100boyscout

ลูกเสือไทย วิชาร่วมสมัย ๑๐๐ ปี
คุณยังจำได้-ใช่ไหม ?

วันเวลาที่ยังสวมเครื่องแบบลูกเสือผ้าพันคอผืนนั้น (แท้จริงต้องเรียกว่า “ผ้าผูกคอ”)วอคเกิ้ล หมวกลูกเสือ หัวเข็มขัดหน้าเสือที่ต้องขัดจนเงาวับทุกสัปดาห์ มิเช่นนั้นจะถูกครูผู้กำกับทำโทษ การแสดงความเคารพอย่างลูกเสือด้วยการทำวันทยหัตถ์ ๓ นิ้ว ให้นิ้วชี้ข้างขวาแตะหางคิ้วหรือ ขอบหมวก

ครั้งแรกในชีวิตที่ต้องนอนกลางดินกินกลางทราย ก่อไฟหุงหาอาหารเอง พักค้างแรมกับเพื่อนร่วมค่าย ๒-๓ คืน กิจกรรมชุมนุมรอบกองไฟสุดอลังการ เปลวเพลิงสุกสว่างกลางรัตติกาลมืดมิด

การลูกเสือไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔  นับถึง พ.ศ. นี้ ก็เป็นเวลา ๑๐๐ ปีแล้วที่การลูกเสือไทยวิวัฒน์ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เดินทางผ่านยุคซบเซาและเฟื่องฟู

สารคดี พาคุณกลับไปเยี่ยมเพื่อน พี่ น้อง ผู้กำกับ ที่กำลังเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ และร่วมเดินทางไกลติดตามเส้นทางการลูกเสือไทยตลอด ๑ ศตวรรษ

เพราะกฎข้อ ๔ บอกว่าลูกเสือเป็นมิตรกับทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก


317special2บันทึก “ศึกร่มเกล้า”  ยี่สิบสามปีตำนานสมรภูมิ ๑๔๒๘
ปัจจุบัน ขณะที่ไทยมีปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนกับกัมพูชา นับถอยหลังไป ๒๓ ปี เราก็เคยเผชิญปัญหาแบบเดียวกัน เพียงแต่คู่กรณีคือ “ลาว” และสถานที่คือ “บ้านร่มเกล้า”

 

ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างแผนที่และหลักฐานที่เข้าข้างฝ่ายตนเองโดยละเลยหลักฐานของอีกฝ่าย

กลางปี ๒๕๓๐ ต่อเนื่องถึงต้นปี ๒๕๓๑ รัฐบาลไทยและลาวตัดสินใจแก้ปัญหา “เส้นเขตแดน” ด้วยกำลังทหาร จนเกิดยุทธภูมิสำคัญที่ “เนิน ๑๔๒๘” จุดยุทธศาสตร์ที่ทั้งสองฝ่ายยอมแลกชีวิตทหารจำนวนมากเพื่อเข้ายึดครอง  ทว่า เมื่อต่างฝ่ายต่างสูญเสียมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งลาวและไทยก็ตัดสินใจหันกลับสู่โต๊ะเจรจาอีกครั้ง

เป็นการเจรจาหลังความสูญเสียชีวิตผู้คน ความบาดเจ็บพิการ และความเสียหายของทรัพย์สิน เกินกว่าที่ใครจะประเมินค่าเพราะการขีด “เส้นเขตแดน” เป็นงานที่ยาวนาน และการใช้กำลังมิใช่คำตอบ  บทเรียนจากบ้านร่มเกล้าจึงอาจเป็นประวัติศาสตร์อีกบทหนึ่งที่คนรุ่นหลังควรศึกษาและนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน

สารคดีพิเศษ

ลูกเสือไทย วิชาร่วมสมัย ๑๐๐ ปี

คุณยังจำได้-ใช่ไหม ?
วันเวลาที่ยังสวมเครื่องแบบลูกเสือ
ผ้าพันคอผืนนั้น (แท้จริงต้องเรียกว่า “ผ้าผูกคอ”)
วอคเกิ้ล หมวกลูกเสือ หัวเข็มขัดหน้าเสือที่ต้องขัดจนเงาวับทุกสัปดาห์ มิเช่นนั้นจะถูกครูผู้กำกับทำโทษ
การแสดงความเคารพอย่างลูกเสือด้วยการทำวันทยหัตถ์ ๓ นิ้ว ให้นิ้วชี้ข้างขวาแตะหางคิ้วหรือ
ขอบหมวก
ครั้งแรกในชีวิตที่ต้องนอนกลางดินกินกลางทราย ก่อไฟหุงหาอาหารเอง พักค้างแรมกับเพื่อนร่วมค่าย
๒-๓ คืน
กิจกรรมชุมนุมรอบกองไฟสุดอลังการ เปลวเพลิงสุกสว่างกลางรัตติกาลมืดมิด
การลูกเสือไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔  นับถึง พ.ศ. นี้ ก็เป็นเวลา ๑๐๐ ปีแล้วที่การลูกเสือไทยวิวัฒน์ปรับเปลี่ยน
ไปตามยุคสมัย เดินทางผ่านยุคซบเซาและเฟื่องฟู
สารคดี พาคุณกลับไปเยี่ยมเพื่อน พี่ น้อง ผู้กำกับ ที่กำลังเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ และร่วมเดินทางไกลติดตามเส้นทางการลูกเสือไทยตลอด ๑ ศตวรรษ
เพราะกฎข้อ ๔ บอกว่าลูกเสือเป็นมิตรกับทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก

บันทึก “ศึกร่มเกล้า”  ยี่สิบสามปีตำนานสมรภูมิ ๑๔๒๘

ปัจจุบัน ขณะที่ไทยมีปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนกับกัมพูชา นับถอยหลังไป ๒๓ ปี เราก็เคยเผชิญปัญหาแบบเดียวกัน เพียงแต่คู่กรณีคือ “ลาว” และสถานที่คือ “บ้านร่มเกล้า”
ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างแผนที่และหลักฐานที่เข้าข้างฝ่ายตนเองโดยละเลยหลักฐานของอีกฝ่าย
กลางปี ๒๕๓๐ ต่อเนื่องถึงต้นปี ๒๕๓๑ รัฐบาลไทยและลาวตัดสินใจแก้ปัญหา “เส้นเขตแดน” ด้วย
กำลังทหาร จนเกิดยุทธภูมิสำคัญที่ “เนิน ๑๔๒๘” จุดยุทธศาสตร์ที่ทั้งสองฝ่ายยอมแลกชีวิตทหารจำนวนมากเพื่อเข้ายึดครอง  ทว่า เมื่อต่างฝ่ายต่างสูญเสียมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งลาวและไทยก็ตัดสินใจหันกลับสู่
โต๊ะเจรจาอีกครั้ง
เป็นการเจรจาหลังความสูญเสียชีวิตผู้คน ความบาดเจ็บพิการ และความเสียหายของทรัพย์สิน เกินกว่าที่ใครจะประเมินค่า
เพราะการขีด “เส้นเขตแดน” เป็นงานที่ยาวนาน และการใช้กำลังมิใช่คำตอบ  บทเรียนจากบ้าน
ร่มเกล้าจึงอาจเป็นประวัติศาสตร์อีกบทหนึ่งที่คนรุ่นหลังควรศึกษาและนำมาปรับใช้กับสถานการณ์
ปัจจุบัน