21may01วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ (ปัจจุบันคือ HSBC) ซึ่งเป็นธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไย เริ่มนำ “บัตรธนาคาร” หรือเรียกทัพศัพท์ว่า “แบงก์โน้ต” (Bank Note) ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ตามพระบรมราชานุญาตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ต้องการให้พิมพ์บัตรธนาคารขึ้นใช้เป็นเงินตราเพื่อบรรเทาปัญหาที่โรงกษาปณ์ผลิตเหรียญเงินของไทยไม่ทันกับความต้องการ ในช่วงที่การค้าระหว่างประเทศกำลังขยายตัว ภายหลังธนาคารต่างประเทศอื่น ๆ ก็ได้พิมพ์แบงก์โน้ตออกมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมในวงกว้างนัก แบงก์โน้ตเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารออกให้ เป็นตั๋วสัญญาจะจ่ายเงินตราโลหะแก่ผู้ที่นำบัตรนี้มาขึ้นเมื่อทวงถาม แต่ไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ประชาชนทั่วไปจึงไม่ยอมรับชำระหนี้ การใช้แบงก์โน้ตจึงจำกัดอยู่ในวงแคบ คงใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าชาวต่างชาติ และประชาชนชั้นสูงในพระนครเท่านั้น เมื่อใช้ไปได้ระยะหนึ่ง รัฐบาลก็ได้สั่งพิมพ์เงินกระดาษจากประเทศเยอรมนี และพิมพ์เองจนกลายเป็นธนบัตรอย่างในปัจจุบัน คำว่า “แบงก์โน้ต” ทำให้ประชาชนคุ้นเคยกับการใช้เงินกระดาษ จึงเรียกธนบัตรว่า “แบงก์” มาจนทุกวันนี้