Click here to visit the Website

สนับสนุน เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก คัดค้าน

เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำหรือไม่

( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่ )
วันดี สันติวุฒิเมธี : รายงาน
บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ภาพ
.....เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สื่อมวลชน เสนอข่าว ความขัดแย้งระหว่าง ชาวประมงพื้นบ้าน กับชาวประมงเรืออวนครอบ ปั่นไฟ ปลากะตัก ที่ท่าเรือน้ำลึก จังหวัดสงขลา ติดต่อกัน นานหลายสัปดาห์
.....ที่จริง ความขัดแยังดังกล่าวนี้ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น หากมีมายาวนาน เกือบ ๒๐ ปีแล้ว นับตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ เมื่อชาวประมง ทางภาคตะวันออก เริ่มทดลองใช้ แสงไฟ ล่อปลากะตัก แล้วใช้อวน ล้อมจับ ชาวประมงพบว่า ปลาหลายชนิด รวมทั้งปลากระตัก ชอบเล่นแสงไฟ ตอนกลางคืน ทำให้ล่อจับปลาได้ง่าย และจับปลาได้ ในปริมาณมาก ปลากะตักนั้น เป็นปลาเล็ก (ขนาดตั้งแต่ เมล็ดข้าวสาร จนถึง นิ้วก้อย) ชาวประมงที่จับปลากะตัก จึงต้องใช้อวน ที่มีขนาดตา ไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ผลก็คือ ทุกครั้งที่ใช้ไฟล่อ และใช้อวนล้อมจับ ปลากะตัก จะมีลูกปลาชนิดอื่น ติดมาด้วย เกือบครึ่งหนึ่ง ชาวประมง ที่จับปลาชนิดอื่น จึงเดือดร้อน กันถ้วนหน้า
.....ความขัดแย้งในครั้งนั้น ยุติลงได้เมื่อ นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ในขณะนั้น (ปี ๒๕๒๖) ออกประกาศ ห้ามใช้ เครื่องมือประมง ประกอบแสงไฟ จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ล่อให้ปลาเข้ามารวมกัน แล้วใช้อวน ที่มีช่องตาขนาดเล็ก ทำการล้อมจับ เพราะจะทำให้ ปลาที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจ และยังไม่เจริญเติบโตได้ขนาด ถูกจับขึ้นมา เป็นจำนวนมาก ถือว่า เป็นการทำลายพันธุ์ปลา อย่างร้ายแรง ดังนั้น หลังปี ๒๕๒๖ เป็นต้นมา ชาวประมง จึงจับปลากะตัก เฉพาะเวลา กลางวันเท่านั้น
.....กระทั่งปี ๒๕๓๙ นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรกร และสหกรณ์ ได้ออกประกาศฉบับใหม่ มีใจความว่า
....."ด้วยกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ได้พิจารณาเห็นว่า เครื่องมือ ทำการประมง ประเภท อวนช้อน อวนยก และอวนครอบ ที่ใช้ประกอบกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำการประมง ปลากะตัก เป็นเครื่องมือ ทำการประมงพื้นบ้าน ขนาดเล็ก และทำการประมง เพื่อการยังชีพ ซึ่งไม่เป็นการ ทำลายพันธุ์ ปลากะตัก และพันธุ์สัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ มากนัก จึงเห็นสมควร ให้ชาวประมง สามารถใช้ เครื่องมือ ดังกล่าว ทำการประมง เพื่อประกอบอาชีพได้ โดยยังคงกำหนด มาตรการ ในการอนุรักษ์ พันธุ์สัตว์น้ำ ที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจ ไว้เช่นเดิม"
.....ประกาศฉบับนี้ ก่อให้เกิด ความขัดแย้งขึ้น อีกครั้ง เพราะแม้จะกำหนด ให้เปลี่ยนเครื่องมือจาก อวนล้อม เป็นอวนช้อน อวนยก และอวนครอบ ซึ่งทำให้ มีลูกปลาชนิดอื่น ติดมาน้อยกว่า อวนล้อม แต่ชาวประมงพื้นบ้าน ก็ยังคง ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากพวกเขา เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็น อวนล้อม ประเภทใด หากยังอนุญาต ให้ใช้ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอวน ขนาดตาเล็กกว่า ๒.๕ เซนติเมตร โอกาสที ่ลูกปลาชนิดอื่น จะติดมาด้วย ย่อมมีมาก อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ชาวประมงพื้นบ้าน จำนวนมาก จึงเรียกร้อง ให้ยกเลิก ประกาศฉบับปี ๒๕๓๙ แล้วกลับไปใช้ ประกาศปี ๒๕๒๖ เหมือนเดิม
.....แต่เนื่องจากทุกวันนี้ มีเรืออวนครอบ ปั่นไฟ ปลากะตัก จำนวนไม่ต่ำกว่า ๑,๕๐๐ ลำ มีชาวบ้าน ที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรม ผลิตปลากะตัก ต้ม-ตากแห้ง อีกหลายหมื่นคน การยกเลิก ประกาศปี ๒๕๓๙ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนี้ ชาวประมง เรืออวนครอบ ปั่นไฟ ปลากะตัก จำนวนมาก ก็ยืนยันว่า แม้ว่าพวกเขา ใช้อวนตาถี่ ประกอบแสงไฟ ล่อปลา แต่วิธีจับปลา โดยใช้อวนครอบ ไม่ได้ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ มากมายอย่างที่ ชาวประมงพื้นบ้าน กล่าวหา
.....เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๒ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ หาทางยุติ ความขัดแย้งครั้งนี้ ด้วยการตั้ง คณะกรรมการ ขึ้นมาตรวจสอบ ข้อเท็จจริง โดยมี ดร. สุรพล สุดารา เป็นประธาน และมีตัวแทนชาวบ้าน ทั้งจากฝ่าย ประมงพื้นบ้าน และประมงอวนครอบ ปั่นไฟปลากะตัก รวมทั้ง นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ อีกหลายคน ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีระยะเวลาทำงาน สี่เดือน
.....ความขัดแย้งครั้งนี้ จะยุติลงอย่างไร คงต้องติดตามกันต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


เจริญ ทองมา เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำหรือไม่ โกศล พูลรส

เจริญ ทองมา
ชาวประมงพื้นบ้าน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

โกศล พูลรส
เจ้าของเรืออวนครอบ ปั่นไฟ ปลากะตัก จากจังหวัดตราด

ส นั บ ส นุ น
  • การใช้ไฟล่อปลา จะทำให้ ลูกสัตว์น้ำ ชนิดอื่น ติดอวนมาด้วย จำนวนมาก ลูกปลาเหล่านี้ จะถูกขาย เป็นปลาป่น ในราคา ไม่ถึง กิโลกรัมละ ๕ บาท ถ้าปล่อยให้ ลูกปลาเหล่านี้ โตขึ้น จะขายได้ กิโลละ หลายสิบ ถึงหลายร้อยบาท
  • การแบ่งเขตจับปลา ไม่ได้เป็น การแก้ปัญหา เพราะแสงไฟ สามารถดึงปลา จากชายฝั่ง ออกไปได้
  • ชาวประมง ที่ต้องการจับ ปลากะตัก ให้ใช้อวนล้อมจับ เฉพาะเวลากลางวัน เพราะจะมี ลูกสัตว์น้ำ ติดอวนขึ้นมา ไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์

คั ด ค้ า น

  • ปลาในทะเล ลดน้อยลง เพราะเรืออวนลาก ไม่ใช่เพราะ เรืออวนครอบ ปั่นไฟ ปลากะตัก
  • การใช้อวนครอบ จับปลากะตัก จะทำให้ ปลาชนิดอื่น มีโอกาสว่ายหนีไป ได้ง่ายกว่า อวนล้อม
  • เจ้าของเรืออวนครอบ ปั่นไฟ ปลากะตัก ไม่สามารถเปลี่ยนไปทำ อวนล้อม กลางวันได้ เพราะต้องลงทุน ซื้ออวน ในราคาแพง

อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่
พบเห็นข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ


สนับสนุน เพราะผมก็เป็นลูกชาวเลคนหนึ่งเหมือนกัน อยากให้มีการล้อมจับปลากะตักในเวลากลางวันเท่านั้น กลางคืนนั้นแสงไฟจะทำให้สัตว์น้ำเล็กๆ ติดเกือบหมด และทำให้สัตว์บางชนิดพิการ เช่นทำให้แม่พันธ์กุ้งตาบอด
เด่นกิจ คงบำรุง <denkit@thaimail.com>
- Wednesday, July 23, 2003 at 04:24:00 (EDT)

ผมเคยเขียนหนังสือ เรื่อง ท้องทะเลไทยในอนาคต กับการจัดการที่มีประสิทธิภาพในทรัพยากรท้องทะเลยไทย ที่สำคัญคือการปลุกจิตสำนึกให้คนรักในทรัพยากรของชาติ การพึ่งพาธรรมชาติโดยไม่้ต้องทำลายธรรมชาติ(เพราะความละโมบโลภมาก กับการแข่งขันกันกอบโกย จนส่งผลกระทบต่อระบบธรรมชาติที่มีขอบเขตจำกัดในการผลิต) ผมจะไม่ขอพูดว่าเครื่องมือประมงประเภทใดทำลายสัตว์น้ำหรือไม่ทำลาย แต่สนับสนุนให้ท้องทะเลไทยมีเครื่องมือที่จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาด ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำ เช่น อวนดำก็ควรจับปลาที่ใช้เพื่อการบริโภคจริงๆ ไม่ควรจับปลาเพื่อเอามาทำอาหารไก่ อวนลากควรลากในเขตที่กำหนดและลากปลาเศรษฐกิจเท่าน้ัน อวนปลากะตักก็ควรทำแต่ในตอนกลางวัน และจับเฉพาะปลากะตักเท่านั้นและจะไม่มีเรือประเภทนี้ที่ปั่นไฟล่อลูกปลาในเวลากลางคืน หรือกรณีใช้แก๊ส สรุป หากจะพัฒนาท้องทะเลไทยทำได้ไม่ยาก ปลาที่จับขึ้นมาจากท้องทะเลจะได้ขนาดที่ตลาดต้องการ และไม่ส่งเสริมการจับปลาที่ไม่ได้ขนาดจนทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง คือรัฐต้องไม่สนับสนุนให้มีโรงงานปลาป่นภายในประเทศ หากคิดไม่ออกก็ลองเอามูลค่าปลาเศรษฐกิจที่เราส่งออกเปรียบเทียบกับมูลค่าปลาป่นที่เราส่งออกและนำเข้า หากมูลค่าปริมาณปลาป่นนั้้นได้เติบโตขึ้นมาเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว มูลค่าจะมีการเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็น เมื่อไม่มีโรงปลาป่น ชาวประมงก็คงไม่มีใครลากปลาเป็ดปลาไก่มาขายเรือต่างๆก็ต้องปรับไปใช้ตาอวนที่เพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น ปลาที่ได้ก็จะเป็นแต่ปลาที่ได้ขนาดและเป็นปลาเศรษฐกิจเท่านั้น ใคร? เป็นนักการเมืองอ่านกะทู้นี้แล้วพิจารณาด้วยครับ!
อรุณ ทวีพันธ์ สมาคมประมงระนอง
- Friday, March 07, 2003 at 23:02:02 (EST)

เรืออวนครอบปั่นไฟปลากกระตักเป็นการทำประมงที่สามารถทำลายลูกพันธ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีปฏิกิริยาทางบวกต่อแสงไฟที่ใช้ล่อ เช่น ปู ปลาเศรษฐกิจอื่นๆ ที่จะเติบโตขึ้นมีราคาในอนาคต เราควรหาหนทางแก้ไขเนื่องจากชาวประมงปลากระตักเองก็มีความประสงค์ที่จะทำการประมงเพื่อประกอบอาชีพต่อไป ดังนัน้ทั้ง 2 ฝ่ายน่าจะหันหน้ามาปรึกษากันว่าควรทำอย่างไร ที่จะประกอบอาชีพได้โดยส่งผลกระทบต่อส่วนรวมและทรัพยากรสัตวืน้ำเพื่อให้มีกินตลอดไปในอนาคต อาจจัดประชุมขึ้นและขอคำแนะนำจากนักวิชาการเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดแก่ทุกฝ่าย
ปรียาพัฒ คงถาวร <Ae.Pre@chaiyo.com>
- Saturday, November 09, 2002 at 01:26:07 (EST)

สนับสนุน
ทรวง มุกดาก้านทอง <suang@mea.or.th>
- Tuesday, May 15, 2001 at 21:50:02 (EDT)

อบต. น่าจะจัดประชาพิจารณื แล้ว ออกกฎหมายท้องถิ่น มากำกับควบคุม จะดีกว่าให้ คนทั้ง ประเทศมามองว่าดีหรือไม่ ท้องถิ่นตัดสินก่อน แล้วก็ยอมรับผล กระทบร่วมกัน
krid sriPANICH <KRID@KIRZ.CO.TH>
- Thursday, January 04, 2001 at 10:33:37 (EST)

เพราะปัจจุบันนี้การทำลายทรัพยากรใต้ท้องทะเลก็มากพออยู่แล้ว และถ้ามีการนำเรือปั่นไฟมาใช้ยิ่งได้มากก็จริงแต่อนาคตลูกหลานเขาหละอย่ามองแค่ปัจจุบันที่จะได้ ต้องมองถึงอนาคต
santi jantasomgkram
- Sunday, December 10, 2000 at 00:13:41 (EST)

เห็นด้วย แต่ว่าควรมีการจัดการ ทางชีวทางทะเล และมีกฏหมายของรํฐ ในการจัดการที่ดีกว่านั้ เนื่องจากปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดทั้งหมด มาจากยังมีช่องว่างของกฏหมาย และปัญหาทุจริตของ ข้าราชการต่างหาก
Lora <Bunsiril@hotmail.com>
- Sunday, June 18, 2000 at 09:13:36 (EDT)

ขอคัดค้านการใช้ไฟส่อง เพี่อล่อปลากระตัก และการใช้อวนล้อม เพราะจะทำให้ระบบความสมดุลย์ทางธรรมชาติเสียไป
wiwat maungpun <maungpun@thaimail.com>
- Friday, June 02, 2000 at 03:49:54 (EDT)

คัดคา้น ทำลายลูกปลาเป็นอย่างมาก เพราะสัตว์เหล่านั้นชอบเล่นกับไฟ เช่น ปลาหมึก ปลาทุกชนิด ฯ แต่เหนือสิ่งอื่นได เนื้ออวนมีขนาดเล็กมากๆ
ชูพงศ์ เอกรัตน์
- Thursday, April 20, 2000 at 11:57:02 (EDT)

สังคมไทย น่าจะมีความรอบรู้ และการให้ความจริงจัง เปิดเผยข้อมูล ให้ความละเอียดต่อชุมชน อย่างจริงใจ ไม่มองข้ามกับความเป็นชุมชน เราจะได้ไม่ต้องมีการแสดงความคิดเห็นเพียง คัดค้าน หรือสนุบสนุน แต่รู้ที่จะให้ความคิดเห็น มองสภาพความเป็นจริง รู้จักจำแนกแยกแยะ และรับฟังเสียงของคนทุกคน อย่างมีวิจารณณาณ
sol
- Sunday, March 19, 2000 at 10:49:14 (EST)

ผมเป็นคนหนึ่ง ที่มีความสนใจในเรื่องนี้มาก ผมคิดว่า การจับแบบใช้ไฟล่อ เป็นการจับที่ผิดเป็นอย่างมาก ทำไมไม่คิดถึงใจคนอื่นบ้าง พวกรัฐบาล ก็พูดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เอาแต่ผลได้ของตัวเอง แล้วยังไง แน่จริงก็ลองมาจับ ปลาเหมือนชาวบ้านตาดำๆดูสิ
นพคุณ
- Wednesday, March 01, 2000 at 07:19:24 (EST)

ผมสนับสนุนให้ยกเลิก การทำการประมงแบบนี้ ที่ต้องเสียของที่ไม่ต้องการ ไปแบบเปล่าประโยชน์น่ะครับ
ITTHIPOL WACHA <ITTI007@THAIMAIL.COM>
- Sunday, February 20, 2000 at 11:20:15 (EST)

คัดค้าน ครับ
ธนวิชญ์ พูลสุข <thanawit@usa.net>
- Tuesday, February 01, 2000 at 03:06:18 (EST)

การจับปลาโดยใช้อวนลาก ย่อมทำให้สูญเสีย ความสมดุลทางทะเล มากกว่าการจับปลาโดยใช้ไฟล่อ จากที่ผมเคยออกเรือ ที่ใช้ไฟล่อจับปลา มีผลเสียน้อยมาก การจับแต่ละครั้ง น้อยมากที่จะได้ปลาอื่น นอกจากปลากระตัก ปลาใหญ่กว่าปลากระตัก แทบไม่มีเลย ส่วนมากจะเป็นปลาที่ ไม่ใช่ปลาเศรษฐกิจ มีแต่ปลาที่ต้องการเท่านั้น ผมจึงคิดว่า การที่เรือปั่นไฟจ ะทำผลกระทบต่อการประมงของประเทศ ไม่มีทางเป็นไปได้
กัมปนาท ช้างพันธ์
- Sunday, January 23, 2000 at 11:06:02 (EST)

คัดค้าน
ภก.ยศพงศ์ ถิระวุฒิ <thepahos@hadyai.loxinfo.co.th>
- Thursday, December 16, 1999 at 09:15:06 (EST)

สนับสนุน: การทำประมงแบบอวนครอบ ส่งผลให้ ปริมาณสัตว์น้ำ ลดลง เป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การส่องไฟ ล่อปลาขนาดเล็ก ออกมาเช่นนั้น จะไม่มีลูกปลาชนิดอื่น ติดอวนมาด้วย ทำให้ ปริมาณปลา ที่จะเติบโตเป็น แม่ - พ่อพันธุ์ในอนาคต ต้องลดลง และผู้ที่จะเดือดร้อนมากที่สุด คือ ชาวประมงเอง จึงเห็นว่า ควรจะแบ่งเขต การจับปลา และกำหนดวิธี การจับปลาให้แน่นอน จะดีที่สุด
ปั้นแป้ง
- Monday, November 08, 1999 at 05:00:53 (EST)

อย่าเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากนัก เดี๋ยวเราจะต้อง ไปหาปลาที่อินเดียแล้ว ขอร้อง หยุดทำลาย ทรัพยากรทางกันได้ ได้โปรดเถิด !!!!!!!!!
moun <pramoun@chaiyomail.com>
- Friday, November 05, 1999 at 10:58:01 (EST)

คัดคัาน
สำนึก จิใจดี
- Wednesday, November 03, 1999 at 23:14:25 (EST)

คัดค้าน
กำพล ลอยชื่น <kumponl@hotmail.com>
- Wednesday, November 03, 1999 at 03:54:03 (EST)

สนับสนุน
วรุณ โพธิ์แก็ว
- Monday, November 01, 1999 at 03:30:26 (EST)

คัดค้านคะ คิดถึง % ของสัตว์น้ำชนิดอื่น ที่ติดมากับการจับปลา แบบอวนครอบปั่นไฟ มันมากเกินไป น่าจะได้มีโอกาสเติบโต ต่อไป พูดง่าย ๆ เสียดาย เอาไปขายเป็นปลาป่นหมด น่าเสียดายรายได้นะค่ะ
ศศิวิมล ชาญวานิชบริการ <chanvanit@hotmail.com>
- Wednesday, October 27, 1999 at 10:45:28 (EDT)

คัดค้าน next time i want to show how newzealand keep their fish and surrounding compare with thai it's look like a wise man and stupid barbarian um
ss nz <ssongsataya@ hotmail.com>
- Wednesday, October 27, 1999 at 10:23:00 (EDT)

ถ้าสิ่งนี้เป็นปัญหาจริงๆ แสดงว่า คนไทย ไม่สามารถมีสิทธิ มีเสียง ในการจัดการปัญหา หรืออาจนิยามได้ว่า "เรื่องของใคร ก็จัดการกันเอง" น่าตกใจนะครับ ถ้าเรา ยังเห็นแก่ตัวกันอย่างนี้ ต่อไปถ้ามี ปัญหากับอาชีพอื่น ก็บีบบังคับให้รัฐบาลช่วย โดยไม่มอง ปัญหา หรือลองแก้ไขด้วยตนเองก่อน ผมมองว่าคนไทยเริ่ม ใช้สิทธิ ในการแสดงความคิดเห็น และร้องขอมากขึ้น เป็นสิ่ง ที่ดีครับ แต่เสรีภาพนี้ ควรจะใช้ให้เหมาะสม อย่างน้อยเพื่อ ให้รัฐบาล มีเวลาจัดการปัญหา ที่ควรเร่งทำมากกว่า มาช่วยกัน ด้วยการ รับผิดชอบสิ่งที่ตนเองทำ ให้ดีที่สุด และช่วยเหลือ คนอื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน อาจนอกเรื่องไปบ้างนะครับ แต่ไม่สบายใจจริงๆ
วุฒิชัย รักษ์สาคร <Lekwutt@coolmail.com>
- Monday, October 25, 1999 at 10:36:06 (EDT)

คัดด้าน ควรอย่ายิ่งที่จะ กำหนดเขต พื้นที่ ปริมาณ การจับ และอุปกรณ์การจับปลา ว่าเรือ ชนิดเนี้ย จำปลาอะไรได้บ้าง เช่น ปลาหมึกอย่างเดียว ปลากระตักอย่างเดียว เป็นต้น รัฐบาลควร อย่างยิ่งที่จะ ลงมาเอาใจใส่ ให้มากกว่านี้ ไม่ใช่ วัวหายแล้วล้อมคอก
sarawutsql <sarawutsql@thailmail.com>
- Sunday, October 24, 1999 at 08:04:26 (EDT)

คัดค้าน ครับ อยากให้ทรัพยากรธรรมชาติ หยุดพัก เพื่อฟื้นตัวเองบาง อย่ามัวคิดว่า จะใช้ทรัพยากรอย่างไร ควรคิดว่า จะรักษาอย่างไรมากกว่า
Anuluck leaksonthitiwong <anuluck_l@hotmail.com>
- Friday, October 22, 1999 at 01:03:47 (EDT)

คัดค้าน... ที่ผ่านมา ยังล้างผลาญทรัพยากร อันมีค่าของชาติ ไม่พอหรือ ทำไมไม่รู้จักพอ แล้วต่อไป ลูกหลาน จะอยู่กันอย่างไร รู้จักใช้ทรัพยากร แบบยั่งยืนกันบ้าง จะได้มีกินมีใช้ตลอดไป พูดไปก็เท่านั้น คนที่มีอำนาจ ในการตัดสินใจ อยู่ในมือ ยังพูดอยู่ได้คำเดียว "ผมไม่มีอำนาจ"
เอ
- Thursday, October 21, 1999 at 15:45:39 (EDT)

คัดค้าน
มิ่งขวัญ กาญจนวิเศษ
- Thursday, October 21, 1999 at 15:37:25 (EDT)

เลิกเถอะครับ จับปลาแบบไม่ทำลายดีกว่าครับ
อนุรักษ์ ฤกษ์สัณฑิติวงศ์ <anuluck@hotmail.com>
- Thursday, October 21, 1999 at 14:36:56 (EDT)

อยากให้ยกเลิก เรือปั่นไฟ ที่จับตอนกลางคืน คงให้มีเพียง จับได้เฉพาะ ตอนกลางวันเท่านั้น
ปรีชา อมรแมนนันท์ <preecha@mozart.inet.co.th>
- Thursday, October 21, 1999 at 12:09:48 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิกครับ
moun <pramoun@chaiyomail.com>
- Wednesday, October 20, 1999 at 09:13:43 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิกครับ การทำประมง ด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำ ลดลงอย่างรวดเร็ว
ประมวล <pramoun@chaiyomail.com>
- Wednesday, October 20, 1999 at 09:09:02 (EDT)

ผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะการที่ใช้เรือนั้น เป็นการทำลายธรรมชาติ โดยทางอ้อม
พงศธร เอื้อประภาพร <pauepaprapon@hotmail.com>
- Monday, October 18, 1999 at 02:31:37 (EDT)

คัดค้าน การทำเรือปั่นไฟปลากระตัก
นาย วิรัตน์ บุญมี <vyrath@hotmail.com>
- Sunday, October 17, 1999 at 00:02:35 (EDT)

ผมเห็นด้วยที่ว่า เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม
แจ๊ค
- Thursday, October 14, 1999 at 12:35:06 (EDT)

สนับสนุน เพราะจากการศึกษา การจับปลากะตัก แบบปั่นไฟล่อแต่ละครั้ง พบว่า ติดลูกปลาน้อยลงเรื่อย แสดงว่า ความอุดมของทะเล ลดลงไปเรื่อยๆ ถึงเวลาที่ควรจะยุติ การประมงล้างผลาญ ได้แล้ว หมายรวม การประมงล้างผลาญทุกชนิด
จำรัส <Chamras_th@yahoo.com>
- Tuesday, October 12, 1999 at 14:25:50 (EDT)

หนับหนุน ได้ยินมาว่า ปลากะตักนี่ เมื่อก่อน คนไม่กินกัน แต่เนื่องจาก ปลาชนิดอื่นๆ ลดลงมากๆ อยากให้คิดถึง การประมงที่ ยั่งยืนมากกว่านี้ รัฐน่าจะหาอาชีพเสริม มารองรับ หลังจากที่ยกเลิก การจับปลาแบบไม่ยั่งยืนนี้ ตอนนี้ มีการทำประมงที่พม่า หรือที่ประเทศอื่น ทางรัฐน่าจะควบคุมด้วย เพราะโลกเรามีอยู่ใบเดียว
วิรงค์ จันทร <Wirongchanthorn@hotmail.com>
- Tuesday, October 12, 1999 at 11:31:28 (EDT)

คัดค้าน
นาย โชคชัย เก่งการพานิช
- Tuesday, October 12, 1999 at 00:05:05 (EDT)

ผมไม่กล้าบอกว่า คัดค้าน หรือสนับสนุน เพราะไม่รู้ ข้อเท็จจริงเท่าที่ควร ผมว่า น่าให้ผู้ตรวจสอบ ไปดูว่า ที่ฝ่ายค้านบอกว่า มีปลาอื่นติดมาน้อย เป็นจริงรึเปล่า แล้วค่อยตัดสิน การแบ่งเขตจับปลา ไม่น่าจะดี เพราะปลาไม่ได้แบ่งเขตหากิน เหมือนคนหนิ
วุฒิ เกียรติวงศ์
- Monday, October 11, 1999 at 03:31:41 (EDT)

จะเห็นได้ว่า การทำอวนครอบ ปั่นไฟนั้น สร้างผลเสีย ต่อสิ่งแวดล้อมคือ ลูกปลาหลายชนิด ไม่มีโอกาสเติบโต ขยายพันธุ์ ซึ่งอาจทำให้ สูญพันธุ์ ทำให้ ขาดสมดุลทางธรรมชาติ แล้วผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จะเกิดกับมนุษย์เองทั้งนั้น ฉะนั้น จึงควรเลิกทำ อวนครอบปั่นไฟเสีย และขออนุญาติรวมถึง การกระทำอื่น ๆ ที่จะทำให้ ธรรมชาติ เสียหายด้วย เพราะผู้ที่กระทำ จะได้ผลประโยชน์ในระยะสั้น แต่ผลกระทำ จะเกิดกับลูกหลาน
korakot atcharangoon <korakota@hotmail.com>
- Saturday, October 09, 1999 at 12:54:37 (EDT)

สนับสนุน
วิธาน จริยประเสริฐสิน <withan@tgi.or.th>
- Saturday, October 09, 1999 at 06:28:07 (EDT)

สนับสนุนครับ เพราะอวนตาเล็ก เป็นการทำลาย พันธุ์สัตว์น้ำอื่น กรมประมง น่าจะ ทำการสำรวจ หาข้อมูลอย่างจริงจัง จากชาวประมงได้ และขณะนี้ จำนวนปลาในไทย ก็ลดลงไปมากแล้วครับ มองถึง ผลระยะยาวแล้ว ต้องสนับสนุน ขอบคุณครับ
นายสุรพงษ์ จันทร์ประภาพ <chunprapaph@hotmail.com>
- Friday, October 08, 1999 at 02:15:28 (EDT)

สนับสนุนครับ ควรจะยกเลิก การทำประมงแบบนี้ได้แล้ว มันเป็นการ ทำลายล้างทรัพยากร เพียงเพื่อตอบสนองกับ คนบางกลุ่มเท่านั้น อยากให้หยุด เรือปั่นไฟปลากะตัก เพื่อทรัพยากรของ คนทั้งประเทศ และสิ่งแวดล้อมทางทะเล จะมีอยู่อย่างสมบูรณ์ต่อไป
Adirek Saenharn <adireks@hotmail.com>
- Thursday, October 07, 1999 at 11:28:10 (EDT)

ร่วมสนับสนุนอย่างยิ่งค่ะ เพราะเท่าที่ผ่านมา หลายปีนั้น จะสังเกตได้ว่า ทรัพยากรของเรา สูญหายไป เป็นจำนวนมาก เพราะอะไร? ไม่ใช่เพราะ ความเห็นแก่ตัว ของพวกเราหรือ ที่นิยมนำเอา เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เพื่อสามารถตักตวง ทรัพยากรต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก โดยไม่เคยคิดเลยว่า อนาคต เราจะเอาอะไรอยู่ จะเอาอะไรกิน จะเอาอะไรหายใจ รู้สึกแย่มากๆ กับพวกที่เห็นแก่ตัว ที่คิดแต่เพียงว่า จะเอา ทรัพยากร มาใช้อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ไม่เคยคิด เลยว่า "ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม คือ ชีวิตของเรา"
Somporn Somboonsiripan <j0661253@alpha.tu.ac.th>
- Tuesday, October 05, 1999 at 04:37:04 (EDT)

ผมไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว ในการทำประมงแแบบนี้ เพราะว่า เป็นการทำลาย พันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นการ ทำลายปะการัง และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในท้องทะเลไทยด้วย รัฐบาล น่าจะเร่ง แก้ไขปัญหานี้ด้วย
พิรุฬห์พงศ์ นามเหลา <jc1@thaimail.com>
- Monday, October 04, 1999 at 02:51:28 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิก การใช้เรืออวนครอบปั่นไฟ เชื่อว่า การใช้ เรืออวนครอบปั่นไฟ จะทำให้ ปลาสูญพันธุ์
Pattaraporn M <itsme_porn@hotmail.com>
- Saturday, October 02, 1999 at 10:30:53 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิก การใช้เรืออวนครอบปั่นไฟ เพราะมันเป็นการ ทำลายสมดุล ของสิ่งแวดล้อม และคิดว่า น่าจะมีวิธีอื่น ที่ดีกว่านี้
pitta14 <pitta14@yahoo.com>
- Saturday, October 02, 1999 at 08:47:30 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิก เพราะอยากให้ ทรัพยากรทางน้ำของไทย คงอยู่ให้นานที่สุด เพื่อคนในรุ่นต่อๆ ไป จะได้มีโอกาส ใช้ทรัพยากรนี้บ้าง
sutee muangdee <good-mango@yahoo.com>
- Tuesday, September 28, 1999 at 00:03:20 (EDT)

คัดค้านครับ ผมว่า 16% ก็มากพอแล้วที่ ปลาอื่นๆ จะเสียหายตามไปด้วย แต่ผมเห็นด้วยกับ แนวคิดเรื่อง การแบ่งโซนจับปลา แต่จะควบคุมใด้แค่ใหน
สุรพงษ์ พลอนันต์ <suraphong2519@hotmail.com>
- Monday, September 27, 1999 at 06:43:32 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิก การใช้เรืออวนครอบปั่นไฟ ในการจับปลากะตัก จากข้อมูลที่นำเสนอใน "สารคดี" คิดว่า ในระยะยาว จะเกิดผลเสีย มากกว่าผลดี แต่ก็ควร หาทางออกให้กับ ชาวประมง ที่ใช้เรืออวนครอบปั่นไฟด้วย เพราะที่เขาทำตอนนี้ ไม่ได้ผิดกฎหมาย ถ้ายกเลิก เขาก็เดือดร้อน เหมือนกรณี การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในพื้นที่น้ำจืด ฯลฯ มายมาย ที่รัฐบาล ไม่ศึกษาถึงผลกระทบ ที่จะตามมา ให้ดีก่อน เป็นอย่างนี้เสมอ
สุนันทา กีรติศักดิ์ <poodong@doramail.com>
- Monday, September 27, 1999 at 05:39:17 (EDT)

คัดค้าน
สุรชัย บ้านเชียง
- Saturday, September 25, 1999 at 23:55:17 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิก การใช้เรืออวนครอบปั่นไฟ ทรัพยากรของเรา ที่เหลือทุกวันนี้ มีน้อยเต็มที่ หากเรายอม เสียโอกาส ในบางเรื่อง จะช่วยให้ วันหน้า เราอยู่ได้กันอย่างสมบูรณ์
ทหารหญิง <#capta#@chaiyomail.com>
- Saturday, September 18, 1999 at 12:59:39 (EDT)

สนับสนุนให้ยกเลิก การใช้เรืออวนครอบปั่นไฟ เพราะทำให้ สมดุลธรรมชาติ เสียไป
วิโรจน์ พิษณุโลก
- Saturday, September 18, 1999 at 01:48:43 (EDT)

สนับสนุนครับ ควรจะยกเลิก การทำประมงแบบนี้ได้แล้ว มันเป็นการ ทำลายล้างทรัพยากร เพียงเพื่อตอบสนองกับ คนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ในอนาคต ไม่มีใครคิดถึงว่า จะต้องสูญเสียมากเท่าไหร่ ถ้าทุถคน คิดถึงแต่วันพรุ่งนี้ ไม่คิดถึงมะรืนนี้ คงจะแย่ครับ สนับสนุนสุดใจ ด้วยใจจริง
ณรินท์ จุ้ยศุขะ <juisuk@hotmail.com>
- Wednesday, September 15, 1999 at 02:24:20 (EDT)

สนับสนุน อยากให้หยุด เรือปั่นไฟปลากะตัก เพื่อทรัพยากรของ คนทั้งประเทศ และสิ่งแวดล้อมทางทะเล จะมีอยู่อย่างสมบูรณ์ต่อไป จนถึงลูกหลาน รวมทั้งชาวประมง ที่ประกอบอาชีพ ด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ไม่ทำลายวิถีชีวิตของเขา และแหล่งหาอยู่หากิน ของชาวประมงพื้นบ้าน
นางแย้ม <ff-net@hatyai.inet.co.th>
- Wednesday, September 15, 1999 at 02:01:13 (EDT)

คัดค้านเรือปั่นไฟปลากะตัก หยุด การทำลายล้างทรัพยากร เพื่อคนทั้งประเทศ และชาวประมงพื้นบ้าน ก่อนสายเกินไป
สุภาวดี ศรัณยุตานนท์ <ff-net@hatyai.inet.co.th>
- Wednesday, September 15, 1999 at 01:50:53 (EDT)

สนับสนุน
ปิยนุช จันทสุบรรณ <piyanuch27@yahoo.com>
- Sunday, September 12, 1999 at 21:10:55 (EDT)

อยากให้เลิก เรือปั่นไฟอวนล้อมจับปลากระตักเสีย ก่อนที่จะสายเกินไป ไม่เช่นนั้น ในอนาคต เราอาจจะต้อง นำเข้าสัตว์น้ำเค็มก็ได้ โปรดนึกถึง ลูกหลานของเราเถิด อย่าเห็นแก่ตัวนักเลย....
Nipa Lim <nipa@Simplemag.zzz.com>
- Saturday, September 11, 1999 at 22:52:21 (EDT)


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก
สารบัญ | หมายุคหิน | แขกกินเนื้อฝรั่งกินเจ | วิทยาศาสตร์ กับสังคมไทย สู่ศตวรรษที่ ๒๑ | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)