ทะเลตม (mangrove)
ทะเลตม (Mangrove)


เรื่อง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ภาพ: สารคดี

(ต่อจากหน้าที่แล้ว)
การอาศัยรองน้ำฝนใช้ก็คงพอเพียง และอยู่ได้ แต่ถ้าหาก เป็นชุมชนใหญ่โต ขนาดเป็นบ้าน เป็นเมือง แล้ว ก็คงไม่พอเพียง ต้องอาศัยความรู้ และเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าพอสมควร จะต้องมี แหล่งน้ำจืด หรือไม่ก็ ต้องพยายาม หามาสนับสนุน ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าแลเห็น หลักฐาน สองอย่าง ที่เกื้อกูลกัน

แผนที่เก่า ในจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ แสดงเส้นทางโบราณ สมัยกรุงศรีอยุธยา
แผนที่เก่า ในจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ แสดงเส้นทางโบราณ สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อบางชื่อ ที่ยังคงเรียกสืบมา จนทุกวันนี้ เช่น Ban Quebeu (บางกระบือ ?) Ta Quin (ท่าจีน)
  ตุ่ม จำนวนมาก ที่พบที่เขายี่สาร สมุทรสงคราม......อย่างแรก คือ ตุ่มเคลือบโบราณ ขนาดใหญ่ ที่มักพบเป็นจำนวนมาก ตามวัดสำคัญๆ ของท้องถิ่น ในย่าน ที่เป็นเมือง แถวปากแม่น้ำ ทั้งริมแม่น้ำ แม่กลอง ในสมุทรสงคราม ริมแม่น้ำท่าจีน ในเขตจังหวัด สมุทรสาคร นอกจากนี้ ตามวัด ริมแม่น้ำ ที่เพชรบุรีก็พบ และแหล่งสุดท้ายที่พบเมื่อเร็วๆ นี้ก็คือ ที่ี่ตำบลยี่สาร ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตุ่มใส่น้ำ ขนาดใหญ่นี้ มีอายุร่วมสมัยกับ ตุ่มสุโขทัย คือมีอายุ ประมาณ พุทธศตวรรษ ที่ ๑๙-๒๐ ลงมา อาจ สันนิษฐาน ได้ว่า น่าจะมากจากภาคใต้ของจีน โดยที่ คนจีน ที่เข้ามา ตั้งถิ่นฐาน เป็นผู้นำเข้ามา
ท้องที่นี้ เต็มไปด้วยลิง มันชอบอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ และพากันไป เป็นฝูงๆ
......อย่างที่สอง คือ การ สร้างบ้าน แปงเมือง ในเขต ทะเลตม และป่าชายเลน นั้น ต้องเลือกตำแหน่ง ที่จะ ควบคุม สภาพแวดล้อมได้ ในเรื่องของน้ำจืด และการ คมนาคม จึงเห็นได้ว่า มักจะ เกิดขึ้น ตามริมลำน้ำ ขนาด ใหญ่ ที่ค่อนข้าง ห่างจากชายฝั่ง และทะเลตม เข้ามาภายในระยะหนึ่ง ส่วนใหญ่ จะเป็นบริเวณที่ น้ำเค็ม และน้ำจืด มาผสมกัน จนพอเป็นน้ำใช้สอย ในชีวิต ความเป็นอยู่ และ การเพาะปลูกได้ ชุมชน ดังกล่าวนี้ มักเป็นชุมชน ชาวสวน และการทำสวน ก็คือ ความหมาย ที่จะ ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ที่เคยเป็น ทะเลตม และป่าชายเลน ให้กลายมา เป็นบ้าน เป็นเมือง นั่นเอง เมื่อมาถึงตรงนี้ ก็เกิดคำถามที่ว่า ใครคือชาวสวน และคนเมือง?
ลำพู ต้นสุดท้าย
ลำพู ต้นสุดท้ายที่ "บางลำพู" ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองบางกอก ใกล้กับ ป้อมพระสุเมรุ
  ......คำตอบอย่างค่อนข้างรวบรัดในที่นี้ก็คือ ผู้ที่เข้ามา ตั้งหลักแหล่ง เป็นชุมชน บ้านเมือง ในบริเวณ ทะเลตม และป่าชายเลน ก็คือ กลุ่มชน ที่มีความก้าวหน้า ทาง เทคโนโลยี และรู้จัก การทำสวน แบบยกร่อง ยกขนัด มาก่อน คนเหล่านี้คือผู้ที่เป็นพ่อค้า หรือเดินทาง มากับ เรือ จากประเทศจีน ตอนใต้ และคนเหล่านี้ คือผู้ที่เป็น บรรพบุรุษ ของคนไทย ที่อยู่ที่ เมืองธนบุรี เมืองสมุทรสาคร เมืองสมุทรสงคราม มาแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ แล้ว

กลับไปหน้าแรก -->

สารบัญ | หน้า ๑ | หน้า ๒ | หน้า ๓

MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)