วันสตรีสากล - Internation Women's Day

วันสตรีสากล หรือ Internation Women’s Day จัดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี โดยมีจุดเริ่มต้นจากกิจกรรมของขบวนการแรงงานในช่วงเข้าสู่คริสตศตวรรษที่ยี่สิบของแถบทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป วันดังกล่าวจึงเป็นเหมือนหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในบทบาทหน้าที่ของผู้หญิง และส่งเสริมให้มีการรณรงค์ด้านสิทธิสตรีมากขึ้น

วันดังกล่าวเริ่มต้นจัดเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2452 เมื่อพรรคสังคมนิยมแห่งอเมริกากำนหดวันนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่การประท้วงของคนงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าในเมืองนิวยอร์คเมื่อปีก่อน(พ.ศ.2451) โดยมีผู้หญิงกว่า 15,000 คนร่วมประท้วงคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ย่ำแย่ ทั้งค่าแรง และการไล่ออกเมื่อตั้งครรภ์

พ.ศ.2453 สมัชชาสตรีสังคมนิยม ได้มีการจัดการประชุมเพื่อกำหนดบทบาทของวันสตรีสากล ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อเป็นเกียรติแก่ขบวนการสิทธิสตรีที่เกิดขึ้น และสนับสนุนให้ผู้หญิงมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ข้อเสนอนี้ได้รับการตอบรับอย่างเป็นเอกฉันท์โดยมีผู้หญิงกว่า 100 คนจาก 17 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งรวมถึงผู้หญิงสามคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ารัฐสภาฟินแลนด์ ผลการประชุมในปีต่อมาจึงได้เริ่มจัดให้มีวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรกใน ออสเตรีย, เดนมาร์ก, เยอรมัน และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีหญิงและชายที่ร่วมชุมนุมสนับสนุนอย่างคับคั่ง เพื่อให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การทำงานข้าราชการ การได้ฝึกอบรมวิชาชีพ และสิทธิในการเลือกงาน

ในปี พ.ศ.2456-2457 นับเป็นจุดสำคัญของวันสตรีสากล ในยุโรปมีผู้หญิงเริ่มจัดชุมนุมประท้วงสงครามในช่วงเวลาดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ ในวันที่ 8 มีนาคม ส่วนผู้หญิงรัสเซียเริ่มจัดตั้งวันสตรีสากลครั้งแรกในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่ผู้หญิงในรัสเซียรวมตัวกันประท้วงขับเคลื่อนให้เกิดสันติภาพ เรียกร้องให้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการขาดแคลนอาหารในรัสเซีย ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2460 ที่เรียกการประท้วงนี้ว่า “ขนมปังและสันติภาพ(Bread and Peace)” 4 วันต่อมาพระเจ้าซาร์ทรงประกาศสละราชสมบัติ และรัฐบาลชั่วคราวในขณะนั้นได้ให้ผู้หญิงมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ.2518 องค์การสหประชาชาติจึงได้เริ่มเฉลิมฉลองให้วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันสตรีสากล

ข้อมูลจากUNWomen

ภาพจาก : 123RF