ค่ายสารคดีพาน้อง ๆ ลงพื้นที่กลางป่ากับชาวกะเหรี่ยงที่ ‘บ้านห้วยหินดำ’

ค่ายสารคดีครั้งที่ 17 ร่วมพาน้อง ๆ นักเขียน ช่างภาพ และวิดีโอครีเอเตอร์ ลงพื้นที่เป็นนักสารคดีกลางป่ากับชาวกะเหรี่ยงที่ ‘บ้านห้วยหินดำ’ จ.สุพรรณบุรี ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน ตั้งแต่วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2565 เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตผู้คน และวิธีการทำงานร่วมกันเป็นครั้งแรก

🌿 🌳 ท่ามกลางธรรมชาติล้อมรอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ทั่วบริเวณก่อนลงพื้นที่จริง มื่อจะ-ลัดดาวัลย์ ปัญญา, ป้าเจน และพี่มะขาม-สุกฤษฎิ์ ศรีทอง ผู้ใหญ่ใจดีทั้ง 3 ท่านร่วมกล่าวต้อนรับ และแบ่งปันข้อมูลเบื้องต้นในชุมชนชาวกะเหรี่ยงโปว์ ก่อนที่น้อง ๆ ทั้ง 3 กลุ่มกระชับประเป๋าเป้เตรียมความพร้อม แล้วแยกกันออกเดินทางเป็น 3 สาย

✍🏻สายที่ 1 กลุ่มอย่าฝืน ตามกลิ่นกาแฟหอม ๆ เข้าไปในไร่กาแฟ เพื่อเรียนรู้วิธีการผลิตกาแฟแบบเกษตรอินทรีย์ พร้อมกับ ‘พี่นกเอี้ยง – จารุวรรณ เมืองแก่น’ คนรุ่นใหม่เจ้าของแบรนด์กาแฟ ‘มาอยู่ดอย’ ที่นำทรัพยากรในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าและถ่ายทอดความสุข จากนั้นขึ้นรถเดินทางไปศึกษาเรื่องการทำไร่หมุนเวียนและการปลูกผักจาก ‘ป้าสุดา กองแก’ และ ‘พี่แนท – เพชรรัตน์ อนุสรณ์ประชา’ กลุ่มผักประสานใจ

✍🏻สายที่ 2 กลุ่มกลับบ้าน “รู้สึกว่าตัวเองหลุดเข้าไปในอีกโลกหนึ่ง” เมื่อ ‘ลุงประกิต พะง้า’ อดีตประธานป่าชุมชน และ ‘พี่มะขาม-สุกฤษฎิ์ ศรีทอง’ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นพาน้อง ๆ เดินเข้าป่าขนาดใหญ่ไปเรียนรู้เรื่องป่าชุมชน ป่าใช้สอย และป่าอนุรักษ์ ผ่านเรื่องราวเบื้องหลังป้ายประกาศ “ห้ามเก็บหน่อไม้บริเวณนี้ เนื่องจากจะพื้นฟูสภาพป่าไผ่เพื่อให้สมบูรณ์ ห้ามเก็บหาหน่อไม้ เด็ดขาด!” ก่อนจะเดินทางไปเรียนรู้เรื่องการต่อสู้ในพื้นที่ของชุมชนจากต้นยาง 200 ปี และปิดท้ายทริปด้วยเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงผ่านการทำสเด่อง

✍🏻สายที่ 3 กลุ่มกุ๊กกุ๊ก เดินเท้าเข้าไปในใจกลางชุมชน เรียนรู้เรื่องวิถีชีวิตของชาว ‘โผล่ว’ หรือชาว ‘กะเหรี่ยงโปว์’ ผ่านการย้อมสีผ้าจากธรรมชาติและการทอผ้ากี่เอวที่ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น จาก ‘มื่อจะ-ลัดดาวัลย์ ปัญญา’ และ ‘หน่อย-อำพร ปัญญา’ และเดินเท้าต่อไปศึกษาบ้านชาวกะเหรี่ยงโปว์ของ ‘ยายมึ่งโซว’ ซึ่งเป็นหลังสุดท้ายในหมู่บ้านที่ยังคงสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงโปว์นี้ไว้

เสร็จจากการลงพื้นที่ แต่ละกลุ่มมารวมตัวกันทำงานภายใต้ระยะเวลาการทำงานเพียง 4 ชั่วโมง รังสรรค์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ในงานเขียน เล่าเรื่องให้คมคายผ่านภาพถ่าย และนำเสนอเรื่องเล่าด้วยมุมมองอันหลายหลายผ่านงานวิดีโอ 📷

ในเช้าวันต่อมาโดยภาพรวมร่วมกันวิจารณ์ชิ้นงานทั้งงานเขียน ถาพถ่าย และวิดีโอ จากคุณครูแต่ละประเภท เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้ข้อผิดพลาดแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานกลุ่ม รวมถึงพัฒนาการทำงานในชิ้นที่ 2 ที่จะมาถึง หลังการวิจารณ์งานเสร็จสิ้น เป็นการแก้ไขงานกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำมาปรับปรุง ตามด้วยการประกาศผลรางวัล ได้แก่

กลุ่มอย่าฝืน

เขียน – รางวัลร้อยเรียงเรื่อง
ภาพ – รางวัลชุดภาพสวยงามสุดๆ
วิดีโอ – รางวัลสัมภาษณ์ได้ใจตัดภายในสองชั่วโมง

กลุ่มกลับบ้าน

เขียน – รางวัลกลมกล่อมครบรส
ภาพ – รางวัลชุดภาพสร้างสรรค์ดีเด่น
วิดีโอ – รางวัลตัดต่อซิ่งวิ่งหนีเดดไลน์

กลุ่มกุ๊กกุ๊ก

เขียน – รางวัลสีสันวัฒนธรรม
ภาพ – รางวัลชุดภาพเล่าเรื่องดีเลิศ
วิดีโอ – รางวัลถ่ายดี สีเหลืองเข้ม

โดยผลงานของน้อง ๆ ทั้ง 3 กลุ่มจะได้รับการเผยแพร่ในทุกช่องทางออนไลน์ของ Sarakadee Magazine เร็ว ๆ นี้

เรื่อง : กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์ และ เลิศศักดิ์ ไชยแสง
ภาพ : อกาลิโก นาคทองคง, จิราวรรณ สุนันทะนาม, ภาณุรุจ พงษ์วะสา, ประเวช ตันตราภิรมย์, จิตรทิวัส พรประเสริฐ และ วิจิตต์ แซ่เฮ้ง

  • huayhindum00
  • huayhindum01
  • huayhindum04
  • huayhindum05
  • huayhindum06
  • huayhindum07
  • huayhindum08
  • huayhindum09
  • huayhindum10
  • huayhindum11
  • huayhindum12
  • huayhindum13
  • huayhindum14
  • huayhindum15
  • huayhindum16
  • huayhindum17
  • huayhindum18
  • huayhindum19
  • huayhindum20
  • huayhindum21
  • huayhindum22
  • huayhindum23
  • huayhindum25
  • huayhindum24
  • huayhindum26
  • huayhindum27
  • huayhindum28
  • huayhindum29
  • huayhindum30
  • huayhindum31
  • huayhindum32
  • huayhindum33
  • huayhindum34
  • huayhindum35
  • huayhindum36
huayhindum37

ร่วมสร้างคนบันทึกสังคมโดย

  • สสส วิริยะประกันภัย มูลนิธิเล็กประไพวิริยะพันธุ์ นิตยสารสารคดี Nikon Thailand