Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ หมู่บ้านคุมจูง ในช่วงฤดูร้อน เมฆหมอกห่มคลุมไปทั่วบริเวณ (คลิกดูรูปใหญ่)
เ ช อ ร์ ป า
ค น บ น ห ลั ง ค า โ ล ก
เรื่อง : ประสาน อิงคนันท์
ภาพ : ประสาน อิงคนันท์, ศุภศิริ ชนินทร์วงศ์

หมู่บ้านคุมจูง ในช่วง ต้นฤดูหนาว (คลิกดูรูปใหญ่)
หมู่บ้านคุมจูง ในช่วง ต้นฤดูหนาว
.....นับแต่รอยเท้ารอยแรก ปรากฏบนยอดเขา ที่สูงที่สุดในโลก เอเวอร์เรสต์ ไม่เคยเสื่อมมนต์ขลัง พลานุภาพ ที่แฝงเร้นอยู่ ณ จุดสูงที่สุดของโลกนี้เอง ได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ ชนเผ่าเล็ก ๆ ที่มีวิถีชีวิตอันสงบ ดำเนินไปตาม วัฏจักรของฤดูกาล กลับกลายเป็น ชนเผ่าที่ ต้องติดต่อสัมพันธ์กับ คนภายนอก จนได้ชื่อว่า เป็นชนเผ่า ที่มีชื่อเสียงที่สุด แห่งเทือกเขาหิมาลัย ถึงวันนี้ แทบไม่มีนักปีนเขาคนใด ไม่รู้จักชาวเชอร์ปา ผู้เป็นเสมือน เงา แห่งความสำเร็จ ของนักปีนเขา จากทั่วโลก พวกเขาต่างยอมรับว่า ไม่มีชัยชนะ บนเอเวอร์เรสต์ครั้งใด เกิดขึ้นได้โดย ปราศจาก ชาวเชอร์ปา
.....กล่าวกันว่า บรรพบุรุษกลุ่มแรก ของชาวเชอร์ปา ที่มายังหุบเขาคุมบู เมื่อ ๖๐๐ กว่าปีก่อน ได้อพยพหนีภัยสงคราม และการสู้รบ มาจาก ดินแดน ที่เรียกว่า Kham-Salmo-Gang ไกลออกไป ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก ของทิเบต มาตามเส้นทาง Nang Pa La ต่อมา ได้กลายเป็น เส้นทางการค้าขาย และไปมาหาสู่ ระหว่างคนสองฟากฝั่ง พวกเขาจึงเรียกตัวเองว่า เชอร์ปา อันหมายถึง คนจากทิศตะวันออก ชาวเชอร์ปากลุ่มแรก เริ่มต้นลงหลักปักฐาน ที่หุบเขาคุมบู ทางทิศ ตะวันออก ของเนปาล ซึ่งเป็นกลุ่มที่ นักปีนเขา จากทั่วโลก คุ้นเคย เป็นอย่างดี ในขณะที่ บางกลุ่ม อพยพต่อลงมา ยังทางใต้ ที่เรียกว่า Solu และบางกลุ่ม อพยพไปไกลถึง รัฐสิกขิม และดาร์จิลิง ในอินเดีย
ราวเดือน ตุลาคม-มีนาคม อาณาบริเวณของหุบเขา คุมบู จะถูกห่มคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน (คลิกดูรูปใหญ่)
เชอร์เตน หรือสถูป เป็นที่บรรจุอัฐิ พระลามะ ที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้าน
.....ในอดีตชาวเชอร์ปา เป็นพ่อค้าเร่ร่อน นำสินค้าพวก เมล็ดพืช และข้าวบาร์เลย์ จากพื้นราบ ไปแลกกับเกลือ ในแถบทิเบต กระทั่ง ค.ศ. ๑๙๕๙ การไปมาหาสู่ ของคนสองฟากฝั่ง ก็สิ้นสุดสะดุดลง เมื่อจีนเข้ารุกราน ทิเบต
.....ชีวิตในดินแดนหลังคาโลกอันหนาวเย็น แร้นแค้น ชีวิต ที่ดำเนินไป ในแต่ละวัน ฝากไว้กับ เทพเจ้าบนยอดเขา ชาวเชอร์ปาเชื่อว่า ยอดเขา ทุกยอด ล้วนมีเทพเจ้า สิงสถิตอยู่ และเทพเจ้าประจำถิ่น ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ เทพเจ้าคุมบู ยัวลา วันสุดท้ายของ เทศกาลดุมเจ ซึ่งเป็น เทศกาลยิ่งใหญ่ ประจำหมู่บ้านคุมจูง จะมีพิธีกรรม เต้นหน้ากาก ที่ชาวเชอร์ปาเคารพสักการะ เชื่อกันว่า พิธีกรรมนี้ เป็นการ ถวายสักการะ แด่เทพเจ้า แห่งหุบเขาคุมบู และเพื่อเป็นการ ขับไล่ สิ่งชั่วร้าย ให้พ้นจากหมู่บ้าน
.....เป็นเรื่องแปลก ที่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ เป็นสถานที่อันดับท้าย ๆ ของโลก ที่มนุษย์ เพิ่งสามารถ ไปฝากรอยเท้าไว้ได้ ทั้ง ๆ ที่ เป็นพื้นดิน ที่อยู่บนโลก ความพยายาม ที่จะพิชิต ยอดเขาเอเวอร์เรสต์นั้น ต้องใช้เวลากว่า ๓๐ ปี จึงประสบผลสำเร็จ ซึ่งที่จริง อาจต้องใช้เวลา นานกว่านั้น ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก ชาวเชอร์ปา
บริเวณหน้าวัด คุมจูง (คลิกดูรูปใหญ่)
บริเวณหน้าวัด คุมจูง
แผ่นหินแกะสลัก โอม มณี ปัทเม หุม (คลิกดูรูปใหญ่)
แผ่นหินแกะสลัก โอม มณี ปัทเม หุม
.....แน่นอนว่า ชนชาติ ที่ขึ้นไปบนจุดสูงสุดนั้น บ่อยครั้งที่สุดก็คือ ชาวเชอร์ปา แห่งเนปาลนั้นเอง และผู้ที่สังเวยชีวิต ให้แก่ยอดเขาแห่งนี้ ก็มีจำนวนถึง ๑๔๒ คน ในจำนวนนี้ เป็นชาวเชอร์ปาถึง ๔๓ คน สำหรับชาวเชอร์ปาเอง การเข้าร่วมกับ คณะนักไต่เขา ขึ้นสู่ยอดเขา เอเวอเรสต์ ก็ไม่ต่างอะไรกับ การเดินทางของ นักผจญภัย ที่ไม่มีใครรู้ถึง ชะตากรรม ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า แต่ชาวเชอร์ปา ส่วนใหญ่ ล้วนเคย ขึ้นไปพิชิต ยอดเขาเอเวอเรสต์ มาแล้วทั้งนั้น บางคน เคยขึ้นไปมากถึง เจ็ดครั้ง หนทางไปสู่ เอเวอเรสต์ สำหรับคนหนุ่มสาว ชาวเชอร์ปา เป็นเสมือน ลายแทงไปสู่ขุมทรัพย์ การได้เข้าร่วม คณะสำรวจ ขึ้นพิชิตยอดเขา ของชาวเชอร์ปา นับว่า เป็นโอกาสครั้งสำคัญ ในชีวิต ที่ยากจะปฏิเสธ เพราะนอกจาก รายได้ จะมากพอ สำหรับการใช้จ่าย ไปตลอดปีแล้ว หากพวกเขา กลับลงมาได้ อย่างปลอดภัย ก็จะเป็น ประกาศนียบัตร ชั้นเยี่ยม ที่การันตี ความสามารถ ของพวกเขา ต่อนักท่องเที่ยว เพื่อเรียกค่าแรง สำหรับการเดินทางเพิ่มขึ้นได้ ในอัตรา วันละกว่า ๑๐ ดอลลาร์ ชื่อเสียง ของชาวเชอร์ปา เป็นที่ยอมรับมาก ในหมู่นักท่องเที่ยว ที่มายัง หุบเขาคุมบู ทำให้ชาวเขาจากเผ่าอื่น ๆ ที่ขึ้นมาหารายได้ จากการเป็น มัคคุเทศก์ ต้องแอบอ้างตัวว่า เป็นชาวเชอร์ปา เพื่อให้นักท่องเที่ยว ไว้วางใจ ในความสามารถ
ชาวเชอร์ปา กำลังผูกผ้า คตา ให้แก่หน้ากากของเทพเจ้า (คลิกดูรูปใหญ่)
ชาวเชอร์ปา กำลังผูกผ้า คตา ให้แก่ หน้ากากของเทพเจ้า
.....ปัจจุบันชาวเชอร์ปา กว่าร้อยละ ๗๐ มีอาชีพเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของโรงแรม ที่มีมากกว่า ๘๐ แห่ง กระจายอยู่ทั่ว หุบเขา เป็นมัคคุเทศก์ หรือเลี้ยงจามรี ไว้ให้นักท่องเที่ยว เช่น ขนสัมภาระ แทบไม่มี ชาวเชอร์ปาคนใด ยึดอาชีพ พ่อค้าเร่ร่อน นำของไปขาย ในทิเบต อีกต่อไปแล้ว ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า ค่าตอบแทน เทียบไม่ได้กับ ธุรกิจท่องเที่ยว
.....ดูเหมือนว่า อิทธิพลจาก การท่องเที่ยว พร้อมจะแสดงอิทธิฤทธิ์ ไปทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่ ดินแดน ที่เคยได้ชื่อว่า ตัดขาดจากโลกภายนอก แม้การท่องเที่ยว จะทำให้ หุบเขาคุมบู เป็นดินแดนที่มั่งคั่ง แห่งหนึ่ง ของเนปาล แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ วัฒนธรรมดั้งเดิม ของชาวเชอร์ปา ที่กำลังสูญหาย เพราะกระแส วัฒนธรรมภายนอก เข้ารุกราน การรักษา ระบบนิเวศ ตามธรรมชาติ เป็นเรื่องจำเป็นอีกเรื่อง ของชาวเชอร์ปา ดังนั้น การรักษาวัฒนธรรม ที่เก่าแก่ และธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่ ต้องควบคู่ไปกับ การท่องเที่ยว
หมู่บ้าน เทงโบเช ศูนย์กลางทางศาสนา (คลิกดูรูปใหญ่) Sherpas : People on the Roof of the World
Story : Prasarn Ingkhanan
Photos : Prasarn Ingkhanan, Supasiri Chaninwong


พิธีขับไล่ สิ่งชั่วร้าย ในเทศกาล ดุมเจ (Dumje) (คลิกดูรูปใหญ่)
พิธีขับไล่ สิ่งชั่วร้าย ในเทศกาล ดุมเจ (Dumje)

.....The world has known Mount Everest as the highest peak some 150 years ago and has marveled at Edmund Hillary and Tenzing Norgay who scaled it over a century later in 1953. Since then, the Everest's mysterious power has enticed hundreds to its heights to prove their endurance and strength. Few people, however, realize that in the shadow of each successful Western or international conqueror there has always been a local guide, a Sherpa.
.....Now that this once peaceful peak in the Khumbu region of Nepal has become a world-famous tourist site, the Sherpas' once isolated life has become a busy schedule of lodge managing and pricey trekking. No more are the merchant caravans to Tibet. No more is the pastoral lifestyle. Although Khumbu families still farm and keep livestock, the romantic picture of a rustic people living in harmony with pristine nature has faded with the boom of tourism in the 1970's and recent research.
.....Focus on the ascent has obliterated the descent-the threatening fall and deterioration of the environment and a deeply traditional culture. Monetary and material rewards for under-taking the nearly impossible kept tourists coming, enough to overcome Sherpa fear of angering the Gods by trespassing forbidden territory. The prospect of guiding or even accompanying an expedition up Mount Everest was like a path leading to a sure pot of gold, and few Sherpas passed up the opportunity. It is no wonder, then, that practically every male Sherpa has made at least one trip to the Everest peak, and that more than 70 percent of today's Sherpas earn their living through tourism some way or other.
.....Now, climbing the Everest can be less a feat of character than that of money. It has become a profitable business that allows inexperienced climbers with enough money and ambition to approach "the top of the world." Lives lost because of this, depleted forests, and litter trails that lead up the peak have created awareness and clean-up efforts. Perhaps these changes signal a realization that not only human, plant and animal life, but also their diversity and interdependence in exchange for the thrill of a personal triumph is too high a price to pay.

แม่เฒ่าชาวเชอร์ปา กำลังเดินสวดมนต์ อยู่บริเวณ หมู่บ้านคุมจูง (คลิกดูรูปใหญ่)

สารบัญ | นักสะสมเปลือกหอย | เชอร์ปา | สัตว์ป่าในบอสเนีย | ภาษาตะโกน |
ร่วมแสดงความคิดเห็น พ.ร.บ.ชื่อบุคคล | เฮโลสาระพา


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)