Click here to visit the Website
ไลเคน ตะไคร่ อันตรายต่อโบราณสถาน (ประเภทหิน) จริงหรือ ?
ไลเคน ตะไคร่ อันตรายต่อโบราณสถาน (ประเภทหิน) จริงหรือ ?
( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ
คลิกที่นี่ )
วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ : เรื่อง
ชัยชนะ จารุวรรณากร, จิตติมา ผลเสวก : ภาพ

    นักโบราณคดีสมัครเล่น-กฤช เหลือลมัย เคยกล่าวไว้ว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ จุลินทรีย์-สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อย่างแบคทีเรีย รา (fungi) ตะไคร่หรือสาหร่าย (algae) รวมทั้งไลเคน และฤทธิ์เดชของมันต่อโบราณสถาน (โดยเฉพาะประเภทหิน) เป็น "เพดานความคิด" ชนิดหนึ่งที่ นักวิชาการฝ่ายขจัดคราบไคลจุลินทรีย์ออก ให้สิ้นซากจากโบราณสถาน ใช้ครอบกด ฝ่ายที่ต้องการคงสภาพร่องรอยเหล่านี้ไว้ เพื่อแสดงถึง ความมีอายุขัยผ่านกาลเวลามานาน 
    เป็นส่วนหนึ่งของการครอบกดข้อถกเถียงว่า ด้วยสุนทรียภาพของโบราณสถาน โดยเฉพาะซากโบราณสถาน (dead monument) ว่าควรจะถูกมองเห็นในสภาพเช่นไรกันแน่ อย่างน้อยก็จากสองขั้ว ระหว่างคงสภาพร่องรอยอันเก่าแก่ ที่พื้นผิวโบราณสถานนั้นไว้ กับขัดล้างจุลินทรีย์ และซากของมันออกไปให้สะอาดหมดจด ทำให้คนกลุ่มแรก (ซึ่งมองกันว่าเป็นพวกนักอนุรักษ์ และนักวิชาการซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก) เกิดความไม่แน่ใจ ในยามจะต้อง ยืนยันความเชื่อของตน คือกลัวไปว่าทัศนะเช่นนี้ จะมุ่งแต่สุนทรียภาพ และความโรแมนติกจนละเลยต่อเหตุผลด้านการบำรุงรักษา และปัญหาการผุพังของโบราณสถานไป
    เพดานความคิด ความไม่แน่ใจทำนองนี้จะยังคงดำรงอยู่ ตราบเท่าที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ที่ลงลึกเฉพาะด้าน และเข้มข้นพอจะอธิบายถึงบทบาทของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ บนโบราณสถานได้อย่างแท้จริง นอกจากประสบการณ์-คำบอกเล่าเท่านั้น 
    และด้วยแนวทางการอนุรักษ์ของกรมศิลปากร ที่ยึดถือกันมาโดยตลอด ทำให้ในระหว่างปี ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ผู้เชี่ยวชาญจากส่วนวิทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ กรมศิลปากร ได้เข้าทำการขัดล้างทำความสะอาด ปรางค์ประธานปราสาทหินพิมายจนขาวโพลนเห็นได้ชัด
    หลังจากที่ทีมงานเดียวกันนี้ เคยทำการอนุรักษ์โดยการทำความสะอาดพระอจนะ (วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย) ด้วยวิธีการคล้ายคลึงกันมาแล้วในปี ๒๕๔๐
    ๑๘ เมษายน ๒๕๔๓ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์-โบราณคดี และผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา สถาปัตยกรรม จำนวน ๑๘๐ คน ร่วมลงชื่อคัดค้านการขัดล้างปราสาทพิมาย ต่ออธิบดีกรมศิลปากร เนื่องจากต้องการให้มีการ พิจารณาศึกษาโดยรอบด้านเสียก่อน ทั้งวัตถุประสงค์การขัดล้าง วิธีขัดล้าง การปฏิบัติต่อหินหลังการขัดล้าง รวมถึงภาพลักษณ์ของโบราณสถานในสายตาประชาคม เนื่องจากขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่ชัดเจนยืนยันได้ว่า คราบไคลต่าง ๆ ที่เกาะบนผิวหินทรายของปราสาทเป็นอันตรายถึงขั้นต้องกำจัดออก การขัดล้างด้วยแปรง และมีดอาจทำให้ผิวหินหลุด ความคมชัดของลวดลายต่าง ๆ ลดลง และทำให้รูพรุนของผิวหินเปิดออก เป็นเหตุให้น้ำฝนซึมเข้าผิวหินได้ในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งจะเร่งการเสื่อมสลายของหินให้เร็วขึ้น
    นอกจากนี้ การใช้สารกันน้ำหรือน้ำยากันซึม ทาเคลือบผิวหินภายหลังการขัดล้าง ตามกระบวนการ อนุรักษ์โบราณสถาน ของกรมศิลปากร จะไม่สามารถแก้ปัญหา การซึมเข้าของน้ำสู่เนื้อหินได้ เนื่องจาก การสร้างปราสาทหินแบบขอมนั้น ใช้วิธีเรียงหินต่อกัน และซ้อนกันโดยไม่มีตัวเชื่อมประสานปิดระหว่างหิน ในทางตรงกันข้าม อาจเร่งให้หินเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เพราะน้ำที่เข้าไปในเนื้อหินทางช่องว่างต่างๆ ไม่สามารถซึมผ่านผิวหน้าหินที่ถูกเคลือบได้ ทำให้น้ำมีโอกาสขังอยู่ในเนื้อหินได้นานขึ้น อีกทั้งสารดังกล่าวจะสูญเสียประสิทธิภาพภายในระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นต้องขัดล้าง ทาเคลือบผิวหินใหม่ กระบวนการเสียหายก็ย่อมเกิดขึ้นซ้ำอีก นับเป็นการสูญเสียงบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์
    ฐานความคิดของฝ่ายคัดค้านส่วนหนึ่งมาจากผลการศึกษาวิจัยตามโครงการ "การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์หินทราย ของปราสาทแบบขอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย" ซึ่งลงพื้นที่ศึกษา ปราสาทหินพนมรุ้ง พนมวัน เมืองต่ำ และปราสาทหินพิมาย ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่กรมศิลปากรกำลังดำเนินการขัดล้างปราสาทหินพิมายนั่นเอง โครงการดังกล่าวเป็นโครงการวิจัยร่วมไทย-เยอรมนี มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหัวหน้าโครงการฝ่ายไทย
    ส่วนหนึ่งของการวิจัยได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สถานภาพการผุพังของหินกับการมีชีวิตของไลเคน สรุปผลได้ว่า หินบริเวณที่มีไลเคนขึ้นหนา และไลเคน อยู่ในสภาวะการมีชีวิต จะสูญเสียความแข็งแรงหรือผุพัง ในระดับที่ลึกเข้าไปในเนื้อหินเพียง ๑ ถึง ๒ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นความแข็งแรงพอ ๆ กับหินก้อนเดียวกัน ตรงจุดที่ไม่มีไลเคน แต่สำหรับหินที่อยู่ในสภาพผุพังมาก และไม่มีไลเคนเกาะ พบว่าสูญเสียความแข็งแรง เข้าไปในระดับที่ลึกมาก เมื่อผลการวิจัย ไม่ปรากฏนัยยะว่า แตกต่างในเรื่องความแข็งแรงของหิน ส่วนที่มีไลเคนปกคลุม กับไม่มีไลเคนปกคลุม จึงสรุปว่า ไลเคนไม่ใช่ต้นเหตุสำคัญ ของการผุพังของหิน ตรงกันข้าม การปกคลุมของไลเคน จะช่วยลดความรุนแรงของแสงแดด และฝน ที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงความชื้น และอุณหูมิบนหินอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของ การผุพังเสื่อมสภาพของหิน
    ในปลายเดือนเมษายน ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทำนองว่า เจ้าหน้าที่ใช้สารเคมีฟอกปราสาทพิมาย และการขัดล้างปราสาทพิมาย จะยังไม่ครอบคลุมถึงส่วนยอดปรางค์ หรือดำเนินการสงวนรักษา จนกระทั่ง จบสิ้นกระบวนการก็ตาม
    อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า จะไม่มีการขัดล้างปราสาทหินใด ๆ อีกต่อไป 

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่จิราภรณ์ อรัณยะนาค
ผู้อำนวยการ ส่วนวิทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ สำนักโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่ปองศักดิ์ พงษ์ประยูร
อาจารย์ประจำภาควิชา ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส นั บ ส นุ น    คั ด ค้ า น  
  • ไลเคนและตะไคร่ ทำให้เกิดการผุกร่อน บนผิวหิน ทั้งทางฟิสิกส์และเคมี เช่น การสร้างกรดไกลโคลิก กรดฟอร์มิก กรดอะซีติกขึ้นมากัดกร่อน
  • ไลเคน และสาหร่าย พบมากบนผิวหินที่ขรุขระ เช่นบริเวณที่มีลวดลาย จากการแกะสลัก ทำให้บดบังลวดลาย ภาพสลักบนปราสาท
  • การทำความสะอาด ขัดล้างจุลินทรีย์เหล่านี้ออกไป ไม่ได้เป็น การทำลายโบราณสถาน 
  • ไลเคนมีคุณสมบัติที่ดี ในการตัดแสง จึงมีส่วนช่วยป้องกัน แสงแดด และความร้อน ช่วยลดอัตรา การเสื่อมสภาพ ของหิน
  • รากของไลเคน เพียงแต่ทำหน้าที่ ยึดเกาะ ไม่ได้ชอนไชเข้าไป เกาะกินทำลายเนื้อหิน เพราะถ้าทำลาย ตัวมันจะหลุดล่อนไปด้วย ไม่อาจปรากฏอยู่ได้เป็น ๔๐-๕๐ ปี
  • วิธีการขจัดไลเคน จะทำลายเนื้อหิน และทำให้หินผุพังเร็วขึ้น
  • ตะไคร่หรือสาหร่าย อาจทำลายผิวหินบ้าง แต่น้อยและช้ามาก ทั้งสามารถ กำจัดออกง่าย ๆ ในหน้าแล้ง โดยไม่ต้อง สูญเสียงบประมาณ
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่ 
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

เนื้อหาดีนะค่ะ
หม่อน
- Saturday, July 26, 2003 at 03:36:37 (EDT)

น่าจะมีรูป
หม่อน
- Saturday, July 26, 2003 at 03:35:36 (EDT)

ค้านว่า* เคยไปเยี่ยมชม ศึกษาโบราญสถาน ( เจดีย์หัก ) ที่ราชบุรี ในสาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลป์ พบว่า เจดีย์หักกลายเป็นเจดีย์ใหม่เสียแล้ว กับช่วงเวลาสั้นๆ ในการบูรณะซ่อมแซม ไม่น่าเชื่อว่าประวัติศาสตร์ ที่มีรูปถ่ายยืนยันขนาดนี้ ถึงซ่อมแซมออกมาได้ ถั่ว ขนาดนั้น ไม่้เข้าใจว่ากรมศิลปากร คิดจะสร้างเจดีย์ใหม่ขึ้นมาทับเจดีย์เก่าหรือยังไง ถึงใด้ไปทำในสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เช่นนี้ ภาพในตอนนั้นข้าพเจ้าทั้งรู้สึกเสียใจ และเสียดาย *( ขึ้นชื่อว่ากรมศิลปากรแล้ว มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงกับการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถาน ที่กำลังจะสึกหรอไป แต่ภาพที่เห็น ใครจะรับผิดชอบกับประวัติทางโบราณสถานของไทยแห่งนี้ )*มันเป็นเรื่องทีน่าเศร้าใจยิ่งนัก
อลิสรา อุปลา
- Wednesday, July 10, 2002 at 04:24:36 (EDT)

ร่วมคัดค้านการขัดไลเคนออกจากปราสาทหิน เท่าที่ผ่านมา เห็นตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะในเมืองไทยหรือต่างประเทศ หลังจากขัดไลเคนออกแล้ว นอกจากความสวยงามความขรึมขลังของตัวปราสาทจะหดหายลงไปอย่างน่าใจหาย เสน่ห์ของโบราณสถานเหล่านั้นแทบจะไม่หลงเหลือให้เห็นอีกเลย ไม่นับว่าทางวิทยาศาสตร์หรืออะไรก็ตามที่ดูเหมือนว่า ขัดไปแล้วปราสาทหินก็ใช่ว่าจะแข็งแรงทนทานกว่าตอนที่มีไลเคนเกาะอยู่ที่ไหน จริงมั้ย
pangrum kunlavej <panbun@thaimail.com>
- Thursday, March 29, 2001 at 01:08:22 (EST)

อยุ่ฝ่ายคัดค้านค่ะ ที่จับงหวัดบ้านเกิดก็มีเจดีย์หักๆ ที่กลับมาดูอีกที หักได้เรียบร้อยสวยงามดีเหลือเกิน รู้สึกเหมือนใครมาโขมยอดีตของเราไป เรื่องกำจัดไลเคนนี่ ก็คงเป็นแนวคิดเดียวกันของผู้รับผิดชอบกระมังคะ
เบเลโลนอฟ
- Saturday, January 20, 2001 at 22:49:38 (EST)

ที่เคยเห็นในงานวิจัย จะมีการเคลือบผิวของวัสดุให้แข็งแรงขึ้น (consolidant) ด้วยพวกซิลิโคนโดยไม่มีการทำให้สีหรือลวดลายของโบราณสถานเปลี่ยนไป ไลเคนหรือแบคทีเรียก็ไม่สามารถที่จะเกาะได้ เนื่องจากไม่มีความชื้นสะสม ผมกำลังศึกษาวิจัยเรื่องนี้อยู่ครับ
Nitinai <ptolemaeus@usa.net>
- Monday, January 08, 2001 at 13:01:09 (EST)

ไลเคนน่าจะมีประโยชน์มากกว่า เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปกป้องหินมากกว่าทำลาย ยิ่งยุคสมัยนี้แดดแรงกว่าเดิมเยอะ การสึกกร่อนของหินมีมากกว่า ทำให้อายุของหินสั้นลงเรื่อยๆ ใครว่าหินแข่งแกร่งที่สุด ไม่มีทางหินก็มีวันต้องสึกกร่อน แต่ธรรมชาติก็ยื่นมือเข้าช่วยโดยใช้ไลเคนมาปกคลุม ฉะนั้นประโยขน์น่าจะมีมากกว่าโทษ ก็เหมือนคนเราแต่งหน้านั่นแหละยิ่งแต่งมากๆ ก็ลอกเอาชั้นปกป้องผิวไปหมด หน้าก็แก่ไว เอามือไม้มาแต่งแต้ม เช็ดถู สมดุลย์ของผิวก็ถูกทำลาย แล้วก็ต้องพึ่งเครื่องสำอางค์ หรืออีกนัยนึงเทคโนโลยีตลอดกาล สรุปแล้วเปลืองโดยใช้เหตุที่จะเสียเงินไปขูดไลเคนทิ้ง
วิภาวี <JazzVlek@yahoo.com >
- Thursday, December 07, 2000 at 23:22:39 (EST)

ผมคิดว่าการขัดไลเคนออก อาจจะทำให้การผุกร่อนเป็นไปได้อย่างรวดเร็วกว่า เนื่องจากผิวหินจะสัมผัสกับชั้นบรรยากาศภายนอกได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันบรรยากาศของเราค่อนข้างจะแย่ เมื่อฝนตกมาจะเกิดฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณผิวหินที่ไม่มีพืชปกคลุมได้มากขึ้น ดังนั้นการผุกร่อนจะเกิดตามมา และอีกอย่างการขัดไลเคนออก ด้วยวัสดุที่มีความแข็งก็อาจทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดการผุกร่อนได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าการทำลายของพืชซะอีก
ชาญขัย ต. <->
- Sunday, December 03, 2000 at 14:07:52 (EST)

โลกเราก็คือความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่รึ.... บางทีคนเรามองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ เพียงจุดจุดเดียว ไม่มองภาพรวมของสิ่งนั้น มองเพียงจะรักษาปราสาทหินหรือวัตถุนั้นๆ แต่ลืมที่จะเก็บรักษาภาพที่แท้จริง บรรยากาศ ความเป็นอดีตของสิ่งนั้นไป... น่าเสียดายออกน้ะ
Soy Eye <Soy_i@hotmail.com>
- Thursday, November 30, 2000 at 03:02:59 (EST)

การที่โบราณสถานอันเก่าแก่มีไลเคนขึ้นคลุมนั้นดูเป็นการสมควร งดงาม ศักดิ์สิทธิ์ "การขัดออก"และ"บูรณะอย่างเกินจริง" ดูเหมือนจะทำลายอารมณ์และบรรยากาศ อย่างสิ้นเชิง การเสื่อมตามกาลเวลาเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ปลื้ม-นิธิ <pleum@hotmail.com>
- Wednesday, October 11, 2000 at 22:49:10 (EDT)

ผมว่าธรรมชาติมันมีเกิดแก่เจ็บตายของมันอยู่นะ ถึงหน้าร้อนมันก็ตายไป เพราะความชื้นมันลดลง ถ้าจะทำความสะอาดก็น่าจะทำได้ง่ายๆ ไม่เป็นจำเป็น ต้องไปขัดมันเลย เพราะไลเคนก็เป็นเพียงการ อยู่ร่วมกันของสาหร่ายกับราเท่านั้น มันอาจ มีการหลั่งกรดอยู่บ้าง แต่ผมคิดว่าไม่ได้ร้ายแรงขนาดสามารถ ล้มปราสาทหินได้หรอกครับ ที่จะล้มปราสาทหินได้ น่าจะเป็นคนไม่มีความรู้ แต่ต้องมาทำงานนี้มากกว่านะ
สมควร สุกรี (M.S.(Mycology),NTNU,Norway)
- Tuesday, October 03, 2000 at 13:47:02 (EDT)

สิ่งใดที่ธรรมชาติสร้างขึ้น ธรรมชาติไม่เคยสร้างสิ่งนั้นมาเพียงอย่างเดียวหรอกครับ มีน้ำก็ต้องมีไฟ จะแปลกอะไรที่ธรรมชาติจะสร้างตะไคร่มาปกป้องคุมครองผิวของประสาทหินให้ผุกร่อนไปตามเวลาว่ามั้ยหบ่ะ
CGU Insurance
- Tuesday, October 03, 2000 at 05:45:26 (EDT)

hjh8yobl
iyghp
- Monday, October 02, 2000 at 07:14:01 (EDT)

การพยายามทำความสะอาดวัตถุโบราณเหล่านั้นเป็นการทำลายวัตถุโปราณ และทำลายชิวิตของไลเคนด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้หายยากมากอยู่แล้ว
ขจีมาศ เกียรติพงษ์ <unico@ksc.com, kajeemas_tom@hotmail.com>
- Monday, September 25, 2000 at 06:04:26 (EDT)

การเกิดของตะไคร่เป็นส่วนที่สามารถปกป้องโบราณสถานให้ผ ุกร่อนน้อยลง เท่าที่ผมอ่านและการทำลายตะไคร่อาจจะทำให้ โบราณสถานเกิดความเสียหายมากกว่า ถึงตะไคร่จะมีส่วนที่ ทำให้โบราณสถานเสียได้แต่ก็เป็นส่วนน้อยกว่ามลภาวะ
puchong suparsri <kengisupa@hotmail.com>
- Friday, September 15, 2000 at 01:37:44 (EDT)

ให้เป็นไปตามธรรมชาติเถิด ไลเคนส์เขามาเกาะเฉยๆ แถมยังคุ้มแดดคุ้มฝนให้ อย่าไปไล่เขาเลย
ศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร <artemes-d@visto.com>
- Friday, September 08, 2000 at 07:03:10 (EDT)

สำหรับพิมก็ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับไลเคนมากนัก แต่มีความคิดว่า ไลเคนไม่น่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อโบราณสถานมากนัก กลับจะเป็นการเพิ่มให้ที่นั้นดูมีสเน่ห์มากยิ่งขี้นไปอีก จริงอยู่ที่ไลเคนมีกรดที่สามารถทำลายหินได้แต่ว่าใช้เวลานานมากทีเดียวกว่าจะสลายหินก้อนใหญ่ๆได้และที่สำคัญไลเคนยังช่วยลดการเสื่อมสลายของหินจากแสงแดดและปริมาณน้ำฝนได้อีกด้วย
พิมพ์พรรณ สิงห์นิยม <tabloid@chaiyo.com>
- Wednesday, September 06, 2000 at 03:56:44 (EDT)

ดิฉันคิดว่าแค่การป้องกันโบราณสถาน,โบราณสถาน แต่อย่างเดียวไม่พอ เราควรจะดูแลความสะอาดด้วย..................ขอบคุณค่ะ
ณัชชา เกตุกลิ่น, ณัชชา อ่อนละมูล ป.4/6 ร.ร.อนุบาลราชบุรี
- Sunday, September 03, 2000 at 22:21:18 (EDT)

