wplanet pt

The White Planet (หนังสารคดี / 2006)

หลังจากเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ วิกฤตการณ์โลกร้อนเป็นสิ่งที่ถูกอ้างถึงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่แน่นอนว่าหลายคนที่มีชีวิตท่ามกลางความศิวิไลซ์อาจไม่ตระหนักถึงปัญหาดัง กล่าว หรือยังไม่อาจเห็นปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม แต่ที่ขั้วโลกเหนืออันหนาวเหน็บสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ส่งผลกระทบ ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในที่แห่งนั้นต้องดำรงชีพด้วยความยากลำบาก และหาทางอยู่รอดกว่าที่เคยประสบ

เพียง 30 ปีที่ผ่านมา สถิติที่น่าตกใจก็คือน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายไปแล้วคิดเป็นพื้นที่เกือบ ถึง 2 เท่าของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งแน่นอนว่าข้อบ่งชี้ที่ปรากฎในงานชิ้นนี้ย่อมไม่ได้แสดงให้เห็นผลกระทบ ที่เกิดต่อสัตว์ในพื้นที่เท่านั้น แต่ภาวะโลกร้อนจะส่งผลต่อเนื่องมายังมนุษย์ไม่ช้าก็เร็ว

ตัวอย่างสรรพสัตว์ที่รอคอยให้เราไปค้นพบคือ การกำเนิดของหมีขั้วโลกสองตัวในถ้ำ และการดำรงชีวิตในช่วง 3 เดือนเพื่อเตรียมตัวออกสู่โลกภายนอก, ค้นพบตัว นาร์วัล(Narwhal ปลาวาฬที่มีเขาแหลม) ที่ว่ายดำดิ่งในใต้ชั้นน้ำแข็ง, และฝูงกวางคาลิบูจำนวนมหาศาลที่เคลื่อนย้ายถิ่นฐานของตนผ่านทุ่งหญ้าทุนดร้า และ สัตว์อีกหลายชนิด

The White Planet หรือ La Planete blanche เป็นสารคดีปี 2006 จากการร่วมทุนกันระหว่างฝรั่งเศส และแคนาดา ผ่านการร่วมงานจากผู้กำกับถึง 3 คน นั่นคือ ฌอง เลมิเร่ นักชีววิทยาผู้ก่อตั้งบริษัท Les Productions Cine-Bio ในปี 1987 และ Les Productions Glacialis ในปี 2001 เพื่อผลิตสารคดีหลายเรื่อง หนึ่งในผลงานดังคือ Mission Arctique ซีรี่ส์สารคดีว่าด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับ The White Planet ถือเป็นผลงานกำกับครั้งแรกของเขา, เธียร์รี่ ราโกแบรต์ อดีตมือตัดต่อ ที่ผันตัวมาเป็นผู้กำกับสารคดีระดับรางวัล La septieme merveille du monde, และ Alexandrie la magnifique ให้กับสถานีโทรทัศน์ของ France 5 ของฝรั่งเศส และ เธียร์รี่ เปียนตานิด้า อดีตนักข่าวจากสำนักพิมพ์ชั้นแนวหน้า Cousteau ที่เคยกำกับสารคดีทางโทรทัศน์อย่าง Le Geant de la vallee perdue และ L’Empreinte des dinosaures มาแล้ว พวกเขานำพาเราไปพบกับอาณาจักรอาร์คติค สถานที่ซึ่งยากที่มนุษย์ผู้ใดจะดำรงชีวิต และเหยียบย่างเข้าไปได้ในโลกผ่านสภาพฤดูกาลที่แปรผัน

ความโดดเด่นที่ได้รับคำชมอย่างสูงสารคดีชุดนี้คือการถ่ายภาพที่สวยงามของ ขั้วโลกเหนือได้อย่างน่าทึ่ง(หนังใช้ผู้กำกับภาพถึง 5 คน) ท่ามกลางอุปสรรคทางด้านสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นแปรปรวน โดยผู้สร้างยังสามารถตามเก็บชีวิตของสัตว์นานาชนิด ณ ที่แห่งนี้ได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งส่งผลให้เกิดความรู้สึกลึกลับ ชวนหลงใหล ขณะเดียวกันก็แฝงไว้ซึ่งอันตรายของธรรมชาติไปในตัว แม้จะมีเสียงบรรยายน้ำเสียงราบเรียบ(หนังให้เสียงบรรยายโดย ฌอง หลุยส์-เอเตียง ชายคนแรกที่เดินทางถึงขั้วโลกเหนือด้วยการเดินเท้าเป็นเวลา 63 วัน เมื่อปี 1986) และดนตรีประกอบอันอึกทึกไปบ้าง แต่งานภาพก็ยังคุ้มค่าและทดแทนกันได้ แบบที่ใครชอบสารคดีภาพสวยอย่าง Wing Migration หรือ March of The Penguins ควรไปชม

แม้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จถล่มทลายเช่นเดียวกับสารคดีขั้วโลกใต้ถ่ายทอด ชีวิตนกเพนกวินจักรพรรดิอย่าง March of The Penguins ที่ฉายในปีเดียวกัน แต่งานชิ้นนี้ก็แสดงให้เห็นความตั้งใจจริงในการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย การทำโครงการ Easy Being Green (ในออสเตรเลียภาพยนตร์เรื่องนี้จะฉายโดยขอเก็บเงินเพิ่มเพื่อนำไปสมทบทุน ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นค่าปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ของผู้ชมที่สร้างขึ้นจากการชม ภาพยนตร์แต่ละครั้ง) อีกด้วย

9 ข้อที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวขั้วโลกเหนือ

1.คำว่า Arctic ที่ใช้เรียกสถานที่นี้มาจากภาษากรีกแปลว่า หมี
2.จาก การวิจัยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขั้วโลกเหนือได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจุดเตือนภัยขั้นต้นสำหรับการเปลี่ยน แปลงอากาศบนโลก
3.อุณหภูมิเฉลี่ยของขั้วโลกเหนือคือ -37 องศาเซลเซียส แต่ต่ำสุดที่เคยวัดคือ -68 องศาเซลเซียส
4.จิ้งจองขั้วโลกเป็นสัตว์ที่มี ขนสัตว์ให้ความอบอุ่นที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกัน มากกว่าหมีขั้วโลก และหมาป่าขั้วโลกเหนือ
5.วัว มัสค์อ๊อค มีกะโหลกศีรษะที่แกร่งราวกับเกราะหนักเพื่อป้องกันมันจากการต่อสู้กับพวก เดียวกันเอง ว่ากันว่าการปะทะกันของพวกมันไม่ต่างกับการขับรถชนกำแพงด้วยความเร็ว 27 กม./ชม.
6.กวางคาลิบูสามารถนอนหลับในน้ำได้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง