Click here to visit the Website

สารคดีพิเศษ
ตามหาของเล่นพื้นบ้าน
ตามหาความสุขคืนสู่ใจ

.....(ต่อจากหน้าที่แล้ว)
.....นับวัน คนแก่ก็ยิ่งนึกออกว่า ตอนเป็นเด็ก เคยเล่นของเล่นอะไรบ้าง รูปร่างหน้าตาและวิธีเล่นเป็นอย่างไร จนถึงวันนี้มีถึงราว ๒๐ ชนิดแล้ว

.....เบิ้ม แบ่งของเล่นที่ทำซ้ำๆ และมีหลายอัน ไปวางขาย ตามองค์กร พัฒนาเอกชน ในเขตจังหวัดเชียงราย และก็ได้รับความสนใจ จาก คนทั่วไปมาก แต่ถึงกระนั้น เขาก็ไม่มีความคิด ที่จะสาปคนแก่ ให้กลายเป็น โรงงาน ผลิตของเล่นพื้นบ้าน เขาไม่เคยระบุเวลา ระบุจำนวน ที่ต้องการ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพอใจของคนแก่เอง ว่าจะทำเมื่อไร ทำจำนวนเท่าใด
.....แต่น่าแปลกว่า สิ่งที่เพิ่มมากขึ้น กลับไม่ใช่จำนวนชนิดของ ของเล่น เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความชื่นบาน ในชีวิตของคนแก่ ที่มารวมตัว นั่งคิด นั่งนึก ทำของเล่นพื้นบ้านร่วมกัน
.....ยิ่งไปกว่านั้น ที่น่าพอใจนักหนาสำหรับเบิ้มก็คือ ผลพลอยได้สำคัญ ในการทำงานกับคนแก่ก็คือ ของเล่นเหล่านั้น เปรียบเสมือนมนต์วิเศษ ที่เรียกให้เด็กๆ มาขลุกอยู่กับคนแก่ เฝ้าดู เฝ้าคอย ของเล่น หน้าตาแปลกๆ ไม่เคยพบเห็นมาก่อน จะสำเร็จออกมาแต่ละชิ้น
.....คนแก่เองก็สุขใจ ที่ลูกหลานอยู่ใกล้ชิด คอยถามไถ่ ซักถาม พูดคุย ขณะเดียวกัน เด็กเองก็ได้เรียนรู้ ในสิ่งแปลกใหม่ และห่างไกลจาก ยาเสพติด ที่แพร่ระบาดอย่างหนักอยู่ในเขตชนบท
.....นอกจากนั้น ของเล่นพื้นบ้านเหล่านี้ ยังเป็นตัวเชื่อม ให้คนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ ได้ใกล้ชิดกับ คนแก่ และลูกหลานอีกด้วย เพราะโดยตัว คนแก่เองแล้ว ไม่สามารถออกป่าไปตัดไม้ เก็บเมล็ด ใบไม้ ฯลฯ ได้อีกแล้ว ก็ได้อาศัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ของเด็กๆ (ลูกของคนแก่) นั่นเอง ได้ออกไปตัดมาให้
.....ที่หมู่บ้านเล็กๆ ชื่อบ้านป่าแดด ในวันนี้ ไม่เพียงแต่ มีของเล่นพื้นบ้าน หน้าตาแปลก ๆ ออกมาเท่านั้น แต่คนเฒ่าคนแก่ ก็ไม่ได้มีชีวิต อยู่ อย่างหงอยเหงา โดดเดี่ยวเดียวดาย อีกต่อไป พวกเขา มีความสุขใจ ที่รู้ว่าตนเองยังมีค่า มีความหมาย


กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ The Development of Olders People Group
โก๋งเก๋ง - ไม้ไผ่ท่อนยาวสองท่อน มีที่วางเท้า ให้เด็กขึ้นไปเหยียบ เดินตัวสูงโย่ง เลี้ยงตัวไปมา
ถึ่ดถึม - ทำจากกระบอกไม้ไผ่ กระบอกโตกว่า กระบอกข้าวหลาม เอามาเจาะรู ๑ รู แล้วกรีดเปลือก ให้เป็นเส้น สองเส้น เอาไม้ สอดเข้าไป หัวท้าย มีไม้บางๆ อีกแผ่นปิดรู แล้วพอเวลาที่เราเอามือ ดีดเจ้าไม้แผ่นนี้ เสียงจากข้างในกระบอกไม้ไผ่ มันก็จะดัง ถึม...ถึม....
บอกโย่ง - "อาจจะ" เพี้ยนมาจากคำว่า กระบอกโยน ตามคำที่ พ่ออุ๊ย คนหนึ่ง สันนิษฐาน ในวงสนทนานั้น ทำจากไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ ๗ ลำ ประกอบติดกันด้วย ยางไม้ ต่อหางยาวด้วย ทางมะพร้าว เวลาเล่น ก็เหวี่ยงให้ลอนสูง ขึ้นไปบนฟ้า จะมีเสียง วี้ด...หวู...


หมายเหตุ ผู้ใดสนใจ จะสนับสนุน การทำงานของ กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ สามารถ บริจาคผ่านได้ที่ ชื่อบัญชี กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ธนาคารกรุงไทย สาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งราย บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๕๓๙-๑-๑๗๔๓๖-๘ หรือติดต่อได้ที่ กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ๒๖๘ หมู่ ๓ บ้านป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๘๐

เรื่อง: ขวัญใจ เอมใจ
ภาพ: บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช

ล้อมกระด้ง ปั่นสะบ้า

คนตำข้าว (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
บอกโย่ง งู และ กบ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
กำหมุน (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พวงปลา (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)

 

สารบัญ | งานภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ | กล้วยไม้ไทย | ของเล่นพื้นบ้าน | ดื่มนม


Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)