หน้าปกสารคดี ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๑๙๐เดือนธันวาคม ๒๕๔๓

ส า ร บั ญ
โลกใบใหญ่
โลกใบเล็ก
ลูกคิดกับคอมพิวเตอร์
ลูกคิดกับคอมพิวเตอร์
มรณกรรม บนแผ่นกระดาษ
มรณกรรม บนแผ่นกระดาษ
อ่านเอาเรื่อง
โสเภณีถูกกฎหมาย สังคมไทย ควรยอมรับหรือปฏิเสธ
สัตว์-พรรณพืช
สถานการณ์ล่าสุด ของนกชายเลนปากช้อน
สถานการณ์ล่าสุด ของนกชายเลนปากช้อน
เพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน
หัวพญานาคลักเขต ความผิดพลาดซ้ำซาก ของการพัฒนา ที่หนองหานหลวง 
ต่างประเทศ
ติมอร์ตะวันออก : ที่ได้เห็นมา
ติมอร์ตะวันออก : ที่ได้เห็นมา
เกร็ดข่าว
นาเกลือ... ฤาจะเหลือ เพียงตำนาน ?
นาเกลือ... ฤาจะเหลือ เพียงตำนาน ?
สัตว์-พรรณพืช
แหล่งค้าพันธุ์ไม้ป่า ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร
ที่นี่มีอะไร

โลกธรรมชาติ และวิทยาการ
โลกวิทยาการ
อัลไซเมอร์ : มัจจุราชเงียบ
อัลไซเมอร์ : มัจจุราชเงียบ 

โลกบันเทิง
ภาพยนตร์
Hollow Man ผู้ชายล่องหน : ตัวตนกับการถ้ำมอง
คอลัมน์ประจำ - ปกิณกะ
โลกรายเดือน
เชิญดอกไม้
มอร์นิงกลอรี (เชิญดอกไม้)
มอร์นิงกลอรี
จากบรรณาธิการ
บ้านพิพิธภัณฑ์
บัตรอวยพรสมัย ร. ๕ ของ จงดี เดชาสกุลสม
บทความพิเศษ
(คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
แย้หัวเราะ
สารคดีบันทึก
(คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
เที่ยวงานวัด... เทศกาลวัดอรุณฯ ร.ศ. ๑๐๐
เขียนถึงสารคดี
Feature@ Sarakadee.com
บันทึกนักเดินทาง
นกเค้าหน้าผากขาว วิหคไพรในรัตติกาล
นกเค้าหน้าผากขาว วิหคไพรในรัตติกาล
สัมภาษณ์
ซานานา กุสเมา กับอนาคต ของติมอร์ตะวันออก
ซานานา กุสเมา กับอนาคต ของติมอร์ตะวันออก
สยามร่วมสมัย
พิธีฝังคนทั้งเป็น ในหลุมหลักเมือง
พิธีฝังคนทั้งเป็น ในหลุมหลักเมือง
สารคดีภาพ
คริสต์มาส "kapr"
คิดสร้างต่างสรรค์
(คลิกดูภาพใหญ่)
เบนจามิน แฟรงคลิน รัฐบุรุษนักวิทยาศาสตร์
ข้างครัว
พิถีพิถัน
โลกสถาปัตยกรรม
คอนราด วาคสมานน์ กับบ้านชนบท ของไอน์สไตน์
ศิลปะ
(คลิกดูภาพใหญ่)
อุกิโยะเอะ : ภาพแห่งโลก ที่ล่องลอย (๒) สาวงามในภาพพิมพ์
ฉบับที่ ๑๙๐ เดือน ธันวาคม ๒๕๔๓
โสเภณีถูกกฎหมาย สังคมไทยควรยอมรับหรือปฏิเสธ
เ รื่ อ ง จ า ก ป ก

(คลิกดูภาพใหญ่)
ภาพปก : ชัยชนะ จารุวรรณากร

กำเนิดชาติใหม่ ติมอร์ตะวันออก
   
ภาพที่เห็นอยู่นี้ เป็นรุ่งอรุณของวันหนึ่งในติมอร์ตะวันออก ชาวประมงกำลังจับปลาด้วยเครื่องมือพื้นบ้าน ริมทะเลหน้ากรุงดิลี เบื้องหลังจะเห็นรูปปั้นขนาดใหญ่ของพระเยซูเจ้า ยืนตระหง่านอยู่บนยอดเขา อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า พลเมืองส่วนใหญ่ของชาวติมอร์ตะวันออก นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
    กล่าวกันว่าซูฮาร์โต อดีตประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย สร้างรูปปั้นนี้เพื่อเอาใจชาวติมอร์ตะวันออก และให้พระเยซูเจ้าหันพระพักตร์ ไปทางกรุงจาการ์ตา เพื่อชาวติมอร์ฯ จะได้จงรักภักดีต่ออินโดนีเซีย แต่การณ์กลับตรงกันข้าม เมื่อมีการลงประชามติเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๒ มีชาวติมอร์ฯ เพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ยังอยากอยู่ภายใต้ร่มเงาของอินโดนีเซียต่อไป ในขณะที่ ๗๘.๕ เปอร์เซ็นต์ ต้องการเอกราชและอธิปไตย
    แต่ภายหลังการลงประชามติ กองกำลัง mlitia ซึ่งเป็นทหารพื้นบ้าน ที่ได้รับการสนับสนุนจากอินโดนีเซีย ได้เข่นฆ่าชาวติมอร์ฯ จนมีผู้บาดเจ็บ และล้มตายจำนวนมาก ต้องอพยพหนีตายออกนอกประเทศ หลายแสนคน และกองกำลัง militia ยังเผาบ้านเรือน อาคารที่ทำการของรัฐ วอดวายไปทั่วทั้งติมอร์ตะวันออก
    ในที่สุดกองกำลังรักษาสันติภาพ ของสหประชาชาติ ก็ยกพลขึ้นบกที่หน้ากรุงดิลี่เพื่อยุติสงคราม และการเข่นฆ่าผู้คน ตลอดจนเข้ามาทำหน้าที่รัฐบาลชั่วคราว เพื่อบริหารประเทศ จนกว่าติมอร์ตะวันออก จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในราวปลายปีหน้า
    หนึ่งปีภายหลังจากที่องค์การสหประชาชาติ ได้เข้ามาดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย นักวิชาการไทยกลุ่มแรก ได้เดินทางเข้าไปในติมอร์ตะวันออก ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังไม่สงบ เพื่อไปค้นหาความจริงว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศเกิดใหม่ล่าสุดแห่งนี้
ส า ร ค ดี พิ เ ศ ษ
(คลิกดูภาพใหญ่) กำเนิดชาติใหม่ ติมอร์ตะวันออก
    แม้ติมอร์ตะวันออกจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ซึ่งมีเนื้อที่เพียงไม่ถึง ๒ หมื่นตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑ ใน ๑๒ ของไทย หากดินแดนนี้ก็เป็นที่หมายตาของอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ อาจเพราะมีการคาดหมายกันว่า ในทะเล Timor Gap ระหว่างเกาะติมอร์กับออสเตรเลียนั้น มีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในปริมาณมหาศาล
   
ประวัติศาสตร์ติมอร์ตะวันออกนั้น ผ่านการถูกย่ำยีบีฑามาโดยตลอด ตั้งแต่ครั้งตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส นานถึง ๔๐๐ ปี จากนั้นก็ถูกกองทัพอินโดนีเซีย ใช้ทั้งอาวุธ และความรุนแรงเข้ายึดครอง ประมาณกันว่าชนชาติติมอร์ตายไปถึง ๒ แสนคน จากการถูกข่มขืนทรมาน และสังหารหมู่ นับเป็นการนองเลือดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ ๒๐ 
    ในการลงมติเมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๒ ของชาวติมอร์ฯ เพื่อตัดสินอนาคตว่า จะเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียต่อไป หรือเป็นเอกราช ทันทีที่ผลการลงคะแนนออกมาว่า ชาวติมอร์ฯ ส่วนใหญ่ต้องการเป็นเอกราช กองกำลังทหารเถื่อน โดยความสนับสนุนของทหารอินโดนีเซียราว ๒ หมื่นคน ก็เริ่มกระบวนการสังหาร ปล้น ข่มขืน ทารุณกรรม และเผาผลาญบ้านเรือน และเมืองต่าง ๆ ในติมอร์ฯ เกือบทั้งหมด 
    ความรุนแรงป่าเถื่อน และการละเมิดมนุษยธรรมเช่นนี้ เป็นสิ่งที่นานาประเทศไม่อาจยอมรับได้ เป็นผลให้กองกำลังรักษาสันติภาพจากสหประชาชาติ จำต้องเข้าไปควบคุมสถานการณ์ในติมอร์ตะวันออก จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในปีหน้า
    ล่าสุด ชาวไทยห้าคนในนาม อบศ. ๕ โดยการนำของ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้เดินทางไปยังดินแดนนี้ เพื่อสำรวจข้อมูล จัดทำหนังสือคู่มือประเทศใหม่แห่งอุษาคเนย์ ... วิถีชีวิตผู้คน สภาพของเมืองเกิดใหม่ที่เพิ่งผ่าน "สงครามเสียกรุง" มาหมาด ๆ จะเป็นเช่นไร รวมทั้งเรื่องราวการทำงานของเจ้าหน้าที่ไทย ในกองกำลังสันติภาพฯ ได้รับการบันทึกไว้ อย่างละเอียดแล้วในสารคดีพิเศษเรื่องนี้

อ่านต่อคลิกที่นี้อ่านต่อคลิกที่นี้ 


(คลิกดูภาพใหญ่) ภาพชุดศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
   
กล่าวกันว่า น. ณ ปากน้ำ หรือ ประยูร อุลุชาฎะ นักเขียนนักค้นคว้าศิลปะโบราณวัตถุ-สถานของไทย เป็นหนึ่งในบรรดา "ผู้มาก่อนกาล" ขณะที่กรมศิลปากรยุคเมื่อ ๔๐ ปีก่อน ยังคงมุ่งมั่นอยู่กับการหาสมบัติในกรุวัดร้าง ท่านผู้นี้ได้ก้าวล่วงไปถึงการศึกษาศิลปะ และอารยธรรมโบราณของสยาม ตลอดจนการอนุรักษ์โบราณวัตถุ - สถานอันเป็นมรดกล้ำค่าของไทย ไว้ก่อนที่จะสูญสลาย หรือถูกทำลายไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และนั่นทำให้ลายปูนปั้นอันงดงาม ที่หน้าบันพระอุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี ธรรมาสน์รูปนรสิงห์แบก แห่งวัดวรจรรยาวาสอันงามวิจิตร ตลอดจนศิลปะโบราณอีกจำนวนมาก ยังคงปรากฏอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
    ภาพถ่ายขาว-ดำ ผลงานของ น. ณ ปากน้ำ ที่ สารคดี คัดสรรมาตีพิมพ์ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของผลงาน อันเป็นเสมือนประจักษ์พยานของความงดงามยิ่งใหญ่ แห่งอารยธรรมไทย ที่ถ่ายทอดผ่านสายตาอันแหลมคม ของศิลปิน และครูผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ 
Special Attractions
Cover : Sarakadee  No. 190 December 2000 Cover: "Out fishing" - two East Timorese fishermen from Dili out for a 'harvest'. In the distance, an immense sculpture of Jesus Christ stands impressively perched atop the mountain. 
Click for Bigger East Timor: The Dawning of a New Nation

    After 400 years under the Portuguese, and the last 24 years under the Indonesians, the East Timorese concluded on 30 August 1999 through a national referendum, that the time had come for their realization of self-determination. As events to follow the referendum clearly displayed to the world, however, it seemed that Indonesia was not prepared to let her go so easily, lest they were interpreted as giving a green light to Aceh and Ambon to secede. Despite what then proved to be tremendous obstacles, with a determination to succeed, the East Timorese picked up the ashes of their destruction and have started the process of reconstruction. Efforts to assist in the birth of a new nation have been forthcoming - but, are they enough?

Click Here to Continue Continue: click here


Click to Bigger A Collection from Ayudhya

    Like others before their time, contemporary artist Prayura Ulachadha had a tendency to perceive what others had yet to see, to think of what others had yet to dream of, and to speak of what others had yet a capacity to understand. Following the glimpse into Prayura's life and times provided in Sarakadee's last edition, we attempt to bring you closer this time, to Prayura's reason for creation - his magical artistic expression, and his true vision of life.

Click Here to Continue Continue: click here


Click to Bigger Ukiyoe: Developing the Female Form

    To follow the development of the female form (Bijine) during the Ukiyoe era of Japanese art history is to follow from birth to blossom the splendid maturity of unadulterated, original Japanese artistic expression. The progression of Hishikawa Moronobu's first introduction of people as focal points in art, to Kiyonobu's promotion of the representation of the female form in art, tells a tale of the sophistication of the small, stout representation of woman to the billowing, magnificent representation of woman that is plainly and simply beauty, erupting in Ukiyoe's Golden Age of the Bijine...

Click to Bigger Click to Bigger

เ ฮ โ ล ส า ร ะ พ า
เพื่อนหมู ดอกอะไร ?

"เพื่อนหมูฯ"

ซ อ ง คำ ถ า ม
พบกันบนทางช้างเผือก
ส.ค.ส.
นางพรายตานี



ประกาศผล การประกวด บทความ "ทำไมไอน์สไตน์ จึงสมควรได้รับการยกย่อง ให้เป็นบุคคล แห่งศตวรรษที่ ๒๐ ประกาศผล การประกวด บทความ
"ทำไมไอน์สไตน์ จึงสมควรได้รับการยกย่อง ให้เป็นบุคคล แห่งศตวรรษที่ ๒๐