pinsongkla01

เพราะทั่วไทยมีร้านอาหารคูล ของที่ระลึกเก๋ และสถานที่ท่องเที่ยวเอาใจนักเช็กอิน-ปักหมุดมากแล้ว

“ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม” โดยการรวมกลุ่มของลูกหลานหลากความถนัดแต่มีจุดหมายร่วมคือ คืนชีพให้สถาปัตยกรรมเก่าแก่หลักร้อยปีที่กำลังผุพัง ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม

จึงเลือกที่จะชวนชาวบ้าน ภาครัฐ-เอกชน อย่างเทศบาลนครสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมบูรณะอาคารโบราณ จัดกิจกรรมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่อเนื่องให้คนท้องถิ่นเห็นคุณค่ามรดกบ้านตนก่อนร่วมส่งต่อเรื่องราวชุมชนอย่างใส่ใจ ทำให้เมืองเก่าสงขลาแตกต่างจากเมืองท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ที่อื่น

pinsongkla02

เสพมรดกรุ่งเรืองจากเมืองท่า-บ่อยาง

สงขลาผ่านร้อนหนาวมาหลายร้อยปีดั่งคุณเทียดที่ยังมีลมหายใจ

ภาพน่าตื่นเต้นจึงเริ่มตั้งแต่เท้าสัมผัสถนนสำคัญสามสาย คล้ายได้ย้อนสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔ เวลานั้นเมืองสงขลามีที่ตั้งแล้ว สองแห่ง คือ เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง และเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ครั้นฝั่งแหลมสนเป็นที่ลาดชันเชิงเขายากต่อการขยายตัว ปี ๒๓๗๙ พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) จึงให้ตั้ง “เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง”ขึ้นใหม่รองรับการเป็นเมืองท่าทางทะเล แล้วสร้าง “ถนนนครนอก” มีท่าเทียบเรือติดทะเลสาบสงขลา “ถนนนครใน” ให้พาดผ่านเมือง และ “ถนนเก้าห้อง” (ถนนนางงาม) เป็นย่านชุมชน

“สมัยนั้นคึกคักมาก รอบลุ่มทะเลสาบสงขลาปลูกข้าวจนมีโรงสีน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายโรง ‘หับ โห้ หิ้น’ เป็นหนึ่งในนั้น ชาวบ้านเรียก ‘โรงสีแดง’ ตามสีสันของอาคาร เราสีข้าวด้วยเครื่องจักรมอเตอร์จากปีนังแล้วพัฒนาเป็นเครื่องจักรไอน้ำจากอังกฤษ เรียกว่าทันสมัยที่สุด และยังขายข้าวให้ประเทศมาเลเซียด้วย”

รังสี รัตนปราการ เจ้าของโรงสีแดงรุ่น ๓ ย้อนความยุคที่กิจการของครอบครัวรุ่งเรือง

กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ส่งผลให้ร้านค้าโรงงานปิดตัว เกิดภาวะขาดแคลนสิ่งอุปโภคบริโภค ชาวสงขลาจำต้องทิ้งบ้านไปอาศัยต่างถิ่น แต่นั้นธุรกิจการค้าของชาวเมืองฝั่งบ่อยางก็ไม่เหมือนเดิม

“โรงสีแดงจึงปรับจากโรงสีข้าว โรงน้ำแข็ง โกดังเก็บยางพารา จนวันนี้เป็นท่าเทียบเรือประมง แต่ทายาททุกรุ่นยังซ่อมบำรุงโครงสร้าง ทาสีอาคารและปล่องไฟเพื่อรักษาคุณค่าทางสถาปัตยกรรมให้อยู่คู่ ถนนนครนอกจนได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นปี ๒๕๕๔ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงสีแดงจึงกลับมาคึกคักในฐานะที่ท่องเที่ยว มีชาวมลายูจากต่างเมืองมาเยี่ยมชม”

ชายวัย ๘๕ ปี ประธานภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม เล่าว่านับแต่สงขลาเปลี่ยนจากยุคการค้าสู่เมืองท่องเที่ยว และมีกลุ่มคนรักสงขลาร่วมกระตุ้นให้ผู้คนเห็นความสำคัญของลมหายใจประวัติศาสตร์ อย่างศาลเจ้า อาคารทรงชิโน-ยูโรเปียน หรือห้องแถวไม้แบบจีนที่สวยงาม คนรุ่นใหม่ก็นึกเสียดายบ้านเก่าน้อยใหญ่ที่ปิดตายไปหลายสิบปี พากันบูรณะให้กลับมาดูสวยอีกครั้ง

แต่เหมือนยังขาดบางอย่างที่ชุบชูชุมชนให้มีชีวิตชีวา กระทั่งมีคนกลุ่มหนึ่งยื่นมือปลุกความคึกคัก

pinsongkla03

สีสันผ่านกาลเวลาสู่เมืองศิลป์

หลายปีมานี้เมืองเก่าสงขลาได้รับการพูดถึงในแง่ “creative city”

ไม่เพียงเจ้าของโรงสีแดงจะแบ่งพื้นที่เป็นอุทยานการเรียนรู้นครสงขลาและสถานจัดกิจกรรมชุมชน ยังมี “ศูนย์การเรียนรู้ย่านเมืองเก่า คิดบวกดี” (Kid+Dee @ Historic Center) โดยการสนับสนุนของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัดให้เป็นศูนย์ประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ

pinsongkla04

“นโยบายของเชฟรอนคือเราเสมือนผู้อาศัยในบ้านต่าง ๆ ทำงานอยู่ที่ไหน จึงจะร่วมมือกับคนพื้นที่สนับสนุนการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ปี ๒๕๕๒ เราช่วยทำป้ายสื่อความหมายติดตามสถานที่สำคัญเป็นภาษาไทยว่าแต่ละแห่งมีคุณค่าอย่างไรเพื่อเป็นข้อมูลเสริมการท่องเที่ยว สองปีก่อนเราปรับปรุงป้ายทั้งข้อมูลและรูปแบบให้ทันสมัยโดยสำรวจความต้องการจากร้านค้าต่าง ๆ จนได้ป้ายที่คนในชุมชนต้องการแล้วแสดงข้อมูลเป็นภาษาไทย จีน อังกฤษ มีคิวอาร์โค้ดให้สแกนเข้าเว็บไซต์อ่านข้อมูลเพิ่ม”

นารี บุญสงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการสัมพันธ์ของบริษัท เล่าภารกิจหลังรู้ว่าสถาบันในชุมชนอยากให้ช่วยเติมเต็มความสุขในเมือง โดยสร้างอาคารสำหรับเป็นสถานจัดกิจกรรมวงเสวนาวิชาการ กระตุ้นการรับรู้แก่เยาวชนและประชาชน เพื่อขับเคลื่อนอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า

pinsongkla05

“สมัยนั้นคึกคักมาก รอบลุ่มทะเลสาบสงขลาปลูกข้าวจนมีโรงสีน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายโรง ‘หับ โห้ หิ้น’ เป็นหนึ่งในนั้น ชาวบ้านเรียก ‘โรงสีแดง’ ตามสีสันของอาคาร เราสีข้าวด้วยเครื่องจักรมอเตอร์จากปีนังแล้วพัฒนาเป็นเครื่องจักรไอน้ำจากอังกฤษ เรียกว่าทันสมัยที่สุด และยังขายข้าวให้ประเทศมาเลเซียด้วย”

รังสี รัตนปราการ

“คอนเซปต์ของพื้นที่คือ ‘คิดดี ทำดี’ จึงเกิดเป็นอาคาร ‘คิดบวกดี’ มีร้านกาแฟ มีสตรีตอาร์ต บางวันมีจัดแสดงหนังตะลุง โนราห์ สร้างกิจกรรมให้คนรุ่นใหม่กับรุ่นเก่าได้ใช้ชีวิตสนุกสนานบนพื้นที่เดียวกัน”

แต่นั้นแคมเปญต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์เมืองเก่าในสังคมคนรุ่นใหม่ก็เคลื่อนไปอย่างคึกคัก

“มีการแต่งเพลงประจำเมืองอย่าง ‘เสน่ห์สงขลา’ เล่าเกี่ยวกับมรดกท้องถิ่นทั้งธรรมชาติ อาหาร และวิถีชุมชน ที่มีคนจีน แขก ไทย ต่างอาศัยในสังคม เรียกได้ว่าใครร้องเพลงนี้จบก็เที่ยวสงขลาได้ครบเลย”

pinsongkla06

ดร. จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หนึ่งในทีมสถาปนิก-แกนนำอนุรักษ์เมืองเก่าสงขลา ชวนคิดว่า การจะอนุรักษ์เมืองไม่ใช่แค่ทำให้คนในภาคภูมิใจ

“ต้องทำให้คนนอกรู้จักของดีเราด้วย จึงเกิดโครงการสตรีตอาร์ตตามมุมตึก บนถนน บางจุดมีงานประติมากรรม ผู้คนบนผนังและรูปปั้นล้วนมีอยู่จริงเพื่อโยงความสัมพันธ์กับผู้คน นักท่องเที่ยวจึงเหมือนได้ดื่มด่ำเรื่องราวที่มีคุณค่าของสิ่งมีชีวิตดั้งเดิม มาสัมผัสลมหายใจจริง นอกเหนือจากถ่ายรูปเมืองสวย ๆ”

แต่คงไม่ท้าทายนักหากมุ่งมั่นรักษาแต่ของเก่า เมื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยก็มีค่า

“ละแวกเดียวกันจึงมีทั้งร้านก๋วยเตี๋ยวสูตรสมัยใหม่ ขนมเค้ก กาแฟแก้วละ ๑๒๐ บาท แต่ก็ยังมีก๋วยเตี๋ยวโบราณ ขนมพื้นถิ่น และกาแฟแก้วละ ๑๐ บาท ของอากงอาม่าอยู่ร่วมกันด้วย”

ปีที่แล้วยังผุดอีกกิจกรรมนำร่องขึ้นภายใต้ชื่อ “หลาดแสงดาว” และ “ครีเอทีฟมาร์เกต”

“เป็นตลาดกลางคืนบนถนนตั้งแต่หน้าศูนย์คิดบวกดีไปจนโรงสีแดง นำเสนอดนตรี วัฒนธรรม ของกลุ่มนักศึกษาและชาวชุมชน จัดประกวดงานออกแบบศิลปกรรมรูปแบบต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็แทรกนิทรรศการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวให้รู้ว่าทิศทางของเมืองสงขลาเป็นอย่างไร ชาวเมืองเก่ากำลังทำอะไรอยู่”

เขาว่าปีหน้าจะขับเคลื่อนต่อโดยอาศัยองค์ความรู้ร่วมกับงานออกแบบเมืองให้สะท้อนความครีเอทีฟยิ่งขึ้น เพราะความหวังของชาวสงขลาวันนี้ไปไกลกว่าเห็นเมืองเก่าเป็นมรดกของชุมชน

pinsongkla07r

“เมืองเก่าสงขลา” จะเป็น “เมืองมรดกโลก”

การพัฒนาเมืองเก่าแบบอาศัยองค์ความรู้ทำให้สงขลาเป็นเมืองน่าจับตา

ในแง่อายุ เมืองสงขลายังเก่าแก่ไม่เท่าจอร์จทาวน์ (ปีนัง) หรือเมืองมะละกา ที่มีประวัติศาสตร์เป็นเมืองท่าสำคัญ มีสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม และวิถีเป็นอยู่คล้ายคลึงซึ่งได้เป็นมรดกโลกไปแล้ว ถึงอย่างนั้นสงขลาก็มี “ราก” ที่ย้อนไกลถึงสมัยอยุธยา ควรค่าจะได้รับการคุ้มครองเป็นสมบัติของมนุษยชาติ

pinsongkla09

songkla chanin scaled

“แต่ความพร้อมของคนในชุมชนก็สำคัญ ทุกคนมีใจอยากอนุรักษ์ อยากพัฒนาชุมชนให้เกิดรายได้เพื่อลูกหลานจะได้มีอาชีพ แต่การเตรียมความพร้อมเป็นมรดกโลกไม่ใช่แค่ดูแลรักษาบ้านให้ดี ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นดูสวยงามทุกมุมมอง หรือยิ้มแย้มแจ่มใสพร้อมรับแขกอย่างที่พวกเขาเป็นปรกติ สงขลาเคยอยู่กันอย่างสงบ หากมีนักท่องเที่ยวมากก็ต้องเจอปัญหาจราจร ที่จอดรถ ความสะอาด แม้จะนำเทคโนโลยี smart city เข้ามาวางแผนเรื่องต่าง ๆ แต่ความเป็นส่วนตัวที่เคยมีก็จะหายไประยะนี้จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้พวกเขารู้จักรับมือความเจริญที่จะเข้ามาอย่างถูกต้องก่อน จะได้เดินหน้าอย่างมีทิศทาง”

ชนินทร์ สาครินทร์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ควบตำแหน่งรองนายกภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ให้เหตุผลที่การอนุรักษ์ต้องใส่ใจรายละเอียดชาวเมือง

เพราะฟันเฟืองเล็ก ๆ เหล่านั้นคือผู้เล่าประวัติศาสตร์…มรดกแท้จริงของเมือง

pinsongkla10

#Chevron #SongkhlaOldTown #HumanEnergy