สัมภาษณ์ : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพประกอบ : การประท้วงหน้าสำนักงาน UNESCAP กรุงเทพฯ
การรัฐประหารในพม่าเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2021 นอกจากส่งผลกับสถานการณ์การเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศมันส่งผลกระทบถึงชาวพม่าที่เป็นประชาชนคนธรรมดาจำนวนมาก
ตั้งแต่ได้เอกราชในปี ค.ศ.1941 หลังมีประชาธิปไตยไม่นาน ชีวิตทางการเมืองของพม่าก็ตกอยู่ใต้เงากองทัพยาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ จนปี ค.ศ.2015 เมื่อพรรค NLD ที่นำโดยนางอองซานซูจีเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี ค.ศ.๒๐๐๘ (ที่ทหารพม่าร่าง) เต็มตัว การเมืองพม่าก็เปลี่ยนเป็นการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน (แม้ว่ากองทัพจะมีโควตาที่นั่งร้อยละ ๒๕ ในรัฐสภา)
เพื่อชาวพม่าคนหนึ่งบอกว่า แม้ได้ลิ้มรส “ประชาธิปไตย (ครึ่งใบ)” ไม่นาน แต่สังคมพม่าเปลี่ยนไปมาก หลายอย่างดีขึ้น จนจู่ๆ ทุกอย่างถูก “หมุนกลับ” ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๒๑ จนทุกภาคส่วนต้อง “ลงถนน” เพื่อต่อต้านการรัฐประหารในครั้งล่าสุด
อะไรทำให้คนพม่าแทบจะมี “ฉันทามติ” ในการขับไล่เผด็จการทหาร
สารคดี ขอเสนอบทสนทนากับชาวพม่าคนหนึ่งที่มาทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย เพื่อที่คนไทยจะทำความเข้าใจกับสถานการณ์ในพม่าได้มากขึ้น
ฉันช็อกเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพทำรัฐประหาร เรากำลังลุ้นกันอยู่ว่ารัฐบาลชุดใหม่ของพม่ากำลังจะรับตำแหน่งและเปิดประชุมสภา ใครจะเป็นรัฐมนตรี พอมีรัฐประหาร เราไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ฉันห่วงครอบครัวในพม่า ห่วงเพื่อนที่ทำอาชีพเสี่ยงอย่างนักข่าว นักเขียน นักกิจกรรม ฝันร้ายเรื่องการอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพกลับมาหลอกหลอนเราอีก ในระยะสั้นพวกเราไม่สบายใจเป็นอย่างมาก
เคยมีนักวิเคราะห์มองว่าประชาชนคงจะไม่ลงถนนเพราะเสี่ยงมากท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด แต่หลังรัฐประหารวันเดียว ในโลกโซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะขบวนการ Civil Disobedient Movement (CDM) วันต่อมาก็มีการประท้วงตามเมืองใหญ่ กลายเป็นกระแสประท้วงทั่วประเทศ วันที่เราคุยกัน (๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๑) มีประท้วงใน ๖๗ เมือง ยังมีกลุ่มที่ระดมทุนเพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนประชาชนโดยไม่หวั่นเกรงเรื่องหน้าที่การงานและการถูกจับกุม
ผู้ประท้วงจำนวนมากไม่ใช่ผู้สนับสนุนพรรค NLD ชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มเข้าร่วม รวมถึงคนเชื้อสายจีนและอินเดีย มีเป้าเดียวกันคือเอาความจริงและความยุติธรรมกลับสู่ประเทศ เรื่องแรกอองซานซูจีและนักการเมืองทุกคนที่ถูกขังต้องได้รับการปล่อยตัว ต้องเคารพผลการเลือกตั้ง มอบอำนาจให้พรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้ง ดูน้อยลง
“คนพม่าติดกับดักเผด็จการมานานกว่าครึ่งศตวรรษ ในอดีตอาจปิดประเทศได้ แต่นี่เป็นยุคดิจิทัล แรงงานรายวันยังรู้ว่าแรงงานเพื่อนบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าผ่านโซเชียลมีเดีย ประชาชนได้เรียนรู้มากมายในช่วงห้าปีที่ผ่านมา เมื่อเกิดรัฐประหารอีก คนรุ่นใหม่จึงปรากฏตัว เจนเนอเรชัน Z จะสร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่มาก คนรุ่นเก่าก็มาร่วม มันยอดมากที่เห็นคนจากทุกส่วนมาร่วมและคนทุกคนต้องการให้กองทัพออกไป
เรารู้สึกขอบคุณคนไทย มีความร่วมมือกันประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตพม่าและร่วมกันจุดเทียนสวนมนต์เพื่อพม่าในกรุงเทพฯ มีข้อความให้กำลังใจจากบุคคลจำนวนมาก สื่อไทยก็ให้พื้นที่ข่าวมากทำให้เสียงของคนพม่าที่ต้องการประชาธิปไตยถูกส่งออกไป คนที่อยากช่วยก็คงช่วยยาก หากเจ้าทุกข์ไม่ร้องขอ ความช่วยเหลือจากกคนไทยในเวลาเช่นนี้สำคัญมาก ใช่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนพม่าในกรุงเทพฯ แต่นั้นเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ว่ามันจะเกิดขึ้น