รายงาน : สุเจน กรรพฤทธิ์
ถ่ายภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์

Orange storm และหนทางข้างหน้า

หลังปิดหีบเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผลการเลือกตั้งอาจจะเรียกได้ว่า “ล็อกถล่ม”

ณ เวลา 10.30 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เว็บไซต์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานว่า ส.ส. แบ่งเขต พรรคก้าวไกลกวาดไป 112 ที่นั่ง คะแนนในระบบปาร์ตี้ลิสต์หรือบัญชีรายชื่อ ได้ไปทั้งหมด 14.13 ล้านเสียง
ขณะที่เพื่อไทยได้ 112 ที่นั่ง 10.79 ล้านเสียง ตามมาด้วยภูมิใจไทย 68 ที่นั่ง พลังประชารัฐ 39 ที่นั่ง รวมไทยสร้างชาติ 23 ที่นั่ง

ที่น่าสนใจคือ ในภาคอีสานและเหนือ เพื่อไทยสูญเสียเก้าอี้จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เรียกได้ว่าสอบตกแทบยกเมือง

ที่ยังหลงเหลือก็ชนะแบบเพียงแค่เลขตัวเดียว

ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลเดิมของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถ้าไม่นับพรรคภูมิใจไทยที่ได้รวมมากกว่า 70 ที่นั่ง ก็แทบเรียกได้ว่ามีเก้าอี้น้อยจนแทบจะไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้

จากคำพูดในปราศรัยครั้งสุดท้ายของ ทิม พิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ว่า “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” มาถึงแล้ว

สายลมจึงกลายเป็น “พายุแห่งความเปลี่ยนแปลง” ที่ถาโถม

เรื่องจึงไม่ง่าย

เพราะท่ามกลางพายุแห่งการเปลี่ยนแปลง

นักวิเคราะห์การเมืองทั้งในและต่างประเทศชี้ว่าการเมืองไทยอยู่ในสภาวะที่ “ไม่ปรกติ” มาตั้งแต่รัฐประหารปี 2549

และยิ่งแตกแยกมากขึ้นจากการรัฐประหารในปี 2557 ด้วยรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นหลังจากปี 57 ทำให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนอันดับ 1 จากการเลือกตั้งไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้หากขาดการสนับสนุนจาก สว. ที่แต่งตั้งโดย คสช.

ภาวะอันไม่ปรกติ การมาของพรรคก้าวไกลที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนมาก แรงต้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ยังคงอยู่

จึงกลายเป็นภาวะที่สังคมไทยต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด

orangestorm01