Green Society

โลกรวน โลกร้อน เป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบถึงทุกคน และไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้โดยประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โลกจึงต้องการความร่วมมือกันอย่างแข็งขันเพื่อลดความร้ายแรงและบรรเทาภัยพิบัติที่อาจร้ายแรงกว่าโรคระบาดโควิด 19 เอสซีจี มุ่งมั่นสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

1. รวมพลังภาคอุตสาหกรรม ด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

SCG Future is Net Zero 2050

เอสซีจี มุ่งมั่นขยายความร่วมมือในกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง (CECI) ซึ่งมีสมาชิกองค์กรชั้นนำต่างๆ โดยมีโครงการเกี่ยวกับการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม อาทิ

Pile Waste Solution สร้างความร่วมมือกับผู้พัฒนาโครงการก่อสร้างอาคาร นำเศษเสาเข็มคอนกรีตในโครงการมาผ่านกระบวนการบดย่อยและนำไปใช้แทนวัสดุก่อสร้าง เช่น วัสดุรองพื้นทาง ลานจอดรถ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ฯลฯ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดมลภาวะ ลดการขนส่งเพื่อไปกำจัด และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการ นับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของจัดการเศษเสาเข็มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

> ปี 2563-2564 ร่วมมือกับโครงการก่อสร้างอาคาร 22 โครงการจาก 11 บริษัท รวมปริมาณเศษเสาเข็มกลับมาใช้ใหม่ 14,096 ตัน เทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1,397 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

23sepnetzero03

แปรรูปเศษวัสดุก่อสร้างทดแทนวัสดุธรรมชาติ สร้างความร่วมมือระหว่างโรงงานเพื่อนำของเสียจากโรงงานหนึ่งไปเป็นวัตถุดิบทดแทนวัสดุตามธรรมชาติในการผลิตสินค้าของอีกโรงงานหนึ่ง เช่น เศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีตบดละเอียดและเศษอิฐมวลเบาบดละเอียด นำไปทดแทนทรายธรรมชาติในการผลิตบล็อกปูพื้น เศษกระเบื้องหลังคาเซรามิดบดละเอียดและเศษเซรามิกบดนำไปใช้ทดแทนดินธรรมชาติในการผลิตกระเบื้องเซรามิกปูพื้น ฯลฯ

> ปี 2564 สร้างความร่วมมือระหว่างโรงงานทั้งภายในและภายนอกเอสซีจี 10 โรงงาน ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติได้ 14,800 ตัน และส่งมอบกากดินดำให้ชุมชนใช้เป็นวัสดุทดแทนในการผลิตดินสำหรับปลูกต้นไม้

2. รวมพลังภาคการเกษตร เพิ่มมูลค่าให้เศษวัสดุเหลือทิ้ง

เอสซีจี เริ่มดำเนินโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) มาตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยสร้างความมีส่วนร่วมกับชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เปิดรับซื้อผลผลิตการเกษตรเหลือทิ้งในพื้นที่รอบโรงงานปูนซีเมนต์ทั้ง 5 แห่งที่จังหวัดสระบุรี ลำปาง และนครศรีธรรมราช เพื่อนำเศษวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า PM2.5 และหมอกควันในพื้นที่จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้และเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกับสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน

23sepnetzero04

ปี 2564 โครงการ “ชุมชนต้นแบบ ลดการเผา” จังหวัดลำปาง ยังสนับสนุนให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาอัดฟ่อนฟางข้าวจำหน่ายให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และกลุ่มผู้สนใจทั่วไปด้วย

3. รวมพลังภาคประชาสังคม ฟื้นฟูธรรมชาติเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน

การเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนถือเป็นกุญแจสำคัญของการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ เอสซีจี ได้ดำเนินการปลูกและฟื้นฟูพื้นที่ป่าธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี ทั้งพื้นที่ป่าบก ป่าชายฝั่ง และหญ้าทะเล เพื่อให้เป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมกับอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยสร้างความร่วมมือกับภาคประชาสังคมผ่านโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติลดโลกร้อน และโครงการอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่โรงงาน

> ปลูกป่า ในปี 2564 ปลูกต้นไม้และหญ้าทะเลทั้งหมด 150,000 ต้น คิดเป็นปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 14,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

> ฟื้นฟูสภาพพื้นที่เหมืองหินปูน ปลูกพันธุ์ไม้พื้นถิ่นเพื่อให้ระบบนิเวศในพื้นที่ฟื้นฟูคล้ายคลึงกับพื้นที่บริเวณป่ากันชน และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการเพาะกล้าและปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูเหมืองหินปูน ทำให้มีพื้นที่ป่ากันชน (Buffer Zone) 7,514 ไร่ มีปริมาณกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์รวม 389,625 ตัน

> สร้างฝายฟื้นฟูป่าชุมชน ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นที่ประสบภัยแล้ง ฟื้นฟูสภาพป่าแหล่งต้นน้ำด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ และต่อยอดสู่การนำน้ำจากฝายชะลอน้ำไปกักเก็บไว้ที่สระพวง เพื่อกระจายการเก็บน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ตั้งแต่ปี 2550-2564 สร้างฝายสร้างความชุ่มชื้นรวมทั้งสิ้น 100,466 ฝาย

> ปลูกหญ้าทะเล ร่วมมือกับชุมชนเกาะลิบง ตำบลลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และหน่วยงานรัฐ และรักษาสมดุลระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยหญ้าทะเลมีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าป่าบกถึง ๕๐ เท่า

> บ้านปลา ฟื้นฟูความหลากหลายทางธรรมชาติในทะเล ร่วมกับชุมชนบ้านมดตะนอยและเกาะลิบง จังหวัดตรัง จัดทำโครงการวางบ้านปลาซีเมนต์ในคลองลัดเจ้าไหม เพื่อให้เป็นแหล่งอนุบาลลูกสัตว์น้ำขนาดเล็ก และเป็นแหล่งหากินที่ยั่งยืนของชาวบ้านในท้องถิ่น

บ้านปลาซีเมนต์ผลิตจากปูนทนน้ำทะเล ซึ่งมีความทึบมากกว่าซีเมนต์ปกติ ไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีรูกลวงโดยรอบให้ปลาว่ายผ่าน รวมทั้งให้ปะการังเกาะอาศัยได้

23sepnetzero02

> ฐานเกาะปะการัง ร่วมมือกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พัฒนาฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงหรือพื้นผิวให้คล้ายคลึงกับปะการังธรรมชาติ