สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๘ เดือน มิถุนายน ๒๕๔๕
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๘ เดือน มิถุนายน ๒๕๔๕ " ปั้นดินให้เป็นบ้าน "
  นิตยสารสารคดี Feature Magazine ISSN 0857-1538  
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๗ เดือน พฤษภาคม ๒๕๔๕  
ส า ร บั ญ
โลกใบใหญ่
โลกใบเล็ก
คลิกอ่านต่อ
มะพร้าวมรณะ
โลกใบเล็ก
คลิกอ่านต่อ
เมื่อพืชผสม (พันธุ์) สัตว์
อ่านเอาเรื่อง
โค้งสุดท้าย พ.ร.บ. ป่าชุมชน รับหรือไม่รับ ป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์
สัตว์-พรรณพืช
คลิกดูภาพใหญ่
อีเมลจากแม่เต่าตนุ เผยเส้นทางชีวิตลี้ลับ เต่าทะเลแห่งอาเซียน
สะกิดตา-สะกิดใจ
ประเพณี-วัฒนธรรม
ประเพณีวันชุมนุมกะเหรี่ยง ที่วัดแจ้งเจริญ
เกร็ดข่าว
คลิกดูภาพใหญ่
นักรบบนยอดเขาน้ำค้าง และอุโมงค์ โจรจีนคอมมิวนิสต์
การค้นพบ
คลิกดูภาพใหญ่
ค้นพบฟอสซิล กระรอกบินชนิดใหม่ของโลก
สิ่งแวดล้อม
จัดระเบียบใหม่ ให้ผืนป่าตะวันตก
ที่นี่มีอะไร
หนังสือบนแผง
โลกบันเทิง
ภาพยนตร์
Blissfully Yours สุดสเน่หา
โลกธรรมชาติ และวิทยาการ
โลกวิทยาการ
คลิกดูภาพใหญ่
บุคลิกภาพของ ไอแซก นิวตัน (ตอน ๑)
คลื่นวิทย์-เทคโนฯ
มหัศจรรย์แห่งชีวิต (๔๑)
ส่องจักรวาล
สำรวจ "กลุ่มดาวคนยิงธนู"
คอลัมน์ประจำ - ปกิณกะ
เชิญดอกไม้
คลิกอ่านต่อ
ดอกสังกรณี
เรื่องจากปก
เรื่องเด่นในฉบับ
สารคดีพิเศษ
Special Attractions
จากบรรณาธิการ
บ้านพิพิธภัณฑ์
ร้านขายยา
ข้างครัว
ไขมันสำคัญไฉน
เขียนถึงสารคดี
Feature@ Sarakadee.com
สมาชิกอุปถัมภ์
สยามร่วมสมัย
คลิกดูภาพใหญ่
เรือเครื่องดีเซล ลำแรกที่มาเมืองไทย
บันทึกนักเดินทาง
คลิกดูภาพใหญ่
บ่างนักร่อนที่หมู่เกาะสุรินทร์
สัมภาษณ์
ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์
ความรู้สึกไม่ยุติธรรม คือต้นเหตุการทำลายทรัพยากร
ตามหาการ์ตูน
การ์ตูนยุโรป
สารคดีภาพ
คลิกดูภาพใหญ่
ลูกหนังข้างถนน
บทความพิเศษ
ฟุตบอลโลก ๒๐๐๒ : มุมหนึ่งของห้องปฏิบัติการ ทางอุดมการณ์
ศิลปะ
คลิกอ่านต่อ
อองรี มาติส
ศิลปิน-นักคิด แห่งคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐
ลายศิลป์ ลายชีวิต ในเวียงวัง
พระราชวังดุสิต ตอนที่ ๑
เฮโลสาระพา
เที่ยวทั่วไทยไปกับ "นายรอบรู้"
เที่ยวทั่วไทยไปกับ นายรอบรู้
โค้งสุดท้าย พ.ร.บ. ป่าชุมชน รับหรือไม่รับ ป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์
เรื่องจากปก
ปั้นดินให้เป็นบ้าน ปั้นดินให้เป็นบ้าน
กลับสู่ความรู้เดิม ที่ฝังอยู่ในยีนของเรา

       ภูมิปัญญาการสร้างบ้านด้วยดินไม่ใช่ของใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในโลก ซ้ำยังอาจนับเป็นความรู้การสร้างที่อยู่อาศัยที่เก่าแก่ที่สุดได้ด้วยซ้ำ ความอเนกประสงค์และมีอยู่ทุกหนแห่ง ทำให้คนทุกทวีปใช้ดินสร้างบ้านมาทุกยุคทุกสมัย มีผู้ประมาณเอาไว้ว่า ประชากรโลกเกิน ๑ ใน ๓ ยังอยู่ในบ้านที่สร้างด้วยดิน บ้านเหล่านั้นคงทนผ่านแดดฝนและแผ่นดินไหวนานนับศตวรรษ 
       ในเมืองไทย มีชาวนาคนหนึ่งเชื่อว่าบ้านก็เหมือนปัจจัยสี่อื่น ๆ ที่คนเราควรสร้างมันขึ้นมาเองได้ 
       เขาปลูกบ้านดินด้วยฝีมือตนเองและอยู่อาศัยจริงมานาน ๔ ปีแล้ว
สารคดีพิเศษ
(คลิกดูภาพใหญ่) ปั้นดินเป็นบ้าน กลับสู่ความรู้เดิมในยีนของเรา

       ๑๐ ปีก่อนในสหรัฐอเมริกา เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของผู้สนใจปลูกบ้าน ที่คิดถึงคุณค่าต่อสังคม และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม พวกเขาเห็นว่าอุตสาหกรรมการสร้างบ้านสมัยใหม่ มีส่วนทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเชื่อด้วยว่าคนทุกคนสามารถสร้างบ้านได้ ด้วยภูมิปัญญาที่ถูกส่งทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งยังฝังอยู่ในยีนของมนุษย์ เพียงแต่ "ถูกทำให้ลืมไป" หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเกิดอาชีพเฉพาะด้าน เช่น สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา จนมีคนไม่น้อยที่คิดว่า การสร้างบ้านให้ตัวเองอยู่สักหลังต้องใช้เงินเก็บ หรือเงินกู้เป็นแสนเป็นล้าน ต้องเป็นหนี้ ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ และต้องใช้เครื่องจักรมากมาย
       จาเนลล์ คาพัวร์ และมิเชล สปาน สองผู้เชี่ยวชาญการสร้างบ้านดิน จากสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ เดินทางมายังเมืองไทย เพื่อสนับสนุนความจริงที่ว่า ทุกคนสร้างบ้านได้เอง ด้วยการเปิดค่ายสร้างบ้านจากของธรรมดา ๆ สามอย่างคือ ดินเหนียว ทราย และฟาง ขึ้นที่อาศรมวงศ์สนิท จ. นครนายก

อ่านต่อคลิกที่นี้อ่านต่อคลิกที่นี้


(คลิกดูภาพใหญ่) หมีควาย-หมีหมา ในผืนป่ามรดกโลกห้วยขาแข้ง

       ว่ากันว่าโอกาสที่จะได้พบ "หมี" ในป่าเมืองไทยนั้น อาจมีน้อยกว่าการพบหมีขาวขั้วโลก ยิ่งการถ่ายภาพหมีในป่าเมืองไทยด้วยแล้ว หลายคนเห็นพ้องกันว่าอาจต้องนับเป็นเรื่องของโชคล้วน ๆ ทั้งนี้เพราะ หมีในป่าเขตร้อนนั้น ไม่เพียงจะมีจำนวนลดน้อยลงจนกลายเป็นสัตว์หายาก หากยังเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน และมักอาศัยอยู่ตามป่าลึกที่คนเข้าไปไม่ถึง โอกาสที่จะพบตัวมันจึงมีน้อยเต็มที 
       นี่อาจนับเป็นโอกาส "หนึ่งในร้อย" ที่เราจะได้เห็นภาพหมีหมาและหมีควายในป่าเมืองไทย อย่างชัดเจน ผ่านกล้องและ "โชค" ของ สมาน คุณความดี ช่างภาพสัตว์ป่าที่ใช้ชีวิตเวียนเข้าออกผืนป่าเมืองไทยนับครั้งไม่ถ้วน เพื่อเก็บภาพและเรื่องราวของสัตว์ป่าหายากมาให้เราได้ชมกัน

อ่านต่อคลิกที่นี้อ่านต่อคลิกที่นี้


Special Attractions
"Sarakadee" Vol. 17 No. 208 June 2002 Cover: Upon external and internal inspection, this adobe library at Wat Nong Kung, Khonkhaen Province represents another way of building an earthen home. In addition to this specific adobe construction in Khonkhaen Province, other adobe houses can also be found in Yasothorn and Nakhorn Ratchasima Province.
Vol. 17 No. 208 June 2002
(Bigger) Cob Housing

        Building a house requires a large sum of money, and can cost up to and possibly over a million baht. The average low to middle class person would most likely have to take out a loan from a bank towards the construction of a house and spend some 20 to 30 years paying back that loan, with interest. That money would go to hiring architects, engineers and construction workers, a carefully drafted plan of your house, rental machinery, materials... What if there is another cheaper, environmentally-friendly and more enriching alternative to a new home?

Click Here to Continue Continue: click here


(Bigger) The Bears at Hua Khakhaeng

       Hua Khakhaeng can be considered nature's library, as it hosts Thailand's most extensive collection of flora and wildlife. Many photographers have built their careers from the work they've done in this very forest, and many more continue to be inspired by its vivacious and rich character. Join this Sarakadee journalist in capturing a little fraction of that character in a collection of pictures, and see what interesting wildlife turn up for a few poses...

Click Here to Continue Continue: click here


(Bigger)   Henri Matisse: Artist and Philosophizer of the Twentieth Century

       An important French artist, Henri Matisse (1869 - 1954) is also one of the most highly respected philosophers to date - so especially esteemed, in fact, that the French government constructed a museum in his honor in 1954, naming it the Musee Matisse in his birthplace of Le Cateau-Cambresis in Northern France. Initially trained in law, Matisse did not take up art until age 21, but he did thereafter live a long and fulfilling life as an artist. In fact, it was later in his life when he produced some of his most noted collections - the Odalisques collection was inspired from a trip to Morocco in 1911.


เ ฮ โ ล ส า ร ะ พ า
หมูอมตะ กำเนิดฟุตบอล

"หมูอมตะ"

ส ะ กิ ด ต า
(คลิกดูภาพใหญ่) ซากชะนี มีขายทั่วไปในตลาดแถบเขาพนมกุเลน เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์
ส ะ กิ ด ใ จ
๑๐ ข้อคิดจาก "ล้อต๊อก"

       "ล้อต๊อก" ศิลปินตลกอาวุโส ได้ฝากข้อคิดเตือนใจนักแสดงไว้ในหนังสือ ภาพยนตร์บันเทิง ปีที่ ๒๑ วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๓๘ ถึง ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ เอาไว้ว่า
       ๑. อย่าคิดว่าเราเป็นนักแสดง อย่าลืมตัว นึกเสียว่าเราเป็นคนธรรมดา มีหน้าที่สร้างความสุข ความอภิรมย์ให้แก่ประชาชน ให้ความสุขความสบายใจแก่ประชาชน อย่าเอาความทุกข์ไปให้เขา
       ๒. ให้รักงานแสดง อย่าทิ้งเป็นอันขาด
       ๓. งานแสดงต้องเดินหน้าเงิน อย่าเอาเงินเดินหน้างานแสดง
       ๔. อย่าทรยศประชาชนคนดู เพราะดารานักแสดงอยู่ได้ เพราะความเมตตาสนับสนุนของประชาชน แสดงให้เต็มที่ทุกครั้ง
       ๕. หามุขใหม่มาแสดงทุกครั้ง
       ๖. ให้สังเกต ศึกษา ให้เข้าถึงสังคมและประเพณีทุกระดับ จะได้แสดงได้
       ๗. หัดทำท่าทางของคนทั่วไป เพื่อใช้ในงานแสดง
       ๘. หัดใช้ภาษาท้องถิ่นของแต่ละภาค
       ๙. ต้องถืองานแสดงเป็นสิ่งสำคัญ
       ๑๐. อย่ายุ่งเรื่องผู้หญิงกับการพนัน