คิดว่าขัดทำความสะอาดปราสาทหินพิมายและปราสาทหินเขาพนมรุ้งชึ้งเป็นโบราณสถานของประเทศไทย
natamon
- Sunday, September 03, 2000 at 22:09:01 (EDT)

ไปดูโบราณสถานที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี หรือประเทศต่างๆ ในยุโรป เขาไม่ต้องทาสี ไม่ต้องทำให้มันใหม่เอี่ยม ของเก่าก็คือของเก่า บางคนของใหม่พยายามทำให้เก่า เพราะของเก่ามีคุณค่ามากในทางประวัติศาสตร์ไม่สมควรที่จะไปทำอะไรให้ของเก่ามีมลทิน เราต้องส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานไว้ นาน ๆ ด้วยวิธีทางธรรมชาติดีกว่า
mgrnee <mgrnee.com>
- Monday, August 21, 2000 at 10:21:49 (EDT)

น่าจะเอางบประมาณไปจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆ โบราณสถานมากกว่า และอย่าลืมจัดการกับพวกลักลอบเอาโบราณวัตถุไปขาย เห็นตามตลาดนัดเยอะแยะไม่รู้จริงหรือปลอม ได้มายังไง ช่อฟ้า ใบระกา พระพุทธรูปเห็นขายกันเกลื่อน ไลเคนปล่อยไว้แบบนั้นก็ดูดีควรจัดการกับหญ้ารกที่ขึ้นบดบังความงามและรากของมันซอนไซจนอิฐแตก และโบราณสถานของไทยอย่าง ที่ลพบุรี อยุธยา ผมว่ามันดูโทรมๆ ยังไงไม่รู้ ดูแล้วไม่สดซื่นเลย
อำนาจ ประสุวรรณ
- Friday, August 18, 2000 at 02:15:02 (EDT)

คุณค่าและสุนทรียภาพของโบราณสถาน จะอยู่ที่ไหน ถ้ากลายเป็นปัจจุบันสถานใหม ่เอี่ยมเสียนี่
รัชฎา คชแสงสันต์ <rachada999@hotmail.com>
- Thursday, August 17, 2000 at 04:29:26 (EDT)

ธรรมชาตินั้น...มันมีกลไกลในตัวมันเอง มนุษย์ไม่สมควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมันเพราะมนษย์เองก็ยังคงอยู่ใต้การปกครองของธรรมชาติ และคงไม่มีมนุษย์หน้าไหนสามารถเข้าใจกลไกลของธรรมชาติจนหมดทุกสิ่งทุกอย่าง จนเข้าไปแก้ไขกลไกลอันสลับซับซ้อนของมัน
Nomol Boy
- Wednesday, August 16, 2000 at 09:39:05 (EDT)

ผมมีความคิดเห็นว่าไม่ควรที่จะกำจัดไลเคนหรือตะไคร่ออกไปเพราะจะทำให้โครงสร้างของวัตถุโบราณนั้นเปลี่ยนไป(ยิ่งขัดก็ยิ่งพังเร็วกว่าเดิม)เอาเงินไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์กว่านี้ดีกว่าครับ..เจ้านาย
bancha <abu.b@chaiyo.com>
- Tuesday, August 15, 2000 at 15:38:41 (EDT)

ผมไม่ค่อยติดใจไลเคน ติดใจตรง "ขัด" นั่นนะทำลายที่สุด!!!
wanna wong
- Monday, August 14, 2000 at 10:59:28 (EDT)

ตอนนี้ ยังงงกับข้อมูลของทั้งสองฝ่ายอยู่ครับ อย่างไรตามช่วยสรุปให้ได้เร็วๆ ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี เดี๋ยวจะไม่ทันการ (ช่วยแก้คำว่า ละเหย เป็นระเหยของฝ่ายสันบสนุนด้วยครับ) เปี๊ยก;อยุธยา
เกรียงศักดิ์ สวนจันทร์ <p3420500001775@khonthai.com>
- Sunday, August 13, 2000 at 05:02:02 (EDT)

ผมไม่เห็นด้วยครับ ถ้าประเทศจะต้องเอาเงินงบประมาณไปเพื่อล้างทำความสะอาดไลเคน หรือตะไคร่น้ำอื่น ๆ ที่เกาะตามโบราณสถาน เพราะทุกวันนี้ เราเป็นหนี้สาธารณะอยู่มากมาย รายจ่ายของประเทศที่มีความจำเป็นน้อยหรือไม่มีความจำเป็นจึงควรตัดออกไป อีกเหตุผลหนึ่งคือเรายังไม่แน่ใจว่าวิธีการทำความสะอาดเอาไลเคน ออกจากโบราณสถานเหล่านี้ จะไม่ก่อให้เกิอันตรายหรือทำลายโบราณสถานเหล่านี้หรือไม่ เพราะฉะนั้นผมขอคัดค้านครับ
วริทธิ์ จูงเจริญวัฒนา <dragon2519@hotmail.com>
- Thursday, August 10, 2000 at 12:51:58 (EDT)

ขอแสดงความคิดเห็นว่า "คัดค้าน" แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ แต่ก็ศึกษาด้านโบราณสถานมาพอประมาณ ได้ไปแวะเยี่ยมชมโบราณสถานหลายแห่ง ที่ทางกรมศิลปากรทำการอนุรักษ์ บอกตรงๆ ว่า "ใจหาย" ค่ะ ไม่ใช่ว่าไม่อยากให้โบราณสถานเสื่อมสลายตามการเวลานะคะ แต่ถ้าบูรณะแล้วทำให้ผลเสียหายเกิดเร็วขึ้นกว่าที่มันควรจะเป็น ก็พยายามใช้วิธีอนุรักษ์ด้วยธรรมชาติคงจะดีกว่านะคะ อ่านฝ่ายสนับสนุนอธิบายแล้ว สะดุดใจตรงที่ว่าขั้นตอนการทำความสะอาดมีอยู่ขั้นตอนหนึ่งที่ต้องใช้เงินมาก แล้วข้ามขั้นตอนนั้นไป ไม่ทราบว่าการกระโดดข้ามขั้นตอนนั้นไป จะยิ่งทำให้โครงสร้างหินผุพังเร็วยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ด้วยหรือเปล่า อย่างไรก็ตามโบราณสถานที่มีพวกตะไคร่ครอบคลุมอยู่ ดูมี "เสน่ห์" มากกว่าโบราณสถานที่ขาวจั๊วะอย่างที่ถูกบูรณะในหลายแห่งนะคะ
รัชดา ภราดรเสรี <ruchada@hotmail.com>
- Thursday, August 10, 2000 at 06:05:54 (EDT)

การทำความสะอาดโบราณสถานโดยไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลังได้ เราจึงควรปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมันจะดีที่สุด
koby
- Tuesday, August 08, 2000 at 04:38:41 (EDT)

คัดค้าน ยังไม่ทราบผลกระทบระยะยาวอัน เกิดจาก เคมีที่ใช้ชำระล้างในระยะยาว
krid sripanich <krid@kirz.co.th>
- Saturday, August 05, 2000 at 10:52:34 (EDT)
สนับสนุน หรือ คัดค้าน
ไลเคน ตะไคร่ อันตรายต่อโบราณสถาน (ประเภทหิน) จริงหรือ ?

เงินกู้, ADB และแผนปรับโครงสร้าง ภาคเกษตรกรรม
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | มองปราสาทหิน จากมุมสูง | เด็กเร่ร่อน เมืองเชียงใหม่ จากขุนเขา สู่บาทวิถี | เมื่อหมี เป็นผู้อุปถัมภ์ เอ็นจีโอ | รถไฟขบวนไม่สุดท้าย | ผ่าตัดคลอด ทางที่ไม่ควรเลือก | จะ "อ่าน" วรรณกรรม ตามใจใครดี | ที่ไหนมีเผด็จการ ที่นั่น (ไม่) มีการ์ตูน | โครงการท่อก๊าซ ไทย-พม่า กับคำเตือนที่เป็นจริง | จอห์นวู กับเส้นทางสู่ฮอลลีวูด (๑) ผลพวงจาก วัฒนธรรมการย้ายถิ่น ของชาวจีน | เปต-เปรต |เฮโลสาระพา

Capturing Bat Calls at Ang Rue Nai | Sandstone Temples and Their Civilization  | Homeless Children in Chiang Mai : from Mountaintops to Streetsides

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) email