(สารคดีพิเศษ)
จากใต้น้ำถึงกาแล็กซี
จากปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๒๐ ของนิตยสาร สารคดี
กับสุดยอดภาพถ่ายของ ๒๐ ช่างภาพสารคดี

จากสต็อกภาพนับแสนเฟรม ทีมงานได้คัดสรรจนเหลือภาพที่แสดงความโดดเด่นในการถ่ายภาพของช่างภาพแต่ละคน สะท้อนความหลากหลายของอารมณ์และเนื้อหา ความสัมพันธ์ของทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก ตั้งแต่ใต้มหาสมุทรไปจนถึงกาแล็กซี ได้แก่ ภาพจากช่างภาพใต้น้ำมือหนึ่งของไทย ภาพจากช่างภาพเอกทางด้านสัตว์ป่าหายาก ภาพแนวธรรมชาติ ชีวิต สังคม วัฒนธรรม รวมถึงภาพถ่ายดาราศาสตร์ของช่างภาพไทยที่ฝีมือไม่น้อยหน้าฝรั่ง ทั้งภาพที่เคยสร้างความประทับใจมาแล้ว และภาพที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน หลายภาพต้องแลกมาด้วยการเสี่ยงชีวิตในดินแดนที่คุกรุ่นไปด้วยไฟสงครามและความขัดแย้งในดินแดนชนกลุ่มน้อย

ภาพที่มาจากต่างที่ ต่างเวลา ต่างมุมมอง ต่างอารมณ์ ต่างบุคลิก ต่างประสบการณ์ เหล่านี้ จะสะท้อนให้เห็นพัฒนาการของภาพถ่ายสารคดีที่ดำเนินควบคู่ไปกับสังคมไทยที่เปลี่ยนไปตลอดระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา

ในโอกาสขึ้นปีที่ ๒๐ สารคดี ขอกำนัลผู้อ่านภาพชุดสุดพิเศษ ที่ไม่เพียงแต่เป็นภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงความงามเท่านั้น แต่ยังเป็นภาพที่สะท้อนยุคสมัย แฝงไว้ด้วยความคิดอันอาจทำให้ผู้ชมเข้าใจตัวเองและสรรพสิ่งรอบข้าง ให้ปรากฏแก่สายตา ในรูปของงานสารคดีที่อันหลากหลายนับแสนเฟรมานสัตว์ป่าหายาก ภาพแนวธรรมชาติ ด้วยแ ความรู้สึก ได้ในที่สุด

๑. เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์
เกิดที่บ้านปลายคลอง เกือบสุดชายฝั่งทะเลตะวันออก จบมาทางด้านโลหะวิทยา แต่อยากจะเป็นนักเขียนมากกว่า เริ่มเขียนบทความตั้งแต่อยู่ ม.ต้น และเริ่มเขียนกวีตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ หันมาเขียนสารคดีชีวิตผู้คนและเรื่องท่องเที่ยว จนเลยเถิดมาถึงสารคดีชีวิตสัตว์ ศึกษาเรื่องราวของผีเสื้อตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ บุกเบิกการดูผีเสื้อในเมืองไทยจนขยายออกไปในวงกว้าง เขียนหนังสือดูผีเสื้อออกมาหลายเล่ม ล่าสุดคือ “คู่มือผีเสื้อ” ที่จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สารคดี เคยผ่านงานนิตยสารมาหลายเล่ม ล่าสุดคือ “อสท. YOUNG TRAVELLER” ปัจจุบันมีคอลัมน์เล็กๆ ชื่อ “ดูผีเสื้อกับน้าเกรียง” ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้าเยาวชนประจำวันอาทิตย์และเขียนสารคดีชีวิตสัตว์ป่าให้กับนิตยสารหลายเล่ม รวมทั้งรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการของ สนพ.วนา

๒. จักรพันธุ์ กังวาฬ
จบการศึกษาคณะสถาปัตยกรรม จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ฯ ลาดกระบัง เริ่มถ่ายภาพจากการเดินทางท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อนที่ชอบถ่ายภาพ ชอบภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนที่พบเห็น ปัจจุบันเขาเป็นนักเขียนประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร สารคดี

จักรพันธุ์  กังวาฬ ภาพนี้ถ่ายระหว่างเดินทางไปทำสารคดีที่อิหร่าน เขาพบนักเรียนหญิงมัธยมปลายกลุ่มนี้ที่พระราชวังเชเฮลโซตูน (Chehel Sotoon Palace) ในเมืองอิสฟาฮาน ประเทศอิหร่าน

 

๓. จำนงค์ ศรีนวล
อดีตนักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในยุค ๒๕๑๖ ออกมาทำงานออกแบบตกแต่งภายในเพียงปีเดียว ก็หันเหมาทำงานด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จึงต้องเรียนรู้เรื่องถ่ายภาพและออกแบบสิ่งพิมพ์ไปพร้อมกัน เข้าสู่วงการหนังสือและสิ่งพิมพ์อย่างเต็มตัวโดยรับหน้าที่บรรณาธิการศิลปกรรมให้กับวารสารเมืองโบราณ เมื่อปี ๒๕๒๕ และร่วมก่อตั้งและตั้งชื่อนิตยสารสารคดี ในอีกสามปีถัดมา ชำนาญการด้านออกแบบสิ่งพิมพ์และถ่ายภาพชนิดหาตัวจับยาก ปัจจุบันเป็น ผู้จัดการ และผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และฝ่ายผลิต บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด

สี่แยกศาลาแดง สี่แยกศาลาแดง
บรรยายภาพ : สี่แยกศาลาแดง กรุงเทพฯ ๒๕๓๐ / ๑๒.๐๐ น. บรรยายภาพ : สี่แยกศาลาแดง กรุงเทพฯ ๒๕๓๐/ ๑๒.๑๕ น.
เป็นภาพสารคดีบันทึกที่เก็บรักษาไว้ยาวนานถึง ๑๗ ปี

๔. ชัยชนะ จารุวรรณากร
เริ่มต้นการถ่ายภาพจากความประทับใจสิ่งต่างๆที่พบเห็นจากการเดินทางตั้งแต่สมัยเรียนที่ภาควิชาภูมิศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานครั้งแรกที่นิตยสาร สารคดี พบว่าภาพแนวสารคดีนอกจากจะมีความหลากหลายของเรื่องราว ยังต้องบอกถึงอารมณ์ของสิ่งต่างๆที่ปรากฏอยู่ในภาพนั้นๆ ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาโท ภาควิชานฤมิตรศิลป์ คณะศิลปกรรม จุฬาฯ และทำงานเป็นช่างภาพอิสระ
๕. ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์

กาแล็กซี่แอนดรอเมดา เกิดและเติบโตที่บ้านหมี่ ลพบุรี สนใจดาราศาสตร์มาตั้งแต่จำความได้ ได้รับอิทธิพลของดวงดาวมาจากหนังสือของพี่ชายที่ซื้อมาจากท้องฟ้าจำลอง เริ่มต้นดูดาวด้วยตาเปล่าเรื่อยมา จนเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม สกายออบเชอร์เวอร์ สามารถไม่หลับไม่นอนเป็นคืนๆเพื่อถ่ายภาพดวงดาว
เริ่มถ่ายภาพโดยใช้กล้องฟิล์มติดบนกล้องดูดาว และพัฒนามาใช้ระบบ CCD .
มีความเชื่อว่าฝีมือถ่ายภาพดาราศาสตร์ของคนไทยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาติอื่นๆ
กำลังรวบรวมภาพทางดาราศาสตร์เพื่อรวมเล่มในอนาคต
ปัจจุบันทำงานในสถาบันการเงินแห่งหนึ่งและมีผลงานต่อเนื่องยาวนานในคอลัมน์ส่องจักรวาล นิตยสาร สารคดี

๖. เทียรี ฟาลีส์
ช่างภาพและนักเขียนชาวเบลเยียม เคยมีผลงานตีพิมพหลายครั้งในสารคดีและทำงานให้กับนิตยสารในยุโรปหลายฉบับ เทียรีเคยเดินทางเพื่อทำเรื่องแนวสารคดีมาแล้วทั่วโลก ในระยะหลังเขาให้ความสนใจกับ ชนกลุ่มน้อยรอบๆประเทศไทย เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในประเทศพม่าและลาว

๗. โทรุ โยโกตะ
ช่างภาพข่าวโทรทัศน์อิสระชาวอาทิตย์อุทัย ผู้หลงไหลในเสน่ห์ของภาพนิ่ง
โทรุ เริ่มงานแรกด้วยการไปถ่ายภาพในสงครามกลางเมืองกัมพูชา ในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ หลังจากนั้นได้ตระเวนไปถ่ายภาพในพื้นที่อันตรายที่สุดของโลก ไม่ว่าจะเป็นอัฟกานิสถาน อิรัก โคโซโว ปาเลสไตน์ ภาพส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งในสงคราม มีผลงานตีพิมพ์ทั้งในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ทั่วโลก ไม่ว่าญี่ปุ่น เกาหลี ไทย ภาพถ่ายของเขาบันทึกเรื่องราวที่เรามักไม่มีโอกาสได้เห็นจากสื่อตะวันตก

๘. นัท สุมนเตมีย์

เมื่อพูดถึงช่างภาพใต้น้ำในบ้านเรา คงต้องนึกถึง นัท สุมนเตมีย์ เป็นลำดับแรก ๆด้วยวัยเพียง ๓๐ ต้นๆ เขามีงานภาพใต้น้ำตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆหลายฉบับ รวมไปถึงหนังสือรวมภาพถ่ายใต้น้ำชื่อ The Odyssey เขาถ่ายภาพตั้งแต่สมัยเรียนในสาขาภาพยนตร์ คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เริ่มถ่ายภาพใต้น้ำครั้งแรกในช่วงฝึกงานที่อนุสาร อสท. มีความฝันที่จะถ่ายภาพวาฬชนิดต่างๆให้ครบ

สำหรับภาพนี้ ถ่ายที่เกาะปายา (Pulnu Payar) ใกล้เกาะลังกาวี ซึ่งเป็นสถานที่ที่สามารถติดตามพฤติกรรมของฉลามครีบดำได้อย่างใกล้ชิดแม้ในระดับน้ำตื้น เขาใช้เวลาเกือบครึ่งวันรอจังหวะให้ฉลามครีบดำเข้ามาใกล้ในระยะที่ต้องการ เพื่อบันทึกภาพด้วย เลนส์ฟิชอาย ให้ได้ทั้งครึ่งบนที่เป็นส่วนท้องฟ้าและครึ่งล่างใต้น้ำที่เห็นฝูงฉลามรวมไว้ในเฟรมเดียวกัน

The

๙. บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช
ช่างภาพ นักอีเล็คทรอนิคส์ นักคอมพิวเตอร์ เกษตรกร อาจเป็นแค่นิยามส่วนหนึ่งของเขา สนใจระบบแมคคานิคของกล้องถ่ายภาพมาตั้งแต่ประถมต้น แต่พ่อไม่ยอมซื้อให้ เพิ่งจะมีกล้องของตัวเองตอน มัธยมปลาย จึงมีโอกาสถ่ายภาพอย่างสนุกสนานมาจนถึงปัจจุบันนี้ นิยมถ่ายภาพในแนวกึ่งๆแคนดิด โดยผสมเอาองค์ประกอบ จังหวะเข้ากับอารมณ์ความรู้สึก

๑๐. บุญกิจ สุทธิญาณานนท์
ช่างภาพลูกหม้อสารคดี จบวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ถ่ายรูปด้วยใจรักมาเกือบ ๑๐ ปี เริ่มต้นจากความอยากถ่ายรูปตามคนอื่น ถนัดการถ่ายภาพตามใบสั่ง มีความฝันที่จะถ่ายภาพนู้ดสัตว์แล้วรวมเล่ม เดินทางไปๆมาๆเกือบทั่วประเทศ

๑๑. ปณต ไกรโรจนานันท์
นักเขียน นักวิชาการ สังกัดสำนักพิมพ์สารคดี เชี่ยวชาญด้านสัตว์และพืชพรรณ เพราะจบมาด้านนี้โดยตรงจากสหรัฐฯ ด้วยความอยากบันทึกสิ่งที่มีโอกาสพบเห็น จึงหันมาจับกล้องถ่ายภาพ ชื่นชมกับผลงานของ Frans Lanting และ Michael Nichols เขามีผลงานภาพถ่ายโดยเฉพาะภาพนกชนิดต่าง ๆ ที่หาดูได้ยาก หนึ่งในบรรดานกในดวงใจของนักดูนกก็คือ นกเขนหัวขาวท้ายแดง

๑๒. ประเวช ตันตราภิรมย์
ช่างภาพอีกหนึ่งคนที่จบจากคณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เริ่มต้นงานถ่ายภาพให้หนังสือโครงการเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน ของสำนักพิมพ์สารคดี ถนัดภาพแนวชีวิตวัฒนธรรม

๑๓. มล.ปริญญากร วรวรรณ
จบสัตวบาลจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ฯ ลาดกระบัง ด้วยความฝันที่อยากทำฟาร์มโคนม จึงไปเรียนต่อที่เดนมาร์ก เริ่มถ่ายภาพระหว่างการไปดูนกตกปลาที่นั่น หลังจากกลับมา ใช้เวลาวันหยุดเดินทางไปดูนกและถ่ายภาพกับหมอบุญส่ง เลขะกุล และเริ่มส่งบทความและภาพไปตีพิมพ์ในนิตยสาร แค้มปิ้ง จากนั้นก็เรียนถ่ายภาพกับ ทอม เชื้อวิวัฒน์ ที่ชมรมเปิดกล้องส่องโลก ด้วยความรู้เรื่องสัตว์ป่าจากการใช้ชีวิตในวัยเด็กที่ปากช่อง ประกอบกับความอยากจะเป็นช่างภาพสัตว์ป่า เขาจึงเริ่มส่งงานไปลงนิตยสาร อ.ส.ท. เมื่อพบว่างานที่เขารักสามารถทำให้ดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องกลับเข้าไปในที่ทำงานในเช้าวันจันทร์ จึงลาออกมาเป็นช่างภาพ นักเขียนเต็มตัว ปัจจุบันเขามีผลงานการเขียนและภาพถ่ายลงในนิตยสารหลายฉบับ รวมไปถึงพ็อกเก็ตบุ๊คส์และหนังสือรวมภาพสัตว์ป่า “ชีพจรไพร” ขณะนี้กำลังถ่ายภาพชุดกวางผาในลุ่มน้ำปิง และเตรียมการถ่ายภาพเสือ สมเสร็จ เซียมัง และกระซู่ ในอันดับถัดไป

๑๔. พิชญ์ เยาว์ภิรมย์
ช่างภาพสารคดีรุ่นแรก จบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แต่หันมาเอาดีทางถ่ายภาพ เชี่ยวชาญภาพบุคคล ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โดยเฉพาะภาพบุคคลสูงอายุ ร่วมงานกับ สารคดี ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง ก่อนจะถ่ายภาพจริงจังในสามปีถัดมา เมื่อทำงานถ่ายภาพในภาคสนาม เขาจะแสวงหาความรื่นรมย์และสนุกสนานจากการทำงานเสมอ ภาพถ่ายของเขาสะท้อนบุคลิกภาพของเขาได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันเขาทำงานเป็นช่างภาพอิสระ

๑๕. มงคลสวัสดิ์ เหลืองวรพันธ์
ช่างภาพศิษย์เก่าสารคดี จบนิเทศศาสตร์ ม. กรุงเทพ ทำงานกับ สารคดี ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อที่ชิคาโก และใช้ชีวิตเป็นโรบินฮู้ดในอเมริกาอยู่หลายปี ระหว่างนั้นเขามีโอกาสท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่าง ๆ และส่งภาพมาตีพิมพ์ในสารคดีอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมงคลสวัสดิ์ทำงานเป็นช่างภาพอิสระให้กับนิตยสารท่องเที่ยวหลายเล่ม

๑๖. วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
บรรณาธิการสารคดี เริ่มถ่ายภาพเพราะอยากเล่าเรื่องราวด้วยภาพตั้งแต่เริ่มงานกับสารคดี

 

 

น้ำตกอิกัวซู ประเทศบราซิล

น้ำตกอิกัวซู ประเทศบราซิล น้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖

๑๗. วิจิตต์ แซ่เฮ้ง

 

งานฉลองของชาวเล
เริ่มงานกับโครงการเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน สำนักพิมพ์สารคดี จบจาก มศว. ประสานมิตร เข้าสู่วงการเนื่องจากเป็นคนชอบเดินทางไปตามที่ต่าง ๆ จึงเริ่มสนใจเก็บภาพ ชอบถ่ายภาพแนววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต มีความฝันที่จะมีโอกาสเดินทางไปถ่ายภาพให้ทั่วประเทศไทย ภาพของเขาเป็นภาพในงานฉลองของชาวเล จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีทั้งการเต้นรำและดื่มกินกันทั้งวันทั้งคืน ในบรรยากาศสุดเหวี่ยงก่อนฟ้าสาง ภาพจากมุมสูงทำให้เห็นบรรยากาศแวดล้อมและสีหน้าท่าทางของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

๑๘. วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์
หนุ่มใหญ่จากระนอง จบการศึกษาจากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานเขียนที่มีเอกลักษณ์และชวนติดตามแล้ว เขายังเป็นช่างภาพแนว Candid ที่มีฝีมือโดดเด่นอีกคนหนึ่ง เขามีโอกาสเดินทางไปเขียนเรื่องและถ่ายภาพในต่างประเทศอยู่เนืองๆ ปัจจุบันเขาเป็นนักเขียนและช่างภาพอิสระ

๑๙. วีระวัช ศรีสุข
ปัจจุบันเป็นช่างภาพอิสระและนักธรรมชาติวิทยา พร้อมๆกับทำงานประจำที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารหลายฉบับ ได้แก่ BBC Wildlife Magazine(ประเทศอังกฤษ), Advance Thailand Geographic, Nature Explorer, อนุสาร อสท และ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post เริ่มสนใจถ่ายภาพเมื่อประมาณปี 2535 มีแนวคิดและรูปแบบการถ่ายภาพเน้นหนักไปที่เรื่องราวของธรรมชาติและสัตว์ป่า ที่ผสมผสานด้วยศิลปะของภาพถ่ายและเทคนิคในการถ่ายภาพ เพื่อให้ได้ภาพธรรมชาติและสัตว์ป่าที่สวยงามในแง่มุมของศิลปะทั้งยังสะท้อนเรื่องราวและให้มุมมองที่แปลกใหม่ แนวคิดและแรงจูงใจในการถ่ายภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากภาพถ่ายและช่างภาพของนิตยสาร National Geographic

๒๐. สกล เกษมพันธุ์
ช่างภาพรุ่นแรกของนิตยสารสารคดี จบจากสาขาโฆษณา คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จากช่วงหนึ่งของวัยเด็กที่อุดรธานีและแรงดลใจจากปฏิทินฝีมือทอม เชื้อวิวัฒน์ ในช่วงม. ต้น ประกอบกับการคลุกคลีกับการทำหนังสือในโรงเรียน จึงสนใจการถ่ายภาพตั้งแต่ตอนนั้น เริ่มงานครั้งแรกในวารสารเมืองโบราณ และร่วมก่อตั้งนิตยสาร สารคดี ในปี ๒๕๒๘ และอยู่มาจนเกือบ ๒๐ ปี ไม่เคยถนัดถ่ายภาพแนวใดเป็นพิเศษ