โดย สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ

 การเดินทางของแสงในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ๑๓,๗๙๙ ล้านปีก่อน

  • เอกภพถือกำเนิด

๓๗๙,๐๐๐ ปี

  • หลังจากเอกภพถือกำเนิด เอกภพเย็นลง โฟตอน (อนุภาคของแสง) สามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระ ปรากฏเป็น “แสงแรกแห่งเอกภพ”

๔,๕๖๗ ล้านปีก่อน

  • ดวงอาทิตย์ถือกำเนิด

๒,๓๒๐ ล้านปีก่อน เป็นอย่างน้อย

  • การสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นครั้งแรก
history of light02 ๔ แสนปีก่อน

  • มนุษย์โฮโมอีเร็กตัส (Homo erectus) ควบคุมไฟได้เป็นครั้งแรก
ราว ๑๗,๐๐๐ ปีก่อน

  • ตะคัน (ตะเกียงรูปแบบหนึ่ง) รุ่นแรกสุดทำจากหินคว้านให้เป็นเบ้า พบในถ้ำลาสโก (Lascaux) ประเทศฝรั่งเศส
history of light03
 history of light04 ราว ๒,๓๐๐ ปีก่อนคริสตกาล

  • มีบันทึกพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับสุริยเทพเร (Re/Ra)ไว้บนกระดาษปาปิรัสแผ่นหนึ่ง
ราว ๑,๗๐๐-๑,๓๐๐ ปีก่อนคริสตกาล

  • ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) ถือกำเนิดขึ้น โดยมีศาสดาชื่อ ซาราทุสตรา (Zarathustra) เชื่อว่าโลกคือสมรภูมิระหว่างฝ่ายความดีกับฝ่ายความชั่ว โดยฝ่ายความดี
    เป็นเทพแห่งแสงสว่างหรือเทพแห่งปัญญา
history of light05
history of light06 ราว ๑,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล

  • มนุษย์ค้นพบหลักการของนาฬิกาแดด สามารถแบ่งวันเป็นชั่วโมง

๕๘๕ ปีก่อนคริสตกาล

  • (๒๘ พฤษภาคม) สงครามระหว่างชาวมีด (Medes) และชาวลีเดีย (Lydians) ซึ่งสู้รบกันนานถึง ๕ ปี ยุติลงทันทีเนื่องจากการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง การสู้รบในวันนั้นได้ชื่อว่า “สมรภูมิแห่งคราส” (Battle of the Eclipse)
 history of light07 ราว ๒๘๐ ปีก่อนคริสตกาล

  • กำเนิดประภาคารฟารอสแห่งอะเล็กแซนเดรีย (Lighthouse of Alexandria/Pharos of Alexandria) หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์แห่งโลกโบราณ ประภาคารนี้คงอยู่มาจนถึงศตวรรษที่ ๑๔

ราว ๑๕ ปีก่อนคริสตกาล

  • สถาปนิกชาวโรมันชื่อ วิทรูเวียส (Vitruvius) เขียนหนังสือชื่อ De Architectura ซึ่งมีบทหนึ่งว่าด้วยแสงธรรมชาติ

ราว ค.ศ. ๗๐๐

  • ชาวเอสกิโมและผู้คนแถบสแกนดิเนเวียมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับแสงเหนือ

ค.ศ. ๑๐๑๑-๑๐๒๑

  • อิบน์ อัล-ฮัยษัม นักวิทยาศาสตร์และอภิมหาพหูสูตชาวอาหรับ เขียนตำราทัศนศาสตร์ชุดแรกของโลกคือ กิตาบ อัล-มะนาซีร์(Kitab al-Manazir) มีเจ็ดเล่ม เขายังเป็นคนแรกที่อธิบายหลักการของกล้องรูเข็ม (camera obscura)

ค.ศ. ๑๒๕๐

  • โรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon) ประดิษฐ์แว่นขยาย

ค.ศ. ๑๖๓๘

  • กาลิเลโอพยายามวัดอัตราเร็วแสง และสรุปว่าแสงเคลื่อนที่เร็วกว่าเสียงอย่างน้อย ๑๐ เท่า
ค.ศ. ๑๖๖๑ (๒๐ กุมภาพันธ์)

  • เกิดปรากฏการณ์ทรงกลดซับซ้อน เรียกว่า Danzig Display หรือ Seven Suns Display ต่อมาฮอยเกนส์ (Huygens) ใช้ปรากฏการณ์ครั้งนี้ร่วมกับปรากฏการณ์ทรงกลดที่กรุงโรม เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๖๒๙ ซึ่งมี “อาทิตย์ห้าดวง” และวันที่ ๒๔ มกราคม ค.ศ. ๑๖๓๐ “อาทิตย์เจ็ดดวง” เพื่อพัฒนาทฤษฎีซึ่งอธิบายการเกิดการทรงกลด

ค.ศ. ๑๖๖๕

  • โรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) ใช้กล้องจุลทรรศน์ และตีพิมพ์ Micrographia เอกสารฉบับแรกที่แสดงโลกระดับจุลภาค

ค.ศ. ๑๖๖๖

  • ไอแซก นิวตัน (Isacc Newton) ใช้ปริซึมแยกแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์เป็นสีรุ้ง และตีพิมพ์หนังสือ Opticks ฉบับพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๗๐๔

ค.ศ. ๑๘๗๙

  • ทอมัส แอลวา เอดิสัน สาธิตหลอดไฟที่ใช้งานได้จริงที่เมนโลพาร์กในเดือนธันวาคม
history of light08
history of light09 ค.ศ. ๑๘๘๔

  • จอร์จ เซอรา (Georges Seurat) จิตรกรชาวฝรั่งเศสจัดแสดงภาพวาดสีน้ำมันแนวนีโออิมเพรสชันนิสม์ โดยการวาดภาพเป็นจุดสีเล็ก ๆ ตามหลักทฤษฎีฟิสิกส์ในยุคนั้นว่า แสงคืออนุภาคของสี
ค.ศ. ๑๘๘๘

  • จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) จดสิทธิบัตรกล้องถ่ายภาพ ซึ่งต่อมาเรียกว่า Kodak box camera

ค.ศ. ๑๙๐๕

  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) และเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity) ซึ่งบอกว่าแสงมีอัตราเร็วคงที่สำหรับ
    ผู้สังเกตทุกคน ไม่ว่าจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ และเสนอสูตรความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับพลังงาน E = mc2 โดย c คือความเร็วของแสง
history of light10
history of light11 ค.ศ. ๑๙๐๖

  • โรเบิร์ต อี. เพียรี (Robert E. Peary) คิดว่ามองเห็นดินแดนใหม่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ แต่ทีมสำรวจอีก ๗ ปีต่อมาพบว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาหรือมิราจแบบฟาตามอร์กานา (Fata Morgana)
history of light12 ค.ศ. ๑๙๑๗

  • (วันที่ ๑๓ ตุลาคม) ปรากฏการณ์อาทิตย์อัศจรรย์ (Miracle of the Sun) หรือเรียกในภาษาโปรตุเกสว่า O Milagre do Sol ที่ฟาติมา ประเทศโปรตุเกส มีคนอย่างน้อยราว ๓ หมื่นคนเห็นพฤติกรรมประหลาดของดวงอาทิตย์นานถึง ๑๐ นาที
ค.ศ. ๑๙๔๒

  • นิยายวิทยาศาสตร์ชุด Foundation series ของ Isaac Asimov เสนอแนวคิดเรื่อง jump drive ซึ่งเป็นการเดินทางด้วยอัตราเร็วมากกว่าแสง (แนวคิดนี้ต่อมามีชื่อเรียกอื่น เช่น hyperdrive, warp drive)
history of light13
history of light14 ค.ศ. ๑๙๕๕

  • แนรินเดอร์ คาพานี (Narinder Kapany) ชาวอังกฤษ และ ไบรอัน โอเบรียน ซีเนียร์ (Brian O’Brien Sr.) ชาวอเมริกัน ต่างประดิษฐ์เส้นใยแก้วนำแสงขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกัน
history of light15 ค.ศ. ๑๙๖๐

  • ทีโอดอร์ ไมแมน (Theodore Maiman) ประดิษฐ์เลเซอร์ ต่อมา เอ็มเมต เอ็น. ลีท (Emmett N. Leith) และ จูริส อูแพทเนียกส์ (Juris Upatnieks) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ใช้แสงเลเซอร์สร้างภาพฮอโลแกรมภาพแรก
history of light17 history of light16ค.ศ. ๑๙๖๕

  • อุปกรณ์ให้กำเนิดแสงแบบแอลอีดี (LED : light emitting diode) ถือกำเนิด
  • อาร์โน อัลแลน เพนเซียส (Arno Allan Penzias) และ โรเบิร์ต วูดโรว์ วิลสัน (Robert Woodrow Wilson) ตรวจพบรังสีไมโครเวฟฉากหลังของจักรวาล (cosmic microwave background radiation) ซึ่งถือเป็น “แสงแรกของเอกภพ”

ค.ศ. ๑๙๗๑

  • ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เชิงพาณิชย์ซึ่งใช้คลื่นวิทยุ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ฟินแลนด์ ถือว่าเป็นรุ่น 0G
ต้นทศวรรษที่ ๑๙๘๐

  • เริ่มมีการรณรงค์ปัญหามลพิษทางแสง (light pollution) โดยองค์กร International Dark-Sky Association (IDA)

ต้นทศวรรษ ๑๙๙๐

  • วงการแพทย์ระบุความเชื่อมโยงระหว่างแสงอาทิตย์กับมะเร็งผิวหนัง
history of light18
history of light19 ค.ศ. ๒๐๐๓

  • เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของประเทศไทยเริ่มเปิดให้ใช้งานครั้งแรก มีชื่อว่า “เครื่องกำเนิดแสงสยาม” ต่อมามีการจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ใน ค.ศ. ๒๐๐๘
ค.ศ. ๒๐๐๘

  • ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของไทยชื่อ ไทยโชต (Thaichote) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
history of light20
 history of light21 ค.ศ. ๒๐๐๙

  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ มกราคม
 history of light22 ค.ศ. ๒๐๑๕

  • ทีมนักฟิสิกส์นำโดย ฟาบริซิโอ คาร์โบน (Fabrizio Carbone) ทำการทดลองที่แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่า แสงเป็นทั้งคลื่นและอนุภาคพร้อมกันได้ ผลงานนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ฉบับวันที่ ๒ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๑๕