ภาพ : กวิน สิริจันทกุล, อิทธิกร ศรีกุลวงศ์

ค่ายสารคดีคลับ “Thinking อิน คลอง ล่องเรือดูกรุง

“มันยากมากที่จะมีกิจกรรมดึงชาวค่ายมารวมตัวกัน เพื่อทำอะไรสักอย่างให้สังคม”

“ดีใจที่ได้เจอเพื่อน เหมือนเป็นวันอาทิตย์ที่เหนื่อยกาย แต่สุขใจ”

“เราเห็นวิถีชีวิตริมคลอง แล้วนึกย้อนไปวัยเด็ก รู้สึกเหมือนได้กลับบ้าน”

“ไม่คิดว่ากรุงเทพจะมีคลอง ทำให้รู้ว่าเราลืมจุดเริ่มต้นของกรุงเทพ ซึ่งเริ่มจากคลอง”

“ชีวิตของคนที่นี่ขึ้นอยู่กับประตูน้ำ ทำให้สนใจว่าต่อจากนี้จะเป็นยังไง จะมีคนสนใจสิ่งแวดล้อมเหมือนพี่ซันรึเปล่า”

“คลองแถวนี้เยอะกว่าเวนิสหลายเท่า แต่ปัจจุบัน เรากลับทำเหมือนมันเป็นแค่ที่ทิ้งขยะ”

ส่วนหนึ่งจากความคิดเห็นของเพื่อน ๆ อดีตชาวค่ายสารคดีทั้ง 18 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม “Thinking อิน คลอง ล่องเรือดูกรุง” เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 4 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา นำทริปโดย ‘ซัน’ ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์ เจ้าของเรือไฟฟ้าสุขสำราญ และอดีตค่าย 4 พาชาวค่ายล่องเรือไฟฟ้าชมคลองฝั่งธนฯ สัมผัสเรื่องราวประวัติศาสตร์ คน วัฒนธรรม อาหาร ความเชื่อ ความเป็นอยู่ เรียนรู้ธรรมชาติสองฝั่งคลอง เเละมุมมองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป จากยุครุ่งเรื่องจนถึงปัจจุบัน กาลเวลาส่งผลอย่างไรต่อวิถีชีวิตผู้คนที่นี่บ้าง ?

เมื่อเพื่อนพ้องน้องพี่ ได้มาเจอกัน บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความอบอุ่น ทุกคนต่างยิ้มแย้มให้กันด้วยความคุ้นเคย เราใช้เวลาแนะนำตัว และทำความรู้จักกันไม่นาน จึงแยกเรือออกเป็นสาย A – B แล้วล่องออกจากท่าน้ำวัดกัลยาณมิตร ไปตามสายน้ำคลองบางหลวง มุ่งหน้าโรงเต้าเจี้ยว เฮ้า ย่ง เซ้ง ดูกระบวนการผลิตเต้าเจี้ยวแบบโบราณ ที่มีมากกว่า 108 ปีมาแล้ว

จากนั้น แบ่งออกเป็น 2 สาย เรือ A มุ่งหน้าไปคลองด่าน แวะวัดราชโอรส รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านตามสั่งป้าอู๊ด แล้วเดินเรือไปทางวัดไทร แวะร้านชำ “ถิ่นไพบูลย์” ฟังเรื่องราวตำนานตลาดน้ำวัดไทร ถิ่นที่เคยเป็นต้นกำเนิด “เวนิสตะวัดออก” ในยุคของบางกอก แล้วกลับมาคลองบางหลวง แวะเยือนบ้านวัชโรทัย ชมรูปแบบบ้านขุนนางริมคลองบางหลวงในอดีต

เรือ B ออกจากโรงเต้าเจี้ยว แวะ ซัมซัวก๊กอ่วง ศาลเจ้าโบราณ ที่ต้องเดินทางมาทางน้ำอย่างเดียวเท่านั้น ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านครัวคุณอ๋อย วัดกำแพงบางจาก ตลาดริมคลองบางหลวง แล้วเข้าคลองมอญ ช่วยกันเก็บขยะบนคลองด้วยใจอาสา ก่อนแวะบ้านพระยาสิทธิสงคราม ขุนนางเก่าผู้มีบทบทสำคัญในอดีต ก่อนกลับท่าน้ำวัดกัลยาณมิตรดังเดิม

ตลอดกิจกรรม นอกจากได้เห็นวิถีชีวิตคนกรุงผ่านสายน้ำ กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปแล้ว เรายังได้ทำความรู้จักกับเพื่อนต่างค่ายมากขึ้น ได้พูดคุย และแลกเปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับสายน้ำ จนเกิดแรงบันดานใจจะผลิตผลงานสื่อสารตามมุมมองต่าง ๆ ที่ตนสนใจให้ผู้อื่นได้รับรู้

ค่ายสารคดีคลับ จัดขึ้นเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ของศิษย์เก่าค่ายสารคดี เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของรุ่นพี่-รุ่นน้อง ตลอดจนการเข้าร่วมกันสร้างสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

thinkingklong02
  • thinkingklong03
  • thinkingklong04
  • thinkingklong05
  • thinkingklong06
  • thinkingklong07
  • thinkingklong08
  • thinkingklong09
  • thinkingklong10
  • thinkingklong11
  • thinkingklong12
  • thinkingklong13
  • thinkingklong14
  • thinkingklong15
  • thinkingklong16
  • thinkingklong17
  • thinkingklong18
  • thinkingklong19
  • thinkingklong20
  • thinkingklong21
  • thinkingklong22
  • thinkingklong23
  • thinkingklong24
thinkingklong25
  • thinkingklong26
  • thinkingklong27
  • thinkingklong28
  • thinkingklong29
  • thinkingklong30
  • thinkingklong31
  • thinkingklong32
  • thinkingklong33
  • thinkingklong34
  • thinkingklong35
  • thinkingklong36
  • thinkingklong37
  • thinkingklong38
  • thinkingklong39
  • thinkingklong40
  • thinkingklong41
  • thinkingklong42
  • thinkingklong43
  • thinkingklong44
  • thinkingklong45
  • thinkingklong46
  • thinkingklong47
  • thinkingklong48
  • thinkingklong49
  • thinkingklong50
  • thinkingklong51
  • thinkingklong52
  • thinkingklong53
thinkingklong54
thinkingklong55

ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนโครงการค่ายสารคดีคลับ

  • สสส.
  • มูลนิธิเล็ก-ประไพวิริยะพันธุ์
  • นิตยสารสารคดี