Click here to visit the Website

ทะเลแท้ ทะเลเทียม

กว็านพะเยา
กว็านพะเยา แหล่งน้ำแห่งเชียงราย
(ต่อ)
..............บริเวณนี้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ อีกทั้งอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เช่น เหล็ก ทองแดง เกลือ และของป่า ทำให้มีผู้คนจากภายนอก เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานกัน ตั้งแต่สมัยโลหะ คือกว่า ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว 
.......การเพิ่มจำนวนคนในยุคเหล็ก ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง เป็นเหตุให้มีการจัดการในเรื่องกักเก็บน้ำอย่างมีระบบขึ้น นั่นก็คือการรวมตัวกันทางการเมืองและสังคม ที่นำไปสู่การร่วมกันสร้างชุมชน ที่มีสระน้ำล้อมรอบขึ้นในรูปแบบเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าการเกิดการเก็บน้ำ ที่เรียกว่าแท็งค์โมท (tank moat) นั้น เกิดขึ้นในพื้นที่แอ่งโคราชก่อนที่อื่นๆ ก็ว่าได้ 
ปากคลองบอระเพ็ด ช่วงที่ต่อกับแม่น้ำน่าน
ปากคลองบอระเพ็ด ช่วงที่ต่อกับแม่น้ำน่าน
.......ชุมชนที่มีสระน้ำล้อมรอบเช่นนี้ หลายๆ แห่งมีพัฒนาการ คือมีการขุดสระน้ำหลายชั้น บางที่ก็สามชั้น บางที่ก็สี่ชั้น ล้อมรอบชุมชน แสดงถึงระบบการจัดการน้ำที่ซับซ้อนขึ้น 
.......พัฒนาการของชุมชนที่มีสระน้ำล้อมรอบเหล่านี้ สืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดี อันเป็นยุคต้นๆ ประวัติศาสตร์ เกิดบ้านเมืองขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มของลำน้ำมูล-ชี พอประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ลงมาก็เกิดการตั้งหลักแหล่งชุมชนในที่ลาดจากที่สูง หรือภูเขาลงมายังที่ราบลุ่ม เป็นชุมชนที่ได้รับวัฒนธรรมขอม จากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา 
.......ชุมชนแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น มักไม่มีการขุดสระล้อมรอบชุมชนอย่างแต่ก่อน หากมีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า นั่นก็คือประกอบด้วยปุระและบาราย
บึงบอระเพ็ด มองจากยอดเขากบ กลางเมืองนครสวรรค์
บึงบอระเพ็ด มองจากยอดเขากบ กลางเมืองนครสวรรค์
.......ปุระ หมายถึงศาสนสถานที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู หรือพุทธมหายาน ลักษณะเป็นรูปของปราสาทที่มีคูน้ำหรือสระน้ำล้อมรอบ ในขณะเดียวกันก็มีการขุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่าบาราย สัมพันธ์กับการสร้างปราสาท ที่สามารถอธิบายจากความรู้ทางจักรวาลวิทยาได้ว่า ปราสาทก็คือเขาพระสุเมรุมาศ ที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ส่วนบารายก็คือมหาสมุทร ที่เรียกว่านทีสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุมาศอยู่ 
.......การสร้างปุระหรือปราสาท ก็คือการสร้างชุมชนหรือเมืองนั่นเอง เพราะมีการอุทิศผู้คนและสัตว์ให้อยู่อาศัย และคอยดูแลศาสนสถานเป็นจำนวนหลายครัวเรือน ที่ทำให้เกิดการขยายตัวได้ในเวลาต่อมา 
  ....... ส่วนบาราย ก็คือแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชน แต่ทำให้เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพราะสัมพันธ์กับปราสาทในด้านระบบความเชื่อ การที่เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น มีนัยความสำคัญมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่ผู้คนในชุมชนจะช่วยดูแลรักษา ไม่เอาวัวควายหรือช้างม้าไปอาบ หรือไปทำอะไรให้เกิดการสกปรก ความศักดิ์สิทธ์มีผลมาถึงเรื่องความสะอาด และปลอดโรคระบาด ที่เกิดจากการใช้น้ำของชุมชน
....... เรื่องของบารายนี้ เคยมีนักวิชาการทั้งไทยและฝรั่งเศส เชื่อว่าเป็นแหล่งเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา แต่ก็ไม่มีใครได้ลงไปทำการศึกษา ทางภาคสนามกันอย่างจริงๆ จังๆ 
....... จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีการศึกษากันขึ้นโดยหลายท่าน ผลก็คือนักวิชาการรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ รวมทั้งข้าพเจ้าเอง เห็นว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย หรือภาคอีสานนั้น บรรดาบารายที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเรื่องของการเก็บน้ำไว้บริโภคอุปโภค หาได้เกี่ยวข้องกับการชลประทาน เพื่อการเกษตรไม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นรวมไปถึงบารือ และเดินเรือ ก็ถูกเรียกว่าทะเล เช่น ทะเลบางบาล ทะเลมหาราช เป็นต้น 
สะพานตินสูลานนท์ เชื่อมระหว่างอำเภอเมืองสงขลา กับเกาะยอ บริเวณทะเลสาบ สงขลาตอนล่าง
สะพานตินสูลานนท์ เชื่อมระหว่างอำเภอเมืองสงขลา กับเกาะยอ บริเวณทะเลสาบ สงขลาตอนล่าง
.......ปัจจุบัน ภาวะความเป็นทะเลแท้ๆ อันเนื่องมาจากน้ำท่วมน้ำหลากในฤดูฝนได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง อันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนพลังไฟฟ้า และการชลประทาน ฤดูแล้งที่น้ำในแม่น้ำลำคลองงวดไป จนแลเห็นตลิ่งสูงก็ไม่มีแล้ว มีแต่ระดับน้ำคงที่อยู่เกือบทุกหนแห่ง รวมทั้งบริเวณที่เป็นหนองบึง ก็ไม่ปรากฏให้เห็นในฤดูแล้งเช่นกัน กลับมีสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำ หรือทะเลเทียมไปหมด 
.......ไม่ว่าจะเป็นบึงบอระเพ็ด หนองหานสกลนคร รวมทั้งกว๊านพะเยาด้วย 
.......ทะเลเทียมหรืออ่างเก็บน้ำตามหนองบึงเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ทั้งเพื่อการชลประทานในการเกษตร กับการกักน้ำไว้อุปโภคบริโภค นับเป็นชลประทานขนาดเล็ก ที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเท่าใด แต่นับแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา เกิดการชลประทานขนาดใหญ่ ที่เป็นการสร้างเขื่อนทั้งเพื่อการเกษตร และการใช้พลังงานไฟฟ้า เกือบแทบทุกภาคของประเทศ เลยเป็นเหตุให้เกิดอ่างเก็บน้ำ หรือทะเลเทียมขึ้นอย่างมากมาย และมีผลกระทบไปถึงการตัดไม้ทำลายป่า เวนคืนที่ดินของประชาชนผู้ด้อยโอกาส ที่เป็นการทำลายทั้งสภาพแวดล้อมระบบนิเวศ และชีวิตมนุษย์อย่างสาหัสสากรรจ์อยู่ในขณะนี้ 
.......โดยย่อก็คืรายขนาดใหญ่ที่พบที่เมืองพระนคร เช่นบารายที่เมืองหริหราลัย และเมืองยโสธรปุระ ที่เรียกว่าบารายตะวันออกและบารายตะวันตกนั้น ก็หาได้สร้างขึ้นเพื่อการเกษตรกรรมไม่ 
ทะเลสาบเทียม ของเขื่อนอุบลรัตน์
ทะเลสาบเทียม ของเขื่อนอุบลรัตน์ 
.......หลักฐานสำคัญที่นักวิชาการรุ่นใหม่นำมายืนยันก็คือ บรรดาบารายที่พบทั้งในประเทศไทย และประเทศเขมรนั้นไม่มีร่องรอยของการสร้างประตูปิดเปิดน้ำ รวมถึงคลองชลประทานที่จะนำน้ำไปยังแหล่งเกษตรกรรม เป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากอ่างเก็บน้ำที่พบในประเทศพม่า และศรีลังกา ที่มีอายุเก่าแก่กว่าจนถึงร่วมสมัยเดียวกัน
.......ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า ไม่ว่าจะเป็นบารายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เมืองพระนคร ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เรียกว่าทะเลศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นโครงสร้างสำคัญในพัฒนาการของชุมชนเมือง (urbanization) โบราณในพื้นที่แห้งแล้งทั้งของไทยและกัมพูชา เป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากความเป็นเมือง ตลอดจนศาสนสถานสำคัญของเมือง 
.......และที่สำคัญก็คือ เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้แลเห็นถึงความสำคัญของน้ำ ในภูมิภาคที่มักประสบความขาดแคลน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เรียกว่า "เขตแห้งแล้ง"
.......ปัจจุบันนี้ การดำรงอยู่ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการขยายตัวและเติบโต ก็ยังขึ้นอยู่กับการขุดตระพังและอ่างเก็บน้ำ (tank) เพื่อเป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภคแทบทุกหนแห่ง และอาจกล่าวได้ว่า อ่างเก็บน้ำก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ในโครงสร้างทางกายภาพของชุมชนก็ว่าได้

Click hereกลับไปอ่านหน้าแรกคลิกที่นี่


 

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) email