สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๘ เดือน มิถุนายน ๒๕๔๕
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๘ เดือน มิถุนายน ๒๕๔๕ "โค้งสุดท้าย พ.ร.บ. ป่าชุมชน รับหรือไม่รับ ป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์"
นิตยสารสารคดี Feature Magazine ISSN 0857-1538
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๘ เดือน มิถุนายน ๒๕๔๕  

โค้งสุดท้าย พ.ร.บ. ป่าชุมชน
รับหรือไม่รับ ป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์

โค้งสุดท้าย พ.ร.บ. ป่าชุมชน รับหรือไม่รับ ป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน 
ชัยชนะ จารุวรรณากร, เพ็ญศิริ จันทร์ประทีปฉาย : ถ่ายภาพ
      จุดเริ่มต้นของการผลักดันเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่ง พ.ร.บ. ป่าชุมชน เกิดขึ้นเมื่อกรมป่าไม้ให้นายทุนเช่าพื้นที่ป่าห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในปี ๒๕๓๒ การกระทำชำเราป่าไม้ของเหล่านายทุน ทำให้ชาวบ้านห้วยแก้วรวมตัวกันต่อสู้เรียกร้อง ให้กรมป่าไม้เพิกถอนการให้เช่าพื้นที่ป่า เพื่อให้ชาวบ้านจัดการกันเองในรูปของป่าชุมชน 
      นอกจากนี้ แนวคิดที่ว่า ป่าต้นน้ำควรเป็นพื้นที่สีเขียวที่ปลอดมนุษย์ ซึ่งแปรมาเป็นนโยบายเอาคนออกจากป่าในเวลาต่อมา ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นไปอีก 
      เมื่อปรากฏความล้มเหลวในการอพยพคนออกจากป่าหลายกรณี แรงผลักดันจากกระแสเรียกร้องเรื่องป่าชุมชนที่เพิ่มความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กรมป่าไม้ต้องยกร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับกรมป่าไม้ขึ้นในปี ๒๕๓๔ อีกสองปีต่อมาจึงแล้วเสร็จ แน่นอนว่า องค์กรภาคประชาชนปฏิเสธร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะอนุญาตให้ชุมชนมีสิทธิใช้สอยเฉพาะพื้นที่ป่าปลูกเท่านั้น และอำนาจในการจัดการป่ายังอยู่ในมือกรมป่าไม้เหมือนเดิม ในขณะที่ชาวบ้านต้องการกฎหมายที่รองรับสิทธิชุมชน ให้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการดูแลและใช้สอยประโยชน์จากป่าอย่างแท้จริง
      การระดมความเห็นและประสบการณ์เพื่อร่างกฎหมายป่าชุมชนของภาคประชาชน อันประกอบด้วย นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และชาวบ้านเครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือ เริ่มด้วยการสร้างเครือข่ายองค์กร เครือข่ายป่าชุมชนที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ นำไปสู่การยกร่างกฎหมายป่าชุมชนร่วมกันอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ๒๕๓๙ ที่จังหวัดเชียงใหม่ 
      การร่างกฎหมายป่าชุมชนของภาคประชาชน ทำให้ความขัดแย้งในแนวคิดการจัดการป่าของภาครัฐกับองค์กรภาคประชาชนกลับชัดเจนขึ้น 
      ประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโต้แย้งกันมากและบ่อยครั้งที่สุด ซึ่งนำมาสู่การเปิดเวทีประชาพิจารณ์ในปี ๒๕๔๐ คือ ควรให้จัดตั้งป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์หรือไม่ และได้ร่วมกันปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายของเครือข่ายชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชนและภาครัฐในเวลาต่อมา
      ๑ มีนาคม ๒๕๕๓ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านเข้าชื่อกัน ๕ หมื่นคน เสนอร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนฉบับดังกล่าวต่อรัฐสภา ตามมาตรา ๑๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญ 
      สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๓ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนฉบับนี้ ก่อนเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
