ทะเลตม (mangrove)
ทะเลตม (Mangrove)


เรื่อง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ภาพ: สารคดี

(ต่อจากหน้าที่แล้ว) ทะเลตม
คือทะเลที่เป็นดินโคลนตะกอน อันเกิดจาก การที่แม่น้ำ พัดพามาสะสม และทับถม ตามปากแม่น้ำ เป็นส่วนหนึ่งของ ดินดอนสามเหลี่ยม อันเกิดจาก การกระทำของแม่น้ำ ชายทะเลของทะเลตม ก็คือป่าชายเลน (mangrove) นั่นเอง

อันนารี ที่ยังสาว พวกชาวบ้าน ถีบกระดาน ถือตะกร้า เที่ยวหาหอยฯ
"อันนารี ที่ยังสาว พวกชาวบ้าน ถีบกระดาน ถือตะกร้า เที่ยวหาหอยฯ" หอยที่ได้จาก ทะเลตม มีทั้ง หอยหลอด และหอยแครง (นิราศ เมืองเพชร)
......ทะเลตมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่กว้างขวาง เชื่อมโยง ไปยัง ปากแม่น้ำ บางปะกง ทางด้านตะวันออก และ ปากแม่น้ำ ท่าจีน - แม่กลอง ทางด้าน ตะวันตก เป็น พื้นที่ ทะเลตม ที่กว้างใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ ไปด้วย พืชพันธุ์ ตลอดจน สัตว์น้ำนานาชนิด มากที่สุด ใน บริเวณอ่าวไทย ก็ว่าได้ คนไทยโบราณรัก และถนอม ป่าชายเลน เพราะนอกจากจะมี พืชพันธุ์ และสัตว์น้ำ นานาชนิดแล้ว ยังมี แม่น้ำ ลำคลอง มากมาย ทำให้เกิด การตั้งชุมชน ที่อยู่อาศัย ของผู้คน ที่มี อาชีพ ประมง ตามชายฝั่งน้ำตื้น และตัดไม้จาก ป่าชายเลน เช่น โกงกาง และแสม มาทำถ่าน ทำฟืน เพื่อใช้สอย ในการ ดำรงชีวิต ของตน และครอบครัว รวมทั้ง นำไป แลก เปลี่ยน สิ่งของจำเป็นแก่ชีวิต กับคนกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่อยู่ ในท้องถิ่น เดียวกัน หรือที่อยู่ ห่างไกล ออกไป
ขายสำเร็จ เป็ด ไก่ ทั้งไข่พอก กระเบน กระบอก ปลาทู ทั้งปู หอยฯ
พวกพ่อค้า แม่ขาย แถบย่านทะเลตมนั้น "ขายสำเร็จ เป็ด ไก่ ทั้งไข่พอก กระเบน กระบอก ปลาทู ทั้งปู หอยฯ" (นิราศเมืองเพชร)

ถึงแม่กลอง สองฝั่ง เขาตั้งบ้าน น่าสำราญ เรือนเรือ ดูเหลือหลายฯ
พ้นจากคลองสุนัขหอน ก็ "ถึงแม่กลอง สองฝั่ง เขาตั้งบ้าน น่าสำราญ เรือนเรือ ดูเหลือหลายฯ" (นิราศเมืองเพชร)

......สิ่งที่เป็นผลิตผลของป่าชายเลน เช่น ปลาแห้ง ปลาเค็ม และกุ้ง หอย ปู ปลา รวมทั้งถ่าน และฟืน จะถูกส่งออก มาขาย และแลกเปลี่ยนกับข้าว ตลอดจน สิ่งของ ที่จำเป็นแก่ชีวิตอื่นๆ
......อาหารหลายอย่าง ที่ผลิตจากชุมชนในย่านทะเลตม เช่น กะปิ น้ำปลา คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ในการ ประกอบ อาหาร ในชีวิตประจำวันของคน ในสังคม ทั่วไป และ สิ่งเหล่านี้ ยิ่งมีความหมายมาก สำหรับ ชนชั้นยังชีพ ที่มี รายได้ต่ำ เพราะลำพังการมี กะปิ น้ำปลา กับข้าวกับผักเท่านั้น ก็สามารถ ยังชีพ อยู่ได้ แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่า บริเวณทะเลตม และ ป่าชายเลน จะเป็น แหล่งที่ อุดม สมบูรณ์ ด้วย สัตว์น้ำ และพืชพันธุ์ต่างๆ เป็นสิ่งล่อใจ ให้มีผู้คน เข้ามาตั้ง ถิ่นฐาน แต่การที่ จะปักหลักอย่างถาวร และขยายตัว เป็นชุมชน ใหญ่โตนั้น ไม่ใช่ของง่าย เพราะ มักเป็น พื้นที่น้ำกร่อย และน้ำเค็ม อัตคัดในเรื่อง น้ำจืด ที่จะใช้ อุปโภคบริโภค ถ้าเป็นบ้านเรือน และ ชุมชน ขนาดเล็ก การอาศัย รองน้ำฝนใช้ ก็คงพอเพียง และอยู่ได้ แต่ถ้า หากเป็น ชุมชนใหญ่โต ขนาดเป็นบ้าน เป็นเมือง แล้ว ก็คงไม่พอเพียง ต้องอาศัยความรู้ และ เทคโนโลยี ที่ก้าวหน้า พอสมควร จะต้องมี แหล่งน้ำจืด หรือไม่ก็ ต้อง พยายาม หามาสนับสนุน ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้า แลเห็น หลักฐาน สองอย่าง ที่เกื้อกูลกัน

อ่านต่อ ๓/๓ -->

สารบัญ | หน้า ๑ | หน้า ๒ | หน้า ๓

MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)