สุเจน กรรพฤทธิ์ : เรื่องและภาพ

jorchawamo01

ในขณะที่ท่านได้อ่านบรรทัดนี้ พม่ายังคงปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร และการลุกฮือของประชาชนพม่านับครั้งไม่ถ้วนยังไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใด

จอซวาโม (Kyaw Zwa Moe) นักหนังสือพิมพ์พม่าซึ่งทำงานอยู่ในเมืองไทยรู้ดี ถึงวันนี้เขายังคงเฝ้ามองสถานการณ์ที่บ้านเกิดจากแผ่นดินไทย และแน่นอน เขายังมีความหวัง

จอซวาโมเกิดที่เขตอินเส่ง กรุงย่างกุ้ง ได้รับรู้ความเลวร้ายของระบอบเผด็จการทหารมาตั้งแต่เด็ก

ผมอาจโชคดีที่ทางบ้านสามารถส่งเรียนหนังสือ ได้รู้ว่าประเทศปกครองด้วยระบอบที่เข้มงวดและใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ ที่รัฐบาลทหารขึ้นสู่อำนาจ ได้ยินผู้ใหญ่คุยถึงความเลวร้ายที่รัฐบาลทหารทำกับประชาชน และสัมผัสได้ถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของครอบครัว

ด้วยความที่ชอบอ่านหนังสือทำให้จอซวาโมตั้งคำถามกับสังคมพม่ามาตั้งแต่เด็ก ก่อนที่เขาจะได้สัมผัสกับมันจริง ขณะเรียนชั้นมัธยมปลาย

ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการเมือง ส่วนมากเป็นหนังสือแนวมาร์กซิสต์ ช่วงนั้นหนังสือพม่าได้รับอิทธิพลจากจีนสูง งานที่ผมได้อ่านจึงได้แก่งานของ แมกซิม กอร์กี้ สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เป็นต้น

ปี ๒๕๓๐ ตั้งแต่ต้นปีมีการประท้วงรัฐบาลที่ Rangoon Institute of Technology พอเห็นนักศึกษาออกมาเดินขบวนทำให้ผมมีกำลังใจว่าเราไม่ได้คิดต่อต้านรัฐบาลอยู่คนเดียว มีคนคิดเหมือนกับเรา จนวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๑ หม่องโพนมอ นักศึกษาพม่า ถูกตำรวจยิงเสียชีวิต แต่รัฐบาลกลับบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบ การประท้วงบนท้องถนนจึงเริ่มขึ้น ผมเข้าร่วมการประท้วงเพราะต้องการรู้ความจริง ต่อมาประเด็นประท้วงได้ยกระดับเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย แล้วรัฐบาลก็เริ่มปราบปราม ผู้ชุมนุมหลายคนถูกทำร้ายบาดเจ็บ หลายคนถูกจับเข้าคุก เหตุการณ์นี้มีผลมากกับเด็กมัธยมฯ อย่างผม

และนำมาสู่เหตุการณ์ที่ทั่วโลกรู้จักดีคือ๘๘๘๘(เหตุการณ์วันที่ สิงหาคม ..๑๙๘๘) เขาบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมิได้เริ่มอย่างฉับพลันและจบในวันเดียว หากแต่บ่มเพาะมายาวนานกว่าจะสุกงอมค่อย สะสมจนเร่งปฏิกิริยาขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๑ ไปจนถึงวันที่ สิงหาคมปีเดียวกัน ระหว่างนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำหลายคน และเกิดการประท้วงย่อย หลายครั้ง ผมเรียกว่าการประท้วงแบบกองโจร เช่น รวมตัวตะโกนประท้วง นาทีแล้วแยกย้าย ทำโปสเตอร์รณรงค์ไปติดตามที่ต่าง พอถึงวันที่ สิงหาคมก็มีการเดินขบวนทั่วประเทศ

ทว่าบทสรุปของเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าต่างกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ในเมืองไทยลิบลับ

ขณะที่ ๑๔ ตุลาถือเป็นชัยชนะของขบวนการนักศึกษาประชาชนไทย แต่ในพม่านั้นกลับกัน วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๓๑ คณะทหารได้จัดตั้งสภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ(SLORC) ขึ้น และทำการปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง แม้ต่อมาจะยินยอมจัดให้มีการเลือกตั้งในปี ๒๕๓๓ แต่เมื่อพรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะ รัฐบาลก็ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง ทั้งยังปฏิเสธการถ่ายโอนอำนาจไปสู่รัฐบาลพลเรือนและปราบปรามฝ่ายต่อต้านอย่างรุนแรง

นักศึกษาหลายคนหนีออกนอกประเทศ ตอนนั้นน่าจะมีไม่ต่ำกว่าพันคนที่ถูกจับ อีกหมื่นกว่าคนหลบหนีไปอยู่ชายแดน ผมกับเพื่อนๆ กลุ่มหนึ่งตัดสินใจอยู่ในเมืองต่อ และตั้งกลุ่มขึ้นมาเคลื่อนไหวใต้ดิน