      "การจัดตั้งป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่ชุมชนนั้น เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมและมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการอยู่อาศัย ที่เกื้อกูลต่อการดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปีก่อนวันที่ขอจัดตั้งเป็นป่าชุมชน" -- คือประเด็นสำคัญในร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนที่สมาชิกสภาผู้แทนมีมติรับรองเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ก่อนที่จะส่งต่อให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณา
      "การจัดตั้งป่าชุมชนจะกระทำในเขตอนุรักษ์มิได้ การจัดตั้งป่าชุมชน ให้กระทำได้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้น" -- นี่คือส่วนหนึ่งของคำแปรญัตติของสมาชิกวุฒิสภา ก่อนลงมติด้วยคะแนนเสียง ๑๐๗ ต่อ ๕๘ ตัดสิทธิชุมชนท้องถิ่นในการจัดตั้งป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์ได้เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเท่ากับว่าร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนที่แก้ไขโดยวุฒิสภา ได้เปลี่ยนแปลงหัวในสำคัญของร่างที่สภาผู้แทนมีมติรับรองไปอย่างสิ้นเชิง
      ร่าง พ.ร.บ. ที่วุฒิสภาแก้ไขนี้จะคืนสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง อีก ๑๘๐ วันนับจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้รับร่างที่แก้ไขจากวุฒิสภาแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ 
      กรณีที่ ๑ หากสภาผู้แทนราษฎรไม่ยืนยันตามร่างเดิมหรือเห็นด้วยกับร่างที่วุฒิสภาแก้ไข ก็หมายความว่าหลังจาก พ.ร.บ. ป่าชุมชนประกาศใช้ ในเขตป่าอนุรักษ์ทั้งหมดจะปลอดคน
      กรณีที่ ๒ หากสภาผู้แทนยืนยันตามร่างเดิมที่ได้ลงมติ ก็จะต้องตั้งกรรมาธิการร่วมสองสภาเพื่อหาข้อยุติกันต่อไป
      ช่วงเวลาต่อไปนี้คือโค้งสุดท้ายที่จะตัดสินว่า โครงสร้างการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยจะถูกผลิกโฉมหน้าไปจากเดิมหรือไม่ โดยเฉพาะในประเด็นการจัดการป่าในเขตอนุรักษ์ ซึ่งหมายถึงเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ และเขตอื่น ๆ ที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หรือพื้นที่ที่มีคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม ที่สมควรแก่การอนุรักษ์ตามกำหนดในกฎกระทรวง
      การต่อสู้มายาวนานนับสิบ ๆ ปีไม่ได้ทำให้ใครล่าถอยไป ทั้งฝ่ายที่ผลักดันให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการป่าชุมชนในป่าอนุรักษ์ได้ กับอีกขั้วความคิดที่ไม่ต้องการให้มีป่าชุมชนในป่าอนุรักษ์ ขณะที่ระหว่างกลางทั้งสองขั้วนี้ยังมีอีกกลุ่มที่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. นี้แต่ต้องการให้แก้ไขในบางมาตรา จะอย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้กำลังจะถึงปลายทางในไม่ช้านี้ 
      ปลายทางที่ดูเหมือนว่า ความขัดแย้งทางความคิดไม่ได้คลี่คลายลงไปเลย ทั้งที่ต่อสู้กันมานานนับสิบ ๆ ปี ซึ่งหมายความว่าทั้งสองฝ่ายต่างขับเคี่ยวกันมาอย่างโชกโชน ทั้งด้านความคิด ยุทธวิธีการต่อสู้ การงัดเอาข้อมูลจากทั้งสอง สาม หรืออาจจะหลาย ๆ ฝ่าย มาร่วมกันพิจารณาหาจุดกึ่งกลางหลายต่อหลายครั้ง มิหนำซ้ำทั้งสองฝ่ายยังไม่อาจ "จูน" คลื่นความต้องการอยากจะช่วยรักษาป่าเหมือน ๆ กัน ให้ตรงกันได้...ทำไม ? 
      อีกไม่นานเกินรอ เราก็คงจะได้เห็นว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะออกมาหน้าตาอย่างไร พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคนเกือบ ๒ ล้านคน และจะเพิ่มเป็น ๓ ล้านคนทันทีหากกรมป่าไม้ประกาศเขตอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอย่างที่วางแผนไว้ และเกี่ยวข้องทางอ้อมกับคน ๖๐ กว่าล้านคนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
      แต่ทำไมประเด็นเรื่องป่าชุมชนไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมกับคนทั่วไปได้ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่นักเคลื่อนไหวทั้งหลาย ควรพิจารณาระหว่างที่นั่งลุ้นอยู่ว่า กฎหมายที่มาจากประชาชนโดยแท้จริงฉบับแรกของประเทศไทยจะออกมาอย่างไร

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ประธานคณะกรรมาธิการ การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่พนัส ทัศนียานนท์
ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา

ส นั บ ส นุ น

คั ด ค้ า น

  • คนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะอคติที่เกิดจากความไม่เข้าใจว่า ป่าถูกทำลายได้อย่างไร และปัจจุบันมีการประกาศ เขตอนุรักษ์ทับที่อยู่ ที่ทำกินชาวบ้านจำนวนมาก
  • ป่ากับชุมชนมีการอิง อาศัยประโยชน์อยู่กับป่า โดยไม่ทำลายป่า คนจึงอยู่ร่วมกับป่ามาได้ช้านาน
  • การกระจุกอำนาจการดูแลรักษาป่า ให้อยู่ที่ราชการ ได้พิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว แต่การกระจายอำนาจ ให้ชุมชนดูแลรักษาป่า จะเกิดประโยชน์สูงสุด
  • แนวคิดเรื่องป่าชุมชน เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางความคิด ของบรรดาผู้นำทางความคิดของเมืองไทย ที่เน้นความสำคัญของมนุษย์ มากกว่าทรัพยากร
  • ความต้องการที่แท้จริง ของการผลักดัน ให้มีป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์ คือต้องการจะเข้าไปทำไม้ และเก็บหาของป่า 
  • พ.ร.บ. ป่าชุมชน เป็นการตัดสิทธิ์การมีส่วนร่วม ในการจัดการป่า ของคนที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนด้วย ออกไปทั้งหมด
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แสดงความคิดที่ สารคดีกระดานข่าว (Sarakadee Board)


แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !

ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

เพราะในอดีต ระบบการศึกษาของไทยไม่ได้เน้นความเป็นคนไทยที่อยู่กับทรัพยากรอย่างแท้จริง นำความรู้ที่ไม่ได้มาจากรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่เดิม ลองพิจารณาถึงความคิดของการคัดค้านดูว่าเขามีแนวความคิดนี้มาจากไหน หากไม่ใช่ความคิดตามหลักสูตรที่เขียนมาจากตำราของฝรั่งต่างชาติ เปิดกว้างทางความคิดบ้างและลองมาศึกษาจากรากเง้าความเป็นจริงของสังคมไทย หากผู้ใดสนใจเรียนรู้อย่างแท้จริงและสัมผัสปัญหาด้วยตัวของท่านเอง เชิญติดต่อมาได้ตาม E-mail adress นี้ ยินดีให้ข้อเสนอแนะ
กิ่งกาญจน์ ปวนใจเสริฐ <oui_kingkan@hotmail.com>
- Saturday, August 30, 2003 at 12:12:17 (EDT)

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ พรบ.ป่าชุมชน เคยคุยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เขาเข้าใจในการดูแลป่า แต่หน้าที่ก็ต้องทำ คนที่ทำงานในพื้นที่รู้ดีว่าใครกันแน่ที่ดูแลป่า ใครอยากเรียนรู้เรื่องคนอยู่กับป่าได้ยังไง เชิญพบกันได้ที่ชุมชนคนรักป่า อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อทาง mail ก็ได้ ยินดีให้คำอธิบายเกี่ยวกับป่าจากความรู้สึกของคนเมืองที่ไปสัมผัสเรื่องราวจากป่าด้วยตัวเอง
กิ่งกาญจน์ ปวนใจเสริฐ <oui_kingkan@hotmail.com>
- Thursday, August 28, 2003 at 12:15:53 (EDT)

ได้มีโอกาสไปสัมผัสวิถีชีวิตของคนที่อยู่กับป่ามาหลายครั้ง ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมจึงต้องมี พรบ.ป่าชุมชน อยากจะบอกคนที่คัดค้านว่าทุกคนก็รักป่า อยากให้ป่ายังอยู่คงคู่กับเมืองไทย แต่แนวทางของแต่ละคนก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นฐานการเรียนรู้จากระบบการศึกษาของไทย แต่สิ่งหนึ่งที่เรามองข้ามคือวิธีการดูแลรักษาป่าที่มีความแตกต่างกันในโลกตะวันตก และภูมิปัญญาที่เป็นรากเง้าจริง ๆ ของสังคมชนบทของไทย หากใครอยากคุยเกี่ยวกับเรื่องป่าในมุมมองของคนเมืองที่ได้ไปเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตของคนกับป่า เชิญติดต่อมาได้
กิ่งกาญจน์ ปวนใจเสริฐ <oui_kingkan@hotmail.com>
- Thursday, August 28, 2003 at 12:07:41 (EDT)

ได้มีโอกาสไปสัมผัสวิถีชีวิตของคนที่อยู่กับป่ามาหลายครั้ง ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมจึงต้องมี พรบ.ป่าชุมชน อยากจะบอกคนที่คัดค้านว่าทุกคนก็รักป่า อยากให้ป่ายังอยู่คงคู่กับเมืองไทย แต่แนวทางของแต่ละคนก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นฐานการเรียนรู้จากระบบการศึกษาของไทย แต่สิ่งหนึ่งที่เรามองข้ามคือวิธีการดูแลรักษาป่าที่มีความแตกต่างกันในโลกตะวันตก และภูมิปัญญาที่เป็นรากเง้าจริง ๆ ของสังคมชนบทของไทย หากใครอยากคุยเกี่ยวกับเรื่องป่าในมุมมองของคนเมืองที่ได้ไปเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตของคนกับป่า เชิญติดต่อมาได้
กิ่งกาญจน์ ปวนใจเสริฐ <oui_kingkan@hotmail.com>
- Thursday, August 28, 2003 at 12:06:54 (EDT)

ผมอยากให้มีการอนุลักษสัตร์อย่างจริงจังในบทบาทของ การควบคุม ป่า และ สัตร์ป่า เพราะผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบป่า
ธวัชชัย แก้วดวงเล็ก <ไม่มี>
- Tuesday, June 24, 2003 at 23:53:05 (EDT)

สนับสนุน พรบ.ป่าภาคประชาชน
ชาวบ้านควรมีสิทธิที่จะได้ใช้ชีวิตร่วมกับป่า ตามสิทธิความเป็นมุษยที่พึงมีมาก่อนในอดีต ที่ผ่านมารัฐได้จัดการป่าเพื่อพวกพ้องและกลุ่มผลประโยชน์ เบียดบังข่มเหงชาวบ้านคนยากไร้ แถมให้เป็นคนผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว .. อย่าทำอีกเลย .. จงคืนสิทธิให้ชุมชน ให้แผ่นดิน

ส.สายลม <runboo@kku.ac.th>
- Thursday, May 29, 2003 at 02:38:31 (EDT)

รัฐบานนี้สมควรที่จะมีความจริงใจที่จะให้มี พรบ.ป่าชุมชนได้แล้วเพราะเป็นการทราบแล้วว่าทางรัฐไม่มีทางที่จะรักษาป่าได้ต้องให้ชุมชนมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของป่าจึงจะสามารถรักษาป่าไว้ได้
ภากร <korn1880@thaimail.com>
- Friday, January 24, 2003 at 17:26:41 (EST)

ที่ผ่านมามีชุมชนอยู่กับป่าก็เห็นอยู่แล้วว่าป่าถูกทำลาย อาจะจไมม่ใช่คนส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นคนทำลาย แต่ก็มักจะมีหนึ่งในชุมชนที่ทำลายหรือเป็นสื่อนำในนายทึนมาทำลาย ความเห็นแก่ตัวและความหิวโหย ความยากจนทำให้พวกเขาต้อทำลายป่าเพื่อทำมาหากินแบบเฉพาะหน้า เมื่อไม่ม่ทรัพยากรณ์เพียงพอพวกเขาจะบุกรุกเข้าไปเรื่อย(ตามจำนวนประชากรและความต้องการปัจจัยที่มากขึ้น) ดูง่ายๆ ที่แม่แจ่มป่าก็เหลือน้อยลงที่ไหนมีคนหรือถนนที่นั่นป่าจะน้อยลง
lukkontii10@hotmail.com
- Saturday, January 04, 2003 at 22:54:06 (EST)

เคยไปสัญจรสู่ต้นน้ำภาคเหนือกับกลุ่มชุมชนคนรักป่า 2-3 ครั้ง รวมทั้งได้ศึกษาข้อมูลทางวิชาการและทั้งประสบการณ์การทำงานของคนที่นั่น รวมทั้งเห็นพื้นที่จริง -- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในภาคเหนือเกือบจะทั้งหมดอยู่แล้วที่มีชุมชนอาศัยอยู่ก่อนการประกาศเป็นเขตป่าฯ ของกรมป่าไม้ มีชุมชนที่มีศักยภาพสูงในการจัดการป่า บางชุมชนกำลังเรียนรู้และฟื้นฟูการจัดการป่าชุมชนของตนเองให้เป็นรูปธรรม (ตามที่คนภายนอกยอมรับ) ไม่ได้มีแต่ความเชื่อและพิธีกรรม และมีบางชุมชนที่ต้องเปิดโอกาส ให้โอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่า โดยมีกรมป่าไม้เป็นพี้เลี้ยง ซึ่งดิฉันเข้าใจว่า การจัดการป่าโดยที่ชุมชนจะอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์หรือไม่ มีสิทธิร่วมในการจัดการดูแล ดีกว่าให้กรมป่าไม้หน่วยเดียวเดียวดูแลแน่นอน ซึ่งก็เห็นๆ กันอยู่แล้ว ว่ากรมป่าไม้ไม่เคยดูแลป่าได้ผลจริง ---- เห็นด้วยให้มีป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์ค่ะ --- เพราะตัวพรบ.ป่าชุมชน ก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ไม่มีความพร้อมมาจัดตั้งป่าชุมชนได้อยู่แล้ว นอกจากว่าต้องพิสูจน์ว่ามีศักยภาพ และมีแผนการจัดการป่าชุมชนเสนอต่อคณะกรรมการที่ดูแลป่าชุมชนทุกระดับก่อน ---
สมาชิกชุมชนคนรักป่า
- Monday, October 14, 2002 at 03:54:03 (EDT)

เชื่อมั่นในศักยภาพของชาวบ้าน...ขอแค่โอกาส สิทธิ อำนาจ ...ในการจัดการทรัพยากร...สนับสนุนสุดตัวครับ
พัฒนาสังคม
- Tuesday, August 27, 2002 at 11:43:59 (EDT)

สปก.พังเพราะใคร...ก่อนมีการจัดสรรตอนนั้นก็เหมือนกับการพิจารณาพรบ.ป่าชุมชนตอนนี้.....ถ้าปล่อยไว้ป่าพังใครคือเป็นผู้รับผิดชอบ หยุดกันทีเอาป่าอนุรักษ์มาเป็นป่าชุมชน.....ปัญหาการประกาศป่าอนุรักษ์ทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน (กรรมสิทธิ์ไม่ใช่ของชาวบ้านเลย....เป็นของรัฐก็คืออะไร รัฐคือของชาติ ของประเทศไทย) เป็นปัญหาการปฏิบัติงานของกรมป่าไม้และกรมที่ดินควรพิจารณาที่ต้นเหตุไม่ใช่สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก
วิชาญ เอียดทอง <bkkforest52@yahoo.com>
- Tuesday, August 27, 2002 at 00:52:57 (EDT)

สปก.พังเพราะใคร...ก่อนมีการจัดสรรตอนนั้นก็เหมือนกับการพิจารณาพรบ.ป่าชุมชนตอนนี้.....ถ้าปล่อยไว้ป่าพังใครคือเป็นผู้รับผิดชอบ หยุดกันทีเอาป่าอนุรักษ์มาเป็นป่าชุมชน.....ปัญหาการประกาศป่าอนุรักษ์ทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน (กรรมสิทธิ์ไม่ใช่ของชาวบ้านเลย....เป็นของรัฐ) เป็นปัญหาการปฏิบัติงานของกรมป่าไม้และกรมที่ดินควรที่ต้นเหตุไม่ใช่สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก
วิชาญ เอียดทอง <bkkforest52@yahoo.com>
- Tuesday, August 27, 2002 at 00:51:12 (EDT)

เดิมทีคนก็อยู่กับป่า อาศัยป่า ตักตวงจากป่าแต่ด้วยปริมาณที่ป่าสามารถคืนสภาพได้ทัน ฉะนั้นเค้ารักษาป่าโดยไม่เอามากเกินไป แต่ปัจจุบันคนเราทำตัวแยกจากป่า ตักตวงจากป่าโดยตัดไปขาย เก็บไปขาย ยิงไปขาย จับไปขาย จับจองพื้นที่เอาเป็นของตน อันนี้ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินของกู ของของกู ทำไมเราไม่คิดที่จะหาวิธีให้อยู่อย่างไรใช้เงินน้อยที่สุด อยู่อย่างไรเบียดเบียนคนอื่นน้อยที่สุด อยู่อย่างไรสบายใจ๊สบายใจ เราอยู่ในระบบธุรกิจ ระบบการแข่งขัน ระบบอุตสาหกรรมมากเกินไปหรือเปล่า เมื่อก่อนคนๆหนึ่งหรือเพียงไม่กี่คนสามรถปลูกผักหาปลา หุง ปรุงอาหารกินเองได้ ปลูกบ้านกันเองได้ ทอผ้า เย็บเครื่องนุ่งห่ม ทำกระบุง ตะกร้า เมื่อไม่สบายเจ็บไข้ได้ป่วยก็หายามารักษาเองได้ แล้วเดี๋ยวนี้หละ คนเราทำอะไรเป็นบ้าง พยายามทำงาน ให้ได้เงินมากๆเพื่อเอาไว้ซื้อทุกอย่างที่ทำไม่ได้ ยิ่งหาเงินให้ได้มากเท่าใดสิ่งที่ทำไม่ได้ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แล้วก็ทำแต่งานนั้นหน่ะ ทำเข้าไป เบื่อ! จำเจ! เครียด! หงุดหงิด! พาล! เก็บกด! ป่วย! จะอยู่ไปทำไมถ้ามีชีวิตกันแบบนี้ สร้างปัญหาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ถ้าไม่หยุดสร้างปัญหาแล้วจะแก้กันได้หมดได้อย่างไร
เอกชัย พันธ์อารีวัฒนา <pophotharam@yahoo.com>
- Thursday, August 22, 2002 at 06:36:22 (EDT)

ไม่ทราบว่าจะไปหาข้อมูล หรือ หนังสือเรื่อง ป่าชุมชนได้ที่ไหนบ้างคะ เพราะตามร้านหนังสือส่วนใหญ่ไม่มีคะ
นู๋เล็ก .............. <khunlek@perthmail.com>
- Tuesday, August 20, 2002 at 02:11:55 (EDT)

ที่รู้มานั้น " ทีลอซู " นั้น เป็นภาษาของ ปกากะญอ ( กะเหรี่ยง ) Karen
ทีลอ แปลว่า น้ำตก
ซู หมายถึง เสียงของ สายน้ำที่ไหลลงสู่เบ้องล่าง ซู่ ซู่

knob
- Friday, August 16, 2002 at 04:10:45 (EDT)

สวัสดีอีกครั้งหนึ่งครับ ผมลืมไปอีกเรื่องหนึ่งในเรื่องของชื่อน้ำตกครับ เจ้าหน้าที่เขาบอกว่าชื่อน้ำตกนั้นที่แท้จริงแล้วคือ ทีลอชู (ชู ที่ใช้ ชอ ช้าง ไม่ใช่ ซอ โซ่) ที่แปลว่า น้ำตกที่สวยงาม เป็นภาษาของชนเขาเผ่าหนึ่งซึ่งผมจำชื่อไม่ได้ เป็นเผ่าเดียวกับเจ้าหน้าที่นั่นและครับ ไม่ใช่ทีลอซู ไม่แน่ใจว่าชื่อไหนถูกหรือผิด แต่ผมมีใจให้กับเจ้าหน้าที่ เพราะเขาเป็นเจ้าของภาษาครับ สวัสดีครับ (นอกเรื่องไปนิด ให้อภัยนะครับ)
สมาชิกสารคดี
- Thursday, August 08, 2002 at 22:30:32 (EDT)

ดีหรือไม่ดีอยู่ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องครับ ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีวัตถุประสงค์กับเรื่องนี้ในแนวทางใด ถ้ามีวัตถุประสงค์ในทางแก้ไขปัญหา และต้องการพัฒนาประเทศชาติ ก็ต้องมีโครงการที่มีผลประโยชน์มากกว่าผลเสียทุกสิ่งทุกอย่างมีสองด้านครับ แต่ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องมิได้ศึกษาถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่จะตามมาและความต้องการที่แท้จริงของผู้คนที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงแล้วมุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวการแก้ไขปัญหาก็ไม่มีผลอันใดครับ ปัจจุบันป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มีน้อยมากเต็มทีควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของประเทศเถอะนะครับ ให้สัตว์ป่าและป่าไม้เขาอยู่อย่างสงบอย่างที่เขาเคยเป็นในอดีตและเป็นการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนและจริงจังนะครับ ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งนะครับ ต้นปีได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวน้ำตกทีลอซู ที่จังหวัดตาก น้ำตกสวยงามมากครับทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ น้ำสะอาดมากครับตั้งแต่เกิดมาก็พึ่งได้สัมผัสน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ก็ครั้งนี้และครับ ตอนกลางคืนมีโอกาสได้นั่งคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลน้ำตก เขาเล่าให้ฟังว่า กรมป่าไม้มีโครงการจะจัดทำให้น้ำตกทีลอซูซึ่งเป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งถ้าหากเป็นอุทยานแห่งชาติก็ต้องสร้างถนนเข้าไปสู่น้ำตก ผมคิดว่าคงจะเป็นถนนลาดยางที่มีอยู่ในเมืองทั่วไปนั่นนะครับ (ตอนที่ยังไม่เป็นอุทยานแห่งชาติเป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าจะเป็นถนนดินลูกรังที่ สนามแข่งขันรถออฟโรดยังเรียกพี่ซึ่งเป็นทางที่ลำบากมากครับเวลานั่งรถเข้าไปนี่หัวสั่นเหมือนเจ้าเข้าเลยครับ) ตอนที่ผมไปถึงน้ำตกได้เห็นสภาพน้ำตกดูโทรมไปมากเลยครับเพราะผู้ที่ไปเที่ยวมีมาก(ขนาดทางเข้ามีความลำบาก)และไร้จิตสำนึกในการอนุรักษ์ ถ้าหากกรมป่าไม้ประกาศให้เป็นเขตอุทยานเมื่อใด ทางเข้ามีความสะดวกมากขึ้น คิดดูเถอะครับว่าจะส่งผลเสียต่อน้ำตกมากเพียงใด ผมเสียดายครับที่ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และสวยงามจะเสื่อมโทรมไปและอาจจะเป็นการรบกวนสัตว์ป่ามากขึ้นอีกด้วย ในตัวน้ำตกผมสังเกตุเห็นว่ามีนกอาศัยอยู่บริเวณน้ำตกหลายชนิด แถมเจ้าหน้าที่ยังเล่าให้ฟังว่าถ้าโชคดีอาจได้เห็นเก้งและไก่ป่าที่นอนบริเวณกอไผ่อีกด้วย เห็นไหมครับว่าที่นี่สมบูรณ์ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่าจริง ๆ อยากถามสารคดีว่าที่ผมเขียนมายืดยาวจะเป็นจริงไหมครับ ส่วนตัวผมไม่อยากให้เป็นจริงเลยครับ ที่จะเป็นอุทยานเพราะจะทำให้มีคนเข้าไปมากขึ้นแล้วก็เสื่อมโทรมเหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีให้เห็น และหลายคนในวงสนทนาก็ไม่เห็นด้วยครับ สวัสดีครับ
สมาชิกสารคดี
- Thursday, August 08, 2002 at 22:18:30 (EDT)

เห็นด้วยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
นกพเนจร
- Monday, August 05, 2002 at 04:21:30 (EDT)

เห็นด้วยกับร่างของวุฒิสภา
คนสยาม
- Friday, July 12, 2002 at 06:06:24 (EDT)

ได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดตั้ง พรบ.ป่าชุมชน มาตั้งแต่เริ่มที่จะมี รู้สึกว่า เป็นเรื่องที่ดีมากๆ หากจะทำให้เกิดขึ้น เพราะเหตุผลในการเริ่มจัดตั้งพรบ.เป็นเหตุผลที่ดีมาก หากพูดกันในแง่ของอุดมคติ
แต่เมื่อได้อ่านร่างพรบ. จริงๆ รู้สึกว่าเป็นการเปิดช่องว่างให้กับนายทุนผู้แสวงหาผลประโยชน์จากการใช้ป่าไม้อยู่
หากประเทศไทยมีระบบการทำงานอย่างเคร่งครัดต่อกฎหมายก็ว่าไปอย่าง แต่นี่ไม่ใช่ เราคิดว่า หากมีพรบ.เกิดขึ้นจริง ต้องมีคนที่มีอิทธิพลใช่ช่องโหว่จากพรบ.นี้ หากินเอากับป่าไม้ที่มีเหลืออยู่น้อยของประเทศเราแน่นอน
แล้วอีกเหตุผลนึงที่เราว่าไม่ควรมี คือ ชาวบ้านที่รักป่าไม้ราวกับว่าเป็นของเขา มีอยู่ในความเป็นจริงน้อยมาก ( แต่เคยเห็นพี่เจ้าหน้าที่ที่เป็นชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ที่เขตรักษาพันธุ์ ภูเขียวรักป่าไม้มาก)
คงไม่เหมือนกับสมัยอินเดียแดงแล้ว ที่มีคนที่มีความคิดที่รู้สึกว่า ป่าไม้ ลำธารและธรรมชาติอื่นๆ เปรียบเสมือนญาติพี่น้องของเขา
สมัยนี้ทุกคนมีค่านิยมที่ว่า ความสุขเกิดขึ้นได้จากเงินเท่านั้น ถ้ามีแหล่งเงิน แหล่งทอง(ป่าไม้) ให้หากินอย่างไม่ต้องเสียอะไรอยู่ตรงหน้า เป็นใครบ้างที่จะนิ่งมองดูอยู่เฉยๆ
ทุกคนรู้สึกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมมันไกลตัวเกินไป
ไม่มีใครสนใจหรอกว่าวันนี้ ป่าไม้ในโลกเหลืออยู่เท่าไร
แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ยังไม่เน่าเสียยังมีอีกไหม ทุกคนมองแต่ตัวเองเพียงเท่านั้น
อยากให้ทุกคนได้มองเห็นอนาคตได้จัง
พวกเราจะได้รู้ว่า พรุ่งนี้จะเป็นยังไง

ไม่ว่าพรบ.จะเกิดขึ้นหรือไม่ก้อตาม แต่อยากให้ทุกคนได้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ก่อน ไม่อย่างนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรไป คนเหล่านั้นก้อคงมีหนทางที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมได้อยู่แล้ว

ขอสงวนชื่อคะ <angang@chula.com>
- Wednesday, July 10, 2002 at 05:24:40 (EDT)

สนับสนุน
กานต์ ณ กานท์
- Tuesday, July 09, 2002 at 07:18:47 (EDT)

ผมว่าต่างคนต่างความเห็น แต่ละคนก็มีความเห็นต่างกัน ซึ่งถ้าความเห็นนั้น เกิดจากความคิดสุจริต ไม่มีอคติ ไม่มีผลประโยชน์ของกลุ่มคณะของตน และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมแล้วละก็ ผมว่าเราควรจะคุยปรึกษากันว่าประเทศชาติจะได้ประโยชน์ เสียประโยชน์อย่างไร
pp
- Tuesday, July 09, 2002 at 06:17:48 (EDT)