เรื่องและภาพ ชลชาติ พุ่มจันทร์
เมื่อมาถึงจุด ๆ หนึ่งที่ผู้คนได้กระทำสิ่งเลวร้ายหรือสิ่งที่เเย่ลงไป เมื่อได้มองย้อนกลับไปก็คงพูดได้ว่า “ในท้ายที่สุด…พวกเราก็คือมนุษย์” –
เพราะ “มนุษย์” คือสิ่งที่ซับซ้อนที่สุดสิ่งหนึ่งในโลก มนุษย์แต่ละคนนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวเสมอไม่ว่าจะรูปร่างหน้าตา และที่สำคัญคือสิ่งที่อยู่ภายในอย่าง “ความคิดและจิตใจ” ความซับซ้อนจากภายในจิตใจของมนุษย์คือหนึ่งอย่างที่สามารถอธิบายออกมาเป็นงานศิลปะได้หลากหลายรูปแบบ
“After All, I Am Human” หรือ “ท้ายที่สุดแล้ว ฉันคือมนุษย์” คือนิทรรศการกลุ่ม ซึ่งศิลปินแต่ละท่านจะสำรวจความซับซ้อนของตัวตนภายในของมนุษย์ชาติและเหตุผลในการดำรงอยู่เพื่อค้นหาความเป็นจริงของพฤติกรรม ความไม่มั่นใจในตนเอง และ เส้นทางที่จะนำไปสู่การยอมรับตนเอง
กลุ่มศิลปินมีจุดประสงค์ร่วมกันที่จะถ่ายทอดถึงความซับซ้อนของประสบการณ์จากการมองภาพลักษณ์ ข้อบงพร่องมลทินของตัวตน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาตนเอง ผ่านการตีความโดยใช้ผลงานศิลปะของศิลปินแต่ละคน
ศิลปินทั้ง 6 ท่าน จะนำผู้ชมทุกท่านได้เห็นถึงการตีความและสื่อการแสดงออกทางศิลปะที่หลากหลาย อีกทั้งผู้ชมยังจะได้สัมผัสถึง อารมณ์ ตัวตน และเรื่องราวที่ถูกเรียบเรียงมาเพื่อปลุกกระตุ้นให้คิดทบทวนถึงทัศนคติที่ผู้ชมมีต่อแนวโน้มความเป็นมนุษย์ ผ่านทั้งภาพวาด ภาพถ่าย และงานปั้นเซรามิก
Gideon Doron ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานพิเศษที่บันทึกคติเกี่ยวกับความตายและความงดงามอันไม่จีรังของชีวิตที่มีข้อจำกัดและคาดเดาไม่ได้ ผ่านภาพวาดสีน้ำแสดงความคลายคลึงของดอกไม้ตั้งแต่เบิกบานไปจนถึงความเหี่ยวเฉาอันหนีไม่พ้น
Thomas Tran ศิลปินที่บันทึกความกังวล โดดเดี่ยว ความรู้สึกต่อต้าน และความรู้สึกแปลกแยกที่เขารู้สึกจากการเป็นชนกลุ่มน้อยในช่วงที่เขาเติบโตที่อเมริกาผ่านความลึกลับของแกรไฟต์ ทั้งงานปั้นเซรามิคและภาพชาโค เพื่อเป็นตัวแทนของพื้นที่แก่การ รำลึก รับรู้ และความยอมรับตัวตนในอดีต
X (เอ็กซ์) เจ้าของชุดผลงาน “Psychonautics” ภาพวาดที่จะชักจูงผู้ชมผลงานของเธอให้ใคร่ครวญถึงห้วงลึกของจิตสำนึกและความตะหนักหยั่งรู้ของผู้มนุษย์ ซึ่งแต่ละคนก็มีอัตตา ความเข้าใจโลก และเหตุผลของคนนั้นๆ รวมถึงเรื่องราวที่ไม่สามารถแสดงออกให้ผู้คนอื่นๆเข้าใจผ่านคำพูดได้ ศิลปินหวังให้ผู้ชมของเธอได้รับรู้และสัมพันธ์ถึงมิติแห่งจิตวิญญาณและสนธนากับพวกเขาผ่านภาพวาดอันใช้ลายเส้นและเอกลักษณ์จากแนวศิลปะมนัสปรีดิ์
Yi Lin Huang ศิลปินผู้สร้างผลงานรวมจุดสีอะคริลิค สื่อถึงความไม่สม่ำเสมอเป็นภาพสะท้อนเงาของผู้คน เพื่อแสดงให้เห็นถึงมวลเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั้งในชีวิตสมมติและชีวิตจริงว่า ประกอบไปด้วยบุคคลที่ความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในทุกๆด้าน
Manu Monsulud ผู้สร้างสรรค์ผลงาน “Life is Fun” งานศิลปะที่สื่อถึงอารมณ์เชิงลบของมนุษย์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของที่มนุษย์สามารถยอมรับและปรับตัวไปกับมันได้ ผ่านผลงานที่รังสรรค์ดดยใช้สีน้ำเป็นสื่อกลาง เนื่องจากน้ำนั้นไม่สามารถถูกควบคุมได้ตามที่ต้องการ เพียงแต่ต้องปล่อยวางและเชื่อมั่นในกระบวนการของน้ำ
Achiraya (Peachy) Limpanich เจ้าของชุดผลงานภาพถ่าย ตีแผ่หลักการใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของคนไทยที่ “ไสยศาสตร์” เป็นส่วนหนึ่งในเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อตัดสินใจลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่อง การเงิน การเรียน และความรัก
นิทรรศการจัดที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณชั้น 5 ตั้งแต่วันที่ 7 -19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567