Green Construction

รู้ไหมว่ากว่าจะมาเป็นบ้านสักหลังต้องใช้ทรัพยากรและกระบวนการมากมาย ซึ่งสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาจำนวนไม่น้อย กับทางเลือกที่สามารถลดผลกระทบให้น้อยลงและเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์ต่อโลกได้

มาดูตัวอย่างกระบวนการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรของเอสซีจี ซึ่งมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

SCG Future is Net Zero 2050

1. Green Mining

การผลิตปูนซีเมนต์มีวัตถุดิบสำคัญคือปูนธรรมชาติในพื้นที่เหมืองหินปูน เอสซีจีจึงคิดค้นนวัตกรรม Semi Open Cut โดยการเปิดหน้าเหมืองเป็นแปลงย่อยๆ และเว้นพื้นที่ป่าธรรมชาติรอบขอบเหมืองเป็นป่ากันชน (Buffer Zone) เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทำเหมืองในแปลงใดก็จะฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นั้นให้กลับมาใกล้เคียงสภาพดั้งเดิมมากที่สุด เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ รวมถึงการปรับใช้รถบรรทุกหินปูนชนิดไฟฟ้าภายในเหมืองปูนซีเมนต์รายแรกของไทย

2. Green Factory

โรงงานซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างของเอสซีจี ดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมติดตั้งโซลาร์ฟาร์มบนบก โซลาร์รูฟทอปบนหลังคา และโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำบนบ่อน้ำในโรงงาน และเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน รวมทั้งยังคิดค้นนวัตกรรมการนำของเสียจากการผลิตและวัสดุเหลือทิ้งกลับมาเป็นวัสดุทดแทน ช่วยลดการใช้วัสดุธรรมชาติและลดมลภาวะจากของเสีย

3. Green Product

นอกจากผลิตภัณฑ์จะตอบสนองต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งประโยชน์ใช้สอย ความแข็งแรงทนทาน อายุใช้งานยาวนาน และความสวยงามแล้ว เอสซีจี ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการรับรองด้วยฉลาก SCG Green Choice เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ทั้งการลดโลกร้อน การลดการใช้ทรัพยากร และการส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี

4. Green Logistics

เอสซีจี ใส่ใจในการดูแลและควบคุมการขนส่งผลิตภัณฑ์ให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ด้วยการติดตั้งเทคโนโลยีติดตามพฤติกรรมพนักงานขับรถแบบเรียลไทม์ พร้อมบริหารจัดการการขนส่งที่ลดการใช้เชื้อเพลิงขนส่งอย่างสิ้นเปลือง โดยใช้หลัก Backhaul Logistics Operation บริหารรอบรถบรรทุกสินค้าไปและกลับ ลดการขนส่งเที่ยวเปล่า บริหารการขนส่งสินค้าล็อตใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง เป็นต้น รวมทั้งได้ริเริ่มปรับเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า โดยนำนวัตกรรมรถโม่พลังงานไฟฟ้ามาใช้ขนส่งคอนกรีตด้วยพลังงานสะอาด ลดมลพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

5. Green Construction Solution

เอสซีจีใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์นวัตกรรมโซลูชันงานก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบในที่เดียว ตั้งแต่การออกแบบก่อสร้างจนถึงการดูแลหลังการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรและวัสดุอย่างคุ้มค่า ลดระยะเวลาทำงาน แรงงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการลดของเหลือทิ้งในงานก่อสร้าง

  • CPAC Drone Solution การประเมินพื้นที่ด้วยโดรนเพื่อนำมาออกแบบจัดทำผังโครงการ ก่อนดำเนินการก่อสร้าง
  • CPAC BIM การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นภาพรวมการก่อสร้างในทุกขั้นตอน
  • CPAC 3D Printing Solution นวัตกรรมการก่อสร้างด้วยการขึ้นรูปโครงสร้างและตัวอาคารจากการใช้เครื่องจักร 3D Printing
  • Modular Construction การผลิตโมดูลของแต่ละพื้นที่อาคารสำเร็จรูปจากโรงงานแล้วนำมาประกอบติดตั้งเข้าเป็นรูปทรงรวมของอาคารที่หน้างานก่อสร้าง
  • Steel Prefabrication การผลิตงานโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปจากโรงงานก่อนนำมาประกอบต่อเข้าด้วยกันที่หน้างาน
  • Structure Solution ระบบเสาคานสำเร็จรูปลดความยุ่งยากในงานก่อสร้าง และลดการใช้ไม้แบบหล่อเสาคานลงอย่างน้อย 90% ได้งานที่มีคุณภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

6. Green Waste

วัสดุเหลือทิ้งจากการผลิตและก่อสร้างเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และอาจสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง เอสซีจี จึงพัฒนานวัตกรรมในการนำขยะและของเสียต่างๆ จากกระบวนการก่อสร้าง แปรรูปกลับมาใช้เป็นวัสดุทดแทน เพิ่มมูลค่าให้ของเสีย ลดการใช้พลังงานในการกำจัดของเสีย และลดการใช้ทรัพยากร

ของเสียจากกระบวนการผลิตภัณฑ์แปรรูป
เศษหัวเสาเข็ม (Pile Waste) จากการก่อสร้างRecycled Coarse Aggregate (RCA) เช่น วัสดุรองพื้นถนน ที่จอดรถ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ฯลฯ
เศษคอนกรีตผสมเสร็จซึ่งเหลือจากการจัดส่งผลิตภัณฑ์คอนกรีต เช่น แผ่นพื้นคอนกรีต กระถางต้นไม้ เสารั้ว ฯลฯ วัสดุก่อสร้าง เช่น เช่น วัสดุถมคันทาง วัสดุรองพื้นทาง วัสดุทดแทนหินก่อสร้าง ฯลฯ
เศษคอนกรีตมวลเบา หลังคาคอนกรีต หลังคาเซรามิก หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ สุขภัณฑ์เซรามิก ฯลฯ จากกระบวนการผลิตวัสดุทดแทนทรายธรรมชาติในการผลิตบล็อกปูพื้น วัสดุทดแทนดินธรรมชาติในการผลิตกระเบื้องเซรามิกปูพื้น

และได้ขยายความร่วมมือในการจัดการของเสียในกระบวนการก่อสร้าง โดยร่วมก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ CECI เพื่อนำแนวคิดการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดทั้ง Supply Chain ของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย