Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ สอนหนังสือลูกเองที่บ้านดีหรือไม่ ?
คั ด ค้ า น
อ. สำเร็จ จันทร์โอกุล
อ. สำเร็จ จันทร์โอกุล
ผู้อำนวยการ โรงเรียนอนุบาล วัดปรินายก
  • เด็กที่เรียนโฮมสคูล อาจมีปัญหาเรื่อง การเข้าสังคม และการแก้ปัญหา เฉพาะหน้า

  • เด็กที่ไปโรงเรียน จะได้เจอสถานการณ์ ซึ่งจำลองมาจาก ชีวิตจริง

  • พ่อแม่โฮมสคูล ต้องมีเวลา และรายได้ มากเพียงพอสำหรับ จัดกิจกรรมให้ลูก

....."ผมเห็นด้วยกับ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ที่เปิดโอกาสให้มี โฮมสคูล เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ตามแนวทาง การปฏิรูป การศึกษานั้น นอกจากจะเน้น ปฏิรูปการจัดการ ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยเน้นให้เด็ก ได้พัฒนา ตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพแล้ว ยังมุ่งให้ บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชนต่าง ๆ มีส่วนร่วม ในการจัด การศึกษา มากกว่าเดิม
....."เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การศึกษา ในระบบโรงเรียน ยังมีจุดอ่อน หลายอย่าง เช่น ด้านคุณภาพ และความเสมอภาค ดังนั้น โฮมสคูล จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของผู้ปกครอง นอกจากนั้น การมีโฮมสคูล ยังจุดประกาย การแข่งขัน ให้ระบบโรงเรียน พร้อม ๆ ไปกับ การเกิดการทำงาน ประสานกัน อย่างเข้มแข็งขึ้น เกี่ยวกับ การเทียบโอนผลการเรียน และการเป็น เครือข่ายการเรียนรู้
....."อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครอง ที่จะจัดโฮมสคูล ควรตระหนักด้วยว่า การจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคน ไม่ใช่เพียงแค่ เรียนความรู้ ให้ดีที่สุดเท่านั้น จะต้อง พัฒนาทุกด้าน ต้องจัดกิจกรรม ให้หลากหลาย มีคุณภาพจริง ๆ หากผู้ปกครอง ขาดความเข้าใจ ที่ลึกซึ้ง และไม่มีเวลาเพียงพอ ในการอบรมเลี้ยงดู และจัด กระบวน การเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ การเรียนของเด็ก ก็อาจจะไม่ดี หรือต่างไปจาก การเรียนในโรงเรียน
....."สิ่งที่น่าเป็นห่วง สำหรับเด็กโฮมสคูลคือ เรื่องการปรับตัว การเข้าสังคม และการเผชิญปัญหาชีวิต ในสถานการณ์ ที่แปรเปลี่ยน หลากหลาย เพราะเด็ก คงไม่ได้อยู่ใน หมู่เพื่อนจำนวนมาก เหมือนในโรงเรียน ประสบการณ์ การสื่อสาร อารมณ์ และความรู้สึก การทำงาน และการอยู่ร่วมกัน กับผู้อื่น น่าจะน้อยกว่าเด็ก ๆ ในโรงเรียน ผมเชื่อว่า ประสบการณ์จริง เป็นสิ่งมีค่าที่สุด เด็กโฮมสคูล อาจได้รับแต่ ความรู้ และประสบการณ์ ที่ดีที่สุดตลอดเวลา แต่ในโลกของความเป็นจริง มันจะไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อถึงเวลาที่เขา ต้องอยู่คนเดียว หรือออกไปสู่สังคมใหญ่ เขาอาจจะ ด้อยประสบการณ์ ในการเผชิญปัญหา หรือตัดสินใจ การตัดสินใจผิด ในบางเรื่องนั้น เขาอาจจะ ไม่มีโอกาส แก้ตัวอีกเลย
....."ผมมั่นใจว่าจริง ๆ แล้ว คนเรา จะประสบ ความสำเร็จในชีวิตได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ระบบการศึกษา แต่ขึ้นกับ คุณภาพ การจัดการศึกษามากกว่า ข้อค้นพบที่ชัดเจน ในเวลานี้ คือสติปัญญา หรือความรู้ดี มีอิทธิพลต่อ ความสำเร็จในชีวิต ไม่เกิน ๒๕ เปอร์เซ็นต์ อีก ๗๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องของ อารมณ์ และการเข้ากับคนอื่นได้ คนที่จัดการกับ อารมรณ์ตัวเองได้ดี เข้าใจคนอื่น และมีความมุ่งมั่น จะมีโอกาส ประสบความสำเร็จ มากกว่า ทุกวันนี้การศึกษา ในระบบโรงเรียน เราพยายาม ลดการยัดเยียดความรู้ลง เราพยายาม เน้นกระบวนการ ประสบการณ์ตรง และพัฒนา ด้านอารมณ์มากขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน หรือโฮมสคูล ถ้าทำตรงนี้ได้ จะเป็นผลดีต่อ การพัฒนาเด็กเหมือนกัน
....."ผู้ที่จะจัดการศึกษาเอง ควรเข้าใจ ธรรมชาติของเด็ก และหน้าที่ ของการศึกษา แต่ละระดับ เป็นอย่างดีด้วยว่า ในวัยแรกเกิด ถึงวัยอนุบาล เป็นช่วงเวลาของ การสร้างเสริม พัฒนาการทุก ๆ ด้าน เพื่อเป็นรากฐาน ที่ถูกต้อง มั่นคงของชีวิต ในระดับประถมศึกษา เป็นเวลาแห่ง การเรียนรู้พื้นฐาน ทุกวิชา และพัฒนาจริยธรรม พอถึงช่วงมัธยมศึกษา ก็เป็น เวลาแห่งการสำรวจ ค้นหาความสนใจ ความถนัดที่แท้จริง ก่อนจะเลือกก้าวเข้าสู่ สาขาวิชาชีพใด ในอนาคต
สอนลูกเองที่บ้าน ดีหรือไม่ ....."เด็กอนุบาล จะเรียนรู้ ผ่านการเล่น และประสบการณ์ตรง ที่เหมาะสมตามวัย เด็กประถม ก็ยังเรียนได้ดี จากประสบการณ์ตรง แบบต่าง ๆ ทั้งเด็กอนุบาล และประถม จะเป็นวัยที่ ขอบเล่นมาก ๆ ขนาดเด็ก ป. ๒-ป .๔ หมอยังเรียกว่า dirty age หรือวัยสกปรก เด็กจะเล่นเป็นกลุ่ม ๆ และเริ่ม แยกเพศ ชัดเจนขึ้นช่วง ป. ๔-ป. ๖ ครั้งถึง ระดับมัธยม การเล่นแบบเด็ก ๆ ค่อย ๆ หมดไป เด็กจะให้ความสำคัญกับ กลุ่มเพื่อน และสนใจเพศตรงข้าม มากขึ้น
....."ความจริง การส่งลูกเข้าโรงเรียน ก็มีข้อดีอยู่มาก โดยเฉพาะ ประสบการณ์จริง ด้านการปรับตัว การแก้ปัญหา และด้านสังคม เวลาเขาอยู่ใน กลุ่มเพื่อน มากมายนั้น เขาจะพบ เหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่เหมือนอยู่บ้าน หรือกับกลุ่มเล็ก ๆ บางครั้ง เมื่อเขากระทบกระทั่งกัน จนบาดเจ็บ เป็นแผล เขาเรียนรู้ที่จะ อดทน และดูแลตนเอง ได้ทั้งวัน ถ้าอยู่กับพ่อแม่ คงไม่ใช่ เพราะความรัก อาจทำให้ ปกป้องมากไป ลูกเจ็บนิดเดียว พ่อแม่บางคน ทุกข์แทบตาย และรีบพาไปรักษา ราคาแพง ๆ โดยไม่จำเป็น เด็กจะเรียนรู้ความทุกข์นั้น จากพ่อแม่ ทำให้ เปราะบาง กว่าที่ควร นอกจากนั้น กิจกรรมหลายอย่าง ในโรงเรียน ยังเป็น เบ้าหลอมชีวิต ที่มีค่ายิ่ง อย่างเช่น การแข่งขันกีฬาสี เด็ก ๆ จะได้ในเรื่อง สปิริต การร่วมมือ การแก้ปัญหา การวางแผน รักกัน สุข และทุกข์ร่วมกัน เรียนรู้ที่จะ ยอมรับความพ่ายแพ้ และสุขใจ เมื่อได้ชัย ตรงนี้ จะติดตัวเขาไป กระทั่งเติบใหญ่ ในการดำรงชีวิต ทำงาน และอยู่ร่วมกับ ผู้อื่น เด็กโฮมสคูล จะมีโอกาส ได้รับประสบการณ์เช่นนี้ ได้อย่างไร
....."อีกเรื่องที่น่าคิดคือ สังคมไทย ยังให้ความสำคัญในเรื่อง ศักดิ์ศรี สถาบัน และรุ่น กันอยู่มาก หลายครอบครัว ต้องการให้ลูก เข้าโรงเรียนดี ๆ จะได้มีเพื่อนร่วมรุ่น คอยช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน และมีความภาคภูมิใจ ในตนเอง เมื่ออยู่ในสังคม ในส่วนนี้ เด็กโฮมสคูล จะด้อยกว่าไหม อีกอย่างคือ เมื่อเด็กโฮมสคูล เข้าสู่มหาวิทยาลัย เขาจะปรับตัวเข้ากับ เพื่อนใหม่ ได้ดีหรือไม่ จะรู้สึกแปลกแยกหรือไม่
....."โฮมสคูล อาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นทางเลือก ที่เหมาะสม สำหรับหลายครอบครัว ระบบโรงเรียนเอง ก็มีข้อดี อยู่หลายประการ ไม่เช่นนั้น ทุกประเทศ คงไม่ยึดระบบโรงเรียน เป็นหลักใหญ่ ของการจัด การศึกษา การมีโฮมสคูล มาร่วมแนวทาง และแข่งขันกัน พัฒนา ก็ดีเหมือนกัน
....."ถ้าผมมีโอกาสเลือก มีความพร้อม และมีเวลา ผมก็อยากจะ เลี้ยงลูกเอง และจัดการศึกษาระยะแรก ให้ลูก ประมาณไม่เกิน ป. ๓ หลังจากนั้น ก็จะส่งลูก เข้าโรงเรียน เพราะอยากให้ลูก เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมใหญ่ ได้เรียนรู้ชีวิต ทั้งผิดหวัง สมหวัง ดี และไม่ดี เพื่อจะเป็น ภูมิคุ้มกัน และมีประสบการณ์แท้จริง เมื่อโตขึ้น เมื่อเขาทำงาน เพื่อส่วนรวม เขาจะเป็น คนที่เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ได้ดี"
กนกพร สบายใจ
กนกพร สบายใจ
คุณแม่โฮมสคูล

click hereอ่าน (ฝ่ายสนับสนุน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก
สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนลูกเองที่บ้าน
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ตีนหมี | โลงศพ Gen-X | ธนบุรี | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
Anchovies | The Legend of Mae Nak


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)