ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง : แปล

ภาพวาดจำลองดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในชื่อระบบแทรพพิส-1 เรียงตามลำดับตามระยะห่างดาวฤกษ์ / ภาพโดย NASA/JPL-Caltech

ภาพวาดจำลองดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในชื่อระบบแทรพพิส-1 เรียงตามลำดับตามระยะห่างดาวฤกษ์ / ภาพโดย NASA/JPL-Caltech

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า แถลงข่าวการค้นพบครั้งสำคัญในคืนวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นการค้นพบดวงดาวนอกระบบสุริยะจักรวาล และไม่ใช่การค้นพบเพียงแค่หนึ่ง แต่เป็นการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีขนาดเท่ากับดาวโลกของเราถึง 7 ดวง อันมีแนวโน้มในการดำรงชีพได้ และโคจรรอบดาวเล็กๆ ที่ไม่ไกลมากนัก นับเป็นโอกาสจริงๆ ครั้งแรกในการค้นพบสัญญาณทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตต่างดาวนอกระบบสุริยะจักรวาล

ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ระบบแทรพพิส-1(Trappist-1) อยู่ห่างไปประมาณ 40 ปีแสง หรือประมาณ 235 ล้านล้านไมล์ ซึ่งถือว่าใกล้มากแล้ว และนับว่าโชคดีอย่างยิ่งที่ตำแหน่งของวงโคจรดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดเปิดโอกาสให้นาซ่าศึกษารายละเอียดได้อย่างดี

นักดาราศาสตร์กล่าวว่าหนึ่งในดาวเคราะห์หรืออาจมากกว่าหนึ่งดวงที่อยู่ในระบบใหม่นี้จะมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ ปกคลุมไปด้วยน้ำทะเล เมื่ออิงจากระยะทางของดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดาวฤกษ์

“นี่เป็นครั้งแรกที่ดาวเคราะห์ประเภทนี้จำนวนมากถูกพบรอบดาวดวงเดียวกัน” ไมเคิล กิลลอน นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยลีแยฌ ประเทศเบลเยี่ยม และผู้นำทีมนานาชาติในการสำรวจ แทรพพิส-1 กล่าว