Click here to visit the Website

นิตยสาร สารคดี
Feature Magazine
ฉบับดือนมกราคม ๒๕๔๒ ISSN 0857-1538
ฉบับที่ ๑๖๗ ปีที่ ๑๔ เดือนมกราคม ๒๕๔๒
No. 167 Vol. 14 January 1999
บันทึกเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๑๓

 

เรื่องจากปก
บันทึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓
.....ดร. จีดี. สนธิ คณะกรรมการโอลิมปิก แห่งประเทศ อินเดีย เกิดความคิดว่า นักกีฬา ชาวเอเชีย มีความเสียเปรียบ นักกีฬา จากประเทศยุโรป และอเมริกา
.....ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง หรือมาตรฐาน การกีฬา เขาจึงเสนอ ให้มีการแข่งกีฬา ระหว่างชาวเอเชีย ด้วยกันขึ้นมา
.....เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านกีฬา ให้ทัดเทียมกับ ชาติตะวันตก ทั้งยังเป็นการ สานความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศ ในภาคพื้น เอเชียอีกด้วย
.....เอเชียนเกมส์ ครั้งแรก เกิดขึ้นที่ อินเดีย เมื่อ ๔๗ ปีก่อน
.....เอเชียนเกมส์ ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นที่ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๑ นับเป็นครั้งที่ ๔ แล้ว ที่เราเป็น "เจ้าภาพ"
.....ครั้งนี้ ไทย ไม่ได้ถูกขอร้อง แกมบังคับ จากสภาโอลิมปิก แห่งเอเชีย ให้รับเป็น เจ้าภาพแทนบางประเทศ เหมือนเอเชียน เกมส์ ครั้งที่ ๖ (พ.ศ.๒๕๑๓) และครั้งที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๒๑) เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ นี้ เรามุ่งมั่น ที่จะเป็น
.....แม้ว่า ปัญหานานัปการ ที่ปรากฏ ก่อนการ แข่งขันเริ่มขึ้น เพียงไม่นาน จะทำให้ บุคคล สำคัญ ในวงการกีฬา ของเอเชีย คิดว่า งานนี้คง "ล้มเหลว ไม่เป็นท่า" และ ชีก อาหมัด อัล ซาบาห์ ประธานสภาโอลิมปิก แห่งเอเชีย ถึงกับเตรียม จะให้ประเทศอื่น รับเป็นเจ้าภาพแทน แต่ในที่สุด ด้วยวิธี การทำงาน "แบบไทยๆ" เราก็มีโอกาส ได้ต้อนรับ เพื่อนร่วมทวีป จากมองโกเลีย ไต้หวัน ภูฏาน กาตาร์ เลบานอน มาเก๊า มัลดีฟส์ ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน โอมาน ปาเลสไตน์ เกาหลีใต้ เวียดนาม ฮ่องกง ฯลฯ
.....ทั้งที่ แต่ละประเทศ ประสบปัญหา เศรษฐกิจ ตกต่ำ เหมือนๆ กัน แต่นั่น ก็ไม่อาจจะยับยั้ง "การสานสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศ ในภาคพื้นเอเชีย" ของพวกเราได้
.....และสำหรับ "เรา" ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพ คงยังจำ ธงไตรรงค์ ที่ถูกระบาย บนใบหน้าได้
.....ยังจำความทุ่มทุน ของเจ้าหน้าที่ทุกคนใน "BAGOC" (Bangkok Asian Games Organizing Committe) ได้ ยังจำ ความงดงาม ในพิธีเปิด และปิด การแข่งขัน ที่สร้างสรรค์โดย เจเอสแอล และเยาวชนไทย นับพันคนได้ ทั้งยังไม่ลืม ความรู้สึกตอนที่ ทีมเซปักตะกร้อไทย เอาชนะ มาเลเซีย ตอนที่ ทีมฟุตบอลไทย ชนะเกาหลีใต้ ตอนที่ นักวอลเล่ย์บอล ชายหาดหญิง ชนะทีมญี่ปุ่น และจะเก็บ ความประทับใจ ในความทุ่มเท ของนักกีฬาทีมชาติ ทุกคนเอาไว้ ฯลฯ
..........................................................................
.....การเป็นเจ้าภาพ การแข่งขันกีฬา ระดับนานาชาติ ที่มีผู้เข้าร่าวมนับหมื่นคน จาก ๔๓ ประเทศในทวีปเอเชีย มีความยิ่งใหญ่ เป็นรองเพียงแค่ โอลิมปิก เกมส์ เท่านั้น ย่อมไม่ใช่ เรื่องเล็กๆ
.....หากว่าเราทำได้สำเร็จ ก็ไม่แปลกเลย ที่มันจะกลายเป็น ความทรงจำที่ดี และน่าภูมิใจ
.....สารคดี ขอเป็นผู้บันทึกความทรงจำนี้ไว้
เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓
เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ อีกหนึ่งความทรงจำ ของการเป็น "เจ้าภาพ"
.....คณะกรรมการ จัดการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓ ประกาศว่า ไทยคือ "ผู้อุ้มชู กีฬาเอเชียนเกมส์" แต่กว่าฝ่ายไทย ในฐานะเจ้าภาพ จะได้ยิ้มรับคำชม ก็ต้องผ่านความขมขื่น อย่างหนัก จนหวุดหวิด จะไม่ได้เป็นเจ้าภาพ เพราะเปลี่ยนรัฐบาล มาหลายชุด สนามกีฬา เกือบสร้างไม่เสร็จทันเวลา ในภาวะที่ เศรษฐกิจ ของประเทศ ตกต่ำสุดขีด
.....ทว่าเรื่องนี้ ก็จบอย่าง "แฮปปี้ เอนดิ้ง" ประเทศไทย คว้ามาได้ ๒๔ เหรียญทอง ๒๖ เหรียญเงิน และ ๔๐ เหรียญทองแดง ...มากที่สุด ตั้งแต่ไทย เข้าร่วมแข่งขัน เอเชียนเกมส์มา (อ่านต่อ... คลิก)
นากุ้ง พระเอก หรือผู้ร้าย ในสังคมไทย
.....เมื่อครั้งที่ นากุ้ง "บูม" สุดขีด สามารถ ทำรายได้ เข้าประเทศ ถึงปีละ ประมาณ ๕ หมื่นล้านบาท เกษตรกร ต่างโกยเงินกัน เป็นว่าเล่น และลงทุน ทำนากุ้ง ในพื้นที่น้ำจืด ในที่ราบภาคกลาง กันยกใหญ่ จนมีผู้คัดค้าน เพราะเห็นว่า การทำนา กุ้งกุลาดำ คือตัวการ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
.....ในที่สุด รัฐบาล ก็ห้ามเลี้ยง กุ้งกุลาดำ ในพื้นที่น้ำจืด อย่างเด็ดขาด ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้ง ขาดทุนป่นปี้ มีการชุมนุมประท้วง โจมตีรัฐบาล อย่างเผ็ดร้อน... แน่นอนว่า เรื่องนี้ คงไม่จบลงง่ายๆ
สารบัญ
สารคดี พิเศษ
- เวลาที่ล่วงผ่าน กับพิธีการ เอเชียนเกมส์
-
เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ ๑๓: อีกหนึ่งความทรงจำ ของการเป็น "เจ้าภาพ"
-นากุ้ง พระเอก หรือผู้ร้าย ในสังคมไทย

โลกใบใหญ่
โลกใบเล็ก
- พิพิธภัณฑ์ ห้องส้วม
โลกใบเล็ก
- ความสุขที่ดูได้, ไอศกรีม เครื่องสำอาง และการศึกษา
หลักสูตรใหม่ ของพนักงาน พิทักษ์ป่า
สิ่งแวดล้อม
- หลักสูตรใหม่ ของพนักงาน พิทักษ์ป่า
การแพทย์-สาธารณสุข
- เรื่องราวของ เต้านม ที่ศูนย์ถันยรักษ์
รายงาน โครงการจังหวัด
- ประเพณี ชักพระ วัดนางชี งานบุญใหญ่ ของชาวฝั่งธนบุรี
American Museum of Natural History
World Wide Web Nature

- พิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติ อเมริกา American Museum of Natural History
สัตว์-พรรณพืช
- พื้นที่ ที่มีความสำคัญ สำหรับนก ในเมืองไทย
สังคมสงเคราะห์
- สรุปสถานการณ์ เด็กเร่ร่อนปี ๒๕๔๑
ที่นี่มีอะไร

โลกบันเทิง
คนกับหนังสือ
- เทด ฮิวส์ : รัตนกวี อังกฤษ ผู้อื้อฉาว (๒)
ภาพยนตร์
- บทเรียนใน Saving Private Ryan
www.rzm.com/pvt.ryan
ดนตรี
- The Civil War: เพลงสงคราม

โลกธรรมชาติ และ วิทยาการ
ส่องจักรวาล
- เรียนรู้ กลุ่มดาว กลุ่มดาววัว (Taurus)
โลกธรรมชาติ
- สังคมพืชชายหาด: ทหารชายแดน ที่รัฐ ไม่เหลียวแล
คลื่นวิทย์-เทคโนฯ
- มหัศจรรย์แห่งชีวิต (๑๗)

คอลัมน์ประจำ-ปกินกะ
ประเทศไทย สัตว์ใกล้สูญพันธุ์
- หมาหริ่ง
เชิญดอกไม้
- กุหลาบ พุกาม
จากบรรณาธิการ
เบื้องหน้า-เบื้องหลัง

- นักข่าว-กีฬา (ภาคสอง)
บ้านพิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์ วัดเจดีย์หอย
เขียนถึง สารคดี
สันติภาพ เตชะวณิช
สัมภาษณ์

- สันติภาพ เตชะวณิช กับเบื้องหลัง บางกอกเกมส์
จากความทรงจำ
- เรือพระที่นั่ง มหาจักรี (ลำที่ ๑) ศักดิ์ศรี ของชาติไทย
บันทึกนักเดินทาง
- งูเหลือม ที่ป่าละอู
บทความพิเศษ
- หนังสือ เจ้าของ และห้องสมุด
ศิลปะพื้นเมือง ออสเตรเลีย
ศิลปะ
- ศิลปะพื้นเมือง ออสเตรเลีย
ซองคำถาม
รู้ร้อยแปด

- ดอกไม้จันทน์
สารคดีภาพ
- ลมหายใจสุดท้าย ของจ้าวสมุทร
ครั้งหนึ่งที่ อะแลสกา
สารคดีต่างประเทศ
- ครั้งหนึ่งที่ อะแลสกา กับ Mountain Goat
และ Mr. Nice Guy
ข่าวธุรกิจ-ผลิตภัณฑ์
เฮโลสาระพา

สารบัญ | เอเชี่ยนเกมส์ | วัดเจดีย์หอย | หมาหริ่ง

Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)