flood06

ชาวชุมชนวัดมเหยงค์ อ.เมืองพระนครศรีอยุธยา
ขนข้าวของลงเรือหนีน้ำหลังได้รับแจ้งข่าวว่าจะมีฝนตกอีกระลอก

flood07

ที่เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี พระสงฆ์เดินลุยน้ำ
ออกบิณฑบาตในชุมชนที่ถูกน้ำท่วม

flood08

หญิงชราอาศัยอยู่ตามลำพังในบ้านที่ถูกน้ำท่วมขัง
ตลาดปากบาง-ตลาดโบราณ ๑๕๐ ปี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

พายุดีเปรสชันจากอ่าวไทยตอนล่างขึ้นฝั่งที่สงขลา แล้วเคลื่อนตัวต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลม ๑๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง พาดผ่านพื้นที่ จ. นครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต  ยังผลให้พื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่ จ. ชุมพรลงไปมีฝนตกอย่างหนัก

ก่อนรุ่งสางของวันที่ ๒ พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง

ที่ จ. นราธิวาส ฝนตกหนักใน ๑๓ อำเภอ น้ำป่าจากเทือกเขาสันกาลาคีรีไหลลงสู่พื้นราบท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การ เกษตร  ขณะที่อ่าวมะนาว แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ถูกคลื่นกำลังรุนแรงซัดจนถนนเลียบชายหาดขาดช่วงเป็นระยะทางราว ๑ กิโลเมตร กระแสลมแรงพัดต้นสนใหญ่ริมชายหาดล้มระเนระนาด มีการสั่งปิดชายหาดทันที  เช่นเดียวกับ จ. ปัตตานีและยะลาก็ประสบสถานการณ์รุนแรงไม่ต่างกัน  เรือประมงกว่า ๑,๐๐๐ ลำต้องเข้าจอดหลบคลื่นลมอยู่ตามลำน้ำปัตตานีเป็นระยะทางกว่า ๒ กิโลเมตร

ที่ จ. สุราษฎร์ธานี น้ำป่าไหลหลากท่วมย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง ระดับน้ำสูงกว่า ๓๐ เซนติเมตร  ที่ อ. เกาะสมุย น้ำจากภูเขาไหลท่วมถนนรอบเกาะ สายการบินประกาศหยุดบินเนื่องจากข้างรันเวย์มีน้ำท่วมขัง เรือเฟอร์รี่ข้ามฟากจากดอนสักไปเกาะสมุยและเกาะพงันรวมทั้งเรือด่วนไปเกาะ เต่าและชุมพรประกาศหยุดให้บริการ  รถไฟขาล่องใต้ทุกขบวนเดินทางมาถึงแค่สถานีที่ จ. สุราษฎร์ธานีเท่านั้น

นครศรีธรรมราชเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบหนักจากพายุ ดีเปรสชัน  กลางดึกคืนวันที่ ๒ พฤศจิกายน ชายฝั่ง อ. ปากพนัง คลื่นสูงกว่า ๓ เมตร ชาวบ้านต้องอพยพไปอาศัยที่ศาลาประชาคม  รุ่งเช้าวันถัดมาน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาท่วมสันเขื่อนกั้นน้ำของเทศบาลนครศรี ธรรมราชที่มีไว้ป้องกันตัวเมืองชั้นใน น้ำทะลักข้ามสันเขื่อนส่งผลให้พื้นที่ชุมชนรามราษฎร์ท้ายน้ำ สารีบุตร ประตูขาว มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งเช้าวันที่ ๔ พฤศจิกายนก็เกิดเหตุภัยพิบัติ “ดินถล่ม-โคลนทะลัก” ในพื้นที่ ต. ควนทอง อ. ขนอม  สุนทร ขนอม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๖ บรรยายเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุว่า เขาได้ยินทั้งเสียงฝนฟ้า ภูผาลั่น แผ่นดินสะเทือน  เมื่อเงยหน้ามองขึ้นไปเห็นว่ามีทั้งกระแสน้ำไหลและแผ่นดินเคลื่อนตัวลงมา พร้อมกับป่าสวนยาง มีก้อนหินขนาดใหญ่เกินกว่ารถสิบล้อกลิ้งลงมาด้วย (คมชัดลึก ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)

เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันเคยเกิดขึ้นที่เมืองคอนเมื่อปี ๒๕๑๖-๒๕๑๘ ที่บ้านขุนพัง อ. ร่อนพิบูลย์  และปี ๒๕๓๑ ที่ ต. กะทูน อ. พิปูน  พล.ต. ดร. นพรัตน์ เศรษฐกุล สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้ข้อมูลปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ในทางธรณีวิทยา เทือกเขาที่เกิดเหตุเป็นภูเขาหินไนซ์ที่มีอายุมากและหินแกรนิตแปรที่ถูกแรง บีบอัดมานับล้านปี  ภายในเนื้อหินจึงมีการแตกเกิดเป็นช่องว่างที่มีทรายและดินเข้าไปแทรกตัว อยู่  เมื่อพื้นที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน ทรายและดินจึงถูกน้ำชะออกจากซอกหิน ทำให้ทั้งหินและดินพังทลายลงมาตามความลาดเอียง (เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)

เหตุการณ์ดินถล่ม-โคลนทะลักจากเทือกเขา จ. นครศรีธรรมราชเป็นดั่งสัญญาณบอกเหตุว่าสภาพภูเขาที่ไม่มีรากไม้ธรรมชาติคอย ยึดเหนี่ยวหน้าดิน ระบบนิเวศพังทลาย ดังภูเขาบางลูกแถบ จ. นครศรีธรรมราชที่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราหรือปลูกพันธุ์ไม้ซึ่งรากไม่ ได้หยั่งลึกเหมือนพืชพันธุ์ท้องถิ่น คือสาเหตุแห่งภัยพิบัติที่จะเดินทางมาพร้อมอุทกภัยในอนาคต