เรากำลังมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของโลก

กว่า 260 ปีนับแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก ก่อความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศจนเกิด “ภาวะโลกร้อน”หรือ “ภาวะโลกรวน” ส่งผลให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติและหายนะที่จะเพิ่มทบทวีคูณในศตวรรษที่ 21

หลายประเทศทั้งภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาคม จึงประกาศจุดยืนเพื่อสร้างความร่วมมือในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050-2060

SCG Future is Net Zero 2050 - Net Zero - Climate Action

เอสซีจีจึงตั้งเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลง 20% ภายในปี ค.ศ. 2030 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050 สอดคล้องกับเป้าหมายของนานาประเทศ เพราะการกู้วิกฤตใหญ่ ต้องอาศัยเอกภาพของความร่วมมือ

นี่คือเป้าหมายสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ ที่ทุกคนต้องช่วยกัน

netzero02

Climate Change Crisis

  • วิกฤตคลื่นความร้อน (Heat Wave) ไฟป่า และภัยแล้ง

อุณหภูมิความร้อนสุดขีดจะคร่าชีวิตผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดไฟป่าใหญ่ที่ทำลายทั้งพื้นที่ป่า ชีวิตสัตว์ และอาคารบ้านเรือน แหล่งน้ำต่างๆ เหือดแห้งส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างน้อย 1.5 พันล้านคน

  • น้ำทะเลท่วมเมืองชายฝั่ง และน้ำท่วมใหญ่

บ้านเมืองตามชายฝั่งทะเลอย่างกรุงเทพมหานคร จะถูกชายฝั่งทะเลกลืนกิน ประเทศเกาะกลางทะเล เช่น ฟิจิ อาจจมหายไปในมหาสมุทร ส่วนพายุใหญ่ฉับพลันจะทำให้เกิดอุทกภัยใหญ่บ่อยครั้งขึ้นและมีผู้ได้รับผลกระทบหลายสิบล้านคน

  • ก้าวแรกของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ทะเลกรดจัดทำให้ห่วงโซ่อาหารในทะเลล่มสลาย มนุษย์สูญสิ้นแหล่งอาหารสำคัญ ระบบนิเวศบนบกพังทลาย กลายเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ซึ่งส่งผลร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึงต่อสังคมมนุษย์ในทุกพื้นที่

Net Zero Around the World

1. Save Energy

เอสซีจี ปรับปรุงและเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงานซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ Smart Factory ซึ่งใช้ AI และระบบออโตเมชันมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้คุ้มค่า นอกจากนี้ยังได้พัฒนานวัตกรรมด้าน Smart Building และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล BIM และ Drone ช่วยการออกแบบอาคารก่อนก่อสร้าง เพื่อช่วยลดพลังงานและทรัพยากรในการก่อสร้างของลูกค้าอีกด้วย

Coca-Cola ใช้ระบบบริหารจัดการทั้งแสงสว่างและระบบปรับอากาศ ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 35%

Samsung ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วทั้งองค์กร

2. Green Energy

  • เอสซีจี ขยายการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนบก บนหลังคา และบ่อน้ำในโรงงานซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ใช้พลังทดแทน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากความร้อนเหลือทิ้งในกระบวนการผลิต (WHG) และเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน โดยนำเศษผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellet) และขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน (RDF) นอกจากนี้ยังใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถบรรทุกหินปูนขนาด 60 ตัน ชนิดไฟฟ้า (EV Mining Truck) เพื่อใช้ในเหมืองปูนซีเมนต์รายแรกของไทย และรถโม่พลังงานไฟฟ้า (EV Mixer Truck) สำหรับขนส่งคอนกรีต
  • กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก มุ่งลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล เปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดอย่างลม แสงอาทิตย์ คลื่น และชีวภาพ
  • ออสเตรเลีย ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศผู้ส่งออกไฮโดรเจนชั้นนำของโลกภายในปี 2030 ด้วยเทคโนโลยีพลังงาน Green Hydrogen
  • Apple ใช้พลังงานหมุนเวียนภายในบริษัท 100%
  • Google ใช้พลังงานลม แสงอาทิตย์ และก๊าซชีวภาพ มากกว่า 70%

3. Reduce Carbon Footprint

  • เอสซีจี พัฒนานวัตกรรมด้านสินค้า บริการและโซลูชันที่ผ่านการรับรองด้วยฉลาก SCG Green Choice ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน เช่น ปูนซีเมนต์รักษ์โลกที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 50 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปูน 1 ตัน นวัตกรรม Solar Roof Solutions ที่ช่วยบ้านประหยัดงาน ฯลฯ และจัดทำโครงการPile Waste Solution ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง (CECI) นำเศษเสาเข็มคอนกรีตมาแปรรูปเป็นวัสดุก่อสร้างตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการใช้ทรัพยากรและขยะของเสียไปพร้อมกัน
  • สหภาพยุโรป ประกาศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 และบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050
  • Starbucks หยุดใช้แก้วพลาสติกและถ้วยกระดาษภายในปี 2025
  • NIKE ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ 78%

4. Carbon Capture

  • เอสซีจี ดำเนินการฟื้นฟูเหมืองหินปูนด้วยการปลูกพันธุ์ไม้พื้นถิ่นและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งปลูกป่าและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทั้งบริเวณรอบโรงงานซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและพื้นที่อื่นๆ โดยสร้างความร่วมมือกับชุมชนและภาครัฐ ทั้งป่าบก ป่าชายเลน และหญ้าทะเล เพื่อขยายพื้นที่แหล่งดูดซับคาร์บอน รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยกักเก็บคาร์บอนให้เกิดขึ้นในอนาคต
  • Shell สร้าง Carbon Capture and Storage ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • GreenTrees พัฒนาธุรกิจปลูกป่าเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนอย่างยั่งยืน