นามสกุล หลังแต่งงานนามสกุล หลังแต่งงาน

( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่ )
.....คำถามนี้เป็นข้อถกเถียงในสังคมไทย มานานหลายสิบปี เพราะผู้หญิงหลายคน มีความรู้สึกว่า กฎหมายเดิม ที่บังคับให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ต้องเลือกใช้นามสกุลสามี เป็นเรื่องไม่ยุติธรรม
.....กฎหมายฉบับแรก ที่เป็นจุดเริ่มต้น ของข้อถกเถียง คือ พระราชบัญญัติ ขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖ มาตรา ๖ ซึ่งเป็นกฎหมายในสมัย รัชกาลที่ ๖ ระบุว่า
....."หญิงใด ทำการสมรสมีสามีแล้ว ให้ใช้ชื่อสกุลของสามี และคงใช้ชื่อตัว และชื่อสกุลเดิมของตนได้"
.....กฎหมายฉบับนี้ มีผู้ตีความ เป็นสองความหมาย ความหมายหนึ่ง บอกว่า ผู้หญิงที่สมรสแล้ว จะต้องเปลี่ยนเป็น ชื่อสกุลสามี เท่านั้น หากต้องการ ใช้ชื่อสกุลเดิม ควรวงเล็บไว้ข้างท้าย ส่วนอีกความหมายหนึ่ง บอกว่า กฎหมายฉบับนี้ เปิดโอกาส ให้หญิงที่สมรสแล้ว สามารถใช้ชื่อสกุลเดิมได้ เพื่อเป็นการ บอกเทือกเถาเหล่ากอของหญิงนั้น ว่ามาจากสกุลใด
.....ต่อมาในปี ๒๕๐๕ คณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยว่า "หญิงมีสามี ต้องใช้ชื่อสกุลของสามี" เป็นหน้าที่ ไม่ใช่สิทธิ จึงมีการแก้ไข พ.ร.บ. ขนานนามสกุลฉบับเดิม โดยตัดหลักการที่ว่า "คงใช้ชื่อตัว และชื่อสกุลเดิม ของตนได้" ออกไป เหลือเพียง บทบัญญัติที่มีข้อความ ในมาตรา ๑๒ ว่า "หญิงมีสามี ให้ใช้ชื่อสกุลสามี"
.....หลังจากประกาศใช้ บทบัญญัติดังกล่าว ทำให้ผู้หญิงหลายคน เกิดความไม่พอใจ เนื่องจาก การบังคับ ใช้นามสกุลสามี หลังแต่งงาน ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อเพศหญิง ในแง่กฎหมาย และความคิด ความเชื่อ ในสังคมไทย อาทิ การสืบทอดมรดก ทัศนคติเรื่อง การมีบุตรชาย สำหรับสืบสกุล โอกาสทางการศึกษา ที่แตกต่างกัน ระหว่างลูกสาว กับลูกชาย
.....ตลอดหลายปีที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริม และประสานงาน สตรีแห่งชาติ ได้พยายาม เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล โดยมีการ ปรับปรุง แก้ไข รายละเอียดตาม พ.ร.บ. ฉบับเดิม ในมาตรา ๑๒ ๑๓ และ ๑๔ โดยเสนอให้ "ชาย และหญิง เมื่อสมรสแล้ว สามารถใช้ ชื่อสกุลเดิมของตน หรือชื่อสกุลของ คู่สมรสก็ได้" ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติรับหลักการไปเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๒ แต่ผลปรากฏว่า เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงมหาดไทย กลับเสนอให้มี การทบทวน และแสดงความไม่เห็นด้วย ในการเลือกใช้นามสกุลเดิม ของหญิงที่แต่งงานแล้ว โดยให้เหตุผลไว้ หลายประการ อาทิ เรื่องความแตกแยกในครอบครัว และความสับสน ของคนในสังคม คำทักท้วงดังกล่าว ส่งผลให้ร่าง พ.ร.บ. หยุดชะงักลงกลางครัน
.....ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะเดินทางไปถึงดวงดาวหรือไม่ เราคงต้องรอลุ้นกันต่อไป ?

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


ธนวดี ท่าจีน นามสกุล หลังแต่งงาน สมัคร สุนทรเวช

ธนวดี ท่าจีน
ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อนหญิง

สมัคร สุนทรเวช
หัวหน้าพรรคประชากรไทย

ส นั บ ส นุ น
  • การเลือกใช้ นามสกุลของตัวเอง เป็นการส่งเสริม ทัศนคติ ที่ถูกต้อง ต่อเพศหญิงว่า ไม่ได้ตกเป็น ทรัพย์สมบัติ ของสามี ทำให้ สามีภรรยา เคารพซึ่งกันและกัน
  • กรณีนี้ สอดคล้องกับ บรรทัดฐานสากล ตามอนุสัญญา ว่าด้วยการ ขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อสตรี ทุกรูปแบบ และแผนปฏิบัติการ ปักกิ่ง ที่รับรอง ในการประชุม ระดับโลก ว่าด้วยสตรี ซึ่งประเทศไทย ได้ลงนามไว้แล้ว
  • การเลือกใช้ นามสกุลของตัวเอง ไม่ได้เป็น สาเหตุของ การทำให้ ครอบครัว แตกแยก เพราะความสัมพันธ์ ในครอบครัว จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก

คั ด ค้ า น

  • กฎหมายเดิม ดีอยู่แล้ว ถ้าผู้หญิง อยากใช้นามสกุลเดิม ก็ควรวงเล็บเอาไว้
  • ถ้าเลือกใช้ นามสกุลตนเองได้ จะเกิดความสับสน ในครอบครัว ไม่รู้ว่า เป็นเมียใคร เป็นลูกใคร
  • เรื่องกดขี่ทางเพศ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง นามสกุล ต่อให้แก้กฏหมายนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ ผู้หญิง กับผู้ชาย เท่าเทียมกัน

อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่
พบเห็นข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ


สนับสนุน เพราะควรให้เป็นสิทธิของแต่ละคน ตัดสินเอง การบังคับให้ผู้หญิง ต้องใช้นามสกุลสามี เป็นรูปแบบที่ชัดเจน ของการกดขี่ทางเพศ
เกษม < >
- Thursday, December 30, 1999 at 21:20:16 (EST)

คัดค้าน
กุลนิษฐ์ ขันคำ
- Wednesday, December 29, 1999 at 01:55:17 (EST)

สนับสนุนคะ เพราะกำลังจะจดทะเบียนสมรสพอดี แต่ก็ยังอยากใช้ นามสกุลของพ่อเราอยู่ เพราะเป็นสิ่งเดียว ที่เหลืออยู่ว่า เราลูกพ่อ คุยกันสามีแล้ว เขาก็ไม่ว่าอะไร
wena <v.chongkol>
- Wednesday, December 22, 1999 at 21:52:01 (EST)

สนับสนุน
เยาวลักษณ์ นาคผจญ
- Friday, December 17, 1999 at 00:23:23 (EST)

คัดค้าน
yaowalak narkpargon
- Friday, December 17, 1999 at 00:21:38 (EST)

สนับสนุนค่ะ- ไม่ใช่ว่านามสกุลสามีไม่เพราะ ไม่อยากใช้ แต่เพราะปัจจุบัน ผู้ชายและผู้หญิง มีสิทธิเท่าเทียมกัน ผู้หญิงมีสิทธิที่จะเลือกใช้ นามสกุลใครก็ได้ และเป็นการแสดงให้เห็นว่า คู่ครองของเรา ก็เคารพในสิทธิของเรา มีความเป็นประชาธิปไตยในบ้าน
อุทุมพร เกิดนพคุณ <k_noppakhun@hotmail.com>
- Thursday, December 16, 1999 at 19:19:45 (EST)

I agree. I never asked my wife to change her last name. It is her right to choose which last name to use.
James Watsons
- Thursday, December 16, 1999 at 16:22:21 (EST)

สนับสนุน เพราะเป็น ปัญหาในชีวิตจริง อยู่ขณะนี้ จึงเข้าใจดี คือเป็นคนสุดท้าย ของนามสกุลนี้ ถ้าแต่งงานไป นามสกุลนี้ ก็เป็นอัน สาบสูญไปจากโลกนี้ และไม่ต้องการ ให้เป็นอย่างนั้น แฟนก็เข้าใจ พร้อม และยอมให้ใช้นามสกุลเดิม แต่ติดที่กฎหมายค่ะ
วสุลิตา สุนทรปรีชา <wasulita@ksc.th.com>
- Wednesday, December 15, 1999 at 11:54:00 (EST)

agree with the comments which support woman right
Chertpong Bannasopit
- Wednesday, December 15, 1999 at 02:28:09 (EST)

ขอสนับสนุนค่ะ... เพราะสมัยปัจจุบันนี้ สามี-ภรรยา ต่างก็มีสิทธิเสรีภาพ เท่าเทียมกัน มีการให้เกียรติ ซึ่งกันและกันอยู่แล้ว.. และที่สำคัญ สามี-ภรรยา ต่างก็มีงานทำ หาเงินเลี้ยงครอบครัว เช่นเดียวกัน การอยู่ร่วมกันโดย จดทะเบียนสมรสนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้อง ยึดเอานามสกุลของ ฝ่ายสามี เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น... สามี-ภรรยา ควรมีสิทธิเสรีภาพ ในการเลือกใช้ นามสกุลของ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ โดยเสรีภาพ.
มยุรี วิสเวศจิรกิตติ์ <noiyuri2@mail.cscoms.com>
- Sunday, December 12, 1999 at 11:00:27 (EST)

สนับสนุน
somchai ponjindarak <himm@chaiyo.com>
- Wednesday, December 08, 1999 at 22:11:03 (EST)

สนับสนุนค่ะ ไม่ว่าเพศไหน ก็ควรมีสิทธิ์ ที่จะเลือก อะไรก็ได้ ให้กับตัวเอง แม้ว่าจะแต่งงานแล้ว ก็ใช่ว่า จะหมดสิทธิ์ แม้แต่อยากจะใช้ นามสกุลของตัวเองต่อ
nittha <nittha13@hotmail.com>
- Wednesday, December 08, 1999 at 09:29:01 (EST)

สนับสนุน เข้าใจว่า ที่เรียกร้องให้ผู้หญิง สามารถเลือกใช้นามสกุล เป็นการเสมอภาค ในแง่ของกฏหมาย มากกว่า เพราะ กฏหมาย ได้กำหนดอย่างนั้น ซึ่งที่จริง ก็ไม่น่าจะกำหนดแบบนี้แต่ต้น
ฮั่นแน่
- Wednesday, December 01, 1999 at 03:48:57 (EST)

สนับสนุนค่ะ เพราะ นามสกุลของสามี ไม่ไพเราะ และฝ่ายหญิงเสียเปรียบ
กีรติกานต์ ภัควิทูรชัย <kiratikan@hotmail.com>
- Sunday, November 28, 1999 at 04:13:41 (EST)

คัดค้านครับ การที่จะให้ผู้หญิง เลือกใช้นามสกุลได้เองแล้ว ผมคิดว่า จะต้องป่วนกันทั้งเมืองแน่ อีกหน่อย ลูกที่เกิดมาในยุคหน้า อาจจะพบกับ ปัญหาใหม่ของตัวเขาเองแน่ เพราะไม่รู้จะ สังกัดตระกูลใด???? ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ ความคิดของคุณสมัครที่ว่า ถ้ายังไง ก็วงเล็บไว้ก็ได้ และเรี่องนี้ ก็ไม่เกี่ยวกับ การกดขี่ทางเพศแต่อย่างได แต่จะดีกว่านี้ถ้า คุณสมัครหลีกเลี่ยง การใช้คำพูดรุนแรง และ (บางที) ก็นอกประเด็น เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีนะครับ / Great love from bubble...
นาย กรัณฑ์ สมจิตต์ <ิีิbubblegibbs003@hotmail.com>
- Saturday, November 27, 1999 at 05:30:09 (EST)

สนับสนุนค่ะ การที่คนสองคน จะรัก และพร้อมที่จะ ใช้ชีวิตร่วมกัน ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับ การใช้นามสกุล มันควรจะเป็นเรื่องของ ความรู้สึกมากกว่า แต่การที่ อยากให้ผู้หญิง สามารถ เลือกนามสกุลตัวเองได้นั้น ควรเป็นสิทธิ ที่พึงได้รับ ส่วนในเรื่องที่จะ เลือกใช้อะไรนั้น มันแล้วแต่ ความพอใจของตัวเอง และความเข้าใจ ที่คู่สมรสมีให้
ภาจันทร์ ไชยศรีหา <pachan_oie@yahoo.com>
- Friday, November 26, 1999 at 22:45:14 (EST)

สนับสนุน ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มาก ๆๆๆๆๆๆๆ เพราะเพศหญิง ถูกเอาเปรียบ จากสังคมหลายด้าน
ปัฐมาภรณ์ เหมือนทอง
- Thursday, November 25, 1999 at 07:12:05 (EST)