จอซวาโมเล่าว่ากลุ่มของเขาตัดสินใจทำวารสารใต้ดินชื่อ O-Wey ที่แปลว่าเสียงร้องของนกยูง สัญลักษณ์การต่อสู้ของขบวนการนักศึกษา มีเนื้อหาวิจารณ์รัฐบาลและให้ความรู้เรื่องระบอบประชาธิปไตย เผยแพร่อย่างเงียบ โดยส่งผ่านคนที่ไว้ใจได้

เราทำครั้งละ ๕๐๐ เล่ม ออกเงินเอง ทำเอง เขียนเอง มันเสี่ยงแต่ก็ได้ผล เพราะคนพม่าไม่พอใจรัฐบาลที่ฆ่าคนบริสุทธิ์จำนวนมาก พวกเขาอยากรับรู้ข้อมูลอีกด้าน เรายังทำกิจกรรมอีกหลายอย่าง อาทิ ประท้วงแบบกองโจรเหมือนที่เล่าไปก่อนหน้านี้ หาแนวร่วมสร้างเครือข่าย และมีกลุ่มแบบผมผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด

แต่ในปี ๒๕๓๔ จอซวาโมก็ถูกจับ หลังเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มถูกจับและถูกบังคับให้รับสารภาพ

ปีนั้นมีนักศึกษา ๖๐๐ คนถูกจับ ผมเป็นหนึ่งในนั้น ความจริงก็รู้ดีอยู่ว่าต้องโดนเข้าสักวัน เพราะก่อนหน้านั้นก็มีเจ้าหน้าที่ไปค้นบ้านผมถึง ครั้งและมีการข่มขู่อยู่ตลอดเวลา

ในที่สุดเขาถูกตัดสินจำคุก ๑๐ ปี จากเหตุการณ์นี้ทำให้เขาตัดสินใจมาอยู่เมืองไทย

ผมถูกส่งไปขังที่เรือนจำอินเส่งในเขตเดียวกับบ้านตัวเอง และติดคุกจริง ปี เพราะมีกฎว่าโทษจะลดลง ปีจากคำตัดสิน ระหว่างติดคุกผมถูกส่งตัวไปศูนย์สอบสวนที่เรียกว่า MI-6 และ MI-7 ถึง ๑๐ วัน โดนปิดตา มัดมือไพล่หลัง โดนซ้อม ถูกทรมานโดยการเอาหินร้อนๆ มาวางที่เท้า อดอาหาร และที่แย่ที่สุดคือได้ยินข่าวแม่เสียชีวิตโดยที่ตัวเองออกไปไม่ได้ ผมอยากกลับบ้านเพราะไม่เคยห่างบ้านขนาดนี้ และยังต้องระวังการพูดข้อมูลที่จะโยงสู่การจับกุมเพื่อน ข้างนอก

เมื่อพ้นโทษก็ตัดสินใจออกนอกประเทศ หางานอะไรก็ได้ที่จะทำเพื่อคนพม่าได้บ้าง ผมเชื่อว่าไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทำอะไรให้บ้านเกิดได้แน่นอน ผมเคารพแนวทางที่เพื่อนๆ แต่ละคนใช้จัดการปัญหานี้แตกต่างกันไปและไม่ได้ตัดสินว่าวิธีไหนดีที่สุด ปัจจุบันเพื่อนผมหลายคนยังอยู่ในพม่า หลายคนเคลื่อนไหวต่อและโดนจับ บางคนเลิกสนใจการเมืองเปลี่ยนไปทำธุรกิจ แต่สำหรับผม ผมรู้ดีว่าไม่เก่งธุรกิจและอยากทำอะไรให้ประเทศ เพราะตอนอยู่ในคุกทำอะไรได้น้อย จึงมาทำงานกับนิตยสาร อิระวดี ผมรักการทำข่าวเพราะมันมีความหมายกับสังคมพม่า อย่างน้อยก็เป็นการเปิดโอกาสให้คนพม่าเข้าถึงความจริงและเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในพม่าให้คนภายนอกได้รับรู้

jorchawamo03

jorchawamo02
นิตยสาร อิระวดี ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๕๑ นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการเมือง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคอุษาคเนย์


นิตยสาร
อิระวดี (The Irrawaddy) คือหนังสือวิเคราะห์ข่าวภาษาอังกฤษรายเดือน นำเสนอสถานการณ์ในพม่าและประเทศในอุษาคเนย์ มีสำนักงานอยู่ที่เชียงใหม่ ดำเนินการโดยชาวพม่ากลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจจะทำอะไรเพื่อบ้านเกิด โดยจอซวาโมทำหน้าที่บรรณาธิการบริหาร และดูแลเนื้อหาเว็บไซต์ www.irrawaddy.org นอกจากนี้เขายังทำงานกับเครือข่ายองค์กรระดับนานาชาติที่จับประเด็นเรื่องพม่า เช่น ร่วมกับเครือข่ายนักข่าวนานาชาติกดดันรัฐบาลทหารพม่าผ่านการนำเสนอข่าวและล่ารายชื่อ เป็นวิทยากรและผู้วิจารณ์งานของนักข่าวรุ่นใหม่ในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการเมืองในพม่า เป็นต้น

ส่วนชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองไทยนั้น เขาบอกว่าดีกว่าในพม่ามาก ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่กับยายและพี่ชายในจังหวัดเชียงใหม่

เราเป็นเมืองพุทธเหมือนกัน โดยทั่วไปวัฒนธรรมเราก็ไม่ได้ต่างกันมาก ผมมีความสุขดีในเชียงใหม่ ที่นี่คือที่ที่เหมาะสมที่สุดในการทำสื่อสำหรับพม่า เพราะมีเสรีภาพมากกว่า แม้จะมีปัญหาบ้างซึ่งก็ไม่ต่างกับที่สื่อไทยเจอ อาทิเช่นต้องเซ็นเซอร์ตัวเองในบางเรื่อง ทำงานที่นี่ผมรู้สึกว่าอยู่ใกล้บ้านเกิด เรายังหาข่าวได้จากคนที่มาจากพม่า ไม่ว่านักเคลื่อนไหว แรงงานข้ามชาติ นักท่องเที่ยว พูดให้โรแมนติกคือเรายังได้กลิ่นของแผ่นดินเกิดและเป้าหมายสูงสุดของผมคือการนำนิตยสารนี้ไปตั้งฐานที่บ้าน คืนกลับสู่ที่ที่มันควรอยู่ มิใช่มาอยู่นอกพม่าเช่นนี้

ผมรู้ว่าคนไทยมีอคติต่อคนพม่า เช่นกันคนพม่าบางคนก็มีอคติกับคนไทย เป็นเรื่องธรรมดาเพราะทุกประเทศยังมีการเลือกปฏิบัติ ถ้าเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างพม่า ลาว เวียดนาม กับไทย ความสัมพันธ์พม่ากับไทยนับว่าแย่ที่สุด ที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจากผู้ปกครองของ ประเทศมีวาระซ่อนเร้นในการกำหนดทิศทางการรับรู้ประวัติศาสตร์ของประชาชน โดยเฉพาะในแบบเรียน เมื่อเราเรียนรู้ต่างกัน วิธีคิดจึงต่างกัน แต่สุดท้ายความจริงคือเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันมิใช่หรือ เพราะเราคงย้ายประเทศหนีออกจากกันไปไม่ได้

ปี ๒๕๕๒ ข่าวคราวล่าสุดจากบ้านเกิดของเขาคือ รัฐบาลทหารพม่านำตัวอองซานซูจีไปคุมขังที่คุกอินเส่ง หลังชายชาวอเมริกันคนหนึ่งบุกเข้าไปในบ้านของเธอ

เราอดถามไม่ได้ถึงความหวังของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่า

ผมมีความหวังเสมอ ขณะนี้มีทางเดียวคือต้องทำหน้าที่ของตัวเองต่อไป สำหรับอองซานซูจี เธอเป็นสัญลักษณ์ของพม่า ความโดดเด่นของเธอคือสามารถเจรจาได้ทั้งกับทหารและชนกลุ่มน้อย ด้วยความที่เธอเป็นลูกสาวของนายพลอองซาน บิดาแห่งเอกราชของพม่า และเธอเป็นนักประชาธิปไตย คนพม่าต้องการซูจี เกมที่ซูจีเล่นตอนนี้ท้าทายมาก เพราะเล่นกับบรรดานายพลที่มีอิทธิพล ฉ้อฉล ไม่รักษากฎกติกา วันหนึ่งถ้าเธอได้รับการปล่อยตัว คิดว่าเธอต้องการเครื่องมือบางอย่างในการต่อกรกับคนเหล่านี้ ผมไม่ได้หมายความว่าต้องใช้วิธีที่ไม่ดี แต่คงต้องมีวิธีที่ฉลาดและมีพลังพอจะต่อรองกับคนพวกนี้ได้ เพื่อที่ประเทศจะยังมีหวังและกลับมามีประชาธิปไตยอีกครั้ง

ระหว่างรอเวลา จอซวาโมยังคงต้องอยู่ในเมืองไทย และไม่ว่าคนไทยจะมีอคติต่อคนพม่าอย่างไร เขาก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคือง สำหรับเขาแล้ว เมืองไทยก็คือบ้านหลังที่

ครั้งหนึ่ง จอซวาโมนั่งเครื่องบินกลับจากต่างประเทศพร้อมกับเรา เขากล่าวถึงความรู้สึกนั้นว่า

เมื่อถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผมรู้สึกไม่ต่างกับได้กลับบ้าน

แม้ว่ามันจะผิดที่ผิดทางก็ตาม

ขอขอบคุณ : คุณจารุกาญจน์ ราษฎร์ศิริ ล่าม