Click here to visit the Website

ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

หน้าปกวารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๔๓ ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๖ ฉบับ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๓
Vol. 26 No. 1 January -March 2000

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม

ส า ร บั ญ

อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา : การดับสนิททางปัญญา ของกรมศิลปากร

ทะเลแท้ ทะเลเทียม ... ศรีศักร วัลลิโภดม

Real Seas and Artificial Seas...Srisakra Vallibhotama

กว๊านพะเยา แหล่งน้ำใหญ่ แห่งแอ่งเชียงราย พะเยา... มุทิตา ณรงค์ชัย

Kwan Phayao : a Major Water Source in the Chiang Rai- Phayao Basin... Muthita Narongchai

ชุมทางน้ำที่บึงบอระเพ็ด... วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

Bung Borapet...  Walailak Songsiri

สำเภาจีน นิทานท้องถิ่นจอมบึง... สุรินทร์ เหลือสมัย

The Chinese Junk : a Folk Tale of Chom Bung...  Surin Lualamai

สระน้ำจันทร์ : นิทานความศักดิ์สิทธิ์คู่วังโบราณ จังหวัดนครปฐม... วิไลรัตน์ ยังรอด
Sa Nam Chan : a Miracle Story of a Pond in Nakhon Pathom... Wilairat Yongrot
เหนือพื้นน้ำทะเลสาบสงขลา...  ปราณี กล่ำส้ม

On the Waters of the Songkhla Lagoon...  Pranee Glumsom

รอบทะเลสาบสงขลา : ในความทรงจำของเขมานันทะ...  นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว
มหันตภัยของทะเลสาบเทียม : กรณีลุ่มน้ำอีสาน... สนั่น ชูสกุล
The Perils of the "Artificial Lakes" in the Northeast...  Sanan Choosakun
พระพิมพ์กันทรวิชัย นาดูน ฟ้าแดดสสงยาง เมืองไพร พุทธศิลป์ทวารวดี... ธีรพงษ์ จตุรพาณิชย์
สิมอีสาน กับซากฟอสซิล เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?...  สุกัญญา เบาเนิด
How Northeastern Sim are related to fossils...  Sukanya Baonerd
ความเปลี่ยนแปลง ของสงกรานต์เชียงใหม่... ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว

Changes in New Year Traditions in Chiang Mai...  Phaitoon Dokbuakaew

ชาวกวย- ชาวเขมร รำตำตะ- เล่นตร็ดที่ศรีสะเกษ... วีระ สุดสังข์ 
เรื่องเก่าๆ ที่วัดพระปืด...  กฤช เหลือสมัย
กินหมาก สูบยา ไหว้พระ... ลักขณา จินดาวงษ์ 
หม้อน้ำดื่ม หม้อน้ำใจ จากอินเดีย สู่ไทย พม่า และลาว
รายงาน
ข้อมูลใหม่ 
ก่อนหน้าสุดท้าย

ทะเลแท้ ทะเลเทียม
ศรีศักร วัลลิโภดม

อ่างเก็บน้ำ ทางตอนใต้ของศรีลังกา มีมากกว่าสองพันปี
อ่างเก็บน้ำ ทางตอนใต้ ของศรีลังกา มีมากกว่าสองพันปี
.......การสร้างบ้านแปงเมืองของมนุษย์ทุกแห่งหนในโลกนั้น ต้องสัมพันธ์กับแหล่งน้ำ ซึ่งอาจแบ่งเป็นสองอย่าง คือน้ำนิ่งและน้ำไหล น้ำนิ่งคือบริเวณที่เป็นบึง หนอง หรือทะเลสาบ ในขณะที่น้ำไหลคือแม่น้ำและลำห้วย
.......สังคมมนุษย์ที่พัฒนาขึ้นทั้งในบริเวณน้ำนิ่งและน้ำไหลนี้ ต่างก็มีสภาวะเหมือนกัน ภายใต้อิทธิพลของฤดูกาล แบบเขตมรสุม ที่แบ่งออกเป็นฤดูแล้งและฤดูฝน โดยมีน้ำเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมถ้าน้ำมากเกินไป หรือไม่ก็เกิดการขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร 
ที่ราบลุ่มต่ำ ชายขอบทะเลสาบเขมร
ที่ราบลุ่มต่ำ ชายขอบทะเลสาบเขมร
.......การจัดการน้ำที่เรียกว่าชลประทาน เพื่อการเกษตรดูไม่สำคัญเท่าใดในสังคมโบราณ (ยกเว้นพื้นที่ตามหุบเขาในภาคเหนือ ที่แลเห็นได้จากการจัดให้มีระบบเหมืองฝาย) เพราะไม่ว่าจะเป็นดินแดนประเทศไทย หรือประเทศใกล้เคียง เช่น ลาวและเขมร ก็ล้วนยังมีจำนวนประชากรน้อย ผู้คนสามารถกระจายกันอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ เป็นบ้านเมืองขนาดเล็กทั้งในพื้นที่น้ำนิ่งและน้ำไหล 
.......สิ่งที่จำเป็นจะต้องควบคุมก็คือภาวะน้ำท่วม ที่อาจทำให้ไร่นาสาโทและที่อยู่อาศัยล่มจม และการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งเท่านั้น
บารายที่ปราสาทวัดพู ใกล้เมืองจัมปาสัก ในประเทศลาว
บารายที่ปราสาทวัดพู ใกล้เมืองจัมปาสัก ในประเทศลาว

.......ในฤดูฝนที่ทำให้เกิดน้ำมากและน้ำท่วมนั้น คือภาวะที่มีทะเลเกิดขึ้น พื้นที่น้ำนิ่งที่มีหนองบึงเป็นแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น มักมีการขยายตัวของพื้นที่น้ำท่วมน้ำขัง ไม่ต่ำกว่าสามหรือสี่เท่าของพื้นที่ในฤดูแล้ง ยกตัวอย่างเช่นทะเลสาบเขมรในประเทศกัมพูชา มีผู้คำนวณว่ามีการขยายตัวราวสี่เท่าของพื้นที่ในฤดูแล้งทีเดียว 
.......ในดินแดนประเทศไทยก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นกว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหานสกลนคร และที่อื่นๆ ในฤดูแล้งสามารถแลเห็นได้ว่าเป็นหนองและบึง ที่ไม่มีขนาดใหญ่เท่าใด แต่ในฤดูฝนจะเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลสาบไปหมด 


ประตูระบายน้ำ เข้าแหล่งเพาะปลูก สมับโบราณ ที่เมืองโปลนนารุวะ ศรีลังกา
.......ช่วงเวลานี้แหละ ที่คนโบราณมักใช้คำว่าทะเล แทนหนองบึง เพราะกลบสภาพหนองบึงไปหมด 
.......แต่ในปัจจุบัน สภาพความเป็นทะเลยังดำรงอยู่เกือบตลอดป ีก็เพราะการชลประทานของทางรัฐบาล ไปสร้างเขื่อนกั้นกักน้ำไว้ สภาพความเป็นหนองบึงอย่างเช่นที่มีในอดีตจึงไม่ปรากฏ
.......ส่วนในพื้นที่น้ำไหล ก็เกิดภาวะความเป็นทะเลได้เช่นกัน ในฤดูฝน เพราะในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำ และลำน้ำไหลผ่านนั้น น้ำจะท่วมท้นสองฝั่งน้ำ และแผ่เข้าไปท่วมบริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นทุ่งนาหนองบึง จนแลเห็นเป็นเวิ้งน้ำไปหมด อย่างเช่นที่เมืองสุโขทัย ที่มีศิลาจารึกบอกว่าทางตะวันออกของเมืองมีทะเลหลวง ก็เพราะพื้นที่สองฝั่งลำน้ำยมจะมีน้ำท่วมท้นไปหมด จึงเป็นเหตุให้ตัวเมืองสุโขทัยต้องตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา ห่างจากลำน้ำยมเกือบ ๑๑ กิโลเมตร 
เมืองอมรปุระของพม่า ตั้งอยู่ใกล้กับ แอ่งน้ำใหญ่ ที่สัมพันธ์กับ แม่น้ำอิระวดี
เมืองอมรปุระของพม่า ตั้งอยู่ใกล้กับ แอ่งน้ำใหญ่ ที่สัมพันธ์กับ แม่น้ำอิระวดี 
 .......เมืองพระนครศรีอยุธยาก็เช่นเดียวกัน ในฤดูน้ำ เมืองมีสภาพกลายเป็นเกาะไป พื้นที่บางแห่งที่มีสภาพเป็นห้วงน้ำลึก และมีน้ำหลากที่เชี่ยวจัด จนเป็นอันตรายต่อการใช้เรือและเดินเรือ ก็ถูกเรียกว่าทะเล เช่น ทะเลบางบาล ทะเลมหาราช เป็นต้น
.......เมื่อมาถึงตรงนี้ก็อาจมีคำถามได้ว่า การสร้างอ่างเก็บน้ำหรือทะเลเทียมในอดีตในสังคมไทย และบ้านเมืองใกล้เคียงเคยมีหรือไม่ คำตอบก็คือมี เพราะแทบทุกแห่งจะมีการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แต่ขนาดของอ่างเก็บน้ำ ที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่าแทงค์ (tank) นั้นแตกต่างกันไปตามพื้นที่น้ำนิ่งและน้ำไหล 
อ่างเก็บน้ำ เหนือเมืองชะเวโบ ในประเทศพม่า
อ่างเก็บน้ำ เหนือเมืองชะเวโบ ในประเทศพม่า
.......อ่างเก็บน้ำที่พบโดยทั่วไปก็คือที่เรียกว่าสระและตระพัง มักเป็นของที่สัมพันธ์กับชุมชนทีเดียว ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำนิ่ง มักจะขุดตระพังขนาดใหญ่กว่าบรรดาชุมชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำไหล อย่างเช่นชุมชนตามแนวสันทรายแถวชายทะเล ในเขตอำเภอระโนดและสทิงพระที่อยู่รอบๆ ทะเลสาบสงขลา เป็นต้น ตระพังที่ขุดขึ้นกลายเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนไปทีเดียว นั่นก็คือการแสดงออกของความเป็นชุมชนแต่ละแห่ง เห็นได้จากตระพังประจำชุมชน ที่คนทั่วไปเรียกว่าพัง เช่น พังลาง พังลิง เป็นต้น 
.......เมืองสุโขทัยก็นับเนื่องเป็นแห่งหนึ่ง ที่มีระบบการเก็บน้ำไว้ในตระพังตามวัดต่างๆ ในลักษณะที่ซับซ้อน เพราะตั้งอยู่ในบริเวณที่ลาดราบใกล้เขา ที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ และเกิดการอัตคัดขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง มีตระพังทั้งภายในเมืองและนอกเมือง ตระพังใหญ่ๆ ภายในเมืองได้แก่ ตระพังทอง ตระพังเงิน ตระพังสอ ตระพังวัดสระศรี เป็นต้น ตระพังเป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคโดยแท้ แต่กรมศิลปากรและ ททท. กลับจัดให้เป็นที่ลอยกระทงไป 
  .......พื้นที่น้ำนิ่งที่สัมพันธ์กับการสร้างอ่างเก็บน้ำ ทั้งขนาดเล็กที่เรียกว่าตระพัง และขนาดใหญ่ที่เรียกว่าบาราย ที่นับว่าไม่เหมือนที่ไหนในประเทศไทย ก็คือบริเวณแอ่งโคราชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนับเนื่องเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคโดยทั่วไปในฤดูแล้ง 

Click hereอ่านต่อคลิกที่นี่

 

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) email