ ของกรมป่าไม้ ที่นักพฤกษศาสตร์ ทั่วโลกรู้จักดี ในนามของ BKF (Bangkok Forest Herbarium) หอพรรณไม้เก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นที่รวบรวม เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ ที่ได้จาก การสำรวจ ของ นักพฤกษศาสตร์ ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ที่เข้ามาทำการสำรวจ ในประเทศไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน หอพรรณไม้แห่งนี้ มี ตัวอย่างแห้ง ที่เก็บรวบรวมไว้ ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ตัวอย่าง (ไม่ใช่ชนิด) และประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง เป็นพืชที่ พบในประเทศไทย ส่วนอีกร้อยละ ๒๐ เป็นตัวอย่าง ที่ได้จาก การแลกเปลี่ยนพรรณไม้ กับประเทศอื่น ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

BKF (Bangkok Forest Herbarium) หอพรรณไม้เก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นที่รวบรวม เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ ที่ได้จาก การสำรวจของ นักพฤกษศาสตร์ ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ที่เข้ามาทำการสำรวจ ในประเทศไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน หอพรรณไม้แห่งนี้ มีตัวอย่างแห้ง ที่เก็บรวบรวมไว้ ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ตัวอย่าง (ไม่ใช่ชนิด) และประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง เป็นพืชที่ พบในประเทศไทย ส่วนอีกร้อยละ ๒๐ เป็นตัวอย่าง ที่ได้จาก การแลกเปลี่ยนพรรณไม้ กับประเทศอื่น ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

…………………..

plant10

Macuna thailandica Niyomdham & Wilmot-Dear เป็นไม้วงศ์ หมามุ่ย พบที่ดอยอินทนนท์ ระดับความสูง ๑,๘๐๐ เมตร เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๑ เป็น type specimen

plant8

กระเช้าหนู Aristolochia helix Phuphathanaphong พบที่จังหวัด กระบี่ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ เป็น type specimen

plant5

ศ. ไค ลาร์เซน และ ดร.วีระชัย ณ นคร สองนักพฤกษศาสตร์ กำลังสำรวจ พรรณไม้ บนยอดดอย อินทนนท์ ตามโครงการ Flora of Thailand อันเป็นการสำรวจพรรณไม้ ร่วมกัน ระหว่าง ไทย-เดนมาร์ก

…. ภายในหอพรรณไม้ จัดแบ่งเป็น สามห้อง คือห้องพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ห้องพืชใบเลี้ยงคู่ และห้องเฟิน แต่ละห้อง จะมีตู้ไม้ขนาดใหญ่ สำหรับ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ ทั้งหมด แต่ละตู้ จัดเรียงตัวอย่าง ตามอักษร A-Z เรียงจาก ชื่อวงศ์ ไปสู่ ชื่อสกุล และชื่อชนิดพันธุ์ไม้ ตามลำดับ ซึ่ง ตัวอย่าง ที่เก็บมานั้น ยังมีอยู่ เป็นจำนวนมาก ที่รอการตรวจสอบ และ จำแนกชนิด อย่างละเอียด จากนักพฤกษศาสตร์ต่อไป

….. ทุกวันนี้ ที่หอพรรณไม้ แห่งนี้ จะมีนักเรียน นักศึกษา ประชาชน นักวิชาการมาใช้บริการ เพื่อตรวจสอบ ลักษณะพันธุ์ไม้ ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะบรรดา นักวิจัย ที่นำเอา คุณสมบัติจากพืช ไปใช้ประโยชน์ ในเชิงเศรษฐกิจ อาทิ เภสัชกร นักวิจัยจาก วงการเครื่องสำอาง วงการอุตสาหกรรมไม้ และ ชาวบ้าน ที่นำเอาสมุนไพร มาให้ตรวจสอบ ลักษณะที่ถูกต้อง

….. ปัจจุบัน นักพฤกษอนุกรมวิธาน ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถ จำแนก พรรณไม้ได้ ในเมืองไทย มีไม่ถึง ๓๐ คน กำลังมุ่งมั่นที่จะศึกษา จำแนกชนิด ของพืชชั้นสูง ในเมืองไทย ที่มีอยู่ประมาณ หมื่นชนิด ให้ได้คำตอบ ออกมาเร็วที่สุด หลายคน ที่เกษียณแล้ว ก็ยังกลับเข้ามา ทำงาน วิจัยพรรณไม้ ที่ตัวเองมีใจรักต่อไป ดั่งชีวิตของ ดร. เต็ม สมิตินันทน์ ผู้บุกเบิก งานวิจัยด้าน พฤกษอนุกรมวิธานของไทย ตลอดชีวิต ของท่าน ได้ตระเวนเก็บตัวอย่าง พรรณไม้ ทั่วประเทศ ได้ถึง ๑๒,๐๐๐ เลขหมาย และยังนั่งทำงาน จำแนกชนิดพันธุ์ไม้ต่อไป แม้ว่าจะ เกษียณ มานาน นับสิบปีแล้ว จนกระทั่ง วาระสุดท้ายแห่งชีวิต เช่นเดียวกับ หมอคาร์ นักสำรวจพรรณไม้ ผู้ยิ่งใหญ่ ของประเทศ

….. “มันเป็นชีวิตที่ดี เป็นการทำงาน ที่มีความสุข สบายใจ เราไม่ต้อง แข่งกันใคร แต่ต้องแข่งกับตัวเอง เพราะเวลาในแต่ละวัน มีน้อย รู้สึกว่า มันสั้นเหลือเกิน ตลอดระยะเวลา ๓๐ ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มมีการ จำแนก ชนิดพืช ในเมืองไทย อย่างเป็นทางการนั้น นักพฤกษศาสตร์ สามารถ จำแนกได้เพียง ร้อยละ ๓๕ เท่านั้น มันเกินกำลังของพวกเรา แต่หน้าที่ ของเราคือ ต้องพยายามศึกษาให้หมดให้ได้” นักพฤกษศาสตร์คนหนึ่ง ให้ข้อสรุป