คำว่า “ขนมปัง” ในภาษาไทยย่อมมีต้นทางมาจากภาษาฝรั่ง บางท่านว่ามาจากภาษาโปรตุเกสว่า pão (เปา) แต่บางคนเชื่อว่ามาจาก pain (แปง) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองคำล้วนมีต้นรากเดียวกันคือ panis ในภาษาละติน ส่วนการที่คนไทยจัดประเภทว่าสิ่งนี้คือ “ขนม” แล้วสร้างเป็นคำซ้อน “ขนมปัง” เกิดขึ้นเมื่อใดยังค้นไม่พบ แต่อาจเป็นในราวสมัยต้นกรุงเทพฯ

Bread-Time ไทม์ไลน์ขนมปังในเมืองไทย

Bread-Time ไทม์ไลน์ขนมปังในเมืองไทย

๒๒๓๐/ค.ศ. ๑๖๘๗

ลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา บันทึกว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานขนมปังให้แก่คณะทูต แต่เป็นขนมปังที่ “แห้งผากเกินไป” ส่วนกวีย์ ตาชาร์ด (Guy Tachard ) มิชชันนารีฝรั่งเศสที่ร่วมมาคณะของลาลูแบร์ ระบุว่า แป้งสาลีในอยุธยาหายาก เพราะต้องนำเข้ามาจากที่ไกลๆ เช่นอินเดียหรือญี่ปุ่น