ผมว่า อย่าเปลี่ยนดีกว่านะครับ อย่างเดิมก็ดีแล้ว จะได้รู้ว่า ใครเป็นใคร แต่ถ้าเขาอยากใช้ ก็ให้เขาใช้นะครับ เรียกว่า เจอกันครึ่งทางก็ได้
ชนาธิป เชียงทอง <chanarthip@hotmail.com>
- Sunday, November 21, 1999 at 01:17:57 (EST)

ดิฉันคิดว่า การจะใช้นามสกุลใคร ไม่สำคัญเท่ากับ ความเข้าใจของ คนสองคน ที่มีต่อกัน อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ ดิฉันว่า เรื่องนามสกุล เป็นเพียงเปลือก ของปัญหาเท่านั้น แต่แก่นของปัญหา คือ การเลือกปฏิบัติ ผู้หญิง ไม่ได้ต้องการ เท่าเทียมกับ เพศชาย ( สำหรับดิฉัน ) โดยเฉพาะ ทางกายภาพ และโดยจารีตประเพณี ที่มีการแบ่ง หน้าที่ของ หญิงชาย ในแต่ละสังคม แต่การที่มี คนคัดค้านโอกาส ในการเลือก ของผู้หญิง สะท้อนให้เห็น ทัศนคติของ คนส่วนหนึ่งว่า ยังมองผู้หญิง เป็นสมบัติของผู้ชาย มากกว่าเป็น ปัจเจกบุคคล ที่มีสิทธิ เลือกรับสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเธอเอง ( ร่วมกับคนที่ เธอตัดสินใจ ร่วมชีวิตด้วย ) เราควรเปิดโอกาส ให้ทุกคน มีสิทธิเลือกวิถีของตน ด้วยัวเอง ไม่ใช่หรือ..
สุชีรา <sucheeralee@hotmail.com>
- Friday, November 19, 1999 at 10:13:06 (EST)

ขอไม่พูดว่าสนับสนุน หรือคัดค้านครับ เพราะเรื่องแบบนี้ มันน่าจะอยู่ที่เจ้าตัวเองว่า จะเปลี่ยนนามสกุลหรือไม่ ทุกคนมีสิทธิส่วนบุคคลครับ หากแต่งแล้วเปลี่ยน ก็ดีครับ หรือถ้าไม่เปลี่ยน ก็ตามใจ คนเรา ลองคบกันถึงขั้น แต่งงานกันแล้ว ผมคิดว่า เรื่องนามสกุล ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรอกครับ อยู่ที่ความรักมากกว่าครับ
โอ๋ <wannaphong@yahoo.com>
- Friday, November 19, 1999 at 07:02:35 (EST)

เฉยๆ ไม่เข้าใจว่า นามสกุล เกี่ยวอะไรกับ สิทธิสตรี และ การถูกข่มเหงรังแก มันขึ้นกับคนครับ ต่อให้ใช้นามสกุลอะไร ชื่ออะไร เพราะเพียงใด ถ้าอยากกดขี่ ทำได้ทั้งนั้นครับ ผมไม่สนเรื่องแบบนี้หรอก อยากให้คนที่รณรงค์เรื่องนี้ เอาเวลา และงบประมาณ ไปทำเรื่องอื่น ที่มีประโยชน์มากกว่า สงสารผู้หญิงที่ บังเอิญมีผู้นำบางองค์กร มีความคิดเพียงแค่นี้ มีเรื่องมากมาย ของผู้หญิงที่ลำบาก ทำไมไม่มาสนใจกัน ลำพังคุณปวีณาคนเดียว ทำไม่ไหวหรอก เพราะผู้หญิงเดี๋ยวนี้ มีความคิดเรื่อง สิทธิเท่าเทียมกัน มากเกินไป จึงทำให้ จำนวนผู้หญิงสูบบุหรี่ เพิ่มมากจนน่ากลัว เที่ยวผับบาร์ มากจนน่ากลัว คิดจะมีเซ็กซ์กับใครก็ได้ ที่ฉันอยากมี เป็นต้น ปัญหาครอบครัว จะตามมาเยอะมาก ลองหันกลับไปสนใจ สิ่งเหล่านี้บ้าง หาทางแก้ไขและป้องกัน สงสารผู้หญิง จากใจจริง
ไก่ย่าง <kat_c@postmark.net>
- Thursday, November 18, 1999 at 22:31:54 (EST)

สนับสนุน
จารุกร ชุมช่วย
- Thursday, November 18, 1999 at 21:10:42 (EST)

สนับสนุน...
1.การสืบสกุล 2.สิทธิสตรี 3.เรื่องพันธุกรรม ทั้งสามเรื่องนี้ จริงๆ แล้ว ไม่เกี่ยวกันเลย แต่ถูกนำมาพูดรวมกัน จนมั่วไปหมด โดยต่างก็พยายาม นำแต่ละเรื่อง มาพูดเพื่อ สนับสนุนทัศนคติ และความเชื่อของแต่ละคน... เปิดกรอบความคิด ให้กว้างไว้ ให้แต่ละคน หาทางเลือกของตัวเอง... ได้พัฒนาให้เป็นสังคมที่ รู้จักไตร่ตรอง หาทางเลือกเอง .. เป็นสังคมที่ ใช้ปัญญามากขึ้น ไม่ใช่สังคมที่ ว่ากันตามกระแส... ไม่ดีกว่าหรือ

nongs <->
- Thursday, November 18, 1999 at 00:22:14 (EST)

สนับสนุน เนื่องจากว่านามสกุลของบิดา ไม่มีหลานคนใดสืบสกุล เพราะมีแต่หลานสาว และเหลือเพียงลูกสาว ที่ใช้นามสกุลอยู่.. สนับสนุนอย่างยิ่ง กับกฎหมายที่จะให้สิทธิสตรีเลือก
ศิรินลักษณ์ <sirinlux@yahoo.com>
- Friday, November 12, 1999 at 10:51:29 (EST)

สนับสนุนครับ ในประเด็น เรื่องของสิทธิ ส่วนบุคคล และในกรณี การสืบสกุล ในครอบครัวที่ มีแต่ลูกผู้หญิง แต่มีบางประเด็น มองต่างจากคุณ ธนวดี ท่าจีน เล็กน้อย คือ ประเด็นที่ว่า หญิงจะไม่เกิด ความรู้สึก ตกเป็นทรัพย์สิน ของสามี ถ้าใช้นามสกุลตัวเอง ผมว่า ค่อนข้างจะดูถูก สติปัญญา ของ คุณผู้หญิงไปนิด นะครับ ผมว่า สุดท้ายแล้ว ผู้หญิง เป็นฝ่ายเลือกที่จะ อยู่ หรือจะไป ต่างหาก ประเด็นที่ สอง คือ ไม่น่าที่จะเกิด การแต่งงาน ในหมู่เครือญาติ นั้น ผมว่า ในขณะนี้ ไม่น่าเกิด ครับ แต่ในอนาคต และในครอบครัว ที่มีขนาดใหญ่ นั้น ยังสงสัยอยู่ ผมไม่คิดว่า ตอนใครจีบกันอยู่ จะไป สอบประวัติกันที่อำเภอ ส่วนใหญ่ ก็น่าจะตกลงปลงใจกันแล้ว มากกว่า (ในประเด็นที่ คุณ ธนวดี หยิบยกขึ้นมา) เห็นด้วย กับ "คุณไร้สาระ" อีกอย่าง คือ ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า ต้องห่างกันขนาดไหน ในสายเครือญาติ จึงจะไม่ทำให้ สายพันธุ์นั้นเลวลง แค่สงสัยครับ ความคิดเห็นของ คุณ สมัคร ยังเหมือนเดิมเลยนะครับ ใช้อารมณ์มากกว่าสมอง แต่ผมก็เห็นด้วย บางประเด็นนะครับ ความ เห็นของ "คุณวิลาวรรณ ปานนอก" ค่อนข้างโหดนะครับ ประการสุดท้าย เรากำลังถกเถียง เรื่องที่จะสะเทือนทั้งระบบ อย่างมหาศาล ทั้งเรื่องนามสกุล และคำนำหน้า การคิดทั้งข้อดี และข้อเสีย อย่างละเอียด โดยไม่มองแค่ ความต้องการ ที่จะได้ ในรุ่นของตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญนะครับ
ปริญญา สัตยาประเสริฐ <xibppk@yahoo.com>
- Saturday, November 06, 1999 at 09:26:20 (EST)

ผมขอคัดค้านเลยครับ ก้อเหมือนอย่าง ท่านสมัครพูดไว้แหละครับ เพราะผมก็ยัง มองหาเหตุผลไม่มี ที่จะทำอย่างนี้
ตุ๊ก <tuk_little@hotmail.com>
- Friday, November 05, 1999 at 04:32:59 (EST)

สนับสนุน : นามสกุลเป็นเพียงแค่ ตัวอ้างอิงชื่อ, วงศ์ตระกูล มากกว่า แต่มันอาจจะเป็น ศักดิ์ศรี สำหรับใครบางคน โดยเฉพาะคุณผู้หญิง -ขอโทษนะครับ-
นายโรจนพงศ์ บุญเรือง <rot8421@chaiyomail.com>
- Thursday, November 04, 1999 at 23:17:20 (EST)

สนับสนุนจ้า เราควรจะให้สิทธิผู้หญิง ในการเลือกใช้นามสกุลนะ มันไม่ได้มีปัญหาอะไร ที่จะยุ่งยากหรอก ส่วนบุตร ที่เกิดขึ้นมาภายหลังนั้น ก็ควรให้สิทธิ พ่อแม่ของเขานั่นแหละ เป็นผู้ตัดสินว่า จะเลือกใช้ นามสกุลของฝ่ายใด ผู้เจริญแล้ว ควรเคารพใน สิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นนะ
แม่พลอย
- Thursday, November 04, 1999 at 21:23:46 (EST)

คัดค้าน เพราะ สิ่งที่คิดจะเปลี่ยนแปลง มันต้องให้ดีขึ้น ไม่ใช่เปลี่ยนแล้ว มีแต่ปัญหาวุ่นวาย ต้องตามแก้เรื่อยไป เอามันสมอง ไปคิดเรื่องที่ เป็นประโยชน์ ต่อบ้านเมือง ต่อสังคม ดีกว่ากันเยอะ
นายอำพน กลีบปาน <->
- Thursday, November 04, 1999 at 05:24:50 (EST)

สนับสนุน -ถ้าหากคุณคิดว่า ผู้ชายหาเลี้ยงครอบครัวแล้ว มันลำบากนักล่ะก็ ลองมาเป็น คนอุ้มท้องเด็ก หรือนั่งปวดประจำเดือน ทุกเดือนดูสิ
พัชรี จรรโลงศิริชัย <Jean529@hotmail.com>
- Wednesday, November 03, 1999 at 21:16:01 (EST)

สนับสนุนค่ะ คุณผู้ชาย ที่แสดงความคิดเห็นข้างล่างนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของผู้ชาย ที่แสดงความเห็นแก่ตัว หลงตัวเอง และมีปัญญานิ่ม ไม่มีพัฒนาการ ทางความคิด แต่เชื่อว่า ผู้ชายรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ ไม่ได้มีความคิดอย่างคุณ คุณเป็นคนหนึ่ง ที่คงจะยอมรับไม่ได้ ถ้าหากเจอผู้หญิง ที่เก่งกว่าคุณ นี่แหละคือลักษณะของ คนใจแคบ เคยย้อนมองดูตัวเอง บ้างรึปล่าว น่าสงสาร! กระทู้ข้างบน เป็นการสอบถามความคิดเห็นว่า ผู้หญิง ควรได้รับสิทธิ ในการเลือกใช้นามสกุล หลังแต่งงาน ประเด็นมันอยู่ตรงแค่นั้น คุณไม่ต้องโวยวาย มากเกินเหตุ เพราะมันแสดงให้เห็นถึง การมีปัญญานิ่มของคุณไปเปล่าๆ ผู้หญิงทราบค่ะว่า เรามีข้อจำกัดในด้านใดบ้าง เราไม่ได้มีการ เรียกร้องสิทธิต่างๆ โดยไร้เหตุผล และขอบอกให้ทราบไว้ด้วยว่า ผู้หญิงสมัยนี้ ไม่เคยคิดจะ เรียกร้องสิทธิใดๆ จากผู้ชายปัญญานิ่ม เช่นคุณหรอกนะ อย่าหลงตัวเองมากไปนักเลย
สาธุ ไปสู่ที่ชอบ ที่ชอบ เทอะ...

ผู้หญิง
- Wednesday, November 03, 1999 at 20:48:46 (EST)

คัดค้านอย่างมาก กล่าวคือ หากมามัวแต่จะมาหวงนามสกุล กลัวสกุลจะหายไปจากโลก ผมคิดว่า คุณที่คิดนั่นแหละ ที่น่าจะหายไปจากโลก การที่ทำอย่างนี้ เป็นมาตั้งแต่ คุณยังไม่เกิด แต่มาตอนนี้ ทำไมต้องมาเรียกร้อง คนที่เกิดก่อน ไม่เห็นมีปัญหาเลย มิน่า สังคมถึงคิดกับผู้หญิง ให้เป็นอย่างทุกวัน คือ ไม่ชอบให้มาอวดเก่งอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนั้นมา ก็เรียกร้อง ไม่คิดว่า สมควรหรือไม่ คนมาเรียกร้องก็เหมือนกัน ไม่รู้ว่า เรียกร้องแล้วได้อะไร ได้ความภูมิใจนักหรือ แล้วได้ประโยชน์อะไร พอใจที่ชนะ มีสิทธิเท่าชาย ไม่มองดูว่า ชายเขาคิดอย่างไร หากอยากเท่ากับชาย ผมตอบได้เลยว่า ท่านจะไม่ได้อะไรกับชายเลย ทั้งความรัก ความสงสารที่มีกับหญิง ว่าเป็บคนที่น่าถนอม หากมาในรูบแบบนี้นั้น ผมขอบอกเลยว่า....
ผุ้ชาย
- Wednesday, November 03, 1999 at 00:05:37 (EST)

สนับสนุน เต็มร้อยค่ะ ว่าผู้หญิง ควรมีสิทธิ ในการเลือกใช้นามสกุล หลังแต่งงาน เพราะผู้หญิงหลายคน อาจมีเหตุผล ความจำเป็น หรือความพอใจบางอย่าง ที่ยังคงต้องการ ใช้นามสกุลของตัวเอง โดยไม่จำเป็นที่จะต้อง ไปบังคับ ให้เธอต้องใช้ นามสกุลตามสามี เสมอไป กรุณาเปิดใจให้กว้างหน่อยสิคะ (สำหรับพวกที่คัดค้านทั้งหลาย)
ผู้หญิง 2000
- Tuesday, November 02, 1999 at 21:33:07 (EST)

yes. it should be
arty116 <a41c0244@bu.ac.th>
- Monday, November 01, 1999 at 22:58:22 (EST)

การที่ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ต้องจดทะเบียบสมรส เปลี่ยนนามสกุล ไปใช้ของสามี คิดว่า มันไม่น่ามีปัญหาอะไร หรือจะใช้ นามสกุลเดิมก็ดี แต่ส่วนตัวคิดว่า ปัญหาอยู่ที่ คำนำหน้าชื่อมากกว่า... เมื่อผู้หญิงแต่งงานไปแล้วต้องใช้ นาง มันแสดงให้เห็นถึง สถานภาพว่า... มีเจ้าของแล้ว ทั้งที่ผู้ชาย ไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่า คุณแต่งงานแล้ว
เนตรชนก พรหมชัย <ying_ying@jorjae.com>
- Thursday, October 28, 1999 at 05:15:27 (EDT)

สนับสนุน
pracha <c_pracha@bangkok.com>
- Wednesday, October 27, 1999 at 21:21:28 (EDT)

ขอให้เป็นเรื่องสิทธิ มากกว่าเป็นเรื่องหน้าที่ แต่อย่าลืมคิดถึงลูกบ้าง เกิดเวลาทะเลาะกัน อาจจะมีการบังคับให้ลูก มาเลือกใช้นามสกุล ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทำให้เด็กต้องลำบากใจ และเมื่อเป็นเรื่องสิทธิแล้ว ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็อย่าแต่งงานกันเลย ครอบครัวน่าจะ มีเรื่องที่มาวิพากษ์กัน มากกว่าเรื่องนี้นะ
nvpong <ponghatyai@yahoo.com>
- Wednesday, October 27, 1999 at 15:14:48 (EDT)

การที่ผู้หญิง ออกมาเรียกร้อง ให้ใช้นามสกุลเดิม หลังการแต่งงาน อยากถามว่า ทำแล้วเกิดผลดีอะไรบ้าง
สกุล วิริยะสกุล
- Wednesday, October 27, 1999 at 12:51:21 (EDT)

สนับสนุนค่ะ
นุจรี นาคเจริญวารี <nunuj@hotmail>
- Tuesday, October 26, 1999 at 14:47:34 (EDT)

สนับสนุนให้สตรี มีสิทธิเลือกใช้ นามสกุลหลังแต่งงาน เป็นการแสดงถึง ความเท่าเทียมกัน ระหว่างหญิง และชาย และอาจทำให้ ค่านิยมที่ต้องการลูกชาย เพื่อสืบสกุลลดลง ลดปัญหา ในครอบครัวลงได้ ซึ่งครอบครัว เป็นพื้นฐานของสังคม
สุพิน วัยนิพิฐพงษ์ <ksupin@hotmail.com>
- Tuesday, October 26, 1999 at 12:59:19 (EDT)

สนับสนุน
สิริ
- Monday, October 25, 1999 at 11:58:07 (EDT)

การที่หญิงใช้นามสกุลผู้ชาย ดีอยู่เเล้ว เพราะ เมื่อผู้หญิงได้เลือกที่จะ เเต่งงานกับ ผู้ชายคนนี้เเล้ว ก็ยอมรับนามสกุลของเขาด้วย การที่ผู้หญิง เปลี่ยนมาใช้ นามสกุลผู้ชาย จะเป็นการป้องกัน การเเต่งงานของพี่น้องได้ด้วย แต่เมื่อหย่าจากกัน ก็ควรให้สิทธิเเก่ผู้หญิง โดยให้เธอ กลับมาใช้นามสกุลเดิมได้
taweesak
- Sunday, October 24, 1999 at 19:33:03 (EDT)

จริงๆ แล้วความเสมอภาค ไม่ใช่อยู่ที่ การใช้นามสกุลตัวเอง หรือของสามี หากแต่อยู่ที่ การกระทำ ของคนสองคนว่า จะให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่งงานงานกันแล้ว ก็ควรจะเปลี่ยนเป็น นามสกุลของสามีนั้น ดีแล้ว จะได้รู้ว่า เป็นสะใภ้ของตระกูล ไม่งั้นคงงงกันแน่ๆ กว่าจะรู้ ต้องสอบถามกันนาน ถ้าอยากให้มี นามสกุลของตัวเอง ก็วงเล็บไว้ก็ได้ เอาเวลาไปคิด ทำเรื่องอื่น กันดีกว่ามาเถียงกัน เรื่องแบบนี้ ทำไมเรา ถึงต้องมาหา ความเสมอภาคกัน ในเมื่อบางเรื่อง เรายังแยกกันอยู่ ทำไมการเกณฑ์ทหาร ถึงไม่มีสตรี เข้ารับการเกณฑ์ทหาร อย่าพูดถึงเลย ความเสมอภาค พูดถึง การให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน ขอบคุณครับ
Anusorn Siriwattananont <ubctv@anusrons.com>
- Saturday, October 23, 1999 at 15:49:11 (EDT)

คัดค้าน เพราะไม่มีเหตุผล และความจำเป็นใด ๆ เลย ที่จะต้อง มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ดีอยู่แล้ว ผู้ที่เสอนกฎหมายดังกล่าว กระผมเข้าใจว่า ส่วนใหญ่แล้ว เป็นคนที่คิดมากคิดมาย คิดอยู่เสมอว่า ตัวเอง ไม่มีความเท่าเมียมกับผู้ชาย ในเมื่อธรรมชาติ เขาสร้างมาให้เป็นเช่นนี้ แต่บุคคลผู้ที่ เสนอกฎหมายนี้มา กลับจะฝ่าฝืน กฎของธรรมชาติอยู่ใด้ หากหญิง จะเท่าเทียม กับผู้ชายแล้ว ทำไมไม่เสนอกฎหมาย ให้ผู้หญิง เข้าเกณฑ์ทหาร เหมือนกับผู้ชาย ทำไมขึ้นรถเมล์ จะต้องให้ผู้ชาย เสียสละให้ผู้หญิงนั่ง ในเมื่อพวกเขา บอกว่า อยากเท่าเทียมเล่าครับกระผม
นายกรีธา รัตนนิรมลสกุล <KR.>
- Saturday, October 23, 1999 at 09:52:24 (EDT)

สนับสนุน ถ้าอ่านกฏหมายที่แก้ไขใหม่นั้น ไม่เห็นว่าจะบังคับให้ใคร ต้องเปลี่ยนนามสกุล ตามใครเลย แล้วแต่ศรัทธา ของคู่สามีภรรยานั้น คุยให้รู้เรี่อง ก่อนแต่งงาน ถ้ากลัวเรี่องญาติโยม จะแต่งงานกันเอง พ่อแม่ ก็ควรพาลูกหลาน ไปรู้จักกับ ญาติโยมในวงตระกูล ให้หมดซะ ลูกหลานจะได้รู้จัก เข้าสังคมบ้าง ไม่อยากได้ยินความเห็น ที่ให้ผู้หญิง ไปเกณฑ์ทหาร หรีอแก้ผ้า แข่งกับผู้ชายเลย เพราะมันเป็นความจริง ทางธรรมชาติ สรีระของผู้หญิง แข็งแรงสู้ผู้ชายไม่ได้อยู่แล้ว ช่วยหาเหตุผล ที่สร้างสรรค์มากกว่านี้ ดีกว่าหน่อย จีนที่ขึ้นชื่อเรี่อง ละเมิดสิทธิมนุษย์ชน ยังมีกองพันทหารหญิงเลยเออ!
สินีนารถ หาญวนิชกุล <preechaj@a-net.net.th>
- Friday, October 22, 1999 at 13:00:05 (EDT)

อยากเรียนให้ "คุณปัทมา" ทราบว่า หญิงชาวจีน ที่แต่งงานแล้ว จะเปลี่ยนไปใช้ แซ่ ของสามีด้วย แต่ยังคง ให้เกียรติฝ่ายหญิง ด้วยการ คงแซ่เดิมไว้ด้วย แม้ว่าวัฒนธรรมจีน จะถือฝ่ายชายเป็นใหญ่ คุณปัทมา ลองหาบัตรเชิญ งานแต่งงาน ที่ยังมีการลงชื่อ เป็นภาษาจีนมาดูนะครับ ข้อสรุปของผมคือ เห็นด้วยที่จะ เลือกใช้นามสกุลได้ แต่จะต้องใช้เหมือนกัน ทั้งครอบครัว (พ่อ, แม่, ลูก)
มนต์ชัย <s_monchai@hotmail.com>
- Thursday, October 21, 1999 at 09:40:28 (EDT)

เห็นด้วยเพราะ กฏหมายนี้ ให้สิทธิผู้หญิงเลือกว่า จะเปลี่ยนนามสกุลหรือไม่ ใครอยากเปลี่ยน ก็เปลี่ยน ตกลงกันไม่ได้ ก็ไม่ต้องเปลี่ยน ยุติธรรมดี ประเด็นที่ว่า จะได้รู้ว่าผู้หญิงคนไหน แต่งงานแล้ว ทำไมไม่มองบ้างว่า ผู้หญิงก็อยากรู้เหมือนกันว่า ผู้ชายคนไหน แต่งงานแล้ว ดูเมืองจีนเป็นตัวอย่างสิ ขนาดเป็นประเทศที่ ผู้ชายเป็นใหญ่ขนาดไหน ผู้หญิงแต่งงานแล้ว ยังไม่ต้องเปลี่ยนแซ่ มาเป็นพันๆ ปีแล้ว คุณผู้ชาย ใจกว้างหน่อย คุณมีสิทธิจะภูมิใจ ในนามสกุลของคุณ อยากจะรักษาไว้ ให้ยั่งยืนนาน ผู้หญิงมีสิทธิไหม ที่จะมีความรู้สึกนั้น
ปัทมา <apattama@hotmail.com>
- Wednesday, October 20, 1999 at 00:30:10 (EDT)

คัดค้านด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการครับ
1.การใช้นามสกุลสามี เป็นการแบ่งแยกตระกูล ให้ออกมาเห็นได้ชัดเจน ป้องกันการแต่งงานในวงศ์ญาติ ได้ในระดับหนึ่ง
2.เพื่อความสะดวก ในการจัดเก็บข้อมูลครับ จะได้รู้ว่า ใครเป็นสมาชิก ครอบครัวไหนบ้าง

เด้อ <derder@hotmail.com>
- Tuesday, October 19, 1999 at 03:45:39 (EDT)

สนับสนุน
วิชัย จั่วแจ่มใส <vichai chuajamsai@daimlerchrysler.com>
- Monday, October 18, 1999 at 06:12:39 (EDT)

เป็นเรื่องของคนสองคนที่รักกัน ควรตกลงกัน ถ้าตกลงกันได้ จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น และการตัดสินใจ ไม่ควรถูกบังคับโดยกฏหมาย
สองเกลอ
- Monday, October 18, 1999 at 04:29:06 (EDT)

สนับสนุน เหตุผลก็คือ ไม่เกี่ยวกับว่าเด็ก หรือลูกที่เกิดมา จะไม่รู้ว่า ใครเป็นพ่อ ใครเป็นแม่หรอกค่ะ เพราะสังคมปัจจุบันนี้ ก็สามารถที่จะ สอนตัวเด็กอยู่แล้วว่า คนที่แข็งแกร่งเท่านั้น ถึงจะอยู่รอดได้ในสังคม ส่วนคนที่ได้ใช้นามสกุลพ่อ บางคน ก็แทบจะไม่ได้เห็นเลยว่า พ่อตัวเองเป็นใคร และได้ทำบทบาท และหน้าที่พ่อของลูก ได้ถูกต้องไหม ? ลองถามเด็กเหล่านั้นดูว่า ต้องการนามสกุล หรือต้องการความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว มาเถียงเรื่องแบบนี้ เสียเวลาค่ะ เพราะไม่ว่าผล จะออกมาอย่างไร มันจะตกที่สังคม และตัวเด็กเองเท่านั้นจริงๆ
วิลาวรรณ ปานนอก <wpannok@hotmail.com>
- Saturday, October 16, 1999 at 14:27:40 (EDT)

สนับสนุน เห็นด้วย ผู้หญิงจะเป็นทหาร ผู้ชายจะได้ตั้งท้อง หรือลูกออกมาจาก การสร้างพันธุวิศวกรรม แบบใหม่ โลกในมิเลนเนี่ยมหน้า น่าจะซับซ้อนกว่าที่เป็นอยู่ มากกว่าการกำหนด หรือ identify คนด้วย ชื่อนามสกุลเท่านั้น
kird sripanich <krid_o@hotmail.com>
- Saturday, October 16, 1999 at 14:13:51 (EDT)

ยิ่งอ่าน ยิ่งพบความคิดเห็น ที่จะเอาแต่ได้ ต่างฝ่ายต่างจะเอาชนะ ถ้างั้นคุณผู้หญิงครับ ถ้าคุณมีสิทธิเสมอภาค คุณจะจดทะเบียนสมรส ไปทำไมครับ อย่าจดสิครับ ได้ใช้นางสาวตลอดไป นามสกุลเดิมด้วย มีลูกก็ไม่ต้องระบุบิดาก็ได้ ลูกจะได้ใช้นามสกุลคุณ แล้วคุณจดทะเบียนทำไมล่ะครับ จะได้เอาสินสมรสมาแบ่งหารสอง หรือครับ หรือเผื่อฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูหรือครับ เรียกว่าเสมอภาค แต่ไม่สามารถหาเงินมาเลี้ยงดูตัวเอง และลูกได้ ต้องฟ้องร้อง ด้วยหลักฐานทะเบียนสมรสหรือไง ไม่คิดว่าฝ่ายชาย จะมีสิทธิ์ฟ้องหรือไงครับ คุณไม่เสนอตัวมาเป็นทหารบ้างล่ะครับ หรือจะบอกว่า หญิงเป็นฝ่ายเสียเปรียบ หากไม่จดทะเบียน แล้วอย่างนี้เรียกเสมอภาคได้อย่างไร ฟังดูเหมือนจะเอาแต่ได้ ต่างเพศ ก็ทำหน้าที่ ที่เหมาะกับเพศตัวเองไปสิ มาเรียกร้อง เอาอะไรกับใคร?? ทำตัวเองให้เสมอภาค แล้วตั้งกฏเกณฑ์เองได้เลย ตั้งแต่คุณเกิดมาเคยดูทะเบียนบ้าน เพื่อนๆ ก่อนจะคบบ้างไหมครับ จะได้รู้ว่าใครใช้นามสกุลแม่ ใครใช้นามสกุลพ่อ นี่ยังไม่รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ หรือจะจีบมาเป็นแฟน ซึ่งก็ไม่เคยมีใครขอดูทะเบียนบ้านก่อนสักคน จะได้เตรียมตัวจีบ หรือไม่จีบ เพราะเป็นญาติกัน เรื่องเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ มีที่มาที่ไป แต่พวกเรามามองแต่ปลายทาง ซึ่งมันผ่านกาลเวลา ความสลับซับซ้อน หลอมรวมจากสภาพสังคม จนลืมที่มาของการแบ่งนามสกุล เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้ผสมในพันธุ์เดียวกัน ลูกหลานจะปัญญาอ่อน สูญพันธุ์
ไร้สาระ
- Thursday, October 14, 1999 at 14:16:24 (EDT)

รักกันจริง ไม่เห็นน่าจะแคร์เรื่อง นามสกุล เลยนี่นา อย่าคิดว่าเป็นเรื่องกดขี่เลย คิดถึงทายาทไว้
elmo cool <cool!@chaiyomail.com>
- Wednesday, October 13, 1999 at 21:55:47 (EDT)

สนับสนุนค่ะ เนื่องจากเป็นสิทธิเบื้องต้น ที่เราควรจะมีสิทธิ ในการเลือก ส่วนความมั่นคง ในชีวิตครอบครัวนั้น ขึ้นอยู่ที่บุคคล มิใช่นามสกุล
tudtu <niphap@ubctv.com>
- Tuesday, October 12, 1999 at 05:54:48 (EDT)

ไม่เข้าใจว่า จะทะเลาะอะไรกันมากมาย แค่นามสกุล ก็เป็นเพียงสิ่งสมมุติขึ้นมา จะใช้ของสามี ก็ไม่เห็นเป็นไร หรือจะใช้ของตัวเอง ก็ไม่แปลก คิดอะไรกันมาก คนพม่า ยังไม่มีนามสกลุเลย ปัญหาบ้านเมือง มีให้แก้อีกมากมาย ไม่มาแก้ เสียงบประมาณไปกับเรื่อง นามสกุล
???/
- Sunday, October 10, 1999 at 23:21:36 (EDT)

สนับสนุน ผู้หญิงบางคน มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้ นามสกุลเก่า ของตนเอง เพื่อรักษาไว้
supercat
- Saturday, October 09, 1999 at 03:32:50 (EDT)

(quote from K.Jenjira Karlson) : "agree! In scandinavian you can use any surname you want, no problem."
THIS IS THAILAND, NOT SCANDINAVIAN COUNTIRES. HOPE K. JENJIRA UNDERSTAND

Peter Srivaree <s_peter75@hotmail.com>
- Thursday, October 07, 1999 at 15:54:57 (EDT)

คัดค้าน เป็นเรื่องไร้สาระจริงๆ ครับ ไม่น่าจะมาถกเถียงกันเลย ถ้าผู้หญิง อยากจะมีสิทธิ เท่าเทียมชายจริงๆ ต่อไปก็ต้อง ไปคัดเลือกทหาร เหมือนผู้ชายด้วยสิครับ
mix <mixer83@hotmail.com>
- Thursday, October 07, 1999 at 13:49:40 (EDT)

ไม่เห็นด้วย
เด็กธรรมศาสตร์
- Tuesday, October 05, 1999 at 06:07:44 (EDT)

คัดค้านครับ เพราะสังคมในปัจจุบัญ มันก็มีความวุ่นวายมากแล้ว (ขนาดผู้หญิง ใช้นามสกุลของสามี น่ะครับ) แล้วถ้าวันใด ให้ใช้ของใครของมัน วันนั้นเล ก็ยิ่งจะวุ่นวายใหญ่ ขอฝากบอก ท่านที่สนับสนุนครับ ที่เป็นผู้หญิงด้วย ท่านไม่ควรเรียกร้อง สิ่งที่มันมี หรือมันมาแต่ ปู่ยาตายาย ให้มันเปลี่ยนแปลงอะไรง่ายๆ มันเป็นไปได้ยากครับ ........... อย่าลืมครับ ท่านคือผู้หญิง ท่านคือสุภาพสตรี ผู้ควรทนุถนอมยิ่งนัก
สมเกียรติ์ ชินพา <chinpa@chaiyomail.com>
- Tuesday, October 05, 1999 at 05:37:24 (EDT)

สนับสนุน
somsakul saeung <chongbkk@hotmail.com.>
- Monday, October 04, 1999 at 16:03:44 (EDT)

ดิฉันเห็นด้วยกับการที่ผู้หญิง สามารถเลือกนามสกุล หลังแต่งงานได้ ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องถูก กฏหมาย บังคับ
miss suporn huangwatana <kelly@a-net.net.th>
- Saturday, October 02, 1999 at 01:11:50 (EDT)

ขอสนับสนุน ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าหากนับผู้หญิง เป็นเพศหนึ่ง ที่มีสิทธิเสรีภาพ เท่าเทียมกับ เพศอื่นๆ แล้ว การมีสิทธิเลือกใช้นามสกุล ไม่ว่าของตนเอง หรือสามี จะเป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุด
จิตรา เทอดเผ่าพงศ์ <psbf@usa.net>
- Friday, October 01, 1999 at 08:55:52 (EDT)

ไม่ว่าจะใช้นามสกุลใด ก็ตาม มันไม่สำคัญเท่ากับ จิตใจของเราทั้งหลาย
Rosni Benjasuroung <Rosni@hotmail.com>
- Wednesday, September 29, 1999 at 00:06:57 (EDT)

เห็นด้วยกับคุณสมัคร, ครอบครัวควรจะมีเอกภาพ และเริ่มจากการใช้นามสกุลเดียวกัน
Kitti Chinshed <hpckt@egat.or.th>
- Wednesday, September 29, 1999 at 09:42:24 (EDT)

เป็นกลางค่ะ หากใครต้องการ รักษาสิทธิของตน ในการเลือกใช้นามสกุล ก็น่าจะให้อิสระว่า จะเลือกใช้นามสกุลของตน หรือของสามี หรือภรรยาก็ได้ หากใครต้องการ ใช้นามสกุลของสามี เพื่อความกลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของครอบครัว ก็สามารถทำได้ เรื่องสิทธิ ความเท่าเทียมกัน ของหญิงและชาย การกดขี่ทางเพศ เป็นคนละประเด็นกับ การใช้นามสกุลของสามี การที่ครอบครัว จะแตกแยก ก็ไม่ได้เกิดจาก การการที่พ่อ-แม่-ลูก ใช้คนละนามสกุล
สุนันทา กีรติศักดิ์ <poodong@doramail.com>
- Monday, September 27, 1999 at 05:08:38 (EDT)

สนับสนุน เป็นสิทธิพื้นฐานที่ควรจะได้
w.w <wacharee.w@usa.net>
- Sunday, September 26, 1999 at 16:00:55 (EDT)

I supported.
sunny sun <tick@kittymail.com>
- Sunday, September 26, 1999 at 09:25:15 (EDT)

agree! In scandinavian you can use any surname you want, no problem. jj
Jenjira Karlsson <jeab70@hotmail.com>
- Saturday, September 25, 1999 at 13:15:23 (EDT)

สนับสนุน เพราะไม่น่าจะบังคับ ให้คนที่จดทะเบียนสมรส ต้องใช้ นามสกุลฝ่ายชายเท่านั้น น่าจะมีสิทธิ์เลือก ที่จะใช้ หรือไม่ใช้ นามสกุลของสามีก็ได้
นิสา นราวรรณ <r_narawan>
- Friday, September 24, 1999 at 00:30:19 (EDT)

สนับสนุน เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่มีเหตุผล ที่ต้องมาบังคับใช้ นามสกุล กันเลย แต่ถึงยังไง การสามารถเลือกใช้นามสกุล ได้หรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกับ สิทธิสตรีอยู่ดี ผู้หญิง ที่สามารถเลือกใช้ นามสกุลได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ถูกกดขี่ทางเพศ เหมือนกรณีของ คำนำหน้าชื่อ สรุปแล้ว ผมไม่เห็นว่า จะสำคัญตรงไหน แต่ก็ควร ให้สิทธิ ในการเลือกได้
รักเกียรติ เจียเจษฎากุล <RakkiatJ@hotmail.com>
- Thursday, September 23, 1999 at 05:31:30 (EDT)

สนับสนุนให้ผู้หญิง ที่แต่งงานแล้ว สามารถ เลือกใช้นามสกุลเดิม หรือนามสกุลของสามีได้
สุณีย์ บริสุทธิ์ <้hmxxo004@cmu.ac.th>
- Wednesday, September 22, 1999 at 03:59:08 (EDT)

คัดค้าน.. เป็นเรื่องของ ความพอใจ ของแต่ละคู่มากกว่า ลองมัวแต่ทะเลาะกัน ไม่เห็นเกิดประโยชน์อะไร ตกลงกัน ถ้าไม่ให้ยุ่ง บรรพบุรุษทำไว้ ก็ดีแล้ว ไปแก้ให้มันยุ่ง คิดเรื่องอื่นที่ สร้างสรรค์ประเทศ แก้หนี้ต่างชาติ น่าจะดีกว่า อะไรที่ ทำให้คนไทย ทะเลาะกัน อย่าไปทำ.. รักในหลวง ห่วงประเทศ สามัคคีกันดีกว่าครับ ในหลวง ท่านทำเพื่อ คนไทยทุกคน ร่วมใจกันสร้างชาติ พระองค์ท่านจะได้ชื่นใจ คนไทยรักกัน
พิษณุ <uake@hotmail.com>
- Tuesday, September 21, 1999 at 20:49:22 (EDT)

คัดค้าน
นิธิวัชร์ ลุประสิทธิ์ <kongdoku@hotmail.com>
- Tuesday, September 21, 1999 at 08:19:32 (EDT)

สนับสนุนครับ เพราะเนื่องจาก เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล ที่สามารถเลือก ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ มีเสรีภาพ ในการตัดสินใจครับ
najja
- Friday, September 17, 1999 at 13:52:13 (EDT)

สนับสนุน เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่อย่างไรก็ตาม คิดว่าไม่สำคัญ ความสำคัญอยู่ที่ คนคนนั้นมากกว่า
มํญา กิจบูรณะ <Varich42@yahoo.com>
- Friday, September 17, 1999 at 05:07:00 (EDT)

สนับสนุนให้ หญิงมีสิทธิที่จะใช้นามสกุลเดิม แม้ว่าจะแต่งงาน และจดทะเบียนสมรส แล้ว ส่วนลูก นั้น แล้วแต่ว่าจะตกลงกัน ในครอบครัวว่าจะใช้นามสกุลใคร หรือตกลง กันไว้ ในขณะที่ ไปจดทะเบียนสมรส ที่ว่าการอำเภอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความยุ่งยาก ที่จะเกิดมาให้ภายหลัง ซึ่งตามกฎหมาย บุตรสามารถ เลือกใช้นามสกุลได้เอง เมื่อ อายุ 18 ปี ความคิดเห็นเพิ่มเติม :- 1. ผู้หญิง ควรมีสิทธิ เท่าเทียมกับผู้ชาย แม้กระทั่ง การสืบสกุลของ ตนเอง อย่างน้อย ก็เป็นการแสดงความ กตัญญู กตเวธิตา ต่อ วงศ์ตระกูลในทางอ้อม 2. ผู้ชาย และผู้หญิง ควรเคารพ ซึ่งกันและกัน เพราะทั้ง 2 ฝ่าย ต้องให้เกียรติต่อ ครอบครัว ของกันและกัน ซึ่งเมื่อใดชายหญิง ได้เป็นบิดามารดาแล้ว ก็จะเป็นการ รักษาหน้าที่อีกด้วย เพราะ เมื่อบุตรเติบโตขึ้นมา อาจเลือกที่จะใช้นามสกุลเอง แล้วแต่ว่า จะใช้นามสกุลพ่อ หรือนามสกุลแม่ บางทีบุตร ก็ใช้ เป็นตัวตัดสินใจนามสกุล ตามความภาคภูมิใจ ของผู้ที่เลี้ยงดูมา 3. เป็นสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน อันหนึ่ง ซึ่งผู้หญิงควรมีสิทธิ กำหนดทางเลือกของตนเอง ไม่ใช่ต้องถูกริดรอนไป เพราะกฏหมาย
รั้วเหลือง <scuba_z@chaiyo.com>
- Friday, September 17, 1999 at 03:53:12 (EDT)

คนในครอบครัวเดียวกัน ควรที่จะมีนามสกุลเดียวกัน โดยเฉพาะ ที่มีความสัมพันธ์เป็น สามี-ภรรยา, พ่อ-แม่-ลูก การเลือกใช้นามสกุล ควรทำได้ โดยให้เลือกใช้นามสกุล ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งครอบครัว
มนต์ชัย <s_monchai@hotmail.com>
- Wednesday, September 15, 1999 at 08:42:33 (EDT)

Absolutely disagree!!!
Thunya <lersin@yahoo.com>
- Monday, September 13, 1999 at 03:48:19 (EDT)

สนับสนุนครับ
ภัค ราธาศุภนันต์ <pak@mut.ac.th>
- Sunday, September 12, 1999 at 23:24:29 (EDT)

สนับสนุน เพราะเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล โดยปกติ ก็เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ใครเป็นลูกใคร เพราะอย่างน้อย หลักฐานทางราชการ เช่น สูติบัตร หรือทะเบียนบ้าน ก็เป็นการระบุอยู่แล้ว เท่าที่ได้อ่าน ความคิดที่ส่งผ่านมานั้น มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ความคิดที่ว่า "การเลือกใช้นามสกุลนั้น เป็นการเลียนแบบตะวันตก" อยากจะขอแก้ไขสักหน่อย เพราะถ้าศึกษา ทางประวัติศาสตร์ ก็จะทราบว่า การใช้นามสกุลนั้น เริ่มมีใชรัชกาลที่ 6 รวมถึงการใช้นาง นางสาว ก็เริ่มในรัชกาลนี้เช่นกัน ซึ่งพระองค์ท่านก็ยอมรับว่า เพื่อแสดงความ Civilize และก่อนหน้านั้น คนไทยไม่เคยใช้นามสกุล และโดยธรรมเนียมไทย ยอมรับในความเสมอภาคมาตลอด เช่น การให้ผู้หญิง สำเร็จราชการแทน ในรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลปัจจุบัน ในชีวประวัติ ของอดีตกรมหลวงต่างๆ จะอ้างถึงว่า พระมารดา มาจาก เชื้อพระวงศ์ฝ่ายไหนเสมอ ที่กล่าวมานี้ เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมเสียใหม่ แต่ความคิดที่ว่า "ผู้หญิง เป็นสมบัติของผู้ชาย เมื่อแต่งงานแล้วนั้น น่าจะเป็นการรับมาจาก วัฒนธรรมจีนมากกว่า
Kochakorn Kamolthip <phoopor@hotmail>
- Sunday, September 12, 1999 at 04:16:48 (EDT)

ในใจผมก็สนับสนุนนะครับ ที่จะให้ผู้หญิง ที่หลังแต่งงานแล้ว สามารถเลือกใช้นามสกุล ของตนเอง หรือสามีก็ได้ แต่ก็ขอให้คิดถึงเรื่องลูก ด้วยแล้วกันครับว่า ถ้าเกิดมาแล้ว จะให้ใช้นามสกุลไหน เพราะเราต้องยอมรับกันว่า ในสังคมเรา ยึดถือเรื่อง นามสกุล เป็นสำคัญ ถ้าเราไม่ระบุไว้อย่างแน่ชัดแล้ว พี่น้อง อาจจะมีคนละนามสกุลก็ได้ ซึ่งดูแล้วผมว่า มันไม่ค่อยจะเหมาะสมเท่าไหร่นัก ถึงอย่างนั้น ผมก็สนับสนุนความคิด ของคุณสมัครที่ว่า "เรื่องกดขี่ทางเพศ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง นามสกุล ต่อให้แก้กฏหมายนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ ผู้หญิง กับผู้ชายเท่าเทียมกัน" แต่มันอยู่ที่ว่า ผู้หญิงจะทำตัวให้ดูมีค่า หรือไม่ ต่างหาก ต้องแสดงให้ผู้ชายยอมรับ ด้วยความจริงใจ ไม่ใช่ใช้กฎหมายมาบังคับ เพราะสามารถบังคับได้ แต่การกระทำ แต่จิตใจ มันบังคับกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น บรรดาคุณผู้หญิง โปรดรู้ไว้ด้วยว่า ผู้หญิง ไม่ใช่จะมาเรียกร้อง ความเสมอภาค กับเรื่องแค่นี้ แต่จะทำต้องทำตัว ให้มีค่าพอ ที่สังคม จะยอมรับได้ว่า ผู้หญิง ก็มีความสามารถ และเสมอภาค เท่าเทียมกับผู้ชาย
นายทวีพงษ์ <toeshi@hotmail.com>
- Saturday, September 11, 1999 at 01:41:22 (EDT)

สนันสนุนครับ เพราะไม่เห็นจำเป็นที่ ผู้หญิงต้องใช้นามสกุลผู้ชายเลย นามสกุลของพ่อเขาก็ดีอยู่แล้ว แล้วแต่เขาเถอะ เขาก็คนเท่าเรานี้แหละ
นายปิยพงศ์ วรรณนุช
- Friday, September 10, 1999 at 08:34:25 (EDT)

สนันสนุนค่ะ
น.ส.วิภารัตน์ ประสิทธ์
- Friday, September 10, 1999 at 08:32:00 (EDT)

คัดค้าน เหตุผลเหมือนกับ คุณสมัคร "ไม่รู้ว่าเป็นเมียใคร เป็นลูกใคร"
Mr.Chanawoot Jada <b1111059@queen.mut.ac.th>
- Thursday, September 09, 1999 at 07:14:21 (EDT)

สนับสนุน หญิงควรมีสิทธิในการเลือกใช้ หรือไม่ใช้ ก็ได้
นางสาวสกุณา สุมนานนท์
- Thursday, September 09, 1999 at 04:54:04 (EDT)

ยังคงสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. นามสกุลอยู่เหมือนเดิมค่ะ แต่อ่าน comment ต่างๆ แล้ว ก็อดไม่ได้ ที่จะขอร่วม มองต่างมุมด้วยอีกครั้ง ดิฉันเห็นด้วยกับหลายคน ที่บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องของ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ถ้าอยากจะแก้ไข ความไม่เสมอภาคทางเพศ น่าจะไปทำ เรื่องที่มันใหญ่กว่านี้ น่าจะแก้ที่ต้นเหตุ แหม! อยากบอกว่า เห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะ แต่สงสัยจังว่า ถ้าเรื่องนามสกุล นี่มันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่พวกคุณว่า เหตุไฉน เรื่องเล็กๆ อย่างนี้ ถึงมีคนคัดค้านกันเยอะจัง คุณคัดค้านเพียงเพราะเห็นว่า มันเป็นเรื่องเล็ก จริงๆ น่ะหรือ?
ณัฐยา บุญภักดี <nattaya@popcouncil.th.com>
- Thursday, September 09, 1999 at 04:41:50 (EDT)

สนับสนุน เพราะการไม่ให้สิทธิ เป็นการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง
ณัฐยา บุญภักดี <nattaya@popcouncil.th.com>
- Thursday, September 09, 1999 at 04:16:21 (EDT)

สนับสนุนให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกใช้นามสกุลของตนเอง หรือของคู่สมรสก็ได้ ตามความพอใจ เพราะผู้หญิง ควรได้มีโอกาสเป็นผู้เลือกบ้าง ไม่ใช่เป็นเพียง ผู้ถูกเลือก คนรักกัน ไม่ได้อยู่ที่ นามสกุล ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และในบางครั้ง ครอบครัวของฝ่ายหญิง อาจมีทายาทเพียงคนเดียว สำหรับสืบสกุล จึงควรให้ ความเสมอภาค ในเรื่องนี้ แก่สตรีบ้าง
กชกร รัตนกุณฑี <koctchakorn@hotmail>
- Wednesday, September 08, 1999 at 05:40:51 (EDT)

สนับสนุน
paranee pongkeow <p_pongkeow@hotmail.com>
- Wednesday, September 08, 1999 at 05:30:00 (EDT)

การเลือกใข้นามสกุล น่าจะเป็นที่ตกลงกันได้ ระหว่าง คู่สามีภรรยา เพราะว่า ไม่ใช่สิ่งที่ยืนยันว่า สามีภรรยา จะอยู่กันได้ยึดยาว สิ่งสำคัญของการอยู่ร่วมกันคือ ความเข้าใจกัน การพูดคุยกันได้ นั่นแสดงให้เห็นว่า ความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย เป็นอย่างไร และการยอมรับฟังข้อคิดเห็น ก็ย่อมแสดงให้เห็น เช่นเดียวกันว่า มีความเข้าใจกัน มากเพียงใดดังนั้นนามสกุล ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใหน ก็จึงไม่สำคัญเท่ากับ ความเข้าใจ
sangla <skamman>
- Wednesday, September 08, 1999 at 04:49:12 (EDT)

สนับสนุนให้ผู้หญิง เลือกนามสกุล หลังแต่งงานได้ครับ ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ใช่สมบัติของสามี
ศุภเดช อุษยาพร <supadesh_ussayaporn@notes.seagate.com>
- Tuesday, September 07, 1999 at 04:05:50 (EDT)

สนับสนุนค่ะ เพราะถ้ากฎหมาย อนุญาต ให้ผู้หญิงเลือกแล้วล่ะก็ ไม่เห็นมีอะไรเสียหายจากเดิมนี่คะ ใครที่ใคร่ใช้นามสกุลเดิม ก็ใช้ไป ใครใคร่ใช้นามสกุลสามี ก็ทำได้ การเปิดโอกาสให้เลือกมากขึ้น ย่อมดีกว่าบังคับ แน่นอนล่ะค่ะ
สุพีชา เบาทิพย์ <supecha@hotmail.com>
- Monday, September 06, 1999 at 08:09:21 (EDT)

ผมมีความเห็นว่า ถ้าเรื่องของสามี และภรรยา ถ้าไม่มีปัญหาในแนวนอน ในแนวตั้ง (เรื่องอื่นๆ) ก็น่าจะ ok...........
burapa panoinon <burapafarm@yahoo.com>
- Monday, September 06, 1999 at 07:36:29 (EDT)

อยากใช้นามสกุลเดิม
นีรวรรน เจริญทรัพ
- Monday, September 06, 1999 at 04:59:01 (EDT)

สนับสนุน
Saowanee Sirikittisup
- Monday, September 06, 1999 at 02:26:15 (EDT)

สนับสนุนค่ะ
W Jintana <W_Jintana@th.ims-us.com>
- Monday, September 06, 1999 at 01:38:56 (EDT)

เห็นด้วยค่ะ ที่ผู้หญิง จะเลือกใช้นามสกุลได้ เป็นสิทธิธรรมดานี่เองค่ะ
กอบกาญจน์ ตระกูลวารี <sahathai@mozart.inet.co.th>
- Monday, September 06, 1999 at 00:55:17 (EDT)

คัดค้าน
นายสุวพันธุ์ เนียมฤทธิ์ <suwapant@yahoo.com>
- Sunday, September 05, 1999 at 09:06:12 (EDT)

สนับสนุนครับ ควรจะแล้วแต่ฝ่ายหญิง จะใช้ หรือไม่ใช้ก็ได้ เพราะอาจมีคนที่อยากใช้ก็มี ไม่อยากใช้ก็มี เป็นสิ่งสมมติเอง แก่นแท้ คือตัวคนคนนั้นๆ มากกว่า
เอกรินทร์ <aek123@hotmail.com>
- Sunday, September 05, 1999 at 07:10:47 (EDT)

คัดค้าน
วิวัฒน์ ตันติสังวรากูร
- Sunday, September 05, 1999 at 02:54:03 (EDT)

I agree that Thai women have right to choose their own surname.
Ruchada Paradonsaree <ruchada@hotmail.com>
- Friday, September 03, 1999 at 06:19:20 (EDT)

สนับสนุน เพราะไม่ว่า จะใช้นามสกุลของสามี หรือเดิมของตัวเอง ก้อดีมันก็เป็นสิทธิ ของผู้หญิง เพราะอนาคตไม่แน่นอน เผื่อวันข้างหน้า อยู่กันไม่ได้ก็จะได้ไม่มีปัญหาอื่นๆ ตามมา
ไพรทูลย์ สุขใจ <pritool@thaimail.com>
- Thursday, September 02, 1999 at 08:18:37 (EDT)

ดิฉันคิดว่า ผู้หญิงที่สมรสแล้ว ควรจะใช้นามสกุลเดียวกับ สามี และบุตร เพราะไม่ก่อให้เกิดความสับสน และขณะเดียวกัน ก็เป็นการเตือนให้สตรี ได้ทราบถึงสถานะภาพของตน
จันทร์พร รัตนเดชตระกูล <mkt029@hotmail.com>
- Wednesday, September 01, 1999 at 21:45:40 (EDT)

ผมเห็นด้วยกับคุณสมัคร ที่บอกว่า "กฎหมายเดิม ดีอยู่แล้ว ถ้าผู้หญิง อยากใช้นามสกุลเดิม ก็ควรวงเล็บเอาไว้"
ภาสกร ปาละกูล <phasakorn@maccall.co.th>
- Tuesday, August 31, 1999 at 23:41:46 (EDT)

คัดค้าน
วิษณุ <ine20594@ine.inet.co.th>
- Monday, August 30, 1999 at 10:23:37 (EDT)

สนับสนุน เนื่องจากไม่เห็นด้วยที่ว่า การใช้นามสกุลฝ่ายสามี จะบ่งบอกให้ใครเห็นว่า ครอบครัวนั้น "รัก" และให้เกียรติกัน มากแค่ไหน แต่มันอยู่ที่ การกระทำ ของคนในครอบครัวนั้น ๆ มากกว่า การที่จะทำให้ ผู้หญิง สามารถเลือกใช้ได้นั้น ไม่ได้หมาย ความว่า "ต้อง" ใช้นามสกุลเดิมทุกคน ซะเมื่อไหร่ ใครใคร่ที่จะแสดงให้เห็นว่า คุณเคารพเทิดทูนสามีคุณ โดยการใช้นามสกุลของสามี ก็สามารถทำได้ ก็ทำไปสิ ส่วนคนที่ยังจงรักภักดี เคารพนับถือ และภาคภูมิใจกับ บรรพบุรุษของตัวเอง ก็สามารถทำได้ ก็ทำไป แต่เรื่องความรักในครอบครัว มันคนละเรื่องกัน
ศรุตา กิติโสภากูล
- Monday, August 30, 1999 at 04:39:12 (EDT)

สนับสนุน เพราะการที่เปลี่ยนนามสกุล และคำนำหน้าชื่อ แล้วทำให้ ขาดสิทธิบางอย่างในสังคมไป จะมีใคร เคยคิดบ้างหรือเปล่า ว่าเวลาที่ ผู้หญิงคนหนึ่ง ไปสมัครงาน แล้วบางแห่ง จะดูที่ คำนำหน้า ถ้าแต่งงานแล้ว แสดงว่า มีภาระในครอบครัวเพิ่มขึ้น ฉะนั้นการพิจารณาเข้าทำงาน ก็ต้องคิดอีกที หรือบางคน ที่หย่าขาดจากสามี เนื่องจาก ความบกพร่องบางอย่าง ของสามีตัวเองแล้ว เช่น ทำร้าย ร่างกาย หรืออื่น ๆ เหตุผลใดก็ตาม เมื่อผู้หญิงหย่าขาดแล้ว ต้องใช้คำนำหน้าว่า นาง และนามสกุล ของสามีต่อไป และส่วนใหญ่ คนจะมองว่า เหตุที่หย่านั้น ต้องเป็นความบกพร่อง ของผู้หญิงเสมอ ในขณะที่ ผู้ชาย ก็ยังลอยนวลอยู่ หน้าตาเฉย หรือบางคน ก็อาจจะคิดในแง่อื่น ๆ ซึ่งก็สรุปได้ว่า เป็นการประจานผู้หญิง ไปจนตายนั่นแหละ......
น้องนู๋
- Monday, August 30, 1999 at 04:23:45 (EDT)

สนับสนุนค่ะ เพราะเห็นว่า การเลือกใช้นามสกุล หลังแต่งงาน น่าจะเป็น สิทธิ มากกว่าจะเป็น หน้าที่ ที่ผู้หญิงจะต้องทำต่อไปค่ะ
Cartoon <s_phannee@hotmail.com>
- Monday, August 30, 1999 at 02:01:54 (EDT)

I agree
jomyuth <jomyuth@hotmail.com>
- Sunday, August 29, 1999 at 16:29:39 (EDT)

สนับสนุน พรบ.ฉบับนี้ค่ะ ผู้หญิงควรมีสิทธิ์ที่จะเลือก ใช้หรือไม่ใช้ นามสกุลของสามี ไม่คิดว่า การไม่ใช้นามสกุลของสามี จะเป็นสาเหตุของ ความแตกแยก ในครอบครัว ถ้ามี ถือว่า เป็นเรื่องที่ไร้สาระ
saranthan sasithanakornkaew <fhumsts@nontri.ku.ac.th>
- Sunday, August 29, 1999 at 12:44:37 (EDT)

สนับสนุน มันเป็นสิทธิที่ผู้หญิงสามารถทำได้ ในต่างประเทศ ก็มีการใช้กัน อย่างในประเทศญี่ปุ่น
หมอ
- Sunday, August 29, 1999 at 04:34:20 (EDT)

สนับสนุน
อารีย์ สุนทรศร
- Sunday, August 29, 1999 at 01:52:13 (EDT)

สนับสนุน เพราะว่า เราน่าจะมีสิทธิที่จะเลือกใช้ นามสกุลไหนก็ได้ ตามที่เราพอใจ
นางภัทรียา ภูษิต <pphusit@hotmail.com>
- Saturday, August 28, 1999 at 05:27:05 (EDT)

คัดค้าน เพราะ เมื่อคนเราแต่งงานกันไปแล้ว ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน และทั้งสอง ยินยอมที่จะ ใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ถ้าไม่ใช้นามสกุลเดียวกัน จะมาแต่งงานกันทำไมละครับ
ณัฐพงศ์ จริยะรังษิธรรม <pingb@chaiyo.com>
- Friday, August 27, 1999 at 22:28:24 (EDT)

สนับสนุน เพราะถือเป็นสิทธิของบุคคล ที่จะสามารถเลือกได้ เพราะแม้จะทำการสมรส ยังสามารถที่จะเลือกแต่งได้ แต่ควรมีมาตรการเกี่ยวกับ นามสกุลของทายาทที่เกิด ว่าจะให้ใช้ทางฝ่ายบิดา หรือมารดา แต่ผมมีความเห็นว่า น่าจะเป็นของบิดา เพื่อเป็นการสืบสกุล
เผดิมชัย กุลพิบูลย์
- Friday, August 27, 1999 at 06:21:13 (EDT)

สนับสนุน
ศิริเพ็ญ คุ้มมี
- Thursday, August 26, 1999 at 23:36:56 (EDT)

คัดค้านค่ะ เพราะสมควรให้เกียรติต่อสามี ภายหลังจากแต่งงานแล้ว ประกาศให้โลกรับทราบค่ะ
นงลักษณ์ ฟักบัว <anarong2@hotmail.com>
- Thursday, August 26, 1999 at 23:31:54 (EDT)

I agree with Thanawadee's ideas. Women should have right to make their own decision of using the lastname. If they proud of themselves and if they are so proud of their own family, they should have a chance to keep their own last name. It is the human right, not just an argument between men and women. Why do men want to keep their own lastname and want women to use theirs? The resons they provide will be the resons that women have the same. We should give both men and women opportunity to choose which one they want. It is not a big deal actually. The constitute should be finished with the result of agreement that allow both men and women choose what ever they want. The married couples will be the people that make agreement between themselves before getting married.
Kobkhan Gubtapol <kgubtap@clemson.edu>
- Thursday, August 26, 1999 at 14:21:09 (EDT)

อ่านหลายๆ คนแล้วเหมือนกับว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ที่ภรรยาจะใช้นามสกุลใคร ผมก็ว่าเช่นนั้น แต่อยากถามความเห็นเพิ่ม อีกหน่อยครับว่า ลูกๆ ควรใช้นามสกุลพ่อ หรือไม่จำเป็น ห่วงเรื่อง การแต่งงาน ในสายพันธุ์เดียวกัน ปกติลูกของน้องสาว แต่งงานกับลูกพี่ชาย ได้ใช่ไหม เพราะคนละนามสกุล???
นายหนุ่ม (=โสด) รักนางสาว
- Wednesday, August 25, 1999 at 14:03:18 (EDT)

I agree
thongkong
- Wednesday, August 25, 1999 at 13:43:52 (EDT)

คัดค้านครับ
สมศักดิ์ <somsak@e-tecth.ac.th>
- Wednesday, August 25, 1999 at 07:48:12 (EDT)

Why don't people rather focus on more important issues than keep spreading such a topic out. I can't see any matter with the surname at all. Actually it should be the subject for the couples. They should have their own choice to do either change or keep it. I don't think only keep the surname could make female change their attitude toward their life and their society. If they want to show their power to the world, there are millions of way to do so..certainly not by the surname...It could have ritual and legal affects anyway. Must think very hard for that!!
Apinpus Rujiwatra <apinpus.rujiwatra@linacre.ox.ac.uk>
- Wednesday, August 25, 1999 at 07:14:36 (EDT)

ทั้งสนับสนุน และคัดค้าน
หมวย แซ่ตั้ง
- Wednesday, August 25, 1999 at 02:37:51 (EDT)

คัดค้านครับ
อุ่ยเสี่ยวป้อ <thanad42@hotmail.com>
- Tuesday, August 24, 1999 at 02:51:13 (EDT)

ผมคิดว่า ไม่ใช่ประเด็นอะไรใหญ่โต ที่จะต้องมา ถกเถียงกันเรื่องนี้ มันเหมือนกับ เวลาคุณจะดูหนัง อาจจะดูหนังที่คุณชอบ หรืออาจจะดูหนังที่แฟนคุณชอบ มันเป็นเรื่องของ ข้อตกลงระหว่างกันและกัน ครับ
kosit <ko_ok26@hotmail.com>
- Monday, August 23, 1999 at 06:34:47 (EDT)

สนับสนุน ควรให้แต่ละครอบครัว ตัดสินใจกันเอง ก็ไม่เห็นจะเป็นไร ภรรยาใคร สามีใคร ลูกใคร ก็เปิดเผยกันอยู่แล้วในสังคม ตัวอย่าง ญาติของผมผู้ชาย ยังใช้สกุลของฝ่ายหญิงเลย
สมภพ ลีตะชีวะ <stslt@mahidol.ac.th>
- Monday, August 23, 1999 at 05:46:17 (EDT)

เห็นด้วยค่ะ
ลักขณา ตันติเมฆิน <luckana@pacific.co.th>
- Sunday, August 22, 1999 at 08:30:14 (EDT)

สนับสนุน ใครอยากทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องโดนบังคับ ให้เสรีในการตัดสินใจ
sutatip caye <sutatip@chaiyomail.com>
- Sunday, August 22, 1999 at 00:42:54 (EDT)

ผมเฉยๆ ครับ.. ถ้าเกิดผู้หญิงอยากทำอะไร ก้อทำไปสิครับ เรื่องอย่างนี้ไม่น่า serious เลย.. เคารพซึ่งกันและกัน ก็ ok
หนูเจี๊ยบ
- Saturday, August 21, 1999 at 23:58:30 (EDT)

เรื่องที่สำคัญกว่านี้ มีอีกนับหมื่น ทำไมมาเสียเวลา ใส่ใจกับเรื่องไร้สาระ ทำไมสตรี ไม่เคยเรียกร้อง ให้เกณฑ์มาเป็นทหาร เหมือนผู้ชายบ้าง หรือต้องการเพียงสิทธิ แต่ไม่ต้องการหน้าที่ อย่าเห่อตามฝรั่งตะวันตก ให้มากนักเลย สังคมไทยมีวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของตนเอง
ชาคร บุนนาค <anuchart@ksc.th.com>
- Saturday, August 21, 1999 at 22:58:25 (EDT)

เจ้าตัวควรมีสิทธิในการดำเนินชีวิต ของตนเอง การสืบสายสกุลนั้นๆ อยู่ในดุลยพินิจ ไม่ควรบังคับ ใช้สกุลของใครทั้งสิ้น เว้นแต่จะต้องการเอง สิ่งที่นักกฎหมาย ต้องคำนึงคือ สถานะของสตรี ที่มีบุตร โดยไม่จดทะเบียนสมรส ควรใช้ คำนำหน้าชื่อ อย่างไร จากคนแก่ยุค 2000ค่ะ
jarunee jitkampon <jjarunee@yahoo.com>
- Saturday, August 21, 1999 at 21:51:49 (EDT)

ขอแสดงความสนับสนุน และขอติเตียนคุณสมัคร สุนทรเวชหน่อยว่า เป็นคนมีจิตคับแคบ ไม่เปิดกว้างสำหรับคนรุ่นใหม่ คนแบบนี้น่ารังเกียจที่สุด เค้าพูดถึง พรบ. กัน เมื่อไหร่ นักการเมืองแบบนี้ จะหมดไปจากเมืองไทยเสียทีนะ ไม่มีเอาคำว่า เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา น่าขยะแขยงจริงๆ.
Audy Phuket <audy_310@hotmail.com>
- Saturday, August 21, 1999 at 09:20:10 (EDT)

คัดค้าน
นางบุญน้อม อริยานันทพงศ์ <booari@kku.ac.th>
- Friday, August 20, 1999 at 03:09:49 (EDT)

ใช้นามสกุลตามสามีอย่างเดิมก็ดีแล้ว จะได้ไม่สับสน วุ่นวาย พ่อ แม่ ลูก ก็ควรจะใช้นามสกุลเดียวกัน เพราะทำให้ไม่ยุ่งยาก ในการตรวจสอบ ทางทะเบียนราษฎร์ หรือเหตุผลด้านกฎหมาย บางที การที่เราใช้นามสกุลเดียวกัน ทั้งครอบครัว ก็ดูอบอุ่นดี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อร
- Friday, August 20, 1999 at 01:53:06 (EDT)

ก็จริงอยู่ที่ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก เมื่อเทียบกับปัญหาอื่น อีกมากมาย โดยเฉพาะ ปัญหาปากท้องของประชาชน แต่ปัญหาเล็ก ๆ เหล่านี้ก็ถูกละเลยมาตลอด และเราจะยอมให้ถูกละเลยต่อไปเรื่อย ๆ เพียงเพราะว่ามันเล็กเหรอคะ ดิฉันว่า ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นปัญหาแล้ว ก็ต้องแก้ไขทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ การให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกที่จะ ใช้นามสกุลสามี สอดคล้องกับ การไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่ก็อาจทำให้เกิดปัญหา การแต่งงานกัน ระหว่าง สายเลือดที่ใกล้ชิดกันได้ ดังนั้น ผู้มีอำนาจหน้าที่ในบ้านเมือง ควรจะพยามยาม หาข้อสรุปที่ชัดเจน รัดกุม และคำนึงถึงเหตุผลในหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ไม่ใช่ปล่อยไปตามเรื่อง ไม่ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมซะที
ดักแด้ <khaikem507@hotmail.com>
- Thursday, August 19, 1999 at 22:40:49 (EDT)

สนับสนุน กับแนวความคิดนี้ด้วยครับ ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน สามารถที่จะมีสิทธิ์ เลือกใช้นามสกุล ผมเห็นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญมากนัก ในการใช้นามสกุล ของฝ่ายสามีเพียงอย่างเดียว ควรให้ผู้หญิงมีสิทธิ์เลือกเอง แม้ว่าผม ยังไม่เคยแต่งงานมากก่อน แต่ก็อยากแสดงความคิดเห็นตรงนี้ จาก
สมชาย อุบลวรรณา
- Thursday, August 19, 1999 at 21:55:56 (EDT)

ก็ดีครับ! เป็นเรื่องสิทธิของแต่ละบุคคล แต่จะต้องดูว่า เพื่ออะไร เพราะอะไร เจตนาดี หรือ ไม่ดี ภรรยา คำนี้มันมีความอ่อนหวานในตัว ถ้าคิดจะเป็นภรรยาแล้ว ไม่จำเป็นเรื่องนามสกุล แต่...ขึ้นอยู่กับจิตใจ และใช้คำว่า "ภรรยา" มันแปลกดีครับ แต่งงานเพื่ออะไร
เข็มขัดสนาม <pinyoi@yahoo.com>
- Thursday, August 19, 1999 at 04:03:58 (EDT)

คัดค้านเลยค่ะ เรื่องไร้สาระ นามสกุลไหนก็ไม่เห็นแปลกเลย ไม่มีนามสกุลนี่สิ แปลกมาก... ถึงมากที่สุด คุณสุภาพสตรีทั้งหลาย...
นางสาวศิริรักษ์ สะตะ <siriraklek@hotmail.com>
- Wednesday, August 18, 1999 at 20:55:45 (EDT)

สนับสนุน ให้สตรีมีสิทธิเลือก ใช้นามสกุลเดิม หลังการสมรส
น.ส อังคณา ติยะวรบุญ <angkanati@hotmail.co.th>
- Wednesday, August 18, 1999 at 09:11:03 (EDT)

สนับสนุนที่สามารถเลือกใช้นามสกุลได้ เพราะว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ของคนเรา
ศยามล ลิ้มตระการพงษ์ <sayamal@chaiyo.com>
- Wednesday, August 18, 1999 at 09:07:51 (EDT)

สนับสนุน ที่สามารถเลือกใช้นามสกุลของตนเอง/สามี
ศยามล ลิ้มตระการพงษ์
- Wednesday, August 18, 1999 at 09:05:02 (EDT)

สนับสนุนค่ะ เพราะกฏหมายเดิม มาจากความคิดเห็นของผู้ชาย ที่พยายามอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้สิทธิมากกว่าสตรีเพศ และก็มีแต่ผู้ชายเท่านั้น ที่ไม่เห็นด้วยกับ พรบ.ฉบับนี้ และที่สำคัญที่สุด เพื่อให้เกิด ความเสมอภาคกันโดยแท้จริง
นางสาวเยาวนุช ขุมกระโทก <ynuch@nsrc.sut.ac.th>
- Wednesday, August 18, 1999 at 00:55:25 (EDT)

I disagree with attitude.Because if woman use ounsurname,it will confuse thatwho is who.
Ray <thebanky@hotmail.com>
- Tuesday, August 17, 1999 at 20:11:15 (EDT)

สนับสนุน ให้ใช้นามสกุลตัวเองได้ค่ะ และอยากให้เพิ่มกฏ ข้อบัญญัติ ที่ว่า ผู้หญิงไม่ควรใช้ นาง กับนางสาว คะ อยากให้เป็น คุณ แทน สิทธิจะได้เท่ากับผู้ชายไงค่ะ
อลิสา วัฒนจิรกุล <alisa_aeiw>
- Saturday, August 14, 1999 at 03:58:18 (EDT)

i agree
nongnut bumrungkun <1244@thaimail.com>
- Friday, August 13, 1999 at 12:40:44 (EDT)

สนับสนุน ไม่ใช่เพราะการเรียกร้อง การมีสิทธิเท่าเทียมกัน ของเพศหญิง แต่เพราะว่าสมัยนี้ เรื่องการใช้นามสกุลใครนั้น ไม่สำคัญ สามีบางคน อาจจะใช้นามสกุลภรรยาได้ ถ้าเขาต้องการ และภรรยา ก็อาจจะต้องการ ใช้นามสกุลเดิมของตนเองได้เช่นกัน ดังนั้น สังคมไม่น่าจะ กำหนดกฏเกณฑ์เหล่านี้ขึ้นมา เนื่องจากจะใช้นามสกุลใคร ก็เป็นความสมยอมของ ทั้งสามี และภรรยา ที่จะตกลงร่วมกัน ซึ่งไม่น่าจะทำให้เกิดความสับสน หรือปัญหาภายในครอบครัวได้ เช่นทุกวันนี้ ก็มีหลายคู่ ที่มีการทดลองอยู่ร่วมกัน ก่อนแต่งงาน ซึ่งก็เริ่ม เป็นที่ยอมรับ ของสังคมบ้างบางส่วน ถ้าคิดถึงความเสื่อมเสียแล้ว กรณีหลัง น่าจะเสียหายมากกว่า
อมรเศรษฐ์ สิมะเสถียร amsim@access.inet.co.th>
- Thursday, August 12, 1999 at 12:22:51 (EDT)

Agree with Tanawadee Tajene
Napapun Chaiwong nchaiwon@metz.une.edu.au
- Thursday, August 12, 1999 at 03:40:19 (EDT)

เปลี่ยนนามสกุลดีกว่าครับ
Boon
- Thursday, August 12, 1999 at 01:25:20 (EDT)

หนูนก ว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ไร้สาระ แต่ก็ไม่ได้มีสาระมากมายนัก เป็นเรื่องของความรู้สึก ของเพศหญิงหลายๆ คน ด้วยที่ว่า ถ้าแต่งงานแล้ว ต้องใช้นามสกุลสามี แล้วถ้าหย่าแล้วล่ะ กลับไปใช้นามสกุลเดิม แล้วคนอื่นที่เขารู้ล่ะ เขาจะคิดยังไง อ้อ แม่นางนี่แต่งงานกับนายนี่แล้วหย่าแล้ว แล้วมาแต่งกับนายนี่อีกอย่างนั้นหรือ ในขณะที่ผู้ชาย แต่งแล้วหรือหย่าแล้ว มันไม่ฟ้องอะไรเลย เป็นเพราะสังคมมองว่า ผู้ชายไม่เสียหาย ทำอะไรก็ได้ แต่ถ้าผู้หญิงแต่งงานบ่อยๆ ไม่ดี โดนหาว่าเป็นพวก-่าน หรือเปล่า ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความหมายนั้นเสมอไป แต่ที่เราอยากให้แก้มากกว่าก็คือ คำนำหน้าชื่อมากกว่า น่าจะทำให้เหมือนๆ กัน คือไม่ต้องฟ้องว่า เป็นนาง หรือนางสาว ในขณะที่ผู้ชาย ไม่ต้องอีกแล้ว แต่ถ้าคุณมีดีกรีนำหน้าเป็น ดร. หรือมีตำแหน่งเช่นเป็น ศจ. อะไร คำนำหน้าแสดงสถานะการสมรสของคุณ ก็จะหายไป ซึ่งเราว่า ในเมื่อการไม่แสดงสถานะ มันไม่มีผลเสียอะไร ก็ควรจะทำให้มันเหมือนๆ กันทั้งหญิง และชาย กลับมาในเรื่องของนามสกุลอีกครั้ง เราไม่อยากบอกว่าผู้หญิงทั้งร้อย อยากใช้นามสกุลเดิม บางคน อาจจะอยากใช้ นามสกุลสามีก็ได้ ดังนั้น ควรให้สิทธิเขามีโอกาสเลือกดีกว่า อย่าไปบังคับ หรือตั้งกฏเกณฑ์ที่มันตายตัวเลย
หนูนก
- Wednesday, August 11, 1999 at 20:41:57 (EDT)

สนับสนุน ผู้หญิงควรมีสิทธิ เลือกใช้นามสกุลได้ หากคิดว่าควรใช้นามสกุลฝ่ายชาย เพื่อบอกสถานภาพ แล้วฝ่ายชาย ไม่ควรเปลี่ยนนามสกุล หรือมีสิ่งบอกสถานภาพบ้างหรือ?
suree
- Wednesday, August 11, 1999 at 11:13:27 (EDT)

คัดค้าน
มะโนธรรม พงษ์อำไพ
- Wednesday, August 11, 1999 at 07:17:22 (EDT)

Support.
Jerasak jerasak@usa.net
- Wednesday, August 11, 1999 at 01:05:37 (EDT)

หลังจากแต่งงาน ควรจะเปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากว่า จะได้ไม่เกิดปัญหา เวลามีบุตร
moo kunwadee29@hotmail.com
- Monday, August 09, 1999 at 02:15:46 (EDT)

ขอเสริมคุณ chakrit ถ้าชายที่ยังไม่แต่งงาน ให้ใช้คำนำหน้าว่า 'นายหนุ่ม' ถ้าแต่งแล้ว เหลือแค่ 'นาย' แบบของฝ่ายหญิง ฮ่าๆๆๆ เห็นไหมว่า จริงๆ แล้ว คำนำหน้าฝ่ายชาย เขาใช้นาย ซึ่งหมายถึง ชายที่ไม่โสด มาตั้งนานแล้ว ฝ่ายชาย น่าจะเรียกร้องกฏหมาย ให้ใช้คำว่า นายหนุ่ม กับชายโสด จะได้เสมอภาคทางเพศ มาเรียกคนโสดว่า นาย (ซึ่งหมายถึงแต่งงานแล้ว เอ๊อ... อย่างงี้ได้งาย) รวมความแล้ว พ้มว่า เรื่องนี้ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย
นายหนุ่ม (=โสด) รัก นางสาว
- Sunday, August 08, 1999 at 09:39:26 (EDT)

สนับสนุนควรเลือกใช้ได้ แต่ไม่ need เพราะ ต่างชาติ ชาติไหนเค้าก็ไม่เห็นเดือดร้อนเลย เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ดีกว่ามั้ง
นราภรณ์ ศุภมิตรมงคล naraporn.s@usa.net
- Sunday, August 08, 1999 at 08:00:17 (EDT)

คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่า ไร้สาระเอามากๆ เป็นความคิดเห็นที่ตื้นมากๆ มันไม่เกี่ยวกับ การดูถูกเหยียดหยาม ลดค่าของเพศหนึ่งเพศใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่จะใช้ ระบุสถานะทางสังคมของ เพศหญิงต่างหาก ว่าได้แต่งงานแล้ว มีสามีหรือยังโสด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ถ้าอยากใช้นามสกุลเดิม ก็ควรต่อท้าย ไม่เช่นนั้น สังคมส่วนรวม จะทราบได้อย่างไรว่า คุณเป็นญาติ หรือภรรยาใคร สำหรับผม จริงๆ แล้ว จะใช้นามสกุลของภรรยา หลังแต่งงาน นำหน้าก็ยังได้ แต่จะไม่ใช่จากเหตุผลที่ไม่เข้าท่า เช่นเดียวกับ การเรียกร้องให้เปลี่ยน คำนำหน้าเพศหญิง ซึ่งไม่เกี่ยวกับ การไม่เท่าเทียมใดๆ ทั้งสิ้นอีกเช่นกัน เพราะมันเป็นสิ่งที่ ใช้บอกสถานะทางสังคมต่างหาก หากต้องการที่จะเท่าเทียมอย่างแท้จริง ฝ่ายชายถ้ายังไม่ได้แต่งงานแล้ว จะขอใช้คำนำหน้าว่า นางสาวบ้าง หรือหากเมื่อแต่งงานไปแล้ว จะขอใช้เป็นนางบ้าง คุณจะไม่รู้สึกอะไร ในปัญหาเหล่านี้บ้างเลยหรือ กฎเกณฑ์ของสังคม ผมว่า ได้รับการทดสอบมานานแล้ว บางอย่างอาจไม่ดีจริงๆ ก็จำเป็นที่จะต้อง เปลี่ยนแปลงแก้ไข ส่วนในสิ่งที่กระทบ ต่อความถูกต้อง ความเข้าใจพื้นฐานแล้ว ต่อสังคมส่วนรวม โดยมีผลเสีย มากกว่าผลดี ก็ควรจะได้รับการไตร่ตรอง ให้มากกว่าอคติทางเพศ
chakrit kumwong chkrit@hotmail.com
- Sunday, August 08, 1999 at 07:06:06 (EDT)

สนับสนุน
สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล
- Sunday, August 08, 1999 at 05:40:42 (EDT)

ผมคิดว่าบ้านเราอยู่กันอย่างนี้ก็ปกติสุขแล้ว มันเพราะอะไร ก็เพราะเราเป็นเรา คนไทย ในสังคมความเป็นไทยมาอย่าง มีวัฒนธรรม เป็นของตนเอง ไม่ใช่ว่า ผมใช้นามสกุลของภรรยา หรือเพราะภรรยา มาใช้นามสกุลของผม แล้วทำให้เรา หรือคนทั้งคู่เป็นคนดีในสังคม และนำพาประเทศชาติ ให้เจริญทางศีลธรรมไปได้มากกว่านี้ ทำไมเพิ่งมาคิดกันตอนนี้ว่า ผู้หญิง อยากมีสิทธิ เลือกใช้นามสกุลของตัวเอง เพราะอยากเอาตามอย่าง โลกตะวันตก ใช่หรือไม่ หรืออยากแต่งแล้วหย่า แล้วมาแต่งกันใหม่ ได้หลายๆ ครั้งอย่างเขา โดยไม่มีใครรู้ว่า แต่งมาแล้วกี่ครั้ง จึงต้องใช้นามสกุลของตนเอง ผมคิดว่า ถ้ายังครองรักอยู่ด้วยกันได้ อย่างมีความสุข ก็น่าจะใช้นามสกุลของสามี ซึ่งบ่งบอกได้ถึง รุ่นลูกหลานในอนาคตว่า เป็นเชื้อสายจาก สกุลใด และคงความเป็นปึกแผ่นของวงศ์ตระกูล สืบไปได้ อันก่อเกิด ความภาคภูมิใจ ในสายเลือด เหมือนที่ เราคนไทย ภาคถูมิใจในความเป็นไทย มาจนทุกวันนี้ ซึ่งชาติตะวันตกบางชาติ ที่เรียกตัวว่า เจริญแล้ว ไม่เคยมี เนื่องจากชาติเขา ไม่มีประวัติศาสตร์ และต้นตระกูล ที่แน่ชัดเป็นของตนเอง เพราะเขา อาจใช้การไล่ฆ่า และกวาดล้างชนพื้นเมือง ของดินแดนนั้น เพื่อชิงที่ดิน แลัวคนจากทั่วทิศ ก็เข้ามาปนเป อยู่ด้วยกัน จึงไม่มีใครสนใจต้นตระกูลใคร เพราะมันคือปมด้อย หรืออีกหน่อยใน 3-4 รุ่นถัดไป อาจมีโอกาสที่ ลูกหลาน จากสายโลหิตเดียวกัน มาสมรสอยู่ด้วยกัน อันจะทำให้ ยิ่งเกิด สายพันธุกรรมที่ด้อยลงเรื่อยๆ จากหลักการสืบพันธุ์ร่วมสายโลหิตทางชีววิทยา ซึ่งสิ่งนี้เอง ที่มนุษย์คิดค้น เป็นแนวทางป้องกันเผ่าพันธุ์ตัวเองได้ โดยที่สัตว์ร่วมโลกอื่นๆ ทำไม่ได้ ผมจึงคิดว่า เราอยู่ด้วยกันในชาติ ได้อย่างสงบสุข ตามวิถีทางของเรา ไม่จำเป็น ต้องทำให้เหมือนต่างชาติไปทุกสิ่ง เพราะคนไทยในแผ่นดินไทย ไม่ใช่คนไทยในแผ่นดินชาติอื่น จึงต้องเปลี่ยนสีตัวเอง เพราะใคร ก็ทำอะไรเราไม่ได้ ถ้าเรารู้รักสามัคคีกันในบ้านของเรา
มองโลกในอีกแง่มุม
- Sunday, August 08, 1999 at 03:40:59 (EDT)

ไม่รู้ว่าฝ่ายหญิงเรียกร้องขอจากใคร ขอจากผู้ชายอีกล่ะหรือ? ขอจากสามีหรือ? กฏหมายก็แค่กระดาษ เป็นเพียงสิ่งปลายทาง ถ้าอยากแก้ไขเรื่องกดขี่ ก็ไม่เห็นจะต้องมาทำที่ปลายทาง คนที่ชอบข่มเหงรังแกผู้ด้อยกว่า เขาเป็นแค่สิ่งมีชีวิตที่ชอบทำร้ายผู้หญิงนะ (ไม่ใช่คนหรอก) วิถีการคิดของผม (ของผู้ชาย) ในกรณีที่ ถ้าผมอยากตั้งท้อง ผมคงไม่เรียกร้อง ขอสิทธิเสรีภาพตั้งท้องให้เท่าเทียมหญิง หรือขอกฏหมายรับรอง เพราะมันไม่ได้อะไร แต่จะใช้การกระทำในสิ่งนั้นให้เป็นไปได้ และให้ได้ดีกว่า ทำไมต้องมองว่าสิทธิไม่เท่าเทียม ผมว่ามันเกิดจากสภาพสิ่งต่างๆ ที่แวดล้อมเป็นสังคมของเรามากกว่า ถ้าเป็นสังคมมด นางพญามด ก็ยิ่งใหญ่ที่สุด ตัวผู้มีแต่มดงาน หรือแมงมุม หรือหนังเรื่อง เอเลี่ยน ก็เพศหญิงทั้งน้าน ถามว่าสิ่งเหล่านั้น เขาใช้การเรียกร้องขอจากกฏหมายหรือ (เอ หรือว่าตอนนี้อาจจะมีมดงานตัวผู้ เรียกร้องขอสิทธิเท่าเทียมจากราชินีมด ก็เป็นได้มั้ง)
นายหนุ่ม (=โสด) รัก นางสาว
- Saturday, August 07, 1999 at 16:40:15 (EDT)

สนับสนุนที่จะมีสิทธิเลือกใช้ นามสกุลหลังแต่งงาน...คุณจิ๋ม
สายบัว ยิ้มเสมียน dittha_zone@yahoo.com
- Saturday, August 07, 1999 at 11:18:59 (EDT)

คัดค้าน เพราะว่าสิทธิผู้หญิงไม่ใช่ว่าไม่มีเมื่อต้องเปลี่ยนนามสกุล การเรียกร้องสิทธิ ของเพศหญิง ผมเห็นด้วย แต่มันยังมีเรื่องที่สมควรเรียกร้อง และมีผลกระทบต่อส่วน อื่น ๆ น้อยกว่านี้ เช่น เรื่องการได้รับตำแหน่ง ทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งผู้หญิง มีความสามารถไม่น้อยไปกว่าผู้ชาย ที่คัดค้านเพราะว่า ไม่อยากให้ลูกมีปัญหา (อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่) แต่ต่อไป พี่น้อง ก็อาจมีคนละนามสกุลได้
ปิ่นสักก์ สุรัสวดี pinsak@hotmail
- Saturday, August 07, 1999 at 11:12:30 (EDT)

เรื่อง พรบ.นั้น ค่อนข้างเฉยๆ อยากมีก็มีไป ไม่ได้รู้สึกอะไร เป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย ที่ต้องทำงานของตนเอง ให้ดีที่สุด เหตุผลของทั้งสองท่าน มีทั้งน่าฟัง และไม่น่าฟัง การที่ฝ่ายหญิง ต้องการใช้นามสกุลเดิม ก็เป็นสิ่งที่ดี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ไม่คัดค้าน แต่ถ้าถามว่า ผมแต่งงานแล้วจะทำอย่างไร คงตอบว่า ต้องการแต่งกับหญิง ที่จะมาร่วมใช้นามสกุลของผมมากกว่า รวมถึงลูกหลานด้วย ถ้าฝ่ายหญิงเอากฏหมายนี้ (ถ้าผ่าน) มาอ้าง ผมก็คงขอลาก่อนดีกว่า ส่วนเรื่องเสมอภาคหรือไม่ ผมว่า สภาพโครงสร้าง ทางชีววิทยาแล้ว อย่างไร ทั้งสองเพศก็มีเด่น-ด้อย ต่างกันไป ไม่มีทางเสมอภาคกันได้ การที่เพศใด นำ เพศใด เป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ และสภาพที่เหมาะกับเพศ เพียงแค่ฝ่ายหญิงเริ่มคิดว่า 'เรียกร้อง ความเสมอภาคเท่าเทียมชาย' นั่นก็หมายความว่า ในใจตัวเอง รับว่าเป็นรองฝ่ายชายอยู่แล้ว ต่างฝ่ายควรทำในสิ่งที่เหมาะกับเพศตัวเอง ให้เลิศ นั่นแหละประเสริฐที่สุดแล้ว
ผู้ชายคนหนึ่ง
- Saturday, August 07, 1999 at 09:41:10 (EDT)

เห็นด้วยว่าควรจะมีสิทธิ์ เลือกใช้นามสกุล หลังแต่งงาน
ปักเป้า
- Saturday, August 07, 1999 at 08:30:21 (EDT)

คัดค้าน เรื่องอื่นน่าจะยกร่างมีเยอะ ว่างมากหรือไง ที่มีเรียกร้องเรื่องนี้ มันยุ่งยากวุ่นวาย ใช้กฏหมายอย่างเดิมดีแล้ว เรื่องที่ทำให้ประชาชนมีกินมีใช้ ไม่เป็นหนี้ใคร หรือทำอย่างไร ให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนจะได้ไม่ต้องลำบาก ทรัพย์สินถูกยึดกันจะหมดอยู่แล้ว เพราะตกงาน ไม่มีเงินที่จะผ่อนส่ง
pronjan
- Saturday, August 07, 1999 at 02:02:35 (EDT)

แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

แสดงความคิดเห็น เรื่อง พรบ.มวยอาชีพ คลิกที่นี่
สารบัญ | นักสะสมเปลือกหอย | เชอร์ปา | ภาษาตะโกน | สัตว์ป่าในบอสเนีย
เลือกใช้นามสกุล หลังแต่งงาน | เฮโลสาระพา


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)