เงินกู้, ADB และแผนปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม
เงินกู้, ADB และแผนปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม
( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ
คลิกที่นี่ )
วันดี สันติวุฒิเมธี : เรื่อง
บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ : ภาพ

    ๓๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ / "แผนปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม" / ๖ แผนงานหลัก ๒๐ โครงการ / ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี (๒๕๔๓-๒๕๔๖)
    ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับเงินจำนวนเกือบ ๒ แสนล้านบาท ที่ไทยกู้มาจาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา และยิ่งไม่มีอะไรน่าสนใจเลย เมื่อรู้ว่ามันว่าเป็นเพียงหนึ่งใน ๑,๓๐๐ โครงการและเงินกว่า ๕๖,๗๐๐ ล้านเหรียญที่เอดีบีให้ประเทศต่าง ๆ กู้ นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๙ 

    แต่เรื่องเล็ก ๆ ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นได้ เมื่อเงื่อนไขของการกู้เงิน เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๒ นี้ถูกเปิดเผยออกมาพร้อม ๆ กับการประชุมประจำปี สภาผู้ว่าการธนาคาร พัฒนาเอเชียครั้งที่ ๓๓ ซึ่งจัดขึ้นที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๖-๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓ 
    เอดีบี ซึ่งเป็นสถาบันเงินทุนระหว่างประเทศ สำหรับให้รัฐบาลชาติต่าง ๆ ในเอเชียมากู้เงินไปใช้จ่าย ในโครงการ ลงทุนสาธารณะ ที่ผู้บริหารเอดีบีเห็นชอบ คงไม่ให้รัฐบาลไทย ขอยืมเงินก้อนนี้มาแน่ หากว่าตัวแทนรัฐบาลไทย คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งบินไปเจรจาถึงสำนักงานใหญ่ ของเอดีบีที่ฟิลิปปินส์ ไม่ยอมสัญญาว่า จะทำตามเงื่อนไขบางอย่าง ที่เอดีบีคิดว่าจะเป็นผลดีต่อประเทศไทย นั่นคือ การปรับปรุงขีดความสามารถ การส่งออกภาคเกษตร หรือที่เรียกกันว่า การปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม เพื่อขยายการเติบโตของภาคการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และขีดความสามารถด้านการส่งออก เนื่องจากเกษตรกรรม เป็นภาคเศรษฐกิจเดียวที่มีการเติบโตเป็นบวก 
    แต่สิ่งที่อยู่ใน แผนปรับโครงสร้าง ภาคเกษตรกรรมนั่นเอง ที่ทำให้เส้นทางการกู้เงินระหว่าง รัฐบาลไทย กับเอดีบีครั้งล่าสุดนี้ ไม่ราบรื่นนัก ถึงกับมีการเสนอ ให้ยกเลิกการกู้เงิน หรือระงับการรับเงินกู้งวดหลัง ๆ ไว้ก่อน 
    ปัญหาของ "เงื่อนไข" นี้อยู่ที่มันประกอบไปด้วย มาตรการเก็บค่าน้ำ จากเกษตรกร, เร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ ในเขตปฏิรูปที่ดิน, สนับสนุนเกษตรพาณิชย์ เพื่อการส่งออก, ลดบทบาทรัฐ ในการแทรกแซงตลาด และลดการอุดหนุนปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายความว่า เกษตรกร จะต้องรับผิดชอบต้นทุนตามจริง เช่น ซื้อปุ๋ย และเมล็ดพันธุ์ตามราคาตลาด ไม่มีการแจกจ่าย ให้เกษตรกรอีกต่อไป ซึ่งฝ่ายที่ไม่สนับสนุนการกู้เงิน และเคลือบแคลงสงสัย ในแนวทางการช่วยเหลือ ประเทศที่ยากจน ของเอดีบีบอกว่า เงื่อนไขเหล่านี้จะยิ่งซ้ำเติมให้เกษตรกรกว่า ๓๐ ล้านคน เดือดร้อนมากขึ้น ขณะที่ ทาดาโอะ ชิโน ประธานเอดีบี ยืนยันใน แถลงการณ์ปิดประชุมสภาผู้ว่าการเอดีบีว่า "เอดีบีมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยเหลือประเทศสมาชิก ที่ยังยากจน ให้หลุดพ้นจาก วิกฤตการณ์  และเอดีบีควรจะเดินหน้าต่อไป"
    ปัจจุบันแผนการใช้เงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างการผลิต ในภาคเกษตรทั้งหมด อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ซึ่งได้ตั้ง "สำนักบริหารเงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร" ขึ้นมาจัดการเรื่องนี้โดยตรง  และสิ่งที่หน่วยงานแห่งนี้ ทำได้ดีที่สุดในขณะที่ถูก "โวย" อย่างหนัก จากการยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อให้ได้เงินกู้มาก็คือ อธิบายว่าเงื่อนไขต่าง ๆ อยู่ในขั้นตอนของ "การศึกษา" เท่านั้น จะยังไม่มีการนำมาใช้ในเร็ววัน 

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
รองปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารเงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่ศรีสุวรรณ ควรขจร 
ผู้อำนวยการ โครงการฟื้นฟูชีวิต และธรรมชาติ
ส นั บ ส นุ น  คั ด ค้ า น
  • เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวได้ ด้วยภาคเกษตร จึงจำเป็นต้อง ปรับปรุงโครงสร้าง ภาคเกษตรกรรม เพื่อให้มีผลผลิต สำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้น
  • เงื่อนไขของเอดีบี เรื่องการเก็บค่าน้ำ ไม่ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน เพราะถึงแม้ต้นทุนสูงขึ้น แต่เกษตรกร จะมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น รายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกษตรกร ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย
  • เงื่อนไขของเอดีบี เป็นแนวทางที่ รัฐบาลตั้งใจจะทำอยู่แล้ว ไม่ได้ถูกบังคับให้ทำตาม
  • การปรับโครงสร้าง ภาคเกษตรกรรม ไม่ควรมีเป้าหมาย ที่การเพิ่มผลผลิตเพื่อส่งออก แต่ควรเน้น การเกษตรขนาดย่อม พึ่งตนเอง
  • เงื่อนไขเรื่องการเก็บค่าน้ำ จะทำให้เกษตรกรรายย่อย เสียต้นทุน ในการผลิตมากขึ้น บริษัทการเกษตรขนาดใหญ ่และโรงงานอุตสาหกรรม จะแย่งน้ำจาก เกษตรกรรายย่อย ได้อย่างชอบธรรม เพราะมีเงินจ่าย
  • การกำหนดเงื่อนไขให้รัฐ ลดการสนับสนุนเกษตรกร เช่น เก็บค่าน้ำ เลิกอุดหนุนสินเชื่อราคาถูก เลิกอุดหนุนปัจจัยการผลิต จะทำให้เกษตรกร ถึงขั้นล้มละลายได้
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่ 
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่



แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

การเก็บค่าน้ำจากเกษตรกรรายเล็กๆ ที่ทำได้แค่เลี้ยงปากท้องเห็นว่าไม่สมควร แต่ควรเก็บเงินกับเกษตรกรรายใหญ่ๆ ที่ใช้น้ำอย่างมหาศาล เช่น บริษัทเกษตรครบวงจรหลายๆ บริษัทที่ใช้น้ำเป็นจำนวนมาก หรือไม่ก็พวกสนามกอล์ฟที่มีเอาไว้ให้คนรวยๆ มาเล่นกัน พวกนี้ควรเก็บเยอะๆ ส่วนเรื่องกู้เงินถ้าไม่จำเป็นอย่ากู้เลย แค่โครงการยางพารานี่ก็เห็นๆ กันอยู่เงินอยู่ที่ไหนก็คอรัปชั่นกันที่นั่น สู้เงินหมดก็ อดอย่างเสือดีกว่านะคะ รัฐบาล
สุรีย์พร สุดชาลี <S_Sudchalee@hotmail.com>
- Wednesday, June 22, 2005 at 03:23:04 (EDT)

คนส่วนใหญ่ของประเทศจน (รายได้ต่ำ) แต่ที่ยังอยู่กันได้ทุกวันนี้ก็เพราะอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ (อยู่กันตามมีตามเกิด) ถ้าทุกอย่าง เป็นเงินเป็นทอง ไปหมด แล้ว คนเหล่านี้จะมีอะไรเหลือให้อาศัยกินใช้ การเป็นคนจน (มีเงินน้อย) ก็ลำบากพออยู่แล้ว อย่า ซ้ำ/เติม ให้ชีวิตเขา ต้องเป็นทั้งคนยาก (มีกินน้อย) และคนจนเลย
ศรินทิพย์ พรหมฤทธิ์ <sarinthip_p@hotmail.com>
- Sunday, February 04, 2001 at 03:10:57 (EST)

- ทำไมต้องทำในสิ่งที่คนข้างนอกที่ไม่เข้าใจสภาพที่แท้จริงมาเป็นคนกำหนดแนวทางให้เราเดิน - เพียงแค่รัฐหันไปมองและยอมรับฟังความต้องการที่แท้จริงของคนในภาคการเกษตร ก็นับว่าเป็นก้าวแรกของการปรับโครงสร้างที่ยิ่งใหญ่สำหรับภาคเกษตร โดยไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาเพื่อโครงการนี้ด้วยซ้ำ - เพียงแค่ภาครัฐหันมาจริงใจกับตาสีตาสา ภาคเกษตรก็เข้มแข็งขึ้น - เพียงแค่ภาครัฐไม่ดูดทรัพยากรแต่ละท้องถิ่นเพื่อสังคมเมืองจนลืมที่จะจัดสรรให้กับท้องถิ่นก็ไม่จำเป็นต้องเดินตามใครก็ไม่รู้ที่เข้ามาเพียงไม่กี่วันแล้วสั่งให้เราเดินตาม
ไพศาล <paisanug@yahoo.com>
- Wednesday, December 20, 2000 at 05:01:55 (EST)

เงินที่ได้มาคงจะถึงมือเกษตรกรน้อยมาก ซึ่งมันไม่ตรงกับจุดประสวงค์ที่กู้มา ทั้งยังให้เกษตรกรเป็นหนี้มากขึ้น ผมจึงขอคัดค้านในการกู้เงินมา (เกษตรกรคงไม่มีเงินมาใช้หนี้ที่มากมายขนาดนี้) ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าคอรัปชั่นในเรื่องนี้อยู่แล้ว ดูจากการปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะเห็นได้ชัด คงอีกนานที่จะมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ดว้ยความนับถือ ลูกเกษตรกร
ชัยยศ กัณหา <ckunha@chaiyo.com>
- Wednesday, December 13, 2000 at 21:48:41 (EST)

ไม่เห็นด้วยเพราะเกษตรกรมีรายได้น้อยมากไม่อยากให้เกษตรกรรับภาระหนี้สินควรจะหาวิธีที่ดีกว่านี้
SK <bannok@newmail.net>
- Tuesday, December 12, 2000 at 00:28:52 (EST)

การที่ประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม และเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่นั้นเป็นประชากรส่วนมาก ที่มีความสำคัญ และในปัจจุบันที่ยุคนี้ที่ปัจจัยการผลิตก็สูงอยู่แล้วถ้าผลักภาระเช่น ค่าน้ำ หรือค่าปุ๋ยที่จากเดิม แพงมากอยู่แล้วให้แพงขึ้นไปอีกแล้วคิดว่าเกษตรกรจะรับไหวไหม? ผนวกกับเกษตรยั่งยืน พอเพียงที่ว่าตามพระราชดำรินั้นจะเป็นไปได้อยู่อีกหรือ แถมยังในแผน 8 ที่เน้นพัฒนาคนมันจะเป็นเพียงความฝันหรือไม่ เพราะพันธะสัญญาเหล่านี้ย่อมเหมือนตัดเกษตรกรรายย่อยออกไปจากแผนพัฒนา เลย จะกล่าวได้หรือไม่ว่าเค้าจะทิ้งคนส่วนใหญ่ของประเทศ เศร้าจัง !
น้ำฝน <qut@thaimail.com>
- Thursday, November 30, 2000 at 09:56:10 (EST)

คัดค้านครับ เท่านี้คนไทยก็เป็นหนี้กันมากกมายอยู่แล้ว น่าจะหาวิถีทางอื่นที่แก้ปัญหาได้ดีกว่านี้ การเอาเงินกู้มาไม่ใช่ว่าจะแก้ปัญหาได้ การเขียนโครงการขอเงิน ADB ของหน่วยงานต่างๆ เป็นเพียงแค่การให้ได้เงินเข้ามาใช้จ่าย โดยไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนของโครงการมากนัก และโครงการส่วนใหญ่มองไม่เห็นผลตอบแทนเป็นรูปธรรมที่จะสามารถหาเงินมาใช้หนี้เขาได้ พูดง่ายๆคือ ไม่ว่าจะเป็นเงินกู้โครงการอะไร ประเืศไทย ไม่มีแผนการใช้หนี้ที่ชัดเจน รอแต่ให้โชคช่วย หรือถึงเวลาก็แก้ไข คลี่คลายได้เอง
lionhorse <lionhorse@catcha.com>
- Friday, November 24, 2000 at 13:26:23 (EST)

การปรับโครงสร้างการเกษตรนั้น ทำกันมานานเท่าไรแล้วครับ มีโครงการปัรบปรุงการผลิตมากก็เยอะแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จสักอย่างเลย เราไม่สามารถเจาะตลาดใหญ่ๆได้เลยปัจจุบัน เราแทบจะส่งสินค้าเกษตรออกไม่ได้เลย ผลไม้ก็ถูกหาว่ามีศัตรูพืชต้องถูกส่งกลับเผาทิ้งทำลายเกิดความเสียหายแก่เกษตรกร ราคาตกต่ำ เรื่องเหล่านี้ยังทำไม่ได้คงไม่สามารถปรับโครงสร้างการเกษตรได้หรอกครับ ที่ผ่านมาเราทำงานกันถูกจุดหรือเปล่าต้องมีการทบทวนก่อนที่จะทำการปรับโครงสร้าง โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐานของเราไม่แน่น ถ้ายังทำการปรับปรุงโดยที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีก็คงจะพังลงมาอีก ต้องนึกถึงสภาพปัจจุบันว่าเราต้องแข่งขันประเทศอื่นๆและกลไกตลาดเสรี มองไกลๆ หน่อยครับ
SP <dungbeetle41@hotmail.com>
- Thursday, November 09, 2000 at 05:34:44 (EST)

ไม่เห็นต้องเถียงกันเลย ก็เพราะเงินมันก้อนใหญ่ ผลประโยชน์มันเยอะ เงินมันเข้าตานักการเมือง+ข้าราชการก็แค่นั้นไม่มีการนึกถึงชาติบ้านเมืองหรือเกษตรกรหลอกครับ อย่าเถียงกันเลย
mix <mix@yahoo.com>
- Tuesday, November 07, 2000 at 22:19:17 (EST)

ไม่เห็นด้วย1)รัฐบาลควรแก้ปัญหาเพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ 2)เงื่อนไขการเก็บค่าน้ำของADBจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรได้มากขึ้น 3)เมืองไทยเป็นหนี้ต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก การที่รัฐกู้เงินจากADBจะทำให้เมืองไทยเป็หนี้ต่างชาติมากขึ้น 4)รัฐบาลพัฒนาประเทศโดยขาดความรู้ความเข้าใจ มุ่งแต่พัฒนาเศรษฐกิจ,อุตสาหกรรม ไม่เคยสนใจพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร
ณัฐ ศรสำราญ <n_sornsamran@hotmail.com>
- Friday, November 03, 2000 at 00:49:04 (EST)

ไม่สนับสนุนการกู้เงินจากต่างประเทสทุกรูปแบบ สนับสนุนการพึ่งตนเองในด้านการเกษตรพอเพียง โดยไม่เน้นการส่งออก เอาไว้เมื่อเกษตรพึ่งตนเองแล้วมีเหลือบริโภคภายในประเทศแล้วจึงค่อยส่งออก หากในการกู้เงินที่แล้วมา มีผู้ได้ผลประโยชน์ใดๆก็ตามบนหลังของเกษตรกร ขอให้ยกเลิกการกระทำดังกล่าว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ลดละกิเลสลงเสียเถิด May peace prevail on earth
กนกวรรณ (กนกากร) อุโฆษกิจ
- Saturday, October 14, 2000 at 19:35:31 (EDT)

คัดค้านโดยเฉพาะการเก็บค่าน้ำ จากภาคเกษตร
nithad mansorn <nithat@hotmail.com>
- Thursday, October 12, 2000 at 13:16:23 (EDT)

การพัฒนาการเกษตร มีวิธีอีกมากมายที่รัฐบาลสามารถทำได้โดยใช้งบประมาณที่มีอยู่ การกู้เงินเพิ่มโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ถือเป็นการสร้างบาปให้กับคนไทยทั้งประเทศ เมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม มีทรัพยากรธรรมชาติเหลือเฟือ สามารถทำกินทำใช้ภายในประเทศได้อย่างสบาย ถ้าเราพัฒนาจุดเด่นตรงนี้ให้แข็งและสนับสนุนให้คนไทยพึ่งตนเอง สนันสนุนคนไทย เราสามารถอยู่ได้แม้จะปิดประเทศก็ตาม หลังจากประเทศเราแข็งแรงแล้ว จึงค่อยออกไปพบปะกับต่างชาติ นับวันต่างชาติก็คอยแต่จะซ้ำเติมในขณะที่เราเพลี่ยงพล้ำ ทำไม่เราไม่ปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทุกคนยอมรับความจริง และเข้าใจกับสถานการณ์บ้านเมืองที่แท้จริง และกระชากความรักชาติของทุกคนออกมา ความอุ่นเอื้อเกื้อกูล ที่เป็นคุณสมบัติของชาวไทยหายไปไหน ใครตอบได้บ้าง?
sarida k.chat <anyamatch@usa.net>
- Sunday, October 01, 2000 at 05:15:27 (EDT)

เรารู้สึกว่าภาพของเกษตรกร ที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมอง แตกต่างกันมาก และเราก็รู้สึกมาตลอดว่า บุคคลในภาครัฐ ไม่เคยมองประเทศไทยด้วยความเข้าใจ และมองด้วยความเป็นจริง แต่กลับมองประเทศไทยด้วยภาพของ ความอยากให้เป็น อยากให้ดี อยากให้เด่นกว่าเพื่อนบ้าน มองเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยภาพที่ไม่เคยพอเพียง มองชาวบ้านที่มีความสุขกับความพอดีพอกิน ว่ามีปัญหา มองความสวยงามของประเทศ เป็นสินค้าเร่ขายในกลไกตลาดโลก ทำไมคะ ทำไมถึงมองคนอื่นดีกว่าตัวตนเราเองเสมอ และทำไมต้องกลัวคนอื่นเขาดูถูกเรา ว่าไม่เหมือนเขา เข้าใจตัวตนของตัวเองเถิดค่ะ ยอมรับเถิดค่ะว่าเรามีความเพียงพอ และพึ่งตนเองได้ เราสามารถพัฒนาตนเอง เพื่อการอยู่รอดของตนเองได้ จะพัฒนาไปมากมายเพื่อใครกันคะ
ลูกชาวนา
- Wednesday, September 20, 2000 at 12:54:16 (EDT)

I'm study in Japan Do you know, How much Japan support their farmer why they don't want us to support our farmer.
surasak taweesilp <d99jc192.ynu.ac.jp>
- Thursday, August 17, 2000 at 04:41:39 (EDT)

ปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทย เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน หลายชั่วอายุคน เป็นการยากที่จะแก้ได้ในเร็ววัน เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหาโดยการกู้เงินจากต่างชาติเข้ามา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร อาจจะไม่ใช่ทางแก้ที่ดีที่สุดก็ได้ ปัญหาต่างๆ ล้วนมีทางออก บางครั้งก็มีหลายทาง ขอเพียงแต่พวกเรา คนที่มีสำนึกในความป็นไทย ต่างก็ร่วมมือร่วมใจกัน ระดมความคิดเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดมาแก้ปัญหา ปัญหาต่างๆก็จะลุล่วงไปได้ อันที่จริง พวกเรามีผู้นำที่กำลังทำการต่อสู้กับ ความยากจนของเกษตรกรเหล่านี้อยู่ นั่ก็คือ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั่นเอง ที่ได้ทรงพระราชทาน แนวทางการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกร สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างไม่รู้สึกว่าลำบาก ไม่ต้องลงทุนมาก แต่ก็สามารถดำรงชีพได้อย่างสุขสบาย โดยไต้องไปกู้เงินให้เป็นหนี้เป็นสิน ขอเพียงงแต่พวกเรา น้อมรับใส่หัว และถวายความร่วมมือ ในการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรไทย โดยไม่ต้องไปกู้เงินต่างชาติเข้ามา เพื่อให้นักการเมือง อิ่มจนอ้วน ก็จะเป็นการดี
สงวนนาม <pinkywitch@lemononline.com>
- Friday, August 04, 2000 at 12:31:17 (EDT)

ถ้าชาตินี้เมืองนี้ ยังพยายามโยนความพ่ายแพ้เสียหาย ให้กับคนจนแบกรับอีกต่อไป อนาคตข้างหน้า เราจะมีหน้าไปบอกลูกหลานได้อย่างไรว่า เป็นการตัดสินใจผิดพลาดของคนรุ่นปัจจุบันอย่างเราๆ ท่านๆ เป็นความเจ็บปวด ที่ไม่มีรัฐบาลไทยหน้าไหนรับฟัง
fisheries44
- Thursday, August 03, 2000 at 04:54:15 (EDT)

ถึงจะเพื่อเกษตรกร แต่หากเกิดประโยชน์อย่างที่อ้าง แม้จะแบกหนี้ ผมก็ยินดีช่วยแบก
วรสิทธิ์
- Thursday, August 03, 2000 at 02:38:26 (EDT)

ไม่เห็นด้วย
สายสุณี พรวิทยาพันธ์
- Saturday, July 29, 2000 at 05:08:14 (EDT)

ผมมีความเห็นว่าภาคเกษตรกรรมของประเทศ ควรได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนอยู่แล้ว เพียงแต่วิธีการที่ใช้ ควรที่จะเป็นวิธีการที่พวกเรา ช่วยกันคิดให้เหมาะสมกับประเทศของเรา ตอนที่เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศของเรามีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ เป็นหลักของประเทศ ผมหมายถึงผลิตผลทางการเกษตร, การท่องเที่ยว, และสิ่งประดิษฐิ์ต่างๆ เช่นผ้าไหม หรือ เครื่องประดับ เป็นต้น ซึ่งเราน่าจะมีการตั้งหน่วยงานที่ใช้พัฒนา และสนับสนุนการผลิต และการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้โดยจริงจังเสียที เพื่อให้กระบวนการผลิต ได้มาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญ ต้องไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เราก็ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้เช่นเดียวกันว่าเกษตรบางส่วน (ผมไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน) ของเรา เป็นเกษตรกรรายย่อย ที่ไม่ได้ส่งออก เป็นเพียงแต่ผลิต และขายสินค้าภายในประเทศ เท่าที่ผมอ่านข้อมูลจาก WWW ผมเข้าใจว่า ADB ต้องการให้พัฒนาเกษตรกรในส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก การผลิตเช่นนี้ต้องการการสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอ และรับประกันได้ว่าการชลประทานจะสามารถจ่ายนำให้ได้อย่างพอเพียง และต้องการการวิจัย และการปรับปรุงสายพันธุ์พืชที่ทำรายได้ให้มากที่สุด คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่ควรจ่ายผลตอบแทนบางล่วนให้กับรัฐบาล และรัฐบาลก็ควรจ่ายเงินที่ได้เงินมาจาก บุคคลกลุ่มนี้คืนกลับไปให้กับพวกเขาเหล่านั้น ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้ทำการส่งออก ที่ไม่ต้องการการรับประกันในเรื่องน้ำ และการปรับปรุงสายพันธุ์ (ในรายละเอียดทางการเกษตรคงมีมากว่านี้)ก็ไม่ควรที่จะต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาลในส่วนนี้ ดังนั้นการกู้เงินมาเพื่อพัฒนาการเกษตรควรที่จะตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และต้องสามารถแถลงให้ประชาชนผู้ซึ่งต้องรับภาระนี้ทราบเป็นระยะๆได้ด้วย ผมไม่อาจบอกได้ว่าผมจะสนับสนุนการกู้เงินจาก ADB หรือไม่อย่างชัดเจนได้ เพราะถ้ากู้เงินแล้วนำมาพัฒนาการเกษตรเพื่อการส่งออก (เกษตรกรที่ไม่ได้ส่งออกก็จะพลอยได้รับผลดีไปด้วยทางอ้อม) ได้จริง ผมก็เห็นด้วย แต่ถ้ากู้เงินมาแล้วเทคโนโลยีทางการเกษตรของเราไม่ดีขึ้นก็อย่ากู้ดีกว่า การกู้เงินในหนึ่งครั้งจะทำให้ประเทศเรามีอะไรดีขึ้นก็น่าที่จะกำหนดลงไปให้ชัดเจนแล้วแถลงให้ประชานชนรับทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วก็แถลงออกมาว่าผลที่ได้รับเป็นอย่างไรเพราะว่าเราไม่สามารถขายประเทศหนีได้ นี่คงเป็นการพิสูจน์ฝีมือว่าแท้จริงแล้วผู้ใหญ่ในบ้านเราเก่งแค่ไหน หรือที่คุยๆเป็นแค่เพียงลมพัดผ่าน
ภูมินทร์
- Friday, July 21, 2000 at 05:27:03 (EDT)

ถ้าจะทำงานแล้วมัวแต่มองผลเสียด้านเดียว ผมว่าขายประเทศไปเลยแล้วไปอยู่ที่อื่น มีการพัฒนาอะไรบ้างที่ไม่มีการสูญเสีย แต่ไม่ใช่ว่าเราจะยอมเสียทุกอย่าง ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรให้มันเสียน้อยที่สุดต่างหาก
พรศักดิ์
- Friday, July 21, 2000 at 01:56:09 (EDT)

จุดประสงค์ของเงินที่ ADBให้มานั้น เพื่อที่จะเร่งเศรษฐกิจไทยให้เดินเร็วขึ้น เหมือนกับกระตุ้นให้คนไทยใช้เงินมากขึ้น เมื่อเรามามองที่เกษตรกร พวกเขายังคงมีชีวิตเช่นเดิมอยู่ เขาต้องการที่จะอยู่นิ่ง ๆ ตามอัตภาพของเขา คนไทยส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเกษตรกรและเป็นตัวจักรหนึ่งของระบบเศรษฐกิจยังไม่พร้อม ที่จะวิ่งไป เหมือนกับว่า ผลักคนที่กำลังเดินอยู่ ฉะนั้น เงินของ ADB จึงยังไม่เป็นที่ต้องการของไทยในวันนี้
ธนา เตชะติ <civic2738@yahoo.com>
- Wednesday, July 19, 2000 at 04:29:36 (EDT)

จากเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแค่ปัญหาการปฏิรูปการเกาตรเท่านั้น หากแต่สะท้อนให้เห็นถึง ความไม่สามัคคีของคนไทย ความไม่ไว้ใจกันเองของคนไทย ทุกอย่างเป็นเพราะว่า ต่างฝ่ายต่างคิด ต่างฝ่ายต่างคัดค้าน ลองมาหาทางสายกลาง เส้นทางที่เป็นทางสูความสำเร็จ อย่าให้การทำงานเพื่อพัฒนาชาต ต้องเป็นเวทีการเมืองเลย ถ้าฝ่ายสนับสนุนลองลงลึกถึงปัญหา จริงใจในการแก้ไข ฝ่ายคัดค้านยอมรับบางอย่าง ที่ต้องเปลี่ยนแปลง ง่ายดีไหมครับ
นายนนทวิทย์ ทองทิพย์ <nontawit.th@chaiyo.com>
- Thursday, July 13, 2000 at 08:19:18 (EDT)

ถ้าคิดว่าการกู้เงินตรงนี้มา เพื่อจะมาคอรับชั่น จงจำไว้ด้วยว่า ผู้ที่ทำเช่นนี้ มีตัวอย่างตายไม่ดีมาเยอะแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า เงินกู้นี้ ไม่มีความจำเป็น ถ้ากระทรวงเกษตรโง่นัก ควรจะไปเข้าเฝ้าในหลวงฯ ขอพระราชทานคำปรึกษาต่างๆ พระองค์ท่านทรงย้ำเรื่อง เศรษฐกิจแบบพอเพียงหลายครั้งแล้ว น่าจะคิดได้นะ พวกท่านเป็นผู้บริหารประเทศ ควรจะนึกถึงลูกหลานไทยในอนาคตไว้บ้าง นี่คือแผ่นดินที่ปู่ย่าตายายสร้างมาให้ และท่านก็อาสัยแผ่นดินนี้อยู่ จนวันนี้มีอำนาจ ก็เลยละโมบ อยากได้เงิน เลยใช้วิธีเอาแผ่นดินไปจำนอง ข้าพเจ้าอยากจะรู้นัก ก่อนหน้าที่จะมี ADB ผุดขึ้นมา ประเทศไทยเคยมีมั้ย ที่จะต้องทำเช่นนี้ ...ขอคัดค้าน
คนไทยในต่างแดน <ประเทศไทย.คอม.ทีเอช>
- Thursday, July 13, 2000 at 02:15:26 (EDT)
 
 สนับสนุน หรือ คัดค้าน
เงินกู้, ADB และแผนปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม
โครงการ ขุดคอคอดกระ ฝันดีหรือฝันร้าย ของนักลงทุน
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | สิบปีเขื่อนปากมูล การต่อสู้ของกบฏคนจน | คนไม้ขาว เต่ามะเฟือง | ปลาร้าไร้พรมแดน | หลงทางและปากหนัก | เชิญดอกไม้ "ดอกว่านสี่ทิศ" | โลกสีดำของเหยื่ออุตสาหกรรม | "ดอนหวาย" ตลาดโบราณริมแม่น้ำท่าจีน | จับตาธุรกิจการพนันต่างชาติ และการพนันในประเทศไทย | เฮโลสาระพา | ซองคำถาม

Ten Years' Fighting for the Mun River | Leatherback Turtles Return | Sikkim and Years of Change on the Himalayan Ridges

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) email