ย้อนกลับไปในปี 2561 รัฐบาลไทยประกาศว่าจะแก้ปัญหาการนำเข้าขยะต่างประเทศอย่างจริงจัง มีการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ” เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561 มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรมนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศได้อีกไม่เกิน 2 ปี หรือห้ามไม่ให้มีการนำเข้าอีกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563

ขยะอิเล็กทรอนิกส์

ในส่วนของขยะอิเล็กทรอนิกส์ คณะอนุกรรมการชุดเดียวกันมีมติตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ว่าจะห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 432 รายการตามพิกัดศุลกากรที่กำหนด มอบหมายให้กรมศุลกากรควบคุมดูแล ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อมาจึงมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ..2563ห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามรหัสสถิติ “899” ภายใต้การควบคุมตามอนุสัญญาบาเซลฯ จำนวน 428 รายการ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2563

อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่า ประกาศกระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ยกเลิกการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นของเสียอันตรายในทุกประเภท หรือทุกพิกัดศุลกากร ยกตัวอย่างยกเว้นขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพิกัดศุลกากร 8548หรือจำพวก “เศษและของที่ใช้ไม่ได้ของเซลล์ปฐมภูมิ แบตเตอรี่ปฐมภูมิ และหม้อสะสมไฟฟ้า รวมถึงพวกเซลล์ปฐมภูมิที่ใช้แล้ว แบตเตอรี่ปฐมภูมิที่ใช้แล้วและหม้อสะสมไฟฟ้าที่ใช้แล้ว รวมทั้งส่วนประกอบทางไฟฟ้าของเครื่องจักรหรือเครื่องอุปกรณ์ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่นในตอนนี้” ของเสียอันตรายกลุ่มนี้จึงยังถูกนำเข้าประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย

มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านมลพิษและขยะอุตสาหกรรมมานานกว่า 20 ปี ติดตามปัญหาและศึกษาข้อมูล พบว่าระหว่างกันยายน 2563ถึงเมษายน 2564ประเทศไทยนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพิกัดศุลกากร 8548เข้ามาในประเทศสูงถึง 28.85 ล้านกิโลกรัม เฉพาะช่วงสี่เดือนแรกของปี 2564 คือ มกราคม เมษายน ก็มีการนำเข้าสูงถึง 13.56 ล้านกิโลกรัม รวมทั้งพบว่าการห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะกลุ่มที่สำแดงรหัสสถิติ “899” ภายใต้อนุสัญญาบาเซลฯ ทำให้เกิดช่องโหว่ให้ผู้ประกอบกิจการสามารถนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้หากสำแดงรหัสสถิติเป็น “800” “000” “090” และ “890” อันเป็นกลุ่มรหัสสถิติที่ไม่ได้ถูกตีความว่าเป็นของเสียภายใต้อนุสัญญาบาเซลฯ

สิ่งของประเภทคอมพิวเตอร์ส่วนตัว แลปท็อป แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้แล้ว เศษหรือชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ จึงสามารถนำเข้ามาได้อย่างถูกกฎหมาย

มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่อ่อนแอ การเปิดโอกาสให้ของเสียจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย เป็นแรงขับให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลจากกลุ่มทุนต่างประเทศตามเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร โรงงานหลายแห่งไม่ได้มาตรฐานด้านการควบคุมมลพิษ นับตั้งแต่ปี 2561เป็นต้นมามา ปัญหามลภาวะจากโรงงานไซเคิลเพิ่มขึ้นมากและสร้างความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม

trashimport02

จากการสืบค้นฐานข้อมูลการนำเข้าสินค้าจากฐานข้อมูลการนำเข้าสินค้า ใน “พิกัด อัตราศุลกากร 2017” เว็บไซต์ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. http://tradereport.moc.go.th/searchhs.aspx?TabHs=17 ของมูลนิธิบูรณนิเวศ พบรายชื่อ 20 ประเทศที่ส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์มายังประเทศไทยมากที่สุดในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-เมษายน) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ 20 ประเทศที่ไทยนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้


ประเทศที่ไทยนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ HS8548 (หน่วย : กิโลกรัม)
1สหรัฐอเมริกา
10,855,517 กิโลกรัม
2จีน948,999 กิโลกรัม
3ญี่ปุ่น897,800 กิโลกรัม
4เบลเยียม275,652 กิโลกรัม
5ฝรั่งเศส213,595 กิโลกรัม
6สหราชอาณาจักร100,132 กิโลกรัม
7แคนาดา85,016 กิโลกรัม
8เกาหลีใต้74,521 กิโลกรัม
9เมียนมา33,695 กิโลกรัม
10อิตาลี26,961 กิโลกรัม
11ฮ่องกง11,480 กิโลกรัม
12เวียดนาม10,288 กิโลกรัม
13ไต้หวัน5,884 กิโลกรัม
14อินเดีย5,133 กิโลกรัม
15โปร์แลนด์4,546 กิโลกรัม
16มาเลเซีย2,908 กิโลกรัม
17สาธารณรัฐเช็ก2,904 กิโลกรัม
18อินโดนีเซีย1,280 กิโลกรัม
19นิวซีแลนด์1,064 กิโลกรัม
20สาธารณรัฐสโลวัก891 กิโลกรัม

อื่นๆ (รวม 19 ประเทศ)3,278 กิโลกรัม
รวมทุกประเทศ (39)13,561,544 กิโลกรัม

ตาราง 1 : 20 อันดับประเทศที่ไทยนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์(HS8548) มากที่สุดในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคมเมษายน)เฉพาะพิกัดศุลกากร HS8548

สำหรับเศษพลาสติก รายชื่อ 20 ประเทศที่ส่งออกเศษพลาสติกมายังประเทศไทยมากที่สุด ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-เมษายน) เรียงตามลำดับดังนี้


ประเทศที่ไทยนำเข้าเศษพลาสติกมากที่สุดปริมาณเศษพลาสติก HS3915 (หน่วย : กิโลกรัม)
1ญี่ปุ่น13,119,390 กิโลกรัม
2สหรัฐอเมริกา10,379,114 กิโลกรัม
3จีน5,177,360 กิโลกรัม
4ฮ่องกง2,781,179 กิโลกรัม
5แคนาดา2,312,434 กิโลกรัม
6ออสเตรเลีย1,619,169 กิโลกรัม
7เยอรมนี1,285,481 กิโลกรัม
8เม็กซิโก1,118,406 กิโลกรัม
9เนเธอร์แลนด์1,052,057 กิโลกรัม
10สเปน863,117 กิโลกรัม
11มาเลเซีย793,785 กิโลกรัม
12โปแลนด์735,008 กิโลกรัม
13ไต้หวัน561,796 กิโลกรัม
14เกาหลีใต้503,652 กิโลกรัม
15อินโดนีเซีย276,284 กิโลกรัม
16เบลเยียม251,091 กิโลกรัม
17สหราชอาณาจักร242,100 กิโลกรัม
18สิงคโปร์239,788 กิโลกรัม
19ลิทัวเนีย132,229 กิโลกรัม
20เมียนมา103,357 กิโลกรัม

อื่นๆ (รวม17 ประเทศ)760,579 กิโลกรัม

รวมทุกประเทศ (37)44,307,376 กิโลกรัม

ตาราง 2 : 20 อันดับประเทศที่ไทยนำเข้าเศษพลาสติก (HS3915) มากที่สุดในช่วง4 เดือนแรของปี 2564 (มกราคม เมษายน)เฉพาะพิกัดศุลกากร HS3915

ทั้งนี้นิยามคำว่า “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” และ “เศษพลาสติก” ตามการจัดอันดับข้างต้นเป็นไปตามนิยามเฉพาะพิกัดศุลกากร H8548 และ HS3915 หมายถึง “เศษและของที่ใช้ไม่ได้ของเซลปฐมภูมิแบตเตอรี่ปฐมภูมิ และหม้อสะสมไฟฟ้า เซลปฐมภูมิที่ใช้แล้ว แบตเตอรี่ปฐมภูมิที่ใช้แล้ว และหม้อสะสมไฟฟ้าที่ใช้แล้ว รวมทั้งส่วนประกอบทางไฟฟ้าของเครื่องจักรหรือเครื่องอุปกรณ์ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่นในตอนนี้” และ “เศษพลาสติก” หมายถึง “เศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติก” ตามลำดับ

trashimport03

นอกจากสถิติตัวเลขดังกล่าว เมื่อพิจารณาปริมาณเศษพลาสติก HS3915 ที่ไทยนำเข้าระหว่างปี 2558 – 2563 จะพบปริมาณการนำเข้า ดังนี้

ปีปริมาณการนำเข้าเศษพลาสติก HS3915 (หน่วย กิโลกรัม)
255856,212,660 กิโลกรัม
255969,506,145 กิโลกรัม
2560152,737,452 กิโลกรัม
2561552,721,267 กิโลกรัม
2562323,167,065 กิโลกรัม
2563150,807,312 กิโลกรัม
4 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-เมษายน)44,307,376 กิโลกรัม

ตาราง 3 : ปริมาณเศษพลาสติก(HS3915) ที่ไทยนำเข้าระหว่างปี 2558 – 2563 เฉพาะพิกัดศุลกากร HS3915

ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าปัญหาการนำเข้าขยะยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง อัครพล ตีบไธสง เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคและวิจัยของมูลนิธิบูรณะนิเวศ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของภาครัฐที่ผ่านมาเพื่อยับยั้งการนำเข้าขยะอันตรายว่า “การออกประกาศแบบมีช่องโหว่เช่นนี้ทำให้ยังคงมีการนำเข้า อีเวสต์ ต่อไปได้โดยถูกกฎหมาย ขณะเดียวกันรัฐบาลก็อ้างได้ว่ากำหนดมาตรการหรือกฎหมายออกมาแล้ว มีการแก้ไขปัญหาในทางนโยบายแล้ว ซึ่งอาจจะช่วยลดกระแสการกดดันจากสังคมทั้งในและนอกประเทศ แต่อย่างที่บอกคือ เมื่อคุณออกกฎหมายที่มีช่องโหว่แบบนี้มา ปัญหาก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